วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy)
อัพเกรดประเทศไทย "ดิจิตอล อีโคโนมี" เป้าหมายสู่ "ศูนย์กลางไอซีที"
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 30 พ.ค. 2559 05:01
คิกออฟนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (ดิจิตอล อีโคโนมี) ครบ 2 ปีเต็ม มาถึงวันนี้ แรงทุ่มเทของรัฐบาลเริ่มผลิดอกออกผลให้เห็นชัดเจน โดยเฉพาะในช่วง 2–3 เดือนที่ผ่านมา เมื่อทัพนักลงทุนต่างชาติ ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีจากทั่วโลก กำลังพาเหรดเข้ามาแสดงความสนใจ และเห็นประเทศไทยอยู่ในสายตาเป็นครั้งแรกๆ
เริ่มจากบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ระดับโลกจากประเทศจีน ที่ได้ตัดสินใจเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (International Headquater-IHQ) ขึ้นในไทย พร้อมๆกันกับการเปิดศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ (Customer Solution Innovation and Integration Experience Center)
เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่ไอทีฝั่งสหรัฐอเมริกา บริษัทไอบีเอ็ม ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่งบรรลุข้อตกลงกับบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการร่วมกันก่อตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรม หรือ True IBM Innovation Studio@Bangkok ขึ้น มีกำหนดเปิดภายในสิ้นปีนี้
รวมถึงการเดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรกของนายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ในทริปเยี่ยมเยียน 6 ประเทศเอเชีย อันมีนัยสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่ซีอีโอไมโครซอฟท์ยอมมาปรากฏกายในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ยังมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในระดับสูง
สิ่งที่บริษัทยักษ์ ใหญ่เหล่านี้เห็นเหมือนกันก็คือ ศักยภาพสู่การเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีของไทยในภูมิภาค ที่เพิ่มขึ้นจากการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมของรัฐบาล ความตื่นตัวจากภาคเอกชน และความพร้อมของภาคประชาชน
ครั้งนี้...เราจะหวังได้เต็ม 100% หรือไม่ ว่าประเทศไทยจะสามารถหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรับจ้างผลิต “ทำมากได้น้อย” ไปสู่ประเทศ “ทำน้อยได้มาก” เน้นความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรมใหม่ๆ
และเดินหน้าสู่โมเดลทางเศรษฐกิจ “ประเทศไทย 4.0” ตามนโยบายของรัฐบาล ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เน้นขับเคลื่อนด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมหรือ Value-Based Economy ผ่านเครื่องมือต่างๆ ที่รัฐบาลพยายามหยิบยื่นให้
“ดร.อุตตม สาวนายน”รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที จะมายืนยันให้ฟังว่า หากทำสำเร็จ อาจไม่ใช่แค่คนไทยทั้งประเทศจะหลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงขึ้นเท่านั้น แต่โอกาสที่ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีของภูมิภาค ก็อาจไม่ไกลเกินเอื้อม...
“2 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเริ่มรับรู้แล้วว่า เราต้องตื่นตัว จะปล่อยตามธรรมชาติไม่ได้แล้ว เป็นเวลาที่รัฐบาลส่งสัญญาณให้เห็นชัดเจนว่าเอาจริง มีแผนแม่บทเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล แผนปฏิบัติการ ซึ่งไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนอย่างไร หากยึดตามแผนนี้ เราจะเดินหน้าต่อไปได้”
เขาบอกว่า นโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้ามาตั้งแต่ปลายปี 2557 ซึ่งตลอด 2 ปี ได้ดำเนินการร่างกฎหมายใหม่ ปรับปรุงกฎหมายเดิม รวม 12 ฉบับ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและยังได้จัดทำแผนแม่บทเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล แผนปฏิบัติการ ถือเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ยุคดิจิตอล ขณะนี้ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่ากฎหมายก็จะมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้ทุกอย่างถือว่าเป็นไปตามแผนในระดับหนึ่ง
ในส่วนของการปฏิบัติ เราต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่แข็งแกร่งให้ได้ก่อน โดยรัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการลงทุนสร้างโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ราว 72,400 หมู่บ้าน ด้วยเม็ดเงินลงทุน 15,000 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการในเดือน มิ.ย.2559 แล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.2560 รวมทั้งการขยายเส้นทางเคเบิลใต้น้ำ เพื่อเชื่อมต่อวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ จากปัจจุบันมีเพียง 7 เส้นทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเส้นทาง โดยมีเงินทุนเบื้องต้น 5,000 ล้านบาท เพราะการจะเติบโตด้านไอซีที จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่รองรับการใช้งานให้ได้จำนวนมหาศาล
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการสร้างตลาด สร้างโอกาส เมื่อคนในทุกพื้นที่ของประเทศเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้หมด ทุกคนก็จะมีโอกาส ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการเพิ่มตลาดค้าขายบนโลกออนไลน์ให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น
หากเป็นไปตามแผน ไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอลได้อย่างแน่นอน ด้วยจุดเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ และจำนวนประชากรของไทยมีมากถึง 67 ล้านคน
“จากการที่เราได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล รวมทั้งการจัดเปิดประมูล 4 จี 2 สิ่งนี้ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาด้านไอซีทีที่มีความก้าวหน้าที่รวดเร็วมากที่สุด”
โดยเมื่อปี 2558 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 74 จาก 164 ประเทศ เป็นการไต่ขึ้นถึง 18 อันดับที่รวดเร็วในรอบ 5 ปี จากที่ปี 2553 อยู่ในอันดับที่ 92 ทำให้ถูกจัดอันดับอย่างเป็นทางการว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวกระโดดเร็วเป็นลำดับที่ 1 ของเอเชียแปซิฟิก
นอกจากอันดับด้านไอซีทีที่ดีขึ้น โครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมที่แข็งแกร่ง เข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ ยังนำไปสู่การสร้างสังคมอุดมปัญญา ด้วยการใช้อินเตอร์เน็ตในการเสาะแสวงหาความรู้ ข้อมูลต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก มาประกอบความคิด จุดประกายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในการกระบวนการผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองตลาด ทำให้เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วย
“ประเทศไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก คนไทยมีไอเดียดี มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ขาดการสนับสนุนต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ที่เราต้องการคือห่วงโซ่ทั้งหมด ที่ผ่านมาเหมือนโซ่มันขาดไป เราทำได้แค่รับจ้างผลิต ผลิตสินค้าได้เพียงบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่นับจากนี้เราจะใช้สิ่งที่มีอยู่มาเชื่อมต่อห่วงโซ่ทุกห่วง”
ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตเท่านั้น แต่เมื่อรัฐบาลเดินหน้าปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในกระบวนการผลิต เชื่อว่าจะมีส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมต่างๆ ของไทยอย่างแน่นอน
การสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นั้น อยู่ภายใต้โครงการสนับสนุนให้เกิดสตาร์ทอัพ (Start up) หรือผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นสำคัญการสนับสนุนให้เกิดสตาร์ทอัพมากๆ ก็คือการสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดฟองสบู่ เพราะความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ไม่จบสิ้นและธรรมชาติของสตาร์ทอัพ หากความคิดนั้นดีจริง แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง ก็จะได้รับความสนใจมีการอัดฉีดเงินเข้าร่วมลงทุน แต่หากความคิดนั้นไม่ดีพอ ไม่ตอบโจทย์ ก็อาจต้องปรับให้มันดี หรือคิดใหม่
มันเป็นธุรกิจใหม่ ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ ไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้น ที่เป็นการทุ่มเม็ดเงินลงไป เมื่อขาดทุนก็เจ๊งกันไป
การมีสตาร์ทอัพ 100 ราย ประสบความสำเร็จ 10 ราย ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว โดยกลุ่มคนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ก็สามารถกลับเข้ามาเรียนรู้ โดยรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะดิจิตอลสตาร์ทอัพของกระทรวงไอซีทีขึ้น เพื่อคอยเป็นพี่เลี้ยง เป็นทางลัดให้สตาร์ทอัพเหล่านี้ ล้มเหลวก็เริ่มใหม่ได้ เพราะกระบวนการความคิด การสร้างความรู้ หมุนเวียนไม่จบไม่สิ้น
โดยขณะนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับผลิตสตาร์ทอัพมาก ทั้งซัมซุง ไอบีเอ็ม หัวเว่ย ดีแทค เอไอเอส ทรู
โดยล่าสุด หัวเว่ยจะเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ในประเทศไทย โดยจะเปิดกว้างให้กลุ่มสตาร์ทอัพสามารถนำสิ่งที่คิดค้น ไปทดลองและทดสอบหัวเว่ยได้ หากหัวเว่ยสนใจ ก็สามารถซื้อลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย ไปผลิตต่อยอด
แต่หากจะมองไปถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สตาร์ทอัพ เป็นเอสเอ็มอี โอทอป รวมทั้งเกษตรกรในพื้นที่ต่างจังหวัด สิ่งที่จะทำให้พวกเขาเหล่านี้ลืมตาอ้าปาก มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็คือการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วย
“ขอยกตัวอย่างเกษตรกรบุรีรัมย์ ที่ได้ไปเข้าอบรมจากศูนย์ดิจิตอลชุมชน เดิมคือศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน โดยเกษตรกรได้มาเรียนรู้การใช้อินเตอร์เน็ต การค้าขายออนไลน์ ทำให้การขายปุ๋ยจากเดือนละ 10,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 300,000 บาท นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น เชื่อว่ายังมีเกษตรกรอีกหลายคนที่ประสบความสำเร็จ มีรายได้ต่อคนดีขึ้น เชื่อว่าทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น”
ดังนั้น ศูนย์ดิจิตอลชุมชนราว 2,000 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ จะเป็นศูนย์ที่ช่วยให้ความรู้เกษตรกรและชุมชน ช่วยให้เกษตรกรและชุมชนสามารถค้าขายออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
“ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นมากมาย ที่จะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ควรนำแอพพลิเคชั่นนั้น มาช่วยจัดระบบบัญชี ระบบบริหารสินค้าคงคลัง หรือบริหารสต๊อกสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เมื่อต้นทุนลดลง และยังสามารถขายได้มากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และท้ายสุดก็ต้องทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วย”
นอกจากนี้ ยังต้องเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขภายในประเทศ เพื่อยกระดับการรักษาพยาบาล การดูแลสุขภาพของประชาชน ถือเป็นการสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ด้านสาธารณสุข การแพทย์ สามารถรักษาพยาบาลผ่านระบบออนไลน์
สิ่งเหล่านี้เป็นการดำเนินการภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ อันประกอบด้วย 1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอล ประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ คนไทยทั่วประเทศเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 2.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ค้าขายออนไลน์ เชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ 3.สร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล การศึกษา สาธารณสุข การแพทย์ ออนไลน์ 4.ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิตอล อำนวยความสะดวกประชาชน เชื่อมโยงหน่วยงาน 5.พัฒนากำลังคนให้พร้อม เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล คนไทยมีทักษะ เข้าใจ ใช้เป็น รู้ทันเทคโนโลยี 6.สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล มีมาตรการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต มีกฎหมายทันสมัย
โดยภายใน 2 ปีจากนี้ รัฐบาลจะต้องทำให้ประชาชนสัมผัส จับต้องได้ และเห็นประโยชน์จากการใช้ดิจิตอล เมื่อเห็นประโยชน์ ก็จะมีความเชื่อมั่น พร้อมจะปรับเปลี่ยนและร่วมกันขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิตอลของประเทศ
ภายใน 5 ปีข้างหน้า คนไทยจะต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล ตามแนวทางประชารัฐ และไม่เกิน 10 ปี ประเทศไทยควรก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล เทียบเท่าประเทศระดับแนวหน้า เทียบเท่าหรือแซงหน้าสิงคโปร์ได้ เพราะมีจุดเด่น ทั้งตลาดขนาดใหญ่ และทำเลที่ตั้งของประเทศ โครงข่ายโทรคมนาคมที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอลได้
ต้องจำไว้เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเข้าสู่ยุคดิจิตอล ใครรับการเปลี่ยนแปลง ได้เร็ว ก็ได้เปรียบ เพราะเศรษฐกิจดิจิตอลช่วยให้หลายประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาแล้ว.
ป้ายกำกับ:
เศรษฐกิจดิจิตอล,
Digital Economy,
Digital Thailand
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่
ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 2 พ.ค. 2559 05:01
ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถ้าใครติดตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวมอบนโยบายและปาฐกถาพิเศษในงานต่างๆ จะมีคำพูดใหม่ออกมาว่า จะนำพาประเทศก้าวสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0”
แล้ว “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร เราๆ ท่านๆ ชาวบ้านร้านตลาดคงอดสงสัยไม่ได้ ว่าผู้นำประเทศกำลังจะพาพวกเราไปทางไหน และไปได้จริงหรือเปล่า
คำอธิบายเบื้องต้นที่ขยายความให้เห็นภาพได้บ้างก็คือ ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก
ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้
เพื่อสร้างความเข้าใจว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น บุคคลที่จะมาไขรหัสโมเดลใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี คือ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้มีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่จะมาบอกพวกเราว่า “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร แล้วจะมีโอกาสใดในเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นมาบ้าง
กำหนดโมเดลเศรษฐกิจใหม่
ดร.สุวิทย์เริ่มต้นอธิบายว่า ดังที่ทราบกันดีว่า ยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เน้นในเรื่องการพัฒนาสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ด้วยการสร้าง “ความเข้มแข็งจากภายใน” ขับเคลื่อนตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผ่านกลไก “ประชารัฐ”
นอกเหนือจากการต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมไว้มานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาการทำประมงแบบผิดกฎหมายไม่รายงานและไร้การควบคุม (IUU) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทุจริตคอร์รัปชัน ความขัดแย้ง ตลอดจนรับมือกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ และวิกฤติภัยแล้งแล้ว
ภารกิจประการสำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ก็คือ การขับเคลื่อนการปฏิรูป เพื่อให้สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามชุดใหม่ในศตวรรษที่ 21 นี้
หลายประเทศได้กำหนดโมเดลเศรษฐกิจรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่งในศตวรรษที่ 21 อาทิ สหรัฐอเมริกาพูดถึง A Nation of Makers อังกฤษกำลังผลักดัน Design of Innovation ขณะที่จีนได้ประกาศ Made in China 2025 ส่วนอินเดียก็กำลังขับเคลื่อน Made in India หรืออย่างเกาหลีใต้ก็วางโมเดลเศรษฐกิจเป็น Creative Economy เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยเอง ณ ขณะนี้ยังติดอยู่ใน “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” จะเห็นได้จากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในช่วงระยะแรก (พ.ศ.2500-2536) เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 7-8% ต่อปี อย่างไร ก็ตาม ในช่วงระยะถัดมา (พ.ศ.2537-ปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการเติบโตในระดับเพียง 3-4% ต่อปีเท่านั้น
ประเทศไทยจึงมีอยู่แค่ 2 ทางเลือก หากเราปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจได้สำเร็จ ประเทศไทยจะกลายเป็น “ประเทศที่มีรายได้ที่สูง” แต่หากทำไม่สำเร็จ ก้าวข้ามกับดักนี้ไปไม่ได้ ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในภาวะที่เรียกกันว่า “ทศวรรษแห่งความว่างเปล่า” ไปอีกยาวนาน
สร้างการเปลี่ยนแปลงประเทศ
หากย้อนหลังไปในอดีต ประเทศไทยเองก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก
อย่างไรก็ดี ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 3.0” นั้น นอกจากต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้ว เรายังต้องเผชิญกับ “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาล ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อก้าวข้าม “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0”
“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ
1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า “ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม” ให้เป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน”
โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น “5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ประกอบด้วย
1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)
2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness&Bio-Med)
3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics)
4.กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology)
5.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services)
ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง “New Startups” ต่างๆมากมาย อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) ในกลุ่มที่ 1
เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา ในกลุ่มที่ 2 เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech) ในกลุ่มที่ 3
เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี–มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี–คอมเมิร์ซ (E–Commerce) ในกลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) ในกลุ่มที่ 5 เป็นต้น
ใช้พลังประชารัฐเดินไปข้างหน้า
“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ำ และ Startups ต่างๆที่อยู่ปลายน้ำ โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการขับเคลื่อน
ผู้มีส่วนร่วมหลักจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นตัวสนับสนุน
ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ จะมีภาคเอกชน คือ กลุ่มมิตรผล บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นแกนหลัก โดยมีภาคการเงิน คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินสนับสนุนทางด้านการเงิน
มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยในภูมิภาคต่างๆ เป็นแกนนำในการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัย Wageningen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยอันดับหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัย Purdue, UC Davis และ Cornell ซึ่งจะมีภาครัฐคอยให้การสนับสนุน เช่น กระทรวงการคลัง และสำนักงานส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)
ซึ่งหนึ่งในโครงการที่กำลังผลักดันผ่านกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การจัดตั้งเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) เป็นต้น
โดยทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน “ประเทศไทย 4.0” เป็นส่วนหนึ่งของ “10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” (5 อุตสาหกรรมที่เป็น Extending S-Curve บวก 5 อุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve) ที่รัฐบาลได้ประกาศไปก่อนหน้านั้น กล่าวคือ ใน “10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ยังต้องพึ่งพิงการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมการบิน (Aviation)
ส่วนใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน “ประเทศไทย 4.0” จะเป็นส่วนที่ประเทศไทยต้องการพัฒนาด้วยตนเองเป็นหลัก แล้วค่อยต่อยอดด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งสอดรับกับ “บันได 3 ขั้น” ของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ “การพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และรวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง” นั่นเอง
ตั้งเป้าสัมฤทธิ์ใน 3–5 ปี
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า เป้าหมายของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” คือ การขับเคลื่อน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า เป็นการเปลี่ยน “ปัญหาและความท้าทาย” ให้เป็น “ศักยภาพและโอกาส” ในการสร้างความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น เปลี่ยนจากปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ให้เป็น สังคมผู้สูงอายุที่มีพลัง (Active Aging) การพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ การยกระดับเมืองให้เป็น Smart City
การเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล มันสำปะหลัง ให้กลายเป็นอาหารสุขภาพ (Functional Foods) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceutics) ที่มีมูลค่าสูง การเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม ให้เป็นการเกษตรแม่นยำสูง (Precision Farming) และพัฒนาระบบการบริหารจัดการและเทคโนโลยีน้ำ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ “ประเทศไทย 4.0” มี 3 ประเด็นที่สำคัญ
1.เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม
2.เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน
3.เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”
หากแนวคิด ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ได้จริงตามที่ ดร.สุวิทย์ ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็น่าจะเป็นหนทางที่จะนำพาให้คนไทยได้หลุดพ้นจากความยากจน
เพียงแต่สถานการณ์การเมืองจำเป็นจะต้องนิ่งต่อไปอีก 1–2 ปี เพื่อที่ประเทศไทยจะได้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาที่มีความร่ำรวยเสียที.
ทีมเศรษฐกิจ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 2 พ.ค. 2559 05:01
ห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถ้าใครติดตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวมอบนโยบายและปาฐกถาพิเศษในงานต่างๆ จะมีคำพูดใหม่ออกมาว่า จะนำพาประเทศก้าวสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ “ไทยแลนด์ 4.0”
แล้ว “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร เราๆ ท่านๆ ชาวบ้านร้านตลาดคงอดสงสัยไม่ได้ ว่าผู้นำประเทศกำลังจะพาพวกเราไปทางไหน และไปได้จริงหรือเปล่า
คำอธิบายเบื้องต้นที่ขยายความให้เห็นภาพได้บ้างก็คือ ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โมเดล “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก
ทว่า ภายใต้โมเดล “ประเทศไทย 3.0” ที่เป็นอยู่กันตอนนี้ต้องเผชิญกับดักสำคัญที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้
เพื่อสร้างความเข้าใจว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น บุคคลที่จะมาไขรหัสโมเดลใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี คือ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้มีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่จะมาบอกพวกเราว่า “ประเทศไทย 4.0” คืออะไร แล้วจะมีโอกาสใดในเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นมาบ้าง
กำหนดโมเดลเศรษฐกิจใหม่
ดร.สุวิทย์เริ่มต้นอธิบายว่า ดังที่ทราบกันดีว่า ยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เน้นในเรื่องการพัฒนาสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ด้วยการสร้าง “ความเข้มแข็งจากภายใน” ขับเคลื่อนตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ผ่านกลไก “ประชารัฐ”
นอกเหนือจากการต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมไว้มานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาการทำประมงแบบผิดกฎหมายไม่รายงานและไร้การควบคุม (IUU) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทุจริตคอร์รัปชัน ความขัดแย้ง ตลอดจนรับมือกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ และวิกฤติภัยแล้งแล้ว
ภารกิจประการสำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ก็คือ การขับเคลื่อนการปฏิรูป เพื่อให้สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามชุดใหม่ในศตวรรษที่ 21 นี้
หลายประเทศได้กำหนดโมเดลเศรษฐกิจรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่งคั่งในศตวรรษที่ 21 อาทิ สหรัฐอเมริกาพูดถึง A Nation of Makers อังกฤษกำลังผลักดัน Design of Innovation ขณะที่จีนได้ประกาศ Made in China 2025 ส่วนอินเดียก็กำลังขับเคลื่อน Made in India หรืออย่างเกาหลีใต้ก็วางโมเดลเศรษฐกิจเป็น Creative Economy เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยเอง ณ ขณะนี้ยังติดอยู่ใน “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” จะเห็นได้จากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในช่วงระยะแรก (พ.ศ.2500-2536) เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 7-8% ต่อปี อย่างไร ก็ตาม ในช่วงระยะถัดมา (พ.ศ.2537-ปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการเติบโตในระดับเพียง 3-4% ต่อปีเท่านั้น
ประเทศไทยจึงมีอยู่แค่ 2 ทางเลือก หากเราปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจได้สำเร็จ ประเทศไทยจะกลายเป็น “ประเทศที่มีรายได้ที่สูง” แต่หากทำไม่สำเร็จ ก้าวข้ามกับดักนี้ไปไม่ได้ ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในภาวะที่เรียกกันว่า “ทศวรรษแห่งความว่างเปล่า” ไปอีกยาวนาน
สร้างการเปลี่ยนแปลงประเทศ
หากย้อนหลังไปในอดีต ประเทศไทยเองก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก
อย่างไรก็ดี ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 3.0” นั้น นอกจากต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้ว เรายังต้องเผชิญกับ “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาล ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อก้าวข้าม “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0”
“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ
1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า “ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการพัฒนา “เครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่” (New Engines of Growth) ด้วยการแปลง “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม” ให้เป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน”
โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็น “5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย” ประกอบด้วย
1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)
2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness&Bio-Med)
3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics)
4.กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology)
5.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services)
ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง “New Startups” ต่างๆมากมาย อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) ในกลุ่มที่ 1
เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา ในกลุ่มที่ 2 เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech) ในกลุ่มที่ 3
เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี–มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี–คอมเมิร์ซ (E–Commerce) ในกลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) ในกลุ่มที่ 5 เป็นต้น
ใช้พลังประชารัฐเดินไปข้างหน้า
“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นการถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่กลางน้ำ และ Startups ต่างๆที่อยู่ปลายน้ำ โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการขับเคลื่อน
ผู้มีส่วนร่วมหลักจะประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้นตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐเป็นตัวสนับสนุน
ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ จะมีภาคเอกชน คือ กลุ่มมิตรผล บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นแกนหลัก โดยมีภาคการเงิน คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินสนับสนุนทางด้านการเงิน
มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยในภูมิภาคต่างๆ เป็นแกนนำในการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัย Wageningen ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยอันดับหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัย Purdue, UC Davis และ Cornell ซึ่งจะมีภาครัฐคอยให้การสนับสนุน เช่น กระทรวงการคลัง และสำนักงานส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)
ซึ่งหนึ่งในโครงการที่กำลังผลักดันผ่านกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การจัดตั้งเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) เป็นต้น
โดยทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน “ประเทศไทย 4.0” เป็นส่วนหนึ่งของ “10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” (5 อุตสาหกรรมที่เป็น Extending S-Curve บวก 5 อุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve) ที่รัฐบาลได้ประกาศไปก่อนหน้านั้น กล่าวคือ ใน “10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ยังต้องพึ่งพิงการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมการบิน (Aviation)
ส่วนใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีหลักและอุตสาหกรรมเป้าหมายใน “ประเทศไทย 4.0” จะเป็นส่วนที่ประเทศไทยต้องการพัฒนาด้วยตนเองเป็นหลัก แล้วค่อยต่อยอดด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งสอดรับกับ “บันได 3 ขั้น” ของ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ “การพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และรวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง” นั่นเอง
ตั้งเป้าสัมฤทธิ์ใน 3–5 ปี
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า เป้าหมายของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” คือ การขับเคลื่อน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า เป็นการเปลี่ยน “ปัญหาและความท้าทาย” ให้เป็น “ศักยภาพและโอกาส” ในการสร้างความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืนให้กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น เปลี่ยนจากปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ให้เป็น สังคมผู้สูงอายุที่มีพลัง (Active Aging) การพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์ การยกระดับเมืองให้เป็น Smart City
การเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล มันสำปะหลัง ให้กลายเป็นอาหารสุขภาพ (Functional Foods) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceutics) ที่มีมูลค่าสูง การเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม ให้เป็นการเกษตรแม่นยำสูง (Precision Farming) และพัฒนาระบบการบริหารจัดการและเทคโนโลยีน้ำ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ “ประเทศไทย 4.0” มี 3 ประเด็นที่สำคัญ
1.เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม
2.เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน
3.เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”
หากแนวคิด ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ได้จริงตามที่ ดร.สุวิทย์ ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็น่าจะเป็นหนทางที่จะนำพาให้คนไทยได้หลุดพ้นจากความยากจน
เพียงแต่สถานการณ์การเมืองจำเป็นจะต้องนิ่งต่อไปอีก 1–2 ปี เพื่อที่ประเทศไทยจะได้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาที่มีความร่ำรวยเสียที.
ทีมเศรษฐกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)