Yakorn
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563
New Normal กับการลงทุน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
21 Apr 2020
ท่ามกลางการตกต่ำลงของหุ้นและตลาดหุ้นทั่วโลกเนื่องจากวิกฤติไวรัสโคโรน่า หุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกตัวหนึ่งคือหุ้นของอะมาซอน
ยักษ์ใหญ่ด้าน e-commerce ของอเมริกากลับดีดตัวขึ้นเป็น “All time high” คือสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ประมาณ 2,375 เหรียญหรือ 77,000 บาทต่อหุ้นในวันที่ 17 เมษายน 2563 เหตุผลคงเป็นเพราะนักลงทุนเห็นว่าอะมาซอนไม่ถูกกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ ว่าที่จริงดูเหมือนว่าบริษัทจะมีลูกค้ามากขึ้นมากจน “ทำงานแทบไม่ทัน” เพราะคนอเมริกันและทั่วโลกต่างก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าจากการไปซื้อหน้าร้านมาซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตผ่านอะมาซอนเป็นจำนวนมาก และนักลงทุนก็เชื่อว่าเมื่อคนหันมาใช้ช่องทางนี้แล้ว พวกเขาก็จะไม่หันกลับไปซื้อจากหน้าร้านเท่าเดิมแม้ว่าการระบาดของโควิด19 อาจจะผ่านไปแล้ว เพราะการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตนั้นมันดีกว่าการไปซื้อที่หน้าร้านที่ต้องเสียเวลามากกว่าและราคาก็อาจจะแพงกว่าด้วย “มาตรฐานใหม่” หรือ “New Normal” ของการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตน่าจะกำลังเกิดขึ้นและมันส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนและหุ้นของบริษัทธุรกิจต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง มาดูกันว่าโควิด19 น่าจะกำลังสร้าง New Normal กับประเทศไทยทางไหนบ้าง
สิ่งแรกก็คงเป็นเรื่องเดียวกันคือการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่ไทยเองนั้นยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับการซื้อขายผ่านหน้าร้านก่อนเกิดโควิด19 การแพร่ระบาดของไวรัสทำให้คนไทยจำนวนมากต้องสั่งสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตหรือช่องทางสื่อสารอื่น ๆ เฉพาะอย่างยิ่งก็คืออาหารพร้อมกินที่ร้านและภัตตาคารต่างก็ปิดไม่ให้ไปนั่งกินที่ร้าน นอกจากนั้น การปิดห้างค้าขายสรรพสินค้าเกือบทั้งหมดก็บังคับให้คนที่ต้องการสินค้าต่างก็ต้องสั่งผ่านอินเตอร์เน็ต นี่ทำให้คนเริ่มคุ้นชินกับการสั่งสินค้าโดยไม่ต้องไปดูที่ร้าน และพวกเขาก็เริ่มรู้สึกว่านี่นอกจากจะเป็นการเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสแล้ว มันยังเป็นวิธีการที่ดี สะดวก และถูกกว่าการไปซื้อของที่หน้าร้าน ผลก็คือ หลังจากวิกฤติผ่านไป พวกเขาก็จะยังคงสั่งซื้อของจำนวนมากผ่านอินเตอร์เน็ต ธุรกิจการขายสินค้าผ่านหน้าร้านอาจจะไม่รุ่งเรืองเหมือนเดิมอีกต่อไป
ผลกระทบที่เห็นได้ชัดก็คือ ตัวร้านค้าอาจจะขายของได้น้อยลง ทำเลของร้านอาจจะมีค่าน้อยลง บางแห่งอาจจะไม่คุ้มที่จะมีร้าน ชอปปิ้งมอลอาจจะขายของได้น้อยลงซึ่งจะทำให้ธุรกิจนี้ไม่เป็นธุรกิจที่ดีสุดยอดในประเทศไทยอีกต่อไป ว่าที่จริงในสหรัฐเองนั้น ร้านค้าจำนวนมากรวมถึงร้านระดับครีมจริง ๆ ต่างก็ปิดตัวไปแล้วจำนวนมากจนแทบจะเป็นธุรกิจที่ “กำลังจะตาย” ในประเทศไทยเองนั้น ธุรกิจนี้ยังดีอยู่และมีราคาหุ้นที่แพงมากจนถึงวิกฤติโควิด19 หลังจากวิกฤติครั้งนี้ผมคิดว่าคนไทยก็น่าจะยังเดินห้างอยู่เนื่องจากห้างเป็นที่ ๆ ติดเครื่องปรับอากาศและเป็นแหล่งรวมของความบันเทิงและกิจกรรมที่เราต้องทำหลาย ๆ อย่างโดยเฉพาะในวันหยุด อย่างไรก็ตาม พวกเขาน่าจะซื้อสินค้าน้อยลงและทำให้ช็อปปิ้งมอลมีมูลค่าน้อยลง
New Normal ที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องของสื่อทางอิเล็คโทรนิกส์ที่มาแทนการพบกันต่อหน้า อานิสงค์จากนโยบาย “Social Distance” ที่ทำให้คนไม่มาอยู่ใกล้กันเพื่อเลี่ยงการติดและแพร่เชื้อไวรัส เรื่องที่สำคัญและน่าจะมีผลต่อไปหลังโควิดก็คือ “การทำงานที่บ้าน” ซึ่งแทบทุกบริษัทต่างก็ทำกันในช่วงนี้ การทำงานที่บ้านนั้น ก่อนหน้านี้ก็มักจะพูดกันว่าไม่ได้ผลดีเนื่องจากเหตุผลร้อยแปดซึ่งรวมถึงการที่ไม่สามารถตรวจสอบได้จริงว่าทำงานจริงหรือไม่ ทำเต็มเวลาหรือไม่ รวมถึงความคิดที่ว่าเวลาอยู่ด้วยกันที่ออฟฟิสจะมีการประสานงานหรือระดมสมองได้ดีกว่า ดังนั้น ระบบการทำงานที่บ้านก็เป็นได้แค่งานบางอย่างหรือบางบริษัท แต่เมื่อถูกบังคับว่าแทบทุกฝ่ายงานจะต้องทำงานที่บ้านเป็นการชั่วคราว พวกเขาก็ทำได้ และในระหว่างนั้นก็อาจจะค้นพบความจริงว่า การทำงานที่บ้านนั้นไม่ได้ลดประสิทธิภาพอย่างที่กลัวกัน การประชุมกลุ่มเพื่อระดมสมองก็ทำได้เหมือนเดิมผ่านระบบ Conference ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานง่ายมาก โดยรวมแล้วประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ด้อยลง ว่าที่จริงทุกอย่างอาจจะดูดีขึ้นด้วยซ้ำจนอาจจะสามารถลดคนทำงานลงได้ เช่นเดียวกัน พื้นที่ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในสำนักงานก็สามารถลดลงได้มาก ดังนั้น หลังจากวิกฤติผ่านไป บริษัทก็อาจให้พนักงานทำงานที่บ้านต่อไปในหลาย ๆ ส่วนงานก็เป็นไปได้
ผลกระทบก็คือ อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นตึกสำนักงานก็คงมีการเติบโตน้อยลง การเดินทางประจำวันก็อาจจะไม่มากเหมือนก่อนวิกฤติโควิด19 อาจจะเป็นไปได้ที่รถยนต์ที่วิ่งตามท้องถนนในช่วงเร่งด่วนอาจจะไม่ติดเท่าเดิมเช่นเดียวกับระบบขนส่งมวลชนเช่นรถลอยฟ้าหรือรถใต้ดินอาจจะไม่โตเหมือนเดิมอีกต่อไป หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นไปไม่ได้เพราะคุ้นเคยกับสภาพที่รถติดและการเดินทางที่เบียดเสียดมากในเมืองหลวงในช่วงเวลาเร่งด่วนในช่วงก่อนวิกฤติ แต่ครั้งนี้มันอาจจะไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะถ้าจำนวนคนที่ต้องเดินทางไปทำงานในสำนักงานลดลงไปซัก 10% หลังวิกฤติโควิด19 เป็นต้น
การเรียนของนักเรียนและนักศึกษาในช่วงวิกฤติที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องปิดนั้น ถูกทำผ่านระบบ Conference เช่น ระบบ ซูม และระบบอื่น ๆ นั้น ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพดีมาก นักศึกษาที่เรียนนั้น สามารถทำกิจกรรมแทบทุกอย่างซึ่งรวมถึงการนั่งเรียน สอบถามอาจารย์ ถกเถียงและสัมมนากันสด ๆ ระหว่างคนใน “ห้อง” และเข้า “สอบ” ได้โดยไม่ต้องมาที่มหาวิทยาลัยเลย หลังจากโควิด19 แล้ว ผมคิดว่าความ “เคยชิน” ที่รู้สึกว่าการนั่งเรียนที่บ้านหรือที่อื่นโดยไม่ต้องไปที่มหาวิทยาลัยนั้นสบายและประหยัดกว่ามากทำให้ผมคิดว่าระบบนี้จะอยู่ต่อไปซึ่งจะทำให้ความจำเป็นที่จะต้องมี“สถานที่” เพื่อทำการเรียนและสอนโดยเฉพาะของมหาวิทยาลัยนั้นน้อยลงมาก การปิดตัวหรือลดขนาดลงของมหาวิทยาลัยไทยโดยเฉพาะของเอกชนหลาย ๆ แห่งจะเร็วขึ้นไปอีก
สุดท้ายที่ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการลงทุนก็คือเรื่องของสังคมและการเมืองที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาตลอดในยุคของการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตและไร้พรมแดน โควิด19 ได้ทำให้ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ต่าง ๆ ของคนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การตอบสนองของรัฐ สังคม และประชาชนทำให้เกิดการ “ต่อสู้” ของคนในสังคมและการเมืองอย่างรุนแรงผ่านโลก “ไซเบอร์” ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในช่วงเวลานี้และต่อไปจะเกิด “New Normal” ในแง่ที่ว่า “สนามรบหรือสนามของการแข่งขันอยู่ในอินเตอร์เน็ต” และคนที่ต่อสู้หรือแข่งขันนั้นมีอินเตอร์เน็ตแอ็คเค้าท์เป็นอาวุธ
นักการเมืองที่จะมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับและเด่นดังในปัจจุบันและในอนาคตก็คือคนที่มีผู้ติดตามและได้รับความเชื่อถือในอินเตอร์เน็ตมากที่สุด ทั้ง ๆ ที่บางทีก็ไม่ได้อยู่ในประเทศด้วยซ้ำ นักแสดงหรือดาราที่จะมีชื่อเสียงสามารถทำเงินได้สูงก็คือคนที่เป็นเน็ตไอดอลที่มีคนติดตามมากและได้รับการยอมรับจากสังคมของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลา ตรงกันข้าม ดาราคนไหนที่ถูก “แซงชั่น” ก็อาจจะ “ดับ” ได้ง่าย ๆ รัฐบาลหรือคนที่มีหน้าที่ในการบริหารงานสาธารณะนั้น ถึงที่สุดแล้วก็จะถูกสังคมไซเบอร์ “ควบคุม” ให้ต้องปฏิบัติตามแทนที่จะเป็นฝ่ายค้าน และในสังคมของอินเตอร์เน็ตนั้น บ่อยครั้งคนที่มีอิทธิพลบางทีก็ไม่จำเป็นต้องมีตัวตน แต่มีอำนาจสูงมากถ้ามีความรู้และข้อมูลนำเสนอให้คนในสังคมเห็นชอบได้ การเข้ามาของ “อำนาจใหม่” ที่ยิ่งใหญ่ของคนในอินเตอร์เน็ตนั้น อาจจะทำให้เกิดการประทะกับ Establishment หรืออำนาจเดิมซึ่งยังอยู่ใน “โลกเก่า” และนี่ก็อาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงที่กระทบกับการพัฒนาของประเทศหรือเป็น “Country Risk” หรือ “ความเสี่ยงของประเทศ” ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนอย่างรุนแรงได้ นี่เป็นสิ่งที่นักลงทุนจำเป็นที่จะต้องรู้ และสถานที่ที่ดีที่สุดในการติดตามพัฒนาการต่าง ๆ ก็คือในทวิตเตอร์ที่เป็นแหล่งที่มี “เสรีภาพ” ในการแสดงความคิดเห็นสูง
Source: https://www.bangkokbiznews.com/
วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562
Low Productivity in Japan
เบื้องหลังการทำงานที่ได้ "ผลิตภาพต่ำ" ของญี่ปุ่น
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2562 08:59 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ภาพจาก https://blog.gaijinpot.com/working-past-the-time/
คอลัมน์ "เรื่องเล่าสะใภ้ญี่ปุ่น" โดย "ซาระซัง"
สวัสดีค่ะเพื่อนผู้อ่านที่รักทุกท่าน ญี่ปุ่นมีภาพลักษณ์ว่าเป็นประเทศที่คนทำงานหนัก ทำงานกันจนดึกดื่น และมีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไปให้ได้ยินเป็นคราว ๆ แม้ปัจจุบันรัฐบาลจะพยายามหามาตรการลดชั่วโมงการทำงานลงแล้ว แต่คนญี่ปุ่นจำนวนมากก็ยังคงทำงานล่วงเวลากันเป็นปกติ ที่สำคัญคือผลิตภาพยังต่ำอีกด้วย
เวลาพวกเพื่อนชาวญี่ปุ่นนัดรับประทานข้าวเย็นกันเป็นกลุ่มทีไร มักจะมีใครสักคนที่มาไม่ได้หรือมาสายกว่าคนอื่นมากเพราะยังทำงานไม่เสร็จ บางคนก็มีช่วงที่งานหนักมาก เลิกงานหลังเที่ยงคืนหลายวันต่อกันจึงไม่มีรถไฟวิ่งแล้ว ต้องค้างโรงแรมแคปซูลใกล้ที่ทำงานแทน
เพื่อนคู่หนึ่งซึ่งเป็นสามีภรรยากันต่างทำงานบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นด้วยกันทั้งคู่ เพื่อนผู้หญิงอยู่บริษัทโทรคมนาคม ยังเลิกงานไม่ดึกมาก กลับบ้านประมาณ 2-3 ทุ่ม ส่วนฝ่ายชายทำงานบริษัทโฆษณากลับดึกกว่าเพราะบางทีต้องถ่ายทำโฆษณากันนาน ฉันถามว่ากลับกี่โมงละ? 4 ทุ่ม? 5 ทุ่ม เขาบอกว่า “แหม อย่างนั้นเขาเรียกว่ากลับเร็ว อย่างผมน่ะได้กลับหลังเที่ยงคืนประจำ ตีสองอะไรอย่างนี้” สภาพการทำงานเช่นนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติและเข้าใจได้สำหรับคนญี่ปุ่น
ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน
ในรายงานของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีชั่วโมงการทำงานต่อปีต่ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ใน OECD ซึ่งถ้าดูข้อมูลแค่นี้ก็อาจจะประหลาดใจ และเข้าใจผิดว่าชั่วโมงการทำงานของญี่ปุ่นไม่ได้ยาวนานเป็นพิเศษเลย
ภาพจาก https://theculturetrip.com/asia/japan/
แต่เมื่อดูคำอธิบายของ OECD แล้ว ก็จะพบว่าตัวเลขนี้รวมคนทำงานทุกประเภท ทั้งงานประจำ พาร์ทไทม์ ธุรกิจส่วนตัว และงานเสริม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าญี่ปุ่นมีคนทำงานพาร์ทไทม์เป็นจำนวนมาก และชั่วโมงการทำงานก็มักสั้น จึงอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทำงานในญี่ปุ่นต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างกินเงินเดือนส่วนใหญ่ต่ำไปด้วย
และ OECD เองก็ยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ลูกจ้างในญี่ปุ่นที่มีชั่วโมงการทำงานยาวนานมากนั้น มีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของประเทศกลุ่ม OECD ด้วย นอกจากนี้ ลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลายังให้เวลากับการดูแลตัวเอง (เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับ) และพักผ่อนหย่อนใจ (อยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูง ทำงานอดิเรก หรือทำอะไรเพลิดเพลิน) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม OECD อีกเช่นกัน
จากรายงานของกระทรวงแรงงานญี่ปุ่นระบุว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59) ทำงานล่วงเวลา คือทำงานเกิน 40 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ และประมาณ 1 ใน 5 ของคนญี่ปุ่น (ร้อยละ 21) ทำงานสัปดาห์ละมากกว่า 49 ชั่วโมง นอกจากนี้ หลายแห่งยังไม่จ่ายค่าล่วงเวลาหรือจ่ายน้อยกว่าที่ควรจะได้รับตามจริงอีกด้วย
สาเหตุของชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และการทำงานหนัก
ลูกจ้างที่ทำงานล่วงเวลาหลายชั่วโมงเป็นปกติมักกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “งานที่ต้องทำมีปริมาณมากจนล้นมือ” การทำงานในบริษัทของลูกจ้างเหล่านี้ยังมักเป็นไปในลักษณะที่ มีงานด่วนเข้ามากระทันหันอยู่บ่อย ๆ กำหนดส่งงานก็กระชั้นชิด และการกระจายงานไม่เท่ากัน ทำให้บางคนงานเยอะกว่าคนอื่น เป็นต้น
การทำงานหนักยังเป็นค่านิยมที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย ดังจะเห็นได้จากรายงานของกระทรวงแรงงานญี่ปุ่นที่ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งลูกจ้างคนไหนทำงานล่วงเวลามาก ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมองเจ้านายที่ทำงานล่วงเวลาในแง่บวก เช่น มีความขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบสูง ทำงานเก่ง สมควรได้รับการประเมินดี และเป็นที่คาดหวัง แต่ยิ่งลูกจ้างคนไหนทำงานล่วงเวลาน้อย ก็ยิ่งมีแนวโน้มมองเจ้านายที่ทำงานล่วงเวลาในแง่ลบไปแทน เช่น ไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน อยากได้เงินค่าล่วงเวลา หรือไม่ก็คงไม่มีอะไรอย่างอื่นทำ
ภาพจาก https://theculturetrip.com/asia/japan/
ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) รู้สึกผิดหากจะใช้สิทธิ์วันลาหยุด เพราะอดคิดไม่ได้ว่าวันธรรมดาคือวันทำงาน ถ้าตนเองลา คนอื่นก็อาจเดือดร้อนต้องทำงานแทน หรือไม่อย่างนั้นตนเองก็ต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อกลับมาทำงานแล้ว บางคนพอจะขอนายลาหยุด ก็โดนนายถามว่าทำไมถึงลา ทำให้ไม่กล้าขอลาหยุด
การที่สังคมให้คุณค่ากับการทำงานหนัก รวมทั้งการรู้สึกผิดหากไม่แสดงให้คนอื่นเห็นว่าตนเองมีความมุมานะขยันทำงาน จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการทำงานล่วงเวลาต่อไปเรื่อย ๆ โดยปริยาย บางคนที่รู้สึกรับผิดชอบต่องานมากก็ยอมกระทั่งทำงานล่วงเวลาโดยสมัครใจและไม่รับค่าล่วงเวลา หรือไม่ก็หอบงานกลับไปทำที่บ้าน ในขณะที่บางคนทำงานเสร็จแล้วอยากจะกลับบ้านก็ไม่กล้า ด้วยกลัวสายตาเจ้านายว่าจะมองเขาอย่างไร
ทำงาน “หนัก” แต่ผลิตภาพต่ำ
ในขณะเดียวกัน ดูเหมือนการทำงาน “หนัก” ของญี่ปุ่นเช่นนี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดผลิตภาพที่สูงเท่าใดนัก ดังจะเห็นได้ว่าคนทำงานในญี่ปุ่นหนึ่งคนสามารถสร้าง GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) ต่อชั่วโมงการทำงานได้ต่ำสุดในกลุ่มประเทศ G7 และในขณะที่ค่าเฉลี่ย GDP ต่อชั่วโมงการทำงานของกลุ่มประเทศ G7 อยู่ที่ 65.4 เหรียญสหรัฐฯ ของญี่ปุ่นอยู่ที่เพียง 46.8 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
ภาพจาก https://jopus.net/en/news/
เป็นไปได้ว่าผลิตภาพที่ต่ำของญี่ปุ่นอาจมาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกคือ แสร้งว่าทำงานแต่ทำไปงั้น ๆ คือมีหลายคนที่อยู่ในที่ทำงานจนดึกดื่นไปอย่างนั้นเองเพราะนายยังไม่กลับ หรือบางคนก็คิดว่าอย่างไรตนก็ถูกคาดหวังให้ทำงานล่วงเวลาอยู่แล้ว ระหว่างชั่วโมงการทำงานปกติ จึงไม่ขยันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
สาเหตุที่สองได้แก่ การให้ความสำคัญกับงานที่ไม่จำเป็น คนจำนวนมากระบุว่ามีงานหลายอย่างซึ่งสามารถเอาเทคโนโลยีมาช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นหรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ แต่บริษัทกลับไม่ยอมลงทุนเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ กลับใช้แรงงานคนแทน อีกทั้งคนญี่ปุ่นก็มักเน้นการประชุมซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มีการสื่อสารกันได้ดีขึ้น แต่ก็มีผู้ที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์จริงเท่าใด รวมทั้งบางเรื่องก็กำหนดแน่นอนไปแล้วก่อนมีการประชุมเสียด้วยซ้ำ
มาตรการในปัจจุบันและผลลัพธ์
กฏหมายปฏิรูปการทำงาน
กฎหมายนี้ห้ามมิให้ทำงานล่วงเวลาเกิน 45 ชั่วโมงต่อเดือน และไม่เกิน 360 ชั่วโมงต่อปี เว้นแต่จะมีช่วงที่มีความจำเป็นพิเศษจะทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 100 ชั่วโมงต่อเดือน และไม่เกิน 720 ชั่วโมงต่อปี บังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่ตั้งแต่เมษายนปีนี้ (2562) และจะบังคับใช้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมเดือนเมษายนในปีถัดไป (2563)
“ไม่เอาการทำงานยาวนานหลายชั่วโมงอีกแล้ว” ภาพจาก https://tokyogeneralunion.org/
แต่ปรากฏว่าแม้ที่ทำงานบางแห่งจะบังคับให้ลูกจ้างเลิกงานเร็วขึ้น คือกลับไม่เกินเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการดับไฟอัตโนมัติ หรือปิดคอมพิวเตอร์อัตโนมัติก็ตาม สิ่งเหล่านี้กลับไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้างบางส่วน เนื่องจากว่าปริมาณงานมีอยู่เท่าเดิม พอถูกไล่ให้กลับบ้านก็ทำงานไม่เสร็จ ต้องหอบกลับไปทำต่อที่บ้านบ้าง หรือไม่ก็ต้องมาทำงานแต่เช้าในวันต่อไป
พรีเมียมฟรายเดย์
รัฐเสนอให้ลูกจ้างเลิกงานได้ตั้งแต่บ่ายสามโมงในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน แต่ไม่ได้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และในทางปฏิบัติพบว่ามีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่ได้เลิกงานเร็วจริง
ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน
ปัจจุบันมีบริษัทบางแห่งที่ริเริ่มลดวันทำงานลง เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาไปดูแลครอบครัว เช่นบางคนอาจต้องไปดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า หรือภรรยาที่ป่วย หรือทำธุระจำเป็นอื่น ๆ โดยให้ลูกจ้างที่สมัครใจสามารถมาทำงานสัปดาห์ละ 4 วันได้ แต่ยังคงต้องทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงเท่าเดิม และได้รับเงินค่าจ้างตามปกติ ในขณะที่บางแห่งก็ใช้นโยบายเดียวกัน คือทำงานเท่าเดิม จำนวนวันลดลง แต่ไม่ให้ค่าจ้างในวันที่ได้หยุด
สรุปคือลดวันทำงานไม่ได้แปลว่าลดชั่วโมงการทำงาน ต้องทำงานมากกว่าเดิมในวันอื่น ๆ แทน อีกทั้งยังอาจได้รับค่าจ้างหรือไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ได้หยุดเพิ่มด้วย ไม่ทราบว่าอย่างนี้จะทำให้คนยิ่งเครียดเพิ่มหรือเปล่านะคะ แถมการปรับแบบนี้ยังดูสักแต่ว่าสนองนโยบายรัฐไปอย่างนั้นเอง รูปแบบภายนอกอาจเปลี่ยนแต่เนื้อในก็คงเดิม ไม่ได้มองในแง่ที่จะช่วยลดภาระและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนทำงานจริงเท่าใดเลย
ฉันได้ยินมาว่าประเทศตะวันตกที่ให้ทำงานสัปดาห์ละ 4 วันนั้น บางแห่งนอกจากจะลดชั่วโมงการทำงานแล้ว ยังให้ค่าจ้างเท่าเดิมด้วย ที่สำคัญคือประเทศพัฒนาในตะวันตกมักมีความผ่อนปรนในการทำงานมากกว่า บรรยากาศการทำงานผ่อนคลายกว่า แต่กลับมีผลิตภาพสูงกว่าญี่ปุ่น (ในขณะเดียวกันเกาหลีใต้ซึ่งมีชั่วโมงการทำงานยาวนานกว่าญี่ปุ่น ก็มีผลิตภาพต่ำกว่าญี่ปุ่น และต่ำจนเกือบจะรั้งท้ายประเทศกลุ่ม OECD)
https://classy-online.jp/
การปฏิรูปการทำงานเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเกิดขึ้นได้จริงคาดว่าต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อนคือภายในแต่ละบริษัทเอง ที่ผู้มีตำแหน่งระดับหัวหน้าต้องตระหนักอย่างจริงจังถึงความ “ได้ไม่คุ้มเสีย” ของชั่วโมงการทำงาน ซึ่งนอกจากจะยาวนานเกินความจำเป็นแล้ว ยังสร้างผลิตภาพต่ำและส่งผลร้ายต่อสุขภาพของพนักงานด้วย
นอกเหนือจากนี้ ญี่ปุ่นอาจต้องปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติที่เคยชินกันมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารปริมาณมาก การประชุมที่บ่อยเกินไป และหันมาใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ทำงานได้ง่ายจากทุกที่ อีกทั้งยังต้องท้าทายความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่าการทำงานหนัก ยาวนาน และใช้วันลาหยุดน้อยเป็นคุณค่าที่ควรยกย่องในยุคปัจจุบันจริงหรือไม่
หากญี่ปุ่นยังต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ท่ามกลางประชากรที่กำลังจะลดฮวบลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ญี่ปุ่นจำต้องปรับโครงสร้างการทำงานอย่างจริงจังและขนานใหญ่ ที่ไม่ได้เพียงจำกัดกรอบอยู่เพียงในกฎหมาย แต่เป็นไปในทางปฏิบัติให้เห็นชัดเจน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มผลิตภาพให้สูงขึ้น รักษาแรงงานที่มีอยู่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ความยืดหยุ่นนี้เองก็น่าจะทำให้แรงงานต่างชาติมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการทำงานในญี่ปุ่น รวมทั้งอาจมีส่วนส่งเสริมให้ญี่ปุ่นกับต่างชาติเปิดใจในความต่างได้ง่ายขึ้น และร่วมมือกันทำงานได้อย่างกลมกลืนต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ราคาเน็ตทั่วโลก
ราคาเน็ตทั่วโลก ‘ถูก’ หรือ ‘เเพง’ กว่าไทย
By TopTen
-December 15, 2019
เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลกที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีเพียง 4.1% แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 58.8% หรือกว่า 4.5 พันล้านคน แต่แน่นอนว่าแต่ละประเทศมีราคาอินเทอร์เน็ตที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราได้รวมราคาอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์รายใหญ่ 233 รายใน 62 ประเทศเพื่อหาคำตอบ
จากข้อมูลของ Speedtest.net พบกว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 70 Mbps ขณะที่ 55 ใน 62 ประเทศ นิยมความเร็วที่ 100 Mbps โดยราคาถูกที่สุดอยู่ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก เช่น มอลโดวา 10 ดอลลาร์/เดือน, รัสเซีย 8 ดอลลาร์/เดือน และยูเครน 6 ดอลลาร์/เดือน ส่วนประเทศที่ราคาสูงสุด อยู่ที่แอฟริกาใต้ 87 ดอลลาร์/เดือน และประเทศทางตอนเหนือ เช่น ไอซ์แลนด์ หรือนอร์เวย์ 69 ดอลลาร์/เดือน ส่วน ‘ไทย’ ราคาเฉลี่ย 20.2 ดอลลาร์ต่อเดือน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ราคาที่ค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศเริ่มให้บริการความเร็ว 1 Gbps แล้ว โดยมี 24 ประเทศ จาก 44 ประเทศ ผู้ที่มีค่าบริการสูงกว่า 50 ดอลลาร์/เดือน ขณะที่ประเทศออสเตรียและออสเตรเลียแพงที่สุดอยู่ที่ 220 ดอลลาร์/เดือน และ 231 ดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่ให้บริการในราคาต่ำกว่า 20 ดอลลาร์ต่อเดือนได้แก่ มอลโดวา อินเดีย ฮังการี ลัตเวีย และยูเครน และโรมาเนียที่ถูกสุดเพียง 9 ดอลลาร์/เดือน ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ 27.79 ดอลลาร์/เดือน
Source: https://positioningmag.com/1257039
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562
Google สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้อย่างไร
พฤศจิกายน 27, 2019 | By Jen Namjatturas
แน่นอนว่า หากพูดถึงสถานที่ทำงานที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก Google น่าจะอยู่ในลิสต์ต้นๆ ของหลายคน อาจจะเคยเดินทางไปเยี่ยมหรือเคยเห็นภาพบรรยากาศการทำงานของ Google ผ่านตาบ้าง จะเห็นว่าไม่เหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป แต่เหมือนสนามเด็กเล่นสำหรับผู้ใหญ่มากกว่า ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จของ Google นั้นมาจากวัฒนธรรมที่คนของเขาได้ร่วมกันสร้าง การหมั่นบริหารความสุข แพชชั่น และเติมความรู้ให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ คือสิ่งที่องค์กรนี้ให้ความสำคัญ มันอาจจะฟังดูเกินไปสำหรับบางคน แต่นี่ก็เป็นวิธีที่ Google ใช้ในการดูแลคนของพวกเขาเอง
หัวข้อ What’s the secret to the world’s most joyful place to work at? โดย คุณ Pim Suvitsakdanon, Head of Sales - Google Customer Solutions Google เป็นอีกหนึ่งเซสชั่นทีได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ในงาน Techsauce Culture Summit 2019 เรามาฟัง secret sauce ของ Google กัน ว่าสามารถสร้างสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้อย่างไร
คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ใช่
เป็นที่รู้กันว่าขั้นตอนการคัดคนเข้าทำงานของ Google นั้นหินสุดๆ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ความสำเร็จของ Google คือ ‘คน’ เริ่มต้นจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ใช่
การจ้างคนทำงานที่ใช่และเหมาะสม หมายถึงการที่บริษัทต้องลงทุนในบุคคลนั้น ทั้งในแง่ทรัพยากร เวลา ไปจนถึงการสร้างความสำเร็จทั้งในระดับบริษัทและในระดับตัวบุคคล โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณลักษณะ 4 ข้อดังนี้
Generate cognitive ability: Google ไม่ได้มองหาคนที่ตอบคำถามได้ถูกต้องที่สุด แต่คือคนที่มีความสามารถในการแสดงกระบวนการคิด มีวิธีการหาคำตอบที่น่าสนใจ และสามารถหาโซลูชั่นออกมาได้
Role related knowledge: Google ไม่ได้มองหาคนที่มีประสบการณ์ในสายงานนั้นโดยตรง แต่คือความสามารถในการเรียนรู้ ความทะเยอทะยานในบทบาทที่ได้รับ ความกระหายที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ความถ่อมตน การมี Growth mindet ความเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถเรียนรู้ได้ และสามารถถ่ายทอดทักษะที่มีมาใช้ในบทบาทที่ได้รับมอบหมาย
Leadership: ไม่จำเป็นว่าคนนั้นจะต้องเป็นหัวหน้า แต่คือการมีภาวะความเป็นผู้นำ ที่รู้ว่าเมื่อใดควรจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อนำคนอื่น หรือถอยกลับมาเมื่อจำเป็น เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นได้มีบทบาทบ้าง นี่คือการที่ทุกคนได้มีบทบาทในการทำงานเป็นทีม
Googleyness: คนๆ นั้นไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมของ Google แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่คนนั้นจะประสบความสำเร็จและทำงานได้มีประสิทธิภาพในวัฒนธรรมของ Google หรือไม่ คนนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับฟีดแบค กล้าท้าทายต่อ status quo รับผิดชอบต่อโอกาสที่ได้รับ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และพร้อมที่จะออกจากคอมฟอร์ตโซน
โดยผู้สมัครจะต้องผ่านการสัมภาษณ์ถึง 4-6 ครั้ง และในทุกครั้ง กรรมการจะต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น
แล้วองค์กรคุณล่ะ อะไรคือคุณลักษณะที่พนักงานต้องมีบ้าง?
‘Hungry but humble’ กระหายที่จะเรียนรู้ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความทะเยอทะยานในบทบาทที่ได้รับ และมี Growth mindset
สร้างวัฒนธรรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบใหญ่
'คน' คือเรื่องที่ Google ให้ความสำคัญ ในการที่เมล็ดพันธุ์นั้นจะเติบใหญ่ผลิดอกออกผล จึงมีความจำเป็นจะต้องมีดินและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและการหมั่นดูแล
คุณ Pim ได้ยกตัวอย่างสวัสดิการของพนักงาน ทั้งอาหาร คลาสเรียน ฟิตเนส เข้าร่วมอบรม ไปจนถึงฟังบรรยายจากผู้นำทางความคิดระดับโลก การหมั่นบริหารความสุข แพชชั่น และความรู้ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ก็เพื่อที่พวกเขาจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดินที่ดีคือวัฒนธรรมที่คน Google ได้สร้างขึ้นเพื่อเอื้อต่อการเติบโตของกันและกัน
และในการที่จะบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบใหญ่เป็นต้นไม้ที่แข็งแรงได้นั้น ต้องอาศัยการให้โอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา
ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือสิ่งเดียวในชีวิตที่แน่นอน
ในการที่จะทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอนเช่นทุกวันนี้ จึงเป็นความจำเป็นที่คน Google จะต้องมีความกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา อย่างการให้พนักงานได้พัฒนาทักษะอย่าง Leadership training, People management, Onboarding, Skills training, School of leaders และเมื่อพนักงานเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว พวกเขาก็อยากที่จะส่งต่อความรู้นั้นให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นด้วยเช่นกัน ผ่าน Learning program อย่าง g2g (Googler-to-Googler)
เฉลิมฉลองความล้มเหลว
ความล้มเหลวคือส่วนหนึ่งของชีวิต ที่เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้และเติบโต
Google ภาคภูมิใจในการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมนี้ เพราะความล้มเหลวให้โอกาสในการคิดค้นโซลูชั่นที่ดีกว่า เสริมสร้างการเกิดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ที่ Google ได้เปิดตัว และล้มเหลวนั้นก็ไม่น้อย อย่างเช่น Google Glass ที่หลายคนอาจจะทราบกัน
ถอดเคล็ดลับความสำเร็จของ Google ในการทำ Change Management เพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กรและคน
Fail And I Learn
เมื่อใดล้มเหลว จะให้พนักงานตั้งคำถามว่า
พวกเขาได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดครั้งนั้น?
เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการตัดสินใจในครั้งนั้น?
ในครั้งต่อไปพวกเขาสามารถทำอะไรเพื่อให้มันดีขึ้นได้บ้าง?
ยกตัวอย่างหากพนักงานลาออก พวกเขาจะตั้งคำถามว่าสามารถทำอะไรได้ดีกว่าเดิม เป็นการสร้างความแน่ใจว่าคนที่มาใหม่จะเข้าใจบทบาทของตัวเองดีพอ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว
ผืนป่าจะอุดมสมบูรณ์ได้ด้วยพันธ์ุไม้ที่หลากหลาย
และเมื่อต้นไม้ต้นนั้นเติบใหญ่ท่ามกลางผืนป่า ในการที่ผืนป่าจะอุดมสมบูรณ์และสวยงามได้นั้น ไม่ได้ประกอบด้วยต้นไม้สายพันธุ์เดียว แต่ด้วยพันธ์ุไม้ที่หลากหลาย ต้นไม้แต่ละต้นก็มีบทบาท หน้าที่ เป้าหมายของมัน และนี่คือเหตุผลที่ Google ได้สร้างสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยความหลากหลายไว้ด้วยกัน
ความหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ที่จะนำความสำเร็จมาสู่บริษัท เมื่อพนักงานมีความรู้และภูมิหลังที่หลากหลาย ก็จะสามารถนำเสนอโซลูชั่นและนวัตกรรมที่ดีกว่า
และเมื่อพวกเขามีความหลากหลาย ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง ซึ่งก็คือความเสมอภาค (Equity) และความเท่าเทียม (Equality) ที่ทุกคนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
คุณ Pim ได้ยกตัวอย่าง ลิฟต์ที่ Google ที่จะเคลื่อนที่ช้ามาก เหตุผลก็เพราะพวกเขาสร้างลิฟต์โดยคิดถึงคนที่ใช้วีลแชร์ด้วยเช่นกัน
การที่ผืนป่าจะอุดมสมบูรณ์ได้นั้นไม่ได้เกิดจากต้นไม้เพียงต้นเดียว แต่คือความหลากหลายที่ทำให้ผืนป่านั้นอุดมสมบูรณ์ และต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ด้วยดินและสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อที่จะได้โตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแกร่ง สามารถผลิดออกออกผล บรรลุศักยภาพของมันอย่างเต็มที่ และทั้งหมดนี้ก็เริ่มจากการเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ใช่
เพราะทุกคนล้วนมีความพิเศษในตัวเอง
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Quantum Computing
'ไอบีเอ็ม ผุดศูนย์ควอนตัมฯ โลก จ่อขยายใช้งานเชิงพาณิชย์
27 พฤศจิกายน 2562
ความก้าวหน้าด้านการประมวลผลเชิงควอนตัมอาจเปิดประตูสู่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต เช่น ยา และ วัสดุชนิดใหม่
“ไอบีเอ็ม” เดินหน้าพัฒนาควอนตัมคอมพิวติ้ง เปิดศูนย์ฯ ที่นิวยอร์ค เปิดใช้งานระบบควอนตัมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมเผยโฉมระบบควอนตัมใหม่ขนาด 53 คิวบิตสำหรับการใช้งานในวงกว้าง
ไอบีเอ็มประกาศเปิดตัวศูนย์ประมวลผลควอนตัมแห่งใหม่ที่นิวยอร์ค เพื่อขยายศักยภาพระบบควอนตัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้ครอบคลุมการใช้งานในเชิงพาณิชย์ และการศึกษาวิจัย จากเดิมที่จำกัดอยู่แค่เพียงการใช้ในการทดลองในห้องปฏิบัติการ
ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของชุมชนผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 150,000 ราย รวมถึงลูกค้าเชิงพาณิชย์ สถาบันการศึกษา และห้องปฏิบัติการวิจัยอีกเกือบ 80 แห่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อพัฒนาการประมวลผลเชิงควอนตัมให้ก้าวหน้า และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริงในด้านต่างๆ
หนุนความต้องการใช้งานจริง
ชุมชนผู้ใช้งานทั่วโลกได้เริ่มทำการทดลองต่างๆ บนระบบควอนตัมคอมพิวติ้งของไอบีเอ็มผ่านคลาวด์ไปแล้วกว่า 14 ล้านครั้งนับตั้งแต่ปี 2559 โดยได้เผยแพร่เอกสารงานวิจัยวิทยาศาสตร์แล้วกว่า 200 ชิ้น และเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ที่ต้องการเข้าถึงระบบควอนตัมของจริง ไอบีเอ็มจึงได้เปิดระบบประมวลผลควอนตัม 10 ระบบให้สามารถใช้งานออนไลน์ได้ผ่านศูนย์ประมวลผลควอนตัมของไอบีเอ็ม
ประกอบด้วยระบบขนาด 20 คิวบิตจำนวน 5 ระบบ ขนาด 14 คิวบิต 1 ระบบ และขนาด 5 คิวบิตอีก 4 ระบบ นอกจากนี้ยังมีถึง 5 ระบบที่มีควอนตัมวอลุ่ม หรือค่าที่ใช้วัดความประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ควอนตัมสูงถึง 16 ซึ่งถือเป็นอีกก้าวของความสำเร็จในการรักษาระดับประสิทธิภาพให้แรงต่อเนื่อง
ระบบควอนตัมของไอบีเอ็มถูกปรับแต่งมาเพื่อความน่าเชื่อถือ และเพื่อความสามารถในการดำเนินการระดับหลายคิวบิตซ้ำหลายครั้งผ่านการโปรแกรม และปัจจัยเหล่านี้เองก็ทำให้ระบบของไอบีเอ็มสามารถให้บริการด้านการศึกษาวิจัยที่ต้องอาศัยการประมวลผลเชิงควอนตัมอันล้ำสมัยด้วยระดับความพร้อมใช้งานสูงถึง 95%
ภายในหนึ่งเดือน ระบบควอนตัมที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของไอบีเอ็มจะขยายเพิ่มเป็น 14 ระบบ ในจำนวนนี้รวมถึงคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับ 53 คิวบิต เป็นระบบควอนตัมเดี่ยวสำหรับงานทุกประเภทที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าใช้ด้วย มีแลตทิซใหญ่ขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้ทำการทดลองที่มีทั้งความเชื่อมโยงและความยุ่งยากสลับซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
หวังเทคโนฯ ช่วยไทยสู่ยุค 4.0
“ปฐมา จันทรักษ์” รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์ไอบีเอ็ม นับตั้งแต่ที่นำคอมพิวเตอร์ควอนตัมเครื่องแรกมาอยู่บนคลาวด์เมื่อปี 2559 คือ การนำควอนตัมคอมพิวติ้ง ที่เดิมเป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยองค์กรเพียงไม่กี่แห่ง ให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมาก โดยล่าสุดได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับ 53 คิวบิตแล้ว
“ไอบีเอ็มเห็นความสำคัญของการเสริมศักยภาพให้กับชุมชนควอนตัมที่กำลังเติบโต ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ล้วนมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิวัติระบบประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ โดยไอบีเอ็มหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษาของไทย ในการนำควอนตัมคอมพิวติ้งเข้ามาเสริมสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศไทย ตามนโยบายประเทศไทย 4.0”
ความก้าวหน้าด้านการประมวลผลเชิงควอนตัมอาจเปิดประตูสู่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต เช่น ยาและวัสดุชนิดใหม่ ระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพและลงตัวยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก รวมถึงวิธีใหม่ๆ ในการจำลองข้อมูลทางการเงินเพื่อการลงทุนที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างผลงานที่ไอบีเอ็มร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ อาทิ
ยูสเคสที่ไอบีเอ็มผนึกพันธมิตร
เจพี มอร์แกน เชส และไอบีเอ็มเผยแพร่บทความใน arXiv ว่าด้วยเรื่อง Option Pricing using Quantum Computers ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดราคาออพชันทางการเงินและพอร์ตโฟลิโอที่มีออพชันดังกล่าวบนคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบเกต ผลลัพธ์ที่ได้ก็คืออัลกอริธึม ที่สามารถเร่งความเร็วแบบยกกำลัง
กล่าวคือในขณะที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปต้องใช้ตัวอย่างนับล้าน แต่การประมวลผลบนควอนตัมใช้เพียงไม่กี่พันตัวอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน เมื่อเทียบกับวิธี Monte Carlo แบบดั้งเดิม ซึ่งอาจช่วยให้นักวิเคราะห์ทางการเงินสามารถกำหนดราคาออพชัน และวิเคราะห์ความเสี่ยงได้แทบจะในทันที และแนวทางการปฏิบัตินี้ก็มีอยู่ใน Qiskit Finance ในรูปแบบโอเพ่นซอร์ส
ขณะที่ มิตซูบิชิ เคมีคัล ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคโอะ และไอบีเอ็ม จำลองขั้นตอนแรกเริ่มของกลไกการเกิดปฏิกิริยาระหว่างลิเธียมและออกซิเจนในแบตเตอรี่แบบลิเธียม-อากาศ บทความเรื่อง Computational Investigations of the Lithium Superoxide Dimer Rearrangement on Noisy Quantum Devices ซึ่งเผยแพร่อยู่บน arXiv คือ ก้าวแรกของการจำลองปฏิกิริยาทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างลิเธียมและออกซิเจนบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม จากนั้นเมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยานี้ดีขึ้นแล้วก็อาจนำไปสู่การคิดค้นแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับอุปกรณ์พกพาหรือยานยนต์
Source: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856062?utm_source=bottom_relate&utm_medium=internal_referral
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562
V A R K การเรียนรู้แบบไหน … สไตล์คุณ
V A R K การเรียนรู้แบบไหน … สไตล์คุณ
คุณเคยทราบหรือไม่ว่าบุตรหลานของคุณหรือแม้กระทั่งตัวคุณเองชอบการเรียนรู้แบบไหน?
จริงอยู่ ที่เราทุกคนเรียนรู้ผ่านอายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ว่าข้อมูลจะมาในรูปแบบใด เราก็สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น แต่หากเราสังเกตให้ดี จะมีข้อมูลบางรูปแบบที่เรารับรู้ได้ง่ายและรวดเร็วกว่าข้อมูลบางรูปแบบ อาจนับได้ว่าเป็นความชอบเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีแตกต่างกันไป แต่หากเรารู้สไตล์ที่ตัวเองชอบ เราก็สามารถหาวิธีเรียนรู้ที่เหมาะกับตัวเอง และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้จดจำของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นได้
Fleming, N.D. and Mills, C. (1992) แบ่งสไตล์การเรียนรู้ตามความความชอบหรือความถนัดในการรับข้อมูลไว้ 4 กลุ่ม โดย เรียกชื่อการแบ่งกลุ่มนี้ว่า VARK Model หรือ VARK Learning Styles
กลุ่ม V = Visual รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยภาพและสัญลักษณ์
ไม่เพียงแต่ภาพเท่านั้นที่คนรักการเรียนรู้รูปแบบนี้ชื่นชอบ แต่พวกเขายังสามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบแผนที่ แผนผัง แผนภาพ กราฟ แผนภูมิ และลูกศรสัญลักษณ์ต่างๆ อีกด้วย และสิ่งเหล่านี้ ก็ดีกว่าการบอกเล่าเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษร
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม V คุณจะ
ชอบทำงานหรืออ่านหนังสือในบรรยากาศที่เงียบสงบ
ชอบวางแผนก่อนลงมือทำ
อ่านและทำความเข้าใจกับแผนที่ แผนภูมิ และภาษาสัญลักษณ์ได้ดี
ชอบเห็นภาพรวมก่อนที่จะเจาะลึกลงในรายละเอียด
ชอบสีสันและสามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จากรูปลักษณ์และสีสัน
สามารถจำลองเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ และขั้นตอนต่างๆ ที่ได้เห็น เป็นภาพหรือแผนภาพในสมอง
กลุ่ม A = Aural / Auditory รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยเสียง
รูปแบบที่รับรู้ข้อมูลผ่านโสตประสาท หรือผ่านการได้ยินได้ฟัง ผู้ที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะชื่นชอบการฟังบรรยาย ฟังเทป การสนทนากลุ่มย่อย การพูดคุยทางโทรศัพท์ แม้แต่การพูดคุยกับตัวเอง หรือคิดออกมาดังๆ เพื่อเรียบเรียงความคิด และหาคำตอบให้กับเรื่องที่ครุ่นคิดอยู่ขณะนั้น ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนกลุ่มนี้พูดคนเดียว หรือพูดกับหนังสือในมือ เพราะกำลังใช้ความคิดผ่านการพูด
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม A คุณจะ
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม V คุณจะ
ชอบทำงานหรืออ่านหนังสือในบรรยากาศที่เงียบสงบ
ชอบวางแผนก่อนลงมือทำ
อ่านและทำความเข้าใจกับแผนที่ แผนภูมิ และภาษาสัญลักษณ์ได้ดี
ชอบเห็นภาพรวมก่อนที่จะเจาะลึกลงในรายละเอียด
ชอบสีสันและสามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จากรูปลักษณ์และสีสัน
สามารถจำลองเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ และขั้นตอนต่างๆ ที่ได้เห็น เป็นภาพหรือแผนภาพในสมอง
กลุ่ม A = Aural / Auditory รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยเสียง
รูปแบบที่รับรู้ข้อมูลผ่านโสตประสาท หรือผ่านการได้ยินได้ฟัง ผู้ที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะชื่นชอบการฟังบรรยาย ฟังเทป การสนทนากลุ่มย่อย การพูดคุยทางโทรศัพท์ แม้แต่การพูดคุยกับตัวเอง หรือคิดออกมาดังๆ เพื่อเรียบเรียงความคิด และหาคำตอบให้กับเรื่องที่ครุ่นคิดอยู่ขณะนั้น ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนกลุ่มนี้พูดคนเดียว หรือพูดกับหนังสือในมือ เพราะกำลังใช้ความคิดผ่านการพูด
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม A คุณจะ
ชอบอ่านออกเสียงดัง ๆ
ไม่อายที่จะพูดต่อสาธารณชน
ชอบฟังคำอธิบาย และชอบอธิบาย
จดจำชื่อคนและสิ่งต่างๆ ได้ดี
ได้ยินและระบุเสียงประกอบฉากที่ได้ยินในภาพยนตร์ได้
ชอบฟังดนตรี
เรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศได้ดี
อ่านช้า ๆ
อยู่เงียบๆ ไม่ได้นาน
ชอบขึ้นแสดงบนเวที เช่น ละคร ทอล์คโชว์
ปฏิบัติตามคำบอกได้ดี
กลุ่ม R = Read / write รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยอักษร
สไตล์การเรียนรู้รูปแบบนี้ชื่นชอบข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิชาการทั้งหลายจะมีลักษณะการเรียนรู้รูปแบบนี้โดดเด่นมาก เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการรับและส่งข้อมูลผ่านการอ่านและการเขียน เห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ชื่นชอบสไตล์นี้มักจะพกพาพจนานุกรม, dictionary, power point เอกสารต่างๆ ติดตัวไว้เสมอ และเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตัวเอง
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม R คุณจะ
ชอบอ่านทุกสิ่งทุกอย่าง
พกสมุดโน้ต และปากกาติดตัว (หรือเครื่องบันทึกอื่นๆ เช่น tablet notebook)
ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนตเป็นประจำ
มีพจนานุกรม dictionary อยู่ใกล้ตัวเสมอ
ชอบเล่นกับตัวอักษร เช่น crossword, scrabble
เขียน diary, logbook หรือ รายการสิ่งที่กระทำในแต่ละวัน
สะสมตำรา เช่น ตำราทำอาหาร ตำราการออกกายบริหาร ตำราพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ
ปฏิบัติตามคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ดี
ชอบเขียนบทความ ความคิดเห็น เรื่องแต่ง สารคดี ฯลฯ
กลุ่ม K = Kinesthetic รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยสัมผัสและการกระทำ
คำจำกัดความของรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบนี้คือ การใช้ประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จำลองหรือสถานการจริงก็ตาม ถึงแม้ว่าประสบการณ์จะมีผลกระตุ้นการเรียนรู้ทุกรูปแบบก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงส่วนตัว ตัวอย่าง แบบจำลอง การลงมือปฏิบัติ หรือสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้รวมถึง การสาธิต การจำลองสถานการณ์ด้วยภาพยนตร์ ละคร หรือกรณีศึกษา
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม K คุณจะ
สนุกสนานกับการค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฎิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา
จดจำได้ดีเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ สร้างแบบจำลอง และจับต้องสิ่งที่กำลังเรียนรู้
นั่งอยู่เฉย ๆ นาน ๆ ไม่ได้ ชอบเดินไปมา และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
มีแนวโน้มเป็นนักสะสม
พูดเร็ว และชอบแสดงท่าทางประกอบ
ชอบเล่นกีฬาหรือเครื่องดนตรี
ชอบเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเป็นผู้สังเกตการณ์
ปฏิบัติตามการสาธิตได้ดี
ไม่อายที่จะพูดต่อสาธารณชน
ชอบฟังคำอธิบาย และชอบอธิบาย
จดจำชื่อคนและสิ่งต่างๆ ได้ดี
ได้ยินและระบุเสียงประกอบฉากที่ได้ยินในภาพยนตร์ได้
ชอบฟังดนตรี
เรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศได้ดี
อ่านช้า ๆ
อยู่เงียบๆ ไม่ได้นาน
ชอบขึ้นแสดงบนเวที เช่น ละคร ทอล์คโชว์
ปฏิบัติตามคำบอกได้ดี
กลุ่ม R = Read / write รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยอักษร
สไตล์การเรียนรู้รูปแบบนี้ชื่นชอบข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิชาการทั้งหลายจะมีลักษณะการเรียนรู้รูปแบบนี้โดดเด่นมาก เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการรับและส่งข้อมูลผ่านการอ่านและการเขียน เห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ชื่นชอบสไตล์นี้มักจะพกพาพจนานุกรม, dictionary, power point เอกสารต่างๆ ติดตัวไว้เสมอ และเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตัวเอง
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม R คุณจะ
ชอบอ่านทุกสิ่งทุกอย่าง
พกสมุดโน้ต และปากกาติดตัว (หรือเครื่องบันทึกอื่นๆ เช่น tablet notebook)
ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนตเป็นประจำ
มีพจนานุกรม dictionary อยู่ใกล้ตัวเสมอ
ชอบเล่นกับตัวอักษร เช่น crossword, scrabble
เขียน diary, logbook หรือ รายการสิ่งที่กระทำในแต่ละวัน
สะสมตำรา เช่น ตำราทำอาหาร ตำราการออกกายบริหาร ตำราพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ
ปฏิบัติตามคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ดี
ชอบเขียนบทความ ความคิดเห็น เรื่องแต่ง สารคดี ฯลฯ
กลุ่ม K = Kinesthetic รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยสัมผัสและการกระทำ
คำจำกัดความของรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบนี้คือ การใช้ประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จำลองหรือสถานการจริงก็ตาม ถึงแม้ว่าประสบการณ์จะมีผลกระตุ้นการเรียนรู้ทุกรูปแบบก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงส่วนตัว ตัวอย่าง แบบจำลอง การลงมือปฏิบัติ หรือสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้รวมถึง การสาธิต การจำลองสถานการณ์ด้วยภาพยนตร์ ละคร หรือกรณีศึกษา
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม K คุณจะ
สนุกสนานกับการค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฎิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา
จดจำได้ดีเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ สร้างแบบจำลอง และจับต้องสิ่งที่กำลังเรียนรู้
นั่งอยู่เฉย ๆ นาน ๆ ไม่ได้ ชอบเดินไปมา และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
มีแนวโน้มเป็นนักสะสม
พูดเร็ว และชอบแสดงท่าทางประกอบ
ชอบเล่นกีฬาหรือเครื่องดนตรี
ชอบเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเป็นผู้สังเกตการณ์
ปฏิบัติตามการสาธิตได้ดี
http://www.okmd.or.th/bbl/articles/217/VARK-how-learning-you-style
วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เมื่อไหร่ที่คุณจะซื้อ iPhone 11 ได้ในราคาน่าคบหาที่สุด!
1 ต.ค. 2562 18:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ในที่สุดสาวก iPhone (ไอโฟน) ก็ได้เฮฮากันอีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่ Apple เปิดตัว iPhone 11 พร้อมราคาที่ถูกลงกว่ารุ่นก่อน ๆ สนนราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 699 ดอลลาห์สหรัฐ ในขณะที่ iPhone XR รุ่นก่อนหน้าเปิดตัวที่ 749 ดอลลาห์สหรัฐเมื่อช่วงตุลาคมปี 2018 ที่ผ่านมา
แน่นอนว่ามีเหล่าแฟนคลับมือหนักมากมายที่เมื่อไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวปุ๊บก็เป็นต้องขวนขวายให้ได้มาครอบครองปั๊บ บ้างถึงขั้นบินไปหิ้วมาจากประเทศที่เปิดวางจำหน่ายก่อนหน้าเลยก็มี แต่ก็มีสาวกไอโฟนจำนวนไม่น้อยที่รอจับไอโฟนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งคาดว่าราคาคงกำลังลดลง หรือไม่ก็เฝ้ารอวันที่ราคาของ iPhone 11 จะลดลงจนราคาเป็นมิตรกว่านี้
และเพราะแฟนคลับไอโฟนมีพฤติกรรมหลากหลายดั่งตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้ iPrice (มาเลเซีย) แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้งัดประวัติราคาไอโฟนใน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้ามาวิเคราะห์กันให้เห็นกันจะ ๆ ว่า จริง ๆ แล้วเราต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าราคา iPhone 11 จะลดลงในราคาสบายกระเป๋ากว่านี้
โดย iPrice ได้แบ่งช่วงเวลาที่มักพบราคาของไอโฟนลดลงเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ 6 เดือน และ 12 เดือนหลังเปิดตัว ซึ่งผลการสำรวจนี้ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจถึง 5 ประการด้วยกัน ดังนี้
คุณต้องรอถึง 3 ปี หากอยากซื้อ iPhone 11 ครึ่งราคาจากราคาเปิดตัว จากผลสำรวจของราคา iPhone 7 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีราคาลดลงที่ 55%
ส่วนใหญ่ราคาไอโฟนทุกรุ่นจะเริ่มลดลง 6 เดือนหลังจากวันเปิดตัว แต่ก็มีค่าเฉลี่ยของราคาที่ลดลงเพียงเล็กน้อยโดยประมาณ 5% เท่านั้น
หากคุณเป็นแฟนคลับที่คอยจับโมเดลรุ่นก่อนหน้าของ iPhone เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วราคาจะลดลงโดยเฉลี่ย 16% หลังเปิดตัว 12 เดือน (ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ iPhone 11 เปิดตัว หมายความว่า iPhone XS จะมีราคาลดลงโดยเฉลี่ย 16%)
iPhone X คือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบรุ่นอื่น ๆ ในตระกูล เพียงระยะเวลา 6 เดือน iPhone X มีราคาลดลงโดยเฉลี่ยถึง 11% และหลังเปิดตัว 12 เดือนไอโฟนรุ่นนี้ก็มีราคาลดลงถึง 27% คาดเกิดจากการที่ Apple ประกาศหยุดการพัฒนา iPhone X หลังเปิดตัว 1 ปี โดยเปลี่ยนไปมุ่งพัฒนา iPhone XS แทน
จากผลการสำรวจราคาลดลงของไอโฟนนี้คาดว่า ในอีก 6 เดือนหลังการเปิดตัว iPhone 11 ราคาของ iPhone รุ่นนี้คงอยู่ในเกณฑ์ที่เหล่าแฟนคลับซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยราคาที่อาจลดลงโดยประมาณ 5% ก็ดี หรือการที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าแล้วก็ตาม และถ้าคุณเป็นหนึ่งในแฟนคลับที่ชื่นชอบเทคโนโลยีของ iPhone โดยไม่ได้ต้องการหามาครอบครองตามเทรนด์เพื่อใช้งานอวดโฉมในเร็ววัน คาดว่าอีก 3 ปี ให้หลัง ราคา iPhone 11 อาจลดลงถึง 55% โดยมีราคาอยู่ที่หมื่นกลาง ๆ เท่านั้นเอง ถ้าคุณรอได้อ่ะนะ
แล้วราคาไอโฟนในไทย 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าล่ะผันผวนขนาดไหนในปีที่ iPhone 11 เปิดตัว?
มาถึงผลการสำรวจข้อมูลราคา iPhone ในไทยในปีที่ iPhone 11 เปิดตัวกันบ้าง ว่าเหตุการณ์นี้ทำให้บรรดาไอโฟน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าราคาขึ้น-ลงขนาดไหน (นับจากเดือนมกราคม 2019: ปีเดียวกับที่ iPhone 11 เปิดตัว)
iPhone 7: เริ่มจากเดือนมกราคม 2019 ถึง เดือนมิถุนายน 2019 พบว่า เป็นไอโฟน 1 ใน 4 รุ่นท็อป ที่มีราคาเพิ่มขึ้น 8.96% แต่ถัดมาเพียงหนึ่งเดือน (ก.ค. 2019) กลับลดลง 10.76% และลดถึง 29.99% ในเดือนสิงหาคม 2019
iPhone 8: ในเดือนมิถุนายน 2019 ไอโฟนรุ่นนี้มีราคาลดลงถึง 8.03% เดือนกรกฎาคม 2019 ลดลงที่ 21.05% และหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 เปิดตัว (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 39.41%
iPhone X: มีราคาลดลงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 3.6% แต่กลับลดลงแบบก้าวกระโดดในเดือนกรกฎาคม 2019 ที่ 36.17 และก่อนไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวหนึ่งเดือน (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 45.77%
iPhone XS: ราคาลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 0.76% และลดลงเพิ่มอีกในเดือนถัดไป (กรกฎาคม 2019) 7.03% และในเดือนสิงคาคม 2019 ลดเพิ่มอีกเล็กน้อยที่ 8.1%
สรุปผลกระทบของราคาไอโฟน 4 รุ่นก่อนหน้าในปีที่ iPhone 11 (2019) ประกาศเปิดตัวคือ ไอโฟนทั้ง 4 รุ่นมีราคาลดลงเล็กน้อยโดยเฉลี่ย 0.4% ในเดือนมิถุนายน 2019 จากนั้นเริ่มลดลงมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2019 ถึง 18.82% และมีราคาลดลงโดยเฉลี่ยในหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 จะเปิดตัวมากถึง 30%
ถือเป็นไกด์ไลน์ที่ช่วยให้สาวกไอโฟนเตรียมตัวทำการบ้านสำหรับไอโฟนที่จะเปิดตัวในอนาคตได้ จะเห็นว่าส่วนใหญ่ไอโฟนจะเปิดตัวรุ่นใหม่ในไตรมาสที่ 4 ของทุกปี หากยังอยากได้ไอโฟนรุ่นวันวานยังหวานอยู่ทั้งหลายหลังจบไตรมาสที่ 3 ของทุกปีนี่แหละถือเป็นช่วยเวลาที่ประหยัดตังในกระเป๋าที่สุด หากช้ากว่านั้นอาจได้โมเดลตกรุ่นก็เป็นได้
การสำรวจราคาลดลงของไอโฟนในปีเดียวกับที่ไอโฟนรุ่นใหม่จะเปิดตัวนี้ทำให้พบว่า ไอโฟนรุ่นที่มีราคาลดลงที่สุดคือ ไอโฟนสองรุ่นก่อนหน้า iPhone 11 (รุ่นเปิดตัวใหม่) ในการสำรวจนี้คือ iPhone X อาจเป็นเพราะเป็นรุ่นที่ Apple ประกาศยกเลิกการพัฒนาหลังการวางจำหน่าย 1 ปี เป็นเหตุผลร่วมด้วย
หากตัด iPhone X ออกจากการสำรวจจะพบว่า iPhone 8 เป็นรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุด (รองจาก iPhone X ที่ตัดออกไป) ถึง 39.41% หรือกล่าวโดยสรุปคือไอโฟนที่เปิดตัวก่อนหน้า 2 ปีคือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดในปีที่ไอโฟนรุ่นใหม่ประกาศเปิดตัว
Source: https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000094688
ในที่สุดสาวก iPhone (ไอโฟน) ก็ได้เฮฮากันอีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่ Apple เปิดตัว iPhone 11 พร้อมราคาที่ถูกลงกว่ารุ่นก่อน ๆ สนนราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 699 ดอลลาห์สหรัฐ ในขณะที่ iPhone XR รุ่นก่อนหน้าเปิดตัวที่ 749 ดอลลาห์สหรัฐเมื่อช่วงตุลาคมปี 2018 ที่ผ่านมา
แน่นอนว่ามีเหล่าแฟนคลับมือหนักมากมายที่เมื่อไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวปุ๊บก็เป็นต้องขวนขวายให้ได้มาครอบครองปั๊บ บ้างถึงขั้นบินไปหิ้วมาจากประเทศที่เปิดวางจำหน่ายก่อนหน้าเลยก็มี แต่ก็มีสาวกไอโฟนจำนวนไม่น้อยที่รอจับไอโฟนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งคาดว่าราคาคงกำลังลดลง หรือไม่ก็เฝ้ารอวันที่ราคาของ iPhone 11 จะลดลงจนราคาเป็นมิตรกว่านี้
และเพราะแฟนคลับไอโฟนมีพฤติกรรมหลากหลายดั่งตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้ iPrice (มาเลเซีย) แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้งัดประวัติราคาไอโฟนใน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้ามาวิเคราะห์กันให้เห็นกันจะ ๆ ว่า จริง ๆ แล้วเราต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าราคา iPhone 11 จะลดลงในราคาสบายกระเป๋ากว่านี้
โดย iPrice ได้แบ่งช่วงเวลาที่มักพบราคาของไอโฟนลดลงเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ 6 เดือน และ 12 เดือนหลังเปิดตัว ซึ่งผลการสำรวจนี้ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจถึง 5 ประการด้วยกัน ดังนี้
คุณต้องรอถึง 3 ปี หากอยากซื้อ iPhone 11 ครึ่งราคาจากราคาเปิดตัว จากผลสำรวจของราคา iPhone 7 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีราคาลดลงที่ 55%
ส่วนใหญ่ราคาไอโฟนทุกรุ่นจะเริ่มลดลง 6 เดือนหลังจากวันเปิดตัว แต่ก็มีค่าเฉลี่ยของราคาที่ลดลงเพียงเล็กน้อยโดยประมาณ 5% เท่านั้น
หากคุณเป็นแฟนคลับที่คอยจับโมเดลรุ่นก่อนหน้าของ iPhone เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วราคาจะลดลงโดยเฉลี่ย 16% หลังเปิดตัว 12 เดือน (ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ iPhone 11 เปิดตัว หมายความว่า iPhone XS จะมีราคาลดลงโดยเฉลี่ย 16%)
iPhone X คือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบรุ่นอื่น ๆ ในตระกูล เพียงระยะเวลา 6 เดือน iPhone X มีราคาลดลงโดยเฉลี่ยถึง 11% และหลังเปิดตัว 12 เดือนไอโฟนรุ่นนี้ก็มีราคาลดลงถึง 27% คาดเกิดจากการที่ Apple ประกาศหยุดการพัฒนา iPhone X หลังเปิดตัว 1 ปี โดยเปลี่ยนไปมุ่งพัฒนา iPhone XS แทน
จากผลการสำรวจราคาลดลงของไอโฟนนี้คาดว่า ในอีก 6 เดือนหลังการเปิดตัว iPhone 11 ราคาของ iPhone รุ่นนี้คงอยู่ในเกณฑ์ที่เหล่าแฟนคลับซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยราคาที่อาจลดลงโดยประมาณ 5% ก็ดี หรือการที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าแล้วก็ตาม และถ้าคุณเป็นหนึ่งในแฟนคลับที่ชื่นชอบเทคโนโลยีของ iPhone โดยไม่ได้ต้องการหามาครอบครองตามเทรนด์เพื่อใช้งานอวดโฉมในเร็ววัน คาดว่าอีก 3 ปี ให้หลัง ราคา iPhone 11 อาจลดลงถึง 55% โดยมีราคาอยู่ที่หมื่นกลาง ๆ เท่านั้นเอง ถ้าคุณรอได้อ่ะนะ
แล้วราคาไอโฟนในไทย 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าล่ะผันผวนขนาดไหนในปีที่ iPhone 11 เปิดตัว?
มาถึงผลการสำรวจข้อมูลราคา iPhone ในไทยในปีที่ iPhone 11 เปิดตัวกันบ้าง ว่าเหตุการณ์นี้ทำให้บรรดาไอโฟน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าราคาขึ้น-ลงขนาดไหน (นับจากเดือนมกราคม 2019: ปีเดียวกับที่ iPhone 11 เปิดตัว)
iPhone 7: เริ่มจากเดือนมกราคม 2019 ถึง เดือนมิถุนายน 2019 พบว่า เป็นไอโฟน 1 ใน 4 รุ่นท็อป ที่มีราคาเพิ่มขึ้น 8.96% แต่ถัดมาเพียงหนึ่งเดือน (ก.ค. 2019) กลับลดลง 10.76% และลดถึง 29.99% ในเดือนสิงหาคม 2019
iPhone 8: ในเดือนมิถุนายน 2019 ไอโฟนรุ่นนี้มีราคาลดลงถึง 8.03% เดือนกรกฎาคม 2019 ลดลงที่ 21.05% และหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 เปิดตัว (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 39.41%
iPhone X: มีราคาลดลงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 3.6% แต่กลับลดลงแบบก้าวกระโดดในเดือนกรกฎาคม 2019 ที่ 36.17 และก่อนไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวหนึ่งเดือน (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 45.77%
iPhone XS: ราคาลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 0.76% และลดลงเพิ่มอีกในเดือนถัดไป (กรกฎาคม 2019) 7.03% และในเดือนสิงคาคม 2019 ลดเพิ่มอีกเล็กน้อยที่ 8.1%
สรุปผลกระทบของราคาไอโฟน 4 รุ่นก่อนหน้าในปีที่ iPhone 11 (2019) ประกาศเปิดตัวคือ ไอโฟนทั้ง 4 รุ่นมีราคาลดลงเล็กน้อยโดยเฉลี่ย 0.4% ในเดือนมิถุนายน 2019 จากนั้นเริ่มลดลงมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2019 ถึง 18.82% และมีราคาลดลงโดยเฉลี่ยในหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 จะเปิดตัวมากถึง 30%
ถือเป็นไกด์ไลน์ที่ช่วยให้สาวกไอโฟนเตรียมตัวทำการบ้านสำหรับไอโฟนที่จะเปิดตัวในอนาคตได้ จะเห็นว่าส่วนใหญ่ไอโฟนจะเปิดตัวรุ่นใหม่ในไตรมาสที่ 4 ของทุกปี หากยังอยากได้ไอโฟนรุ่นวันวานยังหวานอยู่ทั้งหลายหลังจบไตรมาสที่ 3 ของทุกปีนี่แหละถือเป็นช่วยเวลาที่ประหยัดตังในกระเป๋าที่สุด หากช้ากว่านั้นอาจได้โมเดลตกรุ่นก็เป็นได้
การสำรวจราคาลดลงของไอโฟนในปีเดียวกับที่ไอโฟนรุ่นใหม่จะเปิดตัวนี้ทำให้พบว่า ไอโฟนรุ่นที่มีราคาลดลงที่สุดคือ ไอโฟนสองรุ่นก่อนหน้า iPhone 11 (รุ่นเปิดตัวใหม่) ในการสำรวจนี้คือ iPhone X อาจเป็นเพราะเป็นรุ่นที่ Apple ประกาศยกเลิกการพัฒนาหลังการวางจำหน่าย 1 ปี เป็นเหตุผลร่วมด้วย
หากตัด iPhone X ออกจากการสำรวจจะพบว่า iPhone 8 เป็นรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุด (รองจาก iPhone X ที่ตัดออกไป) ถึง 39.41% หรือกล่าวโดยสรุปคือไอโฟนที่เปิดตัวก่อนหน้า 2 ปีคือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดในปีที่ไอโฟนรุ่นใหม่ประกาศเปิดตัว
Source: https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000094688
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)