วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทกวียุคถังที่เจริญรุ่งโรจน์ของจีน

บทกวียุคถังที่เจริญรุ่งโรจน์ของจีน

中国国际广播电台

ราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์สำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในยุคนั้น เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง สังคมสงบสุข ศิลปะวัฒนธรรมต่างๆล้วนมีความผลสำเร็จอันรุ่งโรจน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เป็นช่วงเวลาที่ผลงานบทกวีโบราณของจีนพัฒนาจนถึงขีดสูงสุด การประพันธ์บทกวีในสมัยราชวงศ์ถังได้กลายเป็นเนื้อหาสำคัญอย่างหนึ่งในกิจกรรมทางวัฒนธรรมของสังคม ระบบการสอบคัดเลือกขุนนางระดับ“เคอจี้”หรือระดับชาติของราชวงศ์ก็ได้เปลี่ยนจากการคัดเลือกด้วยผลงานการเขียนบทวิทยานิพนธ์มาเป็นผลงานการแต่งบทกวีแทน ในหนังสือคัมภีร์โบราณวรรณคดี“ฉวนถังซือ”ที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันได้บันทึกบทกวีไว้ร่วม 5 หมื่นบทที่มาจากกวีกว่า 2300 คน
วิวัฒนาการการประพันธ์บทกวีในราชวงศ์ถังของจีนแบ่งได้เป็นสี่ช่วงเวลา ได้แก่ “ชูถัง”หรือ“ยุคแรกของราชวงศ์ถัง” “ เสิ้งถัง”หรือ“ยุคเจริญรุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง” “จงถัง”หรือ“ยุคกลางของราชวงศ์ถัง”และ“หวั่นถัง”หรือ“ช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ถัง”

ในสมัย“ชูถัง”(ค.ศ.618-712) หวังปั๋ว หยังโจง หลูเจ้าหลินและลั่วปิน

หวังได้รับสมญานามว่าเป็น“4 กวีเด่น”ในยุคนี้ได้ค่อยๆเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์สัมผัสเสียงในบทกวี ปูพื้นฐานให้กับรูปแบบของบทกวีที่มีเสียงสัมผัสของจีน ทำให้การประพันธ์บทกวีในสมัยราชวงศ์ถังของจีนได้ปรากฏฉันทลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตน ด้วยการใช้ความพยายามของพวกเขา เนื้อหาในบทกวีได้เปลี่ยนจากเดิมที่เน้นแต่ความฟุ่มเฟือยของสำนักราชวังมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปในสังคม ส่วนท่วงทำนองของบทกวีก็เปลี่ยนจากที่เคยเน้นความอ่อนน้อมถ่อมตนมาเป็นรูปแบบที่ชัดเจนรื่นหู กวีที่ยอดเยี่ยมที่สุดในยุค“ชูถัง”คือ เฉินจื่ออ๋าง เขาได้ฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของบทกวีที่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของชีวิต บทกวีของเฉินจื่ออ๋างมีลักษณะเรียบง่ายแต่ทรงพลัง ได้แผ้วถางทางให้กับการพัฒนาก้าวหน้าของบทกวีในราชวงศ์ถังในเวลาต่อมา

จากค.ศ.712 ถึงค.ศ. 762 เป็นช่วงเวลาที่เรียกกันว่า “เซิ่งถัง”เป็นยุคที่ราชวงศ์ถังมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และก็เป็นช่วงเวลาที่การประพันธ์บทกวีของจีนมีความเจริญรุ่งเรืองและมีผลงานโดดเด่นที่สุด บทกวีในยุคนี้มีเนื้อหาและรูปแบบหรือสไตล์ที่หลากหลาย กวีบางคนสรรเสริญธรรมชาติ บางคนแสดงความใฝ่ฝันที่จะไปตั้งหลักอยู่ทางชายแดน บางคนสดุดีลัทธิวีรชน และบ้างก็ได้ส่งเสียงถอนหายใจด้วยความผิดหวังก็มี บรรดากวีจำนวนมากต่างแข่งกันประพันธ์บทกวีอย่างอิสระเสรีท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เปิดกว้าง ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์“เซิ่งถัง”ที่ส่งผลสั่นสะเทือนอย่างมากต่อชนรุ่นหลัง

ในสมัย“เซิ่งถัง” กวีที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ หลี่ไป๋ ตู้ฝู หวังเหวย เมิ่งฮ่าวหลัน เกาเซ่อและเฉินเซิง เป็นต้น ฉินเซินถนัดแต่งบทกลอนที่สะท้อนสภาพด่านชายแดน บทกวีของเกาเซ่อสะท้อนความทุกข์เข็ญของชาวบ้านได้ค่อนข้างดี ส่วนกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถเป็นตัวแทนของวงการกวีในสมัย“เซิ่งถัง”ได้นั้นย่อมควรยกให้หลี่ไป๋ที่ถูกขนานนามว่า“เซียนกวี”กับตู้ฝูที่ถูกขนานนามว่า“ปราชญ์กวี” ผลงานบทกวีของพวกเขาได้ส่งอิทธิพลที่ลึกซึ้งและยาวไกลต่อการประพันธ์บทกวีของชนรุ่นหลังของจีน

ในสมัย“จงถัง”(ค.ศ.762---827) ก็มีกวีดีเด่นหลายคน เช่น ไป๋จอี้อยี้

หยวนเจิ๋นและหลี่เฮ่อ เป็นต้น ไป๋จอี้อยี้ขึ้นชื่อด้วยผลงานโคลงเปรียบเปรยที่เสียดสีการรีดไถประชาชนอย่างเหี้ยมโหดของชนชั้นปกครอง คัดค้านการก่อสงคราม วิพากษ์วิจารณ์พวกเจ้าขุนมูลนายที่ทรงอำนาจ นอกจากนี้ ไป๋

จอี่อยี้ยังพยายามใช้ภาษาที่เรียบง่าย รื่นหู มีชีวิตชีวาและน่าประทับใจ จึงได้รับความนิยมชบชอบจากบรรดาผู้อ่านอันกว้างไพศาล

หลี่เฮ่อเป็นกวีที่มีอายุสั้นเพียง 20 กว่าปี เขามีชีวิตที่ยากลำบาก และก็ประสบความล้มเหลวในวิถีชีวิตขุนนาง แต่บทกวีของเขาอุดมไปด้วยจิงตนาการ มีความหมายที่แปลกใหม่ มีโครงสร้างที่รวบรัด ใช้ภาษาที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยสีสันแห่งจิงตนิยมและอารมณ์ความรู้สึกที่ไปทางเศร้าสลด

จากค.ศ.827 ถึง 859 เป็นสมัยของ“หวั่นถัง” กวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้คือ หลี่ซังอิงและตู้มู่ บทกวีของตู้มู่ได้รวมความสดใสกับความเย็นชาเข้าไว้ด้วยกันซึ่งเอื้อต่อการแสดงความมุ่งมาดปรารถนาทางการเมืองของเขาไว้ในบทกวี ส่วนผลงานบทกวีของหลี่ซังอิงมักจะมีโครงสร้างที่ประณีต ใช้ภาษาที่งดงามแต่แฝงไว้ด้วยสไตลน์ที่เต็มไปด้วยความกลัดกลุ้ม สะท้อนให้เห็นถึงความล้มลุกคลุกคลานบนวิถีชีวิตขุนนางของตัวเอง บทกวีของเขามักจะปรากฏให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เศร้าเสียใจ บทกวี“อู๋ถี”ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเขาจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งกันในวงการวิจารณ์บทกวีของจีนว่า เป็นบทกวีที่มีเนื้อหาสะท้อนชีวิตรักหรือจะเป็นเนื้อหาที่แฝงความหมายทางการเมืองกันแน่

http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter15/chapter150104.htm