Principles ของ Ray Dalio
โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
สยามรัฐออนไลน์ 4 เมษายน 2561
โดยการสรุปส่วนที่สำคัญและเป็นหัวใจ ดังนี้
บทที่ 1 สิ่งสำคัญของหลักการ ทำไม จึงเชื่อว่า การมีหลักการนั้นสำคัญ และแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกได้ว่า หลักการแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด
1.อะไรคือหลักการ? คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะเชื่อมกับการกระทำของเรา ชี้นำในสิ่งที่เรากำลังจะทำ และช่วยให้ประสบความสำเร็จได้
2.ทำไมมันถึงสำคัญ? หลักการช่วยให้เราทำถูกทาง ไม่ออกนอกทาง และนำเราไปสู่ความสำเร็จ
3.แล้วหลักการนี้มาจากไหน? หลักการของเรา : มาจากค่านิยมถึงสิ่งที่เราเชื่อมั่นอย่างแท้จริง
4.วิถีชีวิตของเราสามารถไปด้วยกันกับหลักการนั้นได้หรือไม่? แล้วมันคืออะไร? หลักการเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมของเรา และความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตประจำ
5.แค่ไหนที่เราคิดว่ามันใช้งานได้แล้ว? และทำไม? หลักการต่างๆ ล้วนมาจากจุดมุ่งหมายและประสบการณืที่แตกต่างกันของแต่ละละบุคคลเราต้องยึดหลักการของเราเป็นหลัก แต่อาจจะปรับให้สอดคล้องกับคนอื่นโดยไม่ผิดหลักการ และได้ผลลัพท์ที่ดี เราต้องตอบคำถามเหล่านี้ด้วยความซื่อตรง โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะคิดอย่างไร ความซื่อตรงนั้นจะช่วยให้เราไม่รู้สึกอืดอัดไปกับหลักการณ์ของเรา
บทที่ 2 หลักการในการลงทุนทั้งชีวิตของเรย์
พื้นฐานทั้งหมดของหลักการของเรย์ ดังนั้นสรุปได้ว่า
1.)เราต้องทำงานที่เราอยากทำ สิ่งที่ชอบ ไม่ได้ทำเพราะคนอื่นอยากให้เราทำ
2.)เข้าถึงความคิดเห็นที่ไม่ฝักใฝ่ทางไหน มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ
3.ทดสอบความคิดเห็นของเรากับคนที่ฉลาดเท่าที่เราจะสามารถหาได้ ทำให้เรามีหลักการเหตุผลเพิ่มขึ้น
4.ระมัดระวังความมั่นใจสุดโต้งเกินไป และคิดเผื่อไว้ถึงสิ่งที่เราไม่รู้ด้วย
5.ต่อสู้ด้วยความเป็นจริง ตอบสนองกับผลลัพธ์ของการตัดสินใจ และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงพัฒนาการต่อไป
“ผมต้องการให้คุณทำเพื่อตัวคุณเอง มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ แล้วทดสอบมัน ระมัดระวังความเห็นที่สุดโต่ง ตอบสนองกับผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่คุณตัดสนใจลงไป และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ”
1. เขาเรียนรู้ว่า : ความล้มเหลว มาจากความไม่ยอมรับความจริง และความสำเร็จมาจากการยอมรับความจริง
ค้นหาว่า อะไร คือ ความจริง ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวจากการแสวงหาความจริง การเป็นคนซื่อตรง เป็นการเปิดกว้าง ให้เข้าสู่ความคิดอิสระ การเผชิญหน้ากับผู้คนที่จะบอกว่าเขาเชื่ออย่างไร ฟังความเห็นของเขา เพื่อหาคำตอบว่า ความจริงคืออะไรทุกคนมีข้อผิดพลาดและจุดอ่อน และนี่คือ สิ่งที่จะบอกถึงความแตกต่างของผู้คน ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่สวยงาม เมื่อแก้ข้อผิดพลาดได้ ทำให้เขาเข้มแข็งขึ้น และนำไปสู่ความสำเร็จ เขามองตรงกันข้ามกับคนส่วนใหญ่ คือ
1) คนส่วนใหญ่คิดว่า ควรจะเรียนรู้อะไร จึงจะประสบความสำเร็จ การหาตัวเองว่า เราต้องการอะไร และจะได้มาอย่างไร
2) การมีคำตอบ ดีกว่าคำถาม การมีคำถาม ดีกว่ามีคำตอบ เพราะ เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้ และการได้มาซึ่งการแก้ปัญหา
3) ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่แย่ เป็นสิ่งที่ดี เพราะ การเรียนรู้ มาจากความผิดพลาด
4) การหาจุดอ่อนเป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นขั้นตอนแรกที่จะค้นหาว่า มันคืออะไร และทำอย่างไร จะไม่เกิดกับเราอีก
5) ความเจ็บปวด นั้นแย่ ดี เพราะเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะแข็งแกร่ง ( เหมือนการเล่นกล้าม )
6) ความแก่ชรา ไม่ดี ดี ทำให้เรา เห็นจุดอ่อน ข้อผิดพลาด ข้อดีจุดแข็ง ที่เราจะนำมาใช้กับตนเองและลูกหลาน
2. รากฐานของหลักการพื้นฐานของเรย์ ความเป็นจริง ความเที่ยงตรงและถูกต้อง ในการเข้าใจความเป็นจริง เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน สำหรับการผลิตผลลัพธ์ที่ดี ความเป็นจริง + ความฝัน + ความตั้งใจจริง = ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ การตัดสินใจที่สำคัญของเรา โดย 5 หัวข้อใหญ่ สำหรับตัวเลือกที่จะกำหนดอนาคตของเรา
1) ลำดับที่ 1
สิ่งที่ไม่ดี BAD : ให้ความเจ็บปวด ทำให้ยืนอยู่บนเส้นทางของความก้าวหน้าได้
สิ่งที่ดี GOOD : เข้าใจถึงการจัดการความเจ็บปวด ที่จะไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างไร
ความเจ็บปวด + การตอบสนอง = กระบวนการพัฒนา
2) ลำดับที่สอง
สิ่งที่ไม่ดี BAD หลีกเลี่ยงการพบกับ ความจริงอันโหดร้าย
สิ่งที่ดี GOOD เผชิญหน้าในการพบกับความจริงอันโหดร้าย
3) ลำดับที่สาม
สิ่งที่ไม่ดี BAD กังวล เกี่ยวกับ การทำให้ตัวเองดูดี
สิ่งที่ดี GOOD กังวล เกี่ยวกับ การทำให้บรรลุเป้าหมาย
4) ลำดับที่สี่
สิ่งที่ไม่ดี BAD : เน้นผลกระทบลำดับแรกของการตัดสินใจ
สิ่งที่ดี GOOD : เน้นการตัดสินใจ ในผลกระทบอันดับแรก ที่สอง ที่สาม ตามสภาพความเป็นจริง
5) ลำดับที่ห้า
สิ่งที่ไม่ดี BAD : กล่าวโทษคนอื่น ในงานที่ไม่บรรลุ
สิ่งที่ดี GOOD : เน้นความรับผิดชอบด้วยตนเอง
3. ตัวคุณทั้งสองคน และ เครื่องจักรของคุณ
Goals ( เป้าหมาย) > Machine ( เครื่องจักร) > Out-comes ( ผลลัพธ์ )
Design (ออกแบบ ) + People ( บุคคล ) วงจรนี้หมายความว่า : เป้าหมายของคุณจะเป็นตัวกำหนด “เครื่องจักร” ที่คุณสร้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เครื่องจักรจะสร้างผลลัพธ์ที่ควรเปรียบเทียบกับเป้าหมาย เพื่อตัดสินวิธีการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักร : ประกอบด้วยการออกแบบและบุคคลที่คัดเลือกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4. 5 ขั้นตอน ( กระบวนการ ) สำคัญในการได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการในชีวิต
1) มีเป้าหมายที่ชัดเจน
2) ระบุปัญหาและไม่ปล่อยให้ปัญหานั้น เป็นอุปสรรคขัดขวางในการบรรลุเป้าหมาย
3) ทำการวินิจฉัยปัญหาอย่างถูกต้องแม่นยำ
4) ออกแบบแผนอย่างชัดเจน และจัดวางหน้าที่(งาน) ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา และนำพาไปสู่เป้าหมาย
5) ดำเนินการตามแผน
จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จ
• บทที่ 3 หลักการบริหารของเรย์
บทที่ 1 สิ่งสำคัญของหลักการ
ทำไม จึงเชื่อว่า การมีหลักการนั้นสำคัญ และแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกได้ว่า หลักการแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด บทที่ 2 หลักการในการลงทุนทั้งชีวิตของเรย์ พื้นฐานทั้งหมดของหลักการของเรย์ บทที่ 3 อธิบาย ถึงหลักการบริหารของเรย์ มีการบริหารหรือนำไปใช้ ซึ่งมาจากหลักการเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน 3 ส่วน
1) เรื่องของตนเอง ซึ่งต้องเริ่มต้นจาก การแสวงหา “ หลักการ “ ของตัวเองก่อน
2) เป็นเรื่องของบริษัท คนกลุ่มต่างๆ และ
3) เป็นเรื่องของสังคมหรือประเทศหนึ่งๆ ที่มีส่วนกำหนดเกี่ยวข้องกับ สองส่วนแรก ที่อยู่ในสังคม
หลักการต้องได้มาจากความเป็นจริง และนำไปใช้ได้ผลจริง โดยเป้าหมายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงเมื่อเรามีหลักการของตนแล้ว การนำไปใช้กับคนอื่น ต้องมีคุณค่าและหลักการเดียวกันหรือร่วมกัน และ สอดคล้องกับหลักการของสังคมและประเทสที่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งหมด จึงจักได้ผลสำเร็จ ที่สำคัญ คือ ต้องยึดจับแน่นเป้าหมาย อย่าให้ความปรารถนาอารมณ์หรืออุปสรรคมาเปลี่ยนแปลงเป้าหมายไป นี่เป็นเรื่องสำคัญ ที่มักเกิดขึ้นในชีวิต อันเกิดจาก ตัวเอง ที่ขาดหลักการที่ดี และ จากกระแสสังคมพัดพาไป ในปัจจุบันของสังคมไทย ที่คนขาดคุณภาพ ขาดความเป็นอิสระ ที่จะคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐาน ของการมีความรู้ สติปัญญา ที่จะแสวงหาความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากยังไม่เข้าใจ ก็ต้องไม่ตัดสินใจเราต้องมีการสรุปประเมินและพัฒนาตลอด: หลักการและคุณค่าวัฒนธรรมของเรา -องค์กรและสังคมประเทศ
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
Ray Dalio มองเศรษฐกิจโลก
23 July 2019
Ray Dalio มองเศรษฐกิจโลกจะแย่หลังจากนี้ และ Fed เหลือนโยบายทางการเงินอีกไม่มาก
Ray Dalio เจ้าของ Hedge Fund ใหญ่ที่สุดในโลกได้ให้มุมมองสำคัญในด้านเศรษฐกิจ การลงทุน รวมไปถึงวิธีการสังเกตุว่าเศรษฐกิจโลกในขนาดนี้แย่หรือไม่
Ray Dalio เจ้าของ Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Bridgewater Associates ได้ให้สัมภาษณ์ลงในบทวิเคราะห์ของทาง Goldman Sachs ในเดือนกรกฏาคม ถึงมุมมองการลงทุน เรื่องของนโยบายธนาคารกลาง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ หลายๆ ประเด็นเป็นเรื่องที่น่าจับตามองในขณะนี้อย่างมาก รวมไปถึงการอยู่ให้เป็นในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้
Brand Inside รวบรวมประเด็นสำคัญจากบทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มาฝาก
นโยบายธนาคารกลางแต่ละที่เหลือไม่มาก
Ray เองมองว่าราคาหุ้นนั้นขึ้นมาเป็นอย่างมาก รวมไปถึงตราสารหนี้ด้วย สาเหตุเนื่องจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ได้ทำนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน โดยเราจะเห็นว่าปัจจุบันสภาพคล่องที่อัดเข้ามาจากธนาคารกลางทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวในโลกการเงินมีมากถึง 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากในช่วงวิกฤติการเงินเป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี Ray มองว่าในระยะสั้นๆ ผลตอบแทนสินทรัพย์เหล่านี้จะดี แต่ในระยะยาวแล้วจะลดลง เนื่องจากธนาคารกลางแต่ละที่จะเริ่มไม่เหลือนโยบายทางการเงิน เพราะว่าปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากๆ และถ้าหากนักลงทุนยังคาดหวังว่าธนาคารกลางยังคงนโยบายกดดอกเบี้ยต่ำและซื้อสินทรัพย์แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อแก้ปัญหา และถ้าแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจไม่ได้ มุมมองของตลาดจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน และ Ray มองว่าเวลาใกล้จะหมดไปทุกทีแล้ว
นอกจากนี้ Ray ยังมองว่าแต่เดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสูงถึง 5% ทำให้ Fed มีช่องว่างลดดอกเบี้ยลงมาได้มาก แต่ทุกวันนี้ถ้าหากเศรษฐกิจตกต่ำ Fed เหลืออัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 2% เท่านั้น และถ้ามองปัจจุบันนโยบายธนาคารกลางเริ่มอันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ
Fed มองระยะสั้นไป ทำให้ตลาดพังในปีที่แล้ว
Ray ยังมองว่าการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีที่ผ่านมาถือว่าได้ทำถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ดีเขาได้กล่าวว่าแต่ Fed ก็รู้ตัวว่าที่สุดแล้วได้ทำผิดพลาดเนื่องจากมองความเสี่ยงของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงเงินเฟ้อผิดพลาดไป รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอื่นๆ
เขายังมองว่า Fed กังวลเรื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากปี 2017 ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษี หรือแม้แต่ตัวเลขการว่างงานที่ลดลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เลยทำให้ Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ยในปีที่ผ่านมา แต่สิ่งหนึ่งที่ Fed ลืมไปคือเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงจากเรื่องของเทคโนโลยี รวมไปถึงการที่ Fed มองการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ มากไป ส่งผลให้ในปี 2018 ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ตกลงอย่างถ้วนหน้า
เศรษฐกิจโลกแย่หลังจากนี้ 4 เรื่องใหญ่ๆ
นอกจากนี้ตัวเขาเองยังมองว่าเศรษฐกิจโลกหลังจากนี้จะแย่ลง โดยมองจาก 4 เรื่องสำคัญได้แก่
- วัฏจักรของธุรกิจและการใช้จ่ายของประชาชน เขามองว่าวัฏจักรธุรกิจ (รวมไปถึง Debt Cycle ด้วย) รวมไปถึงเรื่องของวัฏจักรการใช้จ่ายเองไม่สัมพันธ์กัน โดยดูได้จากงบดุลของบริษัทต่างๆ ซึ่งเราจะเห็นในอนาคตการเจริญเติบโตจะลดลง
- วัฏจักรหนี้ระยะยาว (เช่น ตราสารหนี้ 10 ปี) อย่างที่เขาเองได้บอกไปตอนต้นว่าธนาคารกลางเริ่มที่จะหมดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- การเมืองสหรัฐ โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้กันทางความคิดระหว่าง ทุนนิยม กับ สังคมนิยม เนื่องจากช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นรายได้ โอกาสต่างๆ รวมไปถึงทรัพย์สิน ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนนโยบายต่างๆ ก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างรวมไปถึงตลาดหุ้น เช่น การลดภาษีนิติบุคคล แต่ไปเพิ่มภาษีอย่างอื่น ฯลฯ และเขามองว่าการปะทะกันทางความคิดหลังจากนี้จะย่ำแย่หนักกว่าเดิม
- เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งในช่วงหลังประเทศจีนเริ่มท้าทายผู้นำอย่างสหรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ
ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่เขามองว่ามีผลกระทบ เช่น การขึ้นมามีอำนาจมากขึ้นของเยอรมันและญี่ปุ่น แทนที่สหรัฐกับญี่ปุ่น การใช้นโยบายประชานิยม แรงกดดันเหล่านี้กดดันให้ธนาคารกลางแต่ละแห่งเหลือนโยบายทางการเงินไม่มาก และเรื่องดังกล่าวต่อไปนี้จะกดดันตลาดหุ้นในช่วงหลังจากนี้เป็นต้นไป
เราจะเห็นอะไรหลังจากนี้
Ray มองว่าด้วยปัจจัยหลังจากนี้ที่ได้กล่าวไป รวมไปถึงบริษัทต่างๆ ในตลาดหุ้นจะเริ่มมีการควบรวมกิจการกัน หรือแม้แต่การซื้อหุ้นกลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนโยบายของธนาคารกลางแต่ละแห่ง นอกจากนี้เขายังได้ฉายภาพถึงการเติบโตของบริษัทเอกชนในช่วงที่ผ่านมาถึงอัตรกำไรสุทธิรวมไปถึงรายได้ต่างๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุนทำให้เกิดช่องว่างทางรายได้ที่ได้กล่าวไปข้างต้น
นอกจากนี้ยังมีปัญหาหนี้ของประกันสังคมรวมไปถึงหนี้ของการรักษาสุขภาพของประชาชนที่มากขึ้น สอดคล้องกับภาษีที่ประชาชนต้องจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น หรือนโยบายทางการคลังที่ทำให้งบประมาณขาดดุล ซึ่งหลังจากนี้เขามองว่าเศรษฐกิจกำลังจะเกิดความเสี่ยงครั้งใหญ่ แต่เขาไม่สามารถบอกได้ว่าเศรษฐกิจกำลังจะถดถอยได้ภายในกี่ปี
แต่เขามองว่าถ้าหากเรื่องราวต่างๆ ยังเป็นไปแบบนี้เขามองว่าเศรษฐกิจโลกจะเหมือนกับช่วงหลังปี 1930 ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำนานที่สุด
นอกจากนี้เขายังได้แนะนำให้นักลงทุนเริ่มทยอยลดความเสี่ยงลงมาบ้าง และการลงทุนในทองคำยังคงน่าสนใจ ขณะที่หุ้นจีนก็ควรมีลงทุนไว้บ้าง โดยเขายังเน้นเรื่องการกระจายความเสี่ยงและไม่กระจุกสินทรัพย์เสี่ยงไว้ในที่เดียว
Source: https://www.stock2morrow.com/
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ประชาธิปไตย - เสรีนิยม กำลังพ้นสมัย
โดย: ทับทิม พญาไท
เผยแพร่: 4 ก.ค. 2562 15:38
Manager Online
ด้วยเหตุเพราะข่าวคราวความเคลื่อนไหวของโลก ของประเทศต่างๆ ช่วงวัน-สองวันมานี้...มันยังหนักไปทาง “ยักตื้นติดกึก-ยักลึกติดกัก” ไปตามธรรมชาติของมันอีกสักพัก ปิดท้ายสัปดาห์นี้...เลยขออนุญาตไปว่ากันถึงข่าวคราวที่ออกไปทาง “แนวคิด” ทางความเห็น ทางทัศนคติ อะไรทำนองนั้น ที่อาจน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าการไล่ฟัด ไล่บี้ ไล่ถีบ ไล่กระทืบ ระหว่างประเทศโน้น ประเทศนี้ เอาเลยก็ไม่แน่ แถมยังอาจนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เป็นคติ เป็นสติ ให้กับใครต่อใครในบ้านเราได้ไม่น้อย โดยเฉพาะบรรดาประเภท “นักประชาธิปไตย” ทั้งหลาย ที่กำลังกระเหี้ยนกระหือรืออยากเล่นงาน “เผด็จการ” ผู้สืบทอดอำนาจกันชนิดวันละ 3 เวลาหลังอาหาร...
คือข่าวคราวที่ว่านี้...น่าจะมีอยู่ประมาณ 2 เรื่อง 2 กรณีด้วยกัน เรื่องแรกคือ กรณีที่ผู้นำรัสเซีย ประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” ท่านได้เปิดปาก เปิดใจ ให้สัมภาษณ์ 2 นักข่าวแห่งหนังสือพิมพ์ “ไฟแนลเชียล ไทมส์” คือ “นายเฮนรี ฟอย” (Henry Foy) และ “ลีโอเนล บาร์เบอร์” (Lionel Barber) เมื่อช่วงวันพุธที่ 26 มิถุนายนเดือนที่แล้ว แบบชนิดยาวเหยียดอีเหลนเป๋น มีทั้งเรื่องปัญหาในตะวันออกกลาง ในละตินอเมริกา ความขัดแย้งทางการเมืองในซีเรีย ในเวเนซุเอลา ฯลฯ ฟังกันชนิดอิ่มไปข้าง แต่ที่น่าคิด น่าสะกิดใจเอามากๆ ก็คือการที่ท่านได้ “ฟันธง” ลงไปแบบชนิดเต็มผืน เต็มด้าม ว่า “แนวคิดแบบเสรีนิยม” อันเป็นพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตยไม่ว่าในอเมริกา หรือในยุโรปก็แล้วแต่ ได้พ้นสมัย หรือหมดสมัยลงไปเรียบโร้ยย์ย์ย์แล้ว!!!
ส่วนเรื่องที่ 2 อาจไม่ออกไปทางข่าวคราวโดยทั่วไปสักเท่าไหร่ เพราะเป็นการแสดงความคิด ความเห็น ผ่านข้อเขียน หรือบทความของนักคิด นักเขียน คอลัมนิสต์แห่งหนังสือพิมพ์ “เดอะ การ์เดียน” ผู้เคยมีฐานะเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานประเทศอเมริกา เป็นศาสตราจารย์ด้านนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และเคยเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Saving Capitalism : For the Many, Not the Few” ที่ขายดิบ ขายดี อยู่พอสมควร ชื่อว่า “นายโรเบิร์ต ไรช์” (Robert Reich) ที่ได้สรุปความคิด ความเห็นเอาไว้ในบทความว่าด้วยความพังพินาศของเศรษฐกิจอเมริกา อันมีเหตุปัจจัยเนื่องมาจาก “ตัวของตัวเอง” นั่นแหละ ไม่ใช่เป็นเพราะ “จีน” หรือเพราะประเทศคู่แข่ง คู่กัดไหนๆ ก็แล้วแต่ อันถือเป็นบทความที่น่าคิด น่าสะกิดใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเว็บไซต์ “ผู้จัดการ ออนไลน์” ของเราเอง ก็ได้นำมาถ่ายทอดเรียบเรียงให้อ่านกันได้สบายๆ เมื่อช่วงวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา และอาจถือเป็นบทความที่ “ต้องอ่าน” หรือ “อ่านแล้วบ้านท่านไฟไม่ไหม้” อะไรทำนองนั้น...
คือทั้งศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน และผู้นำชาวรัสเซียที่อยู่กันคนละโลก คนละซีก คนละประเทศ คนละระบบ แต่ดูจะมีความคิด ความเห็นตรงกันในเรื่องหนึ่ง ก็คือเรื่องที่ “ความเป็นประชาธิปไตย” อันมีพื้นฐานมาจากแนวคิดเสรีนิยมทั้งหลายนั้น เอาไป-เอามาแล้ว มันไม่ได้เป็นตัวตอบคำถาม หรือเป็นตัวแก้ปัญหา ไม่ว่าในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ให้กับแต่ละประเทศได้แบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ไม่สามารถนำไปอม-ดม-หยอด-สอด-เสียบ ได้ในทุกเรื่อง ทุกกรณี อย่างที่เคยคิดๆ กันมาก่อนหน้านั้น ชนิดสามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือ “ช่องว่างทางผลประโยชน์” ระหว่าง “ชนชั้นนำ” กับบรรดา “ประชาชน” คนส่วนใหญ่โดยทั่วไป หรืออย่างที่ “ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ไรช์” ท่านได้ให้ข้อสรุปเอาไว้นั่นแหละว่า ด้วยเหตุเพราะ “ระบบเศรษฐกิจ” ของประเทศประชาธิปไตยอย่างอเมริกานั้น มุ่งที่จะเน้นการเพิ่มผลตอบแทนให้กับบรรดาเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น ในบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำประมาณ 500 บริษัท เศรษฐกิจอเมริกาก็จึงบรรลุเป้าหมายไปตามแนวทางทุนนิยมดังที่ตัวเองต้องการ นั่นก็คือก่อให้เกิดผลกำไร ผลประโยชน์ตกอยู่บรรดาบริษัทเหล่านี้แบบชนิดอุ่นหนาฝาคั่ง อันสามารถดูได้จากผลประกอบการของบรรดาบริษัทใน “S&P 500” ที่อู้ฟู่ อูมฟูม มาโดยตลอด...
แต่ในขณะที่ “ระบบเศรษฐกิจ” ของประเทศเผด็จการอย่างจีนนั้น กลับมุ่งที่จะบรรลุเป้าหมายในทิศทางตรงกันข้าม คือมุ่งที่จะเพิ่มประโยชน์สูงสุดให้กับบรรดาประชาชนชาวจีนโดยทั่วไป จนสามารถบรรลุเป้าหมายภายในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา นั่นคือสามารถทำให้ชาวจีนไม่น้อยกว่า 100 ล้านคน หลุดพ้นไปจากความยากจนได้สำเร็จ ภายใต้ความพยายามบรรลุจุดมุ่งหมายในลักษณะที่แตกต่างกันไปเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้ผลพวงของ “ความเป็นประชาธิปไตย” และ “ความเป็นเผด็จการ” มันเลยย่อมแตกต่างกันไปด้วย ดังที่ศาสตราจารย์รายนี้ท่านอดไม่ได้ที่ต้องสรุปไว้ว่า... “อเมริกาเป็นประชาธิปไตย และจีนเผด็จการใช่ไหม...ใช่!!! แต่นับวันคนอเมริกันส่วนใหญ่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะน้อยเอามากๆ หรือแทบไม่มีเลย...”
และด้วยการหยิบยกตัวอย่าง มาเป็นเครื่องพิสูจน์ รองรับเหตุผลให้เห็นกันแบบจะจะแจ้งๆ ก็ออกจะเป็นอะไรที่แทบมิอาจปฏิเสธได้อย่างที่ท่านว่าเอาจริงๆ นั่นแหละ เช่นกรณีบริษัท “Walmart” ที่ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำของอเมริกา และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกันยุค “ทรัมป์บ้า” ลดภาษีนิติบุคคลให้ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ แต่ด้วยจุดมุ่งเพื่อที่จะทำผลประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัท ให้กับเจ้าของผู้ถือหุ้น ขณะบริษัทพยายามลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายของตัวเองด้วยการปิดสาขา ลอยแพพนักงานไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ แต่กลับยอมเจียดเงินจำนวนถึง 20,000 ล้านดอลลาร์มาซื้อคืนหุ้นตัวเอง เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง ฯลฯ ตลอดไปจนอีกหลายๆ ตัวอย่าง หลายๆ เหตุผล ที่ยากจะปฏิเสธ ใครสนใจรายละเอียด คงต้องไปหาอ่านกันเอาเองก็แล้วกัน...
แต่โดยสรุปรวมความแล้ว...ก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากผู้นำรัสเซีย อย่างประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” นั่นแหละ ที่สรุปเอาไว้ว่า “ปัญหาที่เด่นชัดของอเมริกา” (รวมทั้งอีกหลายประเทศในยุโรป) ก็คือ “ช่องว่างระหว่างผลประโยชน์ของชนชั้นนำกับผลประโยชน์ของบรรดาชาวอเมริกันส่วนใหญ่ทั้งหลาย” หรือ “การที่ผู้ปกครองอันประกอบด้วยบรรดาชนชั้นนำ ได้ถูกตัดขาดไปจากประชาชนส่วนใหญ่แบบแทบจะโดยสิ้นเชิง” ความเป็นเสรีนิยมอันเป็นถือเป็นรากฐานของประชาธิปไตยในอเมริกาหรือในยุโรปแต่ละประเทศ มันจึงได้เกิดอาการ “Liberal Idea has become obsolete” หรือเกิดอาการพ้นยุค พ้นสมัย ไปด้วยประการละฉะนี้...
พูดง่ายๆ ว่า...ไม่ว่าประชาธิปไตย เผด็จการ หรือระบอบระบบชนิดไหนๆ ก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญเอามากๆ หรือต้องเรียกว่าสำคัญที่สุดเอาเลยก็ว่าได้ มันก็น่าจะอยู่ที่ “จุดมุ่งหมาย” หรือความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของระบบและระบอบนั้นๆ นั่นแล ไม่ได้เกี่ยวกับว่าใครจะลิเบอร่าน ไม่ลิเบอร่าน ใครจะก้าวหน้า ใครจะอนุรักษ์ ใครอยากจะนับญาติ นับลุง-ป้า-น้า-อา หรือไม่คิดจะนับลุง-ป้า-น้า-อา ไปจนถึงใครยิ้ม-ใครไม่ยิ้ม เพราะมีอะไร หรือไม่มีอะไรอยู่ในสมอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ...มันอยู่ที่คุณธรรม อยู่ที่ศีลธรรมของ “ผู้ปกครอง” นั่นเอง ว่าจะสูง จะต่ำกันไปในระดับไหน อันนี้นี่เอง...ที่อาจนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ นำมาเป็นคติ เป็นสติให้กับบรรดา “นักประชาธิปไตยวันละ 3 เวลาหลังอาหาร” ในบ้านเราได้มั่ง แต่แม้แต่เล็กๆ-น้อยๆ ก็ยังดี...
Source: https://mgronline.com/daily/detail/9620000063704
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)