Facebook History
On February 4, 2004, Mark Zuckerberg launched a social website called “The Facebook” from his dorm room at Harvard. Soon, what started as a private network for college students became a worldwide phenomenon, everyone from teens to grandmothers using it to catch up with friends and get their news. As Facebook is turning 14 this Sunday, here’s a look back at some of the milestones that helped shape the social media behemoth we know today.
The Facebook History Timeline illustrates important events, achievements, and releases in the history of the social networking platform, from the day the service was launched to its 14-year anniversary.
Released in February 2009, the “Like” button is probably one of the simplest Facebook features, but it’s come to be the one that defines it. This makes it a little surprising that Zuckerberg kept giving it a thumbs down when the concept was proposed, determining the team to consider it a “cursed project.” The idea of an approval button first came to life in 2007 under the form of the “Awesome” button, but it took almost two years until it was finally launched, as the CEO was worried it will overshadow the Comment and Share features.
Source: https://www.officetimeline.com/blog/facebook-history-timeline
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
Introvert
Introvert ตอนที่ 1: สมองต่าง บุคลิกต่าง
By ทีมซีเอ็ด 19/11/2018ความในใจของคนที่ดูเงียบๆ รักสันโดษ ชอบอิสระ ทำอะไรคนเดียว อยากบอกให้คุณรู้
เอาล่ะครับ เรามาเริ่มกันอย่างนี้ก่อนดีกว่า
คือผู้เขียนสังเกตเห็นว่ายังมีคนจำนวนมากเลยทีเดียวที่ยังไม่เข้าใจว่า introvert คืออะไร แล้วทำไมผมถึงเลือกที่จะเล่าเรื่องนี้น่ะหรอครับ นั่นก็เพราะว่าจริงๆแล้ว introvert เป็นรูปแบบหนึ่งของบุคคลิกภาพที่กินสัดส่วนประชากรมากถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว (จะว่ามากก็มาก แต่ก็ถือเป็นคนส่วนน้อยอยู่ดี)
ตัวอย่างคนดังที่เป็น Introvert ก็ได้แก่มหาเศรษฐีติดอันดับโลกและนักคิดผู้โด่งดังทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น
Elon Musk ที่ชอบเก็บตัวอ่านหนังสือเงียบๆคนเดียวในห้องสมุดสมัยเด็กๆ
Bill Gates ที่เป็นต้นแบบของความเนิร์ดแห่งยุคสมัย
Isaac Newton ที่ตลอดชีวิตเก็บตัวเงียบแทบไม่สุงสิงกับใครแถมยังตายไปพร้อมกับพรหมจรรย์ที่รักษามาท้งชีวิต
Charles Darwin บิดาของทฤษฎีทางชีววิทยาที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาลผู้ค้นพบความลับของธรรมชาติที่เรียกว่า “วิวัฒนาการ” ก็ยังชอบใช้เวลาเดินครุ่นคิดอย่างสัยโดษตามสวนรอบๆ บ้าน
ถึงแม้พวกเราจะมีน้อย แต่ก็พบว่ามี introvert จำนวนมากเลยทีเดียวที่เป็นนักอ่าน ผมจึงเลือกที่จะลองมาเล่าให้ฟังว่า อะไรคือ introvert การเข้าใจตัวเองนี้จะช่วยให้เราดำเนินชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร และเราจะมาเริ่มจากคำถามพื้นฐานก่อนว่า…
Introvert คืออะไร ?
ในเช้าวันเสาร์อันแสนผ่อนคลาย หลังจากนอนเต็มอิ่มมาทั้งคืน
วันนี้เป็นวันว่างสุดแสนชิว คุณอยากจะใช้เวลาไปกับการทำอะไรครับ
อยากไปปาร์ตี้ คอนเสิร์ต ไปพบป่ะผู้คนใหม่ๆ ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ
หรือว่า…คุณอยากจะใช้เวลานี้ไปกับความสงบ สันโดษ อย่างการนั่งอ่านหนังสือ ไปนั่งร้านกาแฟ ทำงานอดิเรก นัดเจอเพื่อนฝูงกลุ่มเล็กๆ
ถ้าคำตอบของคุณเป็นข้อสอง
ก็เป็นไปได้มากทีเดียวว่าคุณน่าจะเป็น Introvert ล่ะครับ
เหรียญย่อมมีสองด้าน…และคำนี้ก็เป็นคำที่มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบเหมือนกับสีขาวและดำ…Extrovert จึงเป็นคำที่มีควาหมายในทางตรงข้ามกับ Introvert นั่นเอง
ศัพท์ในทางจิตวิทยา
Bill Gates ที่เป็นต้นแบบของความเนิร์ดแห่งยุคสมัย
Isaac Newton ที่ตลอดชีวิตเก็บตัวเงียบแทบไม่สุงสิงกับใครแถมยังตายไปพร้อมกับพรหมจรรย์ที่รักษามาท้งชีวิต
Charles Darwin บิดาของทฤษฎีทางชีววิทยาที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาลผู้ค้นพบความลับของธรรมชาติที่เรียกว่า “วิวัฒนาการ” ก็ยังชอบใช้เวลาเดินครุ่นคิดอย่างสัยโดษตามสวนรอบๆ บ้าน
ถึงแม้พวกเราจะมีน้อย แต่ก็พบว่ามี introvert จำนวนมากเลยทีเดียวที่เป็นนักอ่าน ผมจึงเลือกที่จะลองมาเล่าให้ฟังว่า อะไรคือ introvert การเข้าใจตัวเองนี้จะช่วยให้เราดำเนินชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร และเราจะมาเริ่มจากคำถามพื้นฐานก่อนว่า…
Famous Introverts
Introvert คืออะไร ?
ในเช้าวันเสาร์อันแสนผ่อนคลาย หลังจากนอนเต็มอิ่มมาทั้งคืน
วันนี้เป็นวันว่างสุดแสนชิว คุณอยากจะใช้เวลาไปกับการทำอะไรครับ
อยากไปปาร์ตี้ คอนเสิร์ต ไปพบป่ะผู้คนใหม่ๆ ทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ
หรือว่า…คุณอยากจะใช้เวลานี้ไปกับความสงบ สันโดษ อย่างการนั่งอ่านหนังสือ ไปนั่งร้านกาแฟ ทำงานอดิเรก นัดเจอเพื่อนฝูงกลุ่มเล็กๆ
ถ้าคำตอบของคุณเป็นข้อสอง
ก็เป็นไปได้มากทีเดียวว่าคุณน่าจะเป็น Introvert ล่ะครับ
เหรียญย่อมมีสองด้าน…และคำนี้ก็เป็นคำที่มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบเหมือนกับสีขาวและดำ…Extrovert จึงเป็นคำที่มีควาหมายในทางตรงข้ามกับ Introvert นั่นเอง
ศัพท์ในทางจิตวิทยา
ถ้าเราทำการจัดกลุ่มคนหนึ่งร้อยคนตามระดับ
ความเป็น Introvert-Extrovert
ทางซ้าย—คนที่เป็น Extrovert สุดขั้ว ชอบเข้าสังคม
ทางขวา—คนที่เป็น Introvert สุดขั้ว ชอบสันโดษ
เราจะพบว่าคนส่วนมากทีเดียวจะอยู่ “ตรงกลาง”
หรือที่เราเรียกว่า “Ambivert” ซึ่งเป็นคนที่มีบุคคลิกสายกลาง
คำถามคืออะไรทำให้คนคนหนึ่งมี “บุคคลิกภาพที่แตกต่าง”
และเราจะรู้ได้ชัดเจนอย่างไรว่าเราเป็น Introvert หรือไม่
นิยาม Introvert ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ผมชอบที่สุด
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าอะไรทำให้คนหนึ่งคนเลือกที่จะนั่งอ่านหนังสืออยู่เงียบๆ เพียงลำพัง แต่อีกคนชอบที่จะออกไปปาร์ตี้ที่คราครํ่าไปด้วยผู้คนเยอะๆ
อะไรทำให้คนหนึ่งคนชอบถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน แต่อีกคนกลับรู้สึกสะดวกใจที่จะใช้การพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก
อะไรทำให้หนึ่งคนเหนื่อยอ่อนเมื่อต้องพบปะมีปฎิสัมพันธ์กับคนเยอะๆ จนต้องหาเวลาไปชาร์ตพลังเพียงลำพัง แต่อีกคนกลับรู้สึกว่าอยู่กับตัวเองเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหงอยเหงาจนอยากจะไปพบเจอผู้คนที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น สดชื่น มีพลัง
นี่คือ “ความต่าง” ที่เราสังเกตุเห็นได้ในตัวเองและคนที่เรารู้จัก
การเข้าใจเบื้องหลังของสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราใจกว้างและไม่ด่วนตัดสินคนอื่นเร็วเกินไป…
และทั้งหมดมันเริ่มมาจาก “สมอง”
ความเป็น Introvert-Extrovert
ทางซ้าย—คนที่เป็น Extrovert สุดขั้ว ชอบเข้าสังคม
ทางขวา—คนที่เป็น Introvert สุดขั้ว ชอบสันโดษ
เราจะพบว่าคนส่วนมากทีเดียวจะอยู่ “ตรงกลาง”
หรือที่เราเรียกว่า “Ambivert” ซึ่งเป็นคนที่มีบุคคลิกสายกลาง
คำถามคืออะไรทำให้คนคนหนึ่งมี “บุคคลิกภาพที่แตกต่าง”
และเราจะรู้ได้ชัดเจนอย่างไรว่าเราเป็น Introvert หรือไม่
นิยาม Introvert ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ผมชอบที่สุด
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าอะไรทำให้คนหนึ่งคนเลือกที่จะนั่งอ่านหนังสืออยู่เงียบๆ เพียงลำพัง แต่อีกคนชอบที่จะออกไปปาร์ตี้ที่คราครํ่าไปด้วยผู้คนเยอะๆ
อะไรทำให้คนหนึ่งคนชอบถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน แต่อีกคนกลับรู้สึกสะดวกใจที่จะใช้การพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก
อะไรทำให้หนึ่งคนเหนื่อยอ่อนเมื่อต้องพบปะมีปฎิสัมพันธ์กับคนเยอะๆ จนต้องหาเวลาไปชาร์ตพลังเพียงลำพัง แต่อีกคนกลับรู้สึกว่าอยู่กับตัวเองเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหงอยเหงาจนอยากจะไปพบเจอผู้คนที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น สดชื่น มีพลัง
นี่คือ “ความต่าง” ที่เราสังเกตุเห็นได้ในตัวเองและคนที่เรารู้จัก
การเข้าใจเบื้องหลังของสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราใจกว้างและไม่ด่วนตัดสินคนอื่นเร็วเกินไป…
และทั้งหมดมันเริ่มมาจาก “สมอง”
สมองแตกต่าง พฤติกรรมจึงแตกต่าง
หากเราเอารูปสมองของมนุษย์มากางดู
มองเผินๆ เราจะเห็นโครงสร้างสมองเหมือนไอติมโคนซ้อนกันหลายๆ ชั้น
ส่วนโคน—เป็นก้านสมอง
ไอศครีมชั้นล่างๆ—เป็นสมองที่เก่าแก่ควบคุมระบบอัตโนมัติของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ
ไอศครีมชั้นบนๆ—เป็นสมองที่เจริญงอกงามในมนุษย์ ใช้ในการคิดเชิงเหตุผล
ตั้งแต่ลืมตาตื่นเช้าจนเข้านอน
กี่คลื่นเสียง เฉดแสง ที่เข้าสู่การรับรู้ทางประสาทสัมผัส
จากสิ่งที่มากระทบตากระทบใจต่างๆ
จะถูกแปลงเป็น “กระแสประสาท” ไหลเวียนเข้าสู่สมอง
เพื่อความง่าย เราสามารถจินตนาการได้ว่า
สิ่งเร้าที่เรารับเข้ามาก็เหมือนกับคลื่นลมพายุ
สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียน ไหลวน ถ่ายทอดเข้าไปในสมองของเราทุกคน
ซึ่งโดยปกติแล้วมนุษย์เราจะมีข่ายใยประสาทที่มีชื่อเรียกยากๆว่า
Reticular Activating System (RAS) ซึ่งอยู่บริเวณ “โคนไอศครีม”
ซึ่งจะมีหน้าที่เปรียบดัง “สันเขื่อน” ที่จะทำหน้าที่คัดกรอง
“คลื่นลม” ที่มาจากมหาสมุทรภายนอก ให้อยู่ในปริมาณที่พอดีๆ
ซึ่งจุดนี้แหละครับที่สมองของคนที่เป็น Introvert หรือ Extrovert จะทำงานได้ไม่เท่ากัน…หรือพูดง่ายๆว่าคนเราถูกกระตุ้นด้วย “สิ่งเร้า”ภายนอกได้ยากง่ายต่างกัน
Extrovert—เขื่อนแข็งแกร่งทำให้มีระดับความไวต่อสิ่งกระตุ้นตํ่า
Introvert—เขื่อนบางเบาทำให้มีระดับความไวต่อสิ่งกระตุ้นสูง
นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่เป็น Introvert ถึงรู้สึก ‘หมดพลัง’ เมื่อต้องไปทำกิจกรรมที่ต้องเจอคนเยอะๆ…ซึ่งไม่ต่างจากเขื่อนง่อนแง่นที่ถูกพายุถล่มซํ้าเติม
Reticular Activating System (RAS)
บางทีแค่หนังสือดีๆ ซักเล่ม
เพื่อนสนิทสองสามคน
คำสนทนาที่มีความหมายกับคนรัก
การนั่งลูบพุงแมวน้อยน่ารักก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ Introvert มีความสุขได้โดยที่ไม่ต้องไปแสวงหาสิ่งเร้าที่น่าตื่นเต้นรุนแรงจากภายนอก (ซึ่งอาจมากเกินไป)
ทั้งหมดที่พูดมานี้ไม่ได้หมายความว่าแบบไหนดีกว่ากัน
เราสามารถมองสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยความเข้าใจ
มองด้วยสายตาของ ‘ธรรมชาติ’ ที่ไม่ได้ออกแบบให้คนเราเหมือนกัน
มันจึงเป็นความสวยงามบนความแตกต่างหลากหลายของ ‘เพื่อนมนุษย์’
ที่มา http://news.se-ed.com/?p=5613
Introvert ตอนที่ 2: พวกเราคืออินโทรเวิร์ท
Introvert ถูกกระตุ้นได้ง่ายจากสิ่งเร้าExtrovert ถูกกระตุ้นได้ยากมากกว่า
นั่นทำให้บางคนพอใจที่จะใช้เวลาอยู่อย่างสงบเงียบในวันหยุด อยู่กับคนรัก ทำงานอดิเรกต่างๆ นอนเอนกายอ่านหนังสืออยู่เงียบๆคนเดียว ในขณะที่บางคนกลับรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมแบบนั้นขาดสิ่งกระตุ้น มันไม่เร้าใจมากพอ ขาดสีสัน และชอบที่จะออกไปพบปะผู้คนเพื่อ “รับพลังงาน” จากภายนอกเข้ามา
นี่คือความแตกต่างของ introvert และ extrovert
วันนี้เราเลยจะมาสำรวจกันว่าความยากง่ายของการถูกกระตุ้นส่งผลให้ introvert มีลักษณะอย่างไรบ้าง
1.อยู่กับคนเยอะๆ นานๆ แล้วเหนื่อย อินโทรเวิร์ท
เคยไหมครับที่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรในเรื่องของทักษะการเข้าสังคม หรือไปขาดความมั่นใจอะไรมา แต่พอมี event ที่ต้องเจอคนเยอะๆ ทีไร พองานเลี้ยงเลิกราทีไรก็รู้สึกหมดแรงหมดพลัง อยากพักนิ่งๆคนเดียวไม่อยากเจอใครไปซักพักนึงเลยทีเดียว
ข้อนี้เป็นลักษณะหนึ่งที่บ่งบอกได้ดีทีเดียวว่าคุณคือ introvert ตัวจริงเสียงจริง เพราะคุณผู้อ่านรู้หรือไม่ครับว่าในเหตุการณ์เดียวกัน ช่วงเวลาเดียวกัน ระยะเวลาเท่ากัน หากคุณเป็น introvert คุณจะได้รับสิ่งกระตุ้นเข้ามามหาศาลมากกว่าเมื่อเทียบกับ extrovert
เชื่อไหมว่ามีบางคนเช่นกันที่ดูภายนอกเราต้องคิดว่าเขาต้องเป็น extrovert แน่ๆ เพราะทำกิจกรรมเก่ง สื่อสารได้ดี มีความกล้าแสดงออกและเป็นผู้นำ แต่พอได้รู้จักกันจริงๆ เขากลับเผยความจริงว่าเป็น introvertและหลังจากผ่านกิจกรรมเหล่านั้นไปเขาจะรู้สึกเหนื่อยอ่อนมากกว่าปกติ พอถึงเวลาว่างที่เป็นอิสระจริงๆ เขาจึงชอบที่จะใช้เวลาพักผ่อนอยู่คนเดียวมากกว่า
นั่นจึงนำเราไปสู่ลักษณะของ introvert ข้อต่อไปนั่นก็คือ
2.คุณเพลิดเพลิน รักและชอบใช้เวลาคนเดียว
หลายๆครั้งเหล่า introvert มักจะถูกเข้าใจผิดจาก extrovert ว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่าในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ ทำไมถึงชอบนั่งกินข้าวคนเดียว ไปไหนมาไหนคนเดียว ไม่เบื่อ ไม่เหงาบ้างหรือไง
ลองจินตนาการตามนะครับ…
หากคุณเป็น introvert คนหนึ่งที่หน้าที่การงานที่คุณทำอยู่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีปฎิสัมพันธ์กับผู้คนตลอดทั้งวัน พูดคุย ประชุม อภิปราย ระดมความคิด พอถึงเวลาว่างจริงๆ อย่างตอนพักกลางวันคุณยังอยากจะใช้เวลาเหล่านั้นอย่างลำพังบ้างหรือไม่
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อเราถามคนที่แตกต่างกันว่าเวลาว่างชอบทำอะไร…เราสามารถบอกได้กลายๆเลยว่าคนเหล่านั้นเป็น introvert หรือ extrovert
หากคำตอบมันเด้งออกมาเลยว่าเราชอบ Alone time ก็เป็นไปได้ว่าเราคือ introvert…แม้คนอื่นอาจไม่เข้าใจ หรือไม่เห็นค่าของช่วงเวลาส่วนตัวเหล่านั้นก็อย่าลืมอธิบายให้เขาฟังด้วยล่ะว่ามันสำคัญกับเราอย่างไร…อย่าให้สังคมมาตัดสินเราว่าเราควรใช้เวลาว่างของเราอย่างไร
พวกเราล้วนแตกต่างและไม่จำเป็นต้องการให้ใครมาบอกว่าอะไรที่ดีกับตัวเรา…
3.มีเพื่อนน้อย แต่ที่มีค่อนข้างสนิท
มีหลายคนเข้าใจผิดว่า introvert ชอบที่จะอยู่คนเดียว ไม่สุงสิงกับใครไม่มีสังคม ทว่านั่นไกลจากความจริงค่อนข้างมากเลยล่ะครับ
เป็นเรื่องจริงที่ introvert มักมีแวดวงกลุ่มเพื่อน กลุ่มสังคมที่ไม่กว้างขวางเท่า extrovert แต่งานวิจัยบอกกับเราว่าถึงจะมีน้อยกว่าก็จริง แต่นั่นก็เป็นเพราะพวกเรามักจะคัด “คุณภาพมากกว่าปริมาณ”
นั่นทำให้ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นมักจะลึกซึ้งและค่อนข้างยืนยาว พูดได้ว่าถ้าได้เป็นเพื่อนกันแล้วก็เป็นกันจนลูกบวชเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้เองทำให้พวกเราชาว introvert ชอบที่จะแฮงเอาท์กับเพื่อนสนิทเพียงไม่กี่คนท่ามกลางบรรยากาศที่โดนใจไม่อึกทึก มีเวลาได้พูดคุยกันอย่างลึกๆ เป็นความสัมพันธ์ที่อารมณ์คล้ายๆคนในครอบครัว
หากคุณเป็นคนมีเพื่อนน้อยแต่ที่มีสนิทมากๆ แสดงว่าคุณอาจเป็น introvert แล้วล่ะครับ
4.ถูกเร้าหรือเยอะๆ จะสติหลุดได้ง่ายๆ
เร้าหรือในที่นี้หมายถึงสิ่งเร้านะครับ…
อย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่า introvert นั้นมีขีดความอดทนต่อสิ่งกระตุ้นต่ำกว่า extrovert นั่นหมายความว่ามันมีความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องการถูกกระตุ้นอยู่นั่นเอง
หากให้ introvert และ extrovert นั่งทำงานอยู่ในห้องสมุด extrovert อาจจะรู้สึกว่ามันเงียบเกินไปจนน่าเบื่อ ในขณะที่ introvert คิดว่ามันสงบเงียบกำลังดี
แต่พอเปลี่ยนสถานที่เป็นร้านกาแฟที่คราคร่ำไปด้วยคน extrovert อาจจะรู้สึกได้ถึงพลังงานที่ถ่ายทอดเข้ามาในขณะที่ introvert เริ่มไม่สามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิ
ผลวิจัยเลยบอกกับเราว่า introvert มีแนวโน้มที่จะสติหลุด ขาดสมาธิ วอกแวกไปมาได้ง่ายกว่า extrovert เมื่ออยู่ในที่พลุกพล่าน เต็มไปด้วยสิ่งเร้าหรือผู้คน
ไม่แปลกเลยถ้าพบว่า introvert จะชอบไอเทมต่างๆที่มีคุณสมบัติในการกรองสิ่งเร้าให้เบาบางลงไม่ว่าเป็น การใส่หูฟังเวลาต้องการทำงาน คิดหรืออ่านหนังสือ การใส่แว่นตากรองแสง การใส่ที่อุดหูเวลานอน
สิ่งเหล่านี้คือการบ่งบอกอย่างเป็นรูปธรรม…สิ่งที่สะท้อนธรรมชาติของเรา
แล้วมันก็พ่วงแถมจุดแข็งของ introvert มาอีกนั่นก็คือ
5.ความช่างสังเกต
ในสถานการณ์เดียวกัน introvert มักจะรับ input ของข้อมูลขาเข้ามามากกว่าปกติเสมอ เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่มันทำให้เรากลายเป็นคนช่างสังเกตและเห็นดีเทลเล็กน้อยๆ มากกว่าปกติ
และไม่เพียงแต่การสังเกตสิ่งเร้าภายนอกเท่านั้นแต่โลกภายในที่กว้างใหญ่ของ introvert ก็เช่นกัน
6.โลกภายในที่กว้างขวาง ซับซ้อน และลึกซึ้ง
“คนที่พูดน้อยที่สุดในห้อง อาจเป็นคนที่กำลังคิดเยอะที่สุดในห้องเช่นกัน”
ผมจำไม่ได้แล้วว่าไปอ่านวลีนี้มาจากไหน แต่มันค่อนข้างอธิบายลักษณะของ introvert ได้ดีระดับหนึ่งเลย
ด้วยความที่ introvert มักจะเป็นคนที่มีลักษณะของการสำรวจตรวจสอบโลกภายในที่ค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องของความคิด ความรู้สึก คุณค่าและความหมาย ของสิ่งต่างๆ
พวกเรามักจะเพลิดเพลินไปกับการครุ่นคิดถึง “ประสบการณ์ทางใจ” ค่อนข้างมาก และหลายๆ ครั้งก็มองว่าสิ่งที่เรารับรู้จากภายนอกเป็นเพียงสิ่งที่เข้ามาเติมเติมและกระตุ้นให้โลกภายในที่เข้มข้นของพวกเราได้หมุนวนไป
ทำให้ introvert หลายๆคนมีกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับการทำความรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่าง การอ่านหนังสือในหัวข้อที่สนใจ การพูดคุยถกเถียงทางปรัชญาเพื่อหาคุณค่าและความหมายของชีวิต
หากมีหลายคนบอกว่าคุณเป็นคนที่ “คิดมาก” ก็มีความเป็นไปได้เยอะเลยที่คุณอาจเป็น introvert
หวังว่าทั้ง 6 ข้อเหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆนักอ่านเข้าใจตัวเองและคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลมันเริ่มมาจากความแตกต่างของสมองที่ถูกหล่อหลอมผ่านวันเวลามาเป็นบุคคลิกภาพอย่างที่เราเป็นในที่สุด
พวกเราไม่ใช่คนขี้อาย…
พวกเราแค่เพลิดเพลินกับการได้ใช้เวลาลำพัง
พวกเราไม่ได้ปฎิเสธการเข้าสังคม
แค่เลือกเพื่อนที่จะคบ อาจไม่มากมาย แต่สนิทจริงๆ
เห็นพวกเราเงียบๆ
แต่ที่จริงรับรู้แทบทุกอย่าง
ถึงพวกเราจะพูดน้อยจนหลายครั้งทำให้ดูเหมือนน่าเบื่อ
แต่โลกภายในล้วนเต็มไปด้วยสีสันอันกว้างใหญ่
คิดว่าพวกเราเป็นคนส่วนน้อย
แต่ที่จริง Introvert มีมากถึงหนึ่งในสามของประชากร
ที่มา http://news.se-ed.com/?p=5622
The Introvert Advantage ตอนที่ 3: จุดแข็งของอินโทรเวิร์ท
ในบทความแรกเราพากันไปดูมาแล้วว่าความแตกต่างของสมองนั่นเองที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บางคนรักและเอ็นจอยการใช้เวลาแบบสันโดษมากกว่าคนทั่วไปเนื่องจากมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ซึ่งก็จะนำมาซึ่งลักษณะต่างๆ ที่บ่งบอกความเป็น introvert ในบทความตอนที่สอง
สำหรับวันนี้เราจะมาสำรวจกันต่อว่า แล้วอะไรกันล่ะที่เป็นจุดแข็งของพวกเราชาว introvert
อะไรคือพลังของคนเงียบในโลกที่ไม่เคยหยุดพูดไปดูกันเลย
1.ชาร์ตพลังงานได้เอง
อย่างที่กล่าวไปแล้วในบทความก่อนว่า introvert จะมีจุดอ่อนคือหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นเยอะๆ จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า over stimulation หรือการที่เราถูกกระตุ้นมากเกินไป จากเสียงดัง จากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่หยุดหย่อนทำให้เราอาจเสียสมาธิในการโฟกัสกับการเรียน การอ่าน การทำงาน ซึ่งก็แก้ได้ไม่ยากโดยการหาที่สงบซึ่งมีสิ่งเร้าน้อยกว่าทดแทน
แต่ข้อดีที่ได้แถมมาด้วยก็คือเวลาที่ introvert อยู่ที่สงบเงียบซึ่ง extrovrt หลายๆ คนมองว่าน่าเบื่อ แต่สำหรับพวกเราชาว introvert กลับเป็นภาวะที่เรากำลังชาร์ตพลังงาน เป็นภาวะที่เรารู้สึกสงบผ่อนคลาย
เมื่อเหนื่อยอ่อนจากการงาน หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เราไม่จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อออกไปหากิจกรรมหรือผู้คน แค่สถานที่สงบเงียบให้ได้ผ่อนคลาย ครุ่นคิดและได้เป็นตัวเองก็เพียงพอแล้ว
ช่วงหลังมานี้มีแนวคิดที่ว่าคนรุ่นใหม่ต้อง work hard play hard ต้องใช้ชีวิตให้สุด ต้องออกไปปาร์ตี้ ต้องสังสรรค์ เข้าสังคม เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้สุดไม่หยุดหย่อน…
แล้วถ้าความสุขของเราไม่ได้เป็นแบบนั้นล่ะ ถ้าความสุขของเราอาจเป็นหนังสือซักเล่ม ซีรีย์ที่ชื่นชอบซักตอน หรือการวิ่งออกกำลังกายคนเดียวในเช้าวันเสาร์ที่สดใส ก็จงภูมิใจในความเป็นตัวตนของเราที่ไม่ต้องทำตามใคร
เพียงมีความสงบในใจ…เราก็ชาร์ตพลังงานได้จนเต็ม ^^
2.เป็นนักคิดโดยธรรมชาติ
สิ่งหนึ่งที่เป็นธรรมชาติของ Introvert มากๆ เลยก็คือการ “คิดมาก”
เมื่อประกอบกับนิสัยที่มักจะชอบทำกิจกรรมต่างๆในเวลาว่างโดยลำพังยิ่งหนุนนำให้การคิดของ introvert ยิ่งลึกและกว้างไกลมากยิ่งขึ้นไปอีก
ซึ่งช่วงเวลาเงียบสงบที่ Introvert เหล่านี้ใช้เปิดโอกาสให้ความฝัน จินตนาการ การวางแผนถึงอนาคตต่างๆเกิดขึ้นได้
คุณสมบัติเหล่านี้เองที่ทำให้ introvert กลายเป็นนักแก้ปัญหาที่เก่งอันเกิดมาจากการฝึกคิดวิเคราะห์แง่มุมต่างๆมาอย่างถี่ถ้วนดีแล้ว
3.เป็นผู้ฟังที่ดี
เนื่องจาก introvert เป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างเงียบ พวกเขาเลยมักจะเป็นผู้สังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเป็นนักฟังที่ดีเมื่อได้สนทนากับใครก็ตาม…
Introvert มักเลือกที่จะประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาให้ดีก่อนที่ตอบสนองออกไป มีการคิดก่อนที่จะพูดหรือทำอะไร
หากดูจากภายนอกภาพลักษณ์ของ introvert อาจดูขัดแย้งกับความเป็นผู้นำ แต่งานศึกษาจาก Harvard Business School พบว่า introvert ก็สามารถที่จะปรับวิธีการทำงานให้ทัดเทียมหรือแม้กระทั่งดีกว่าได้ในฐานะตำแหน่งของผู้นำ โดยเฉพาะเมื่อทีมงานมีคุณสมบัติริเริ่มสร้างสรรค์และชอบลงมือทำ ซึ่งจะสอดคล้องกับนิสัยของ introvert ที่จะน้อมรับฟััง คิดวิเคราห์และนำไอเดียมาพัฒนาต่อเพื่อบรรลุเป้าหมายได้
ในโลกที่ทุกคนเอาแต่พยายามส่งเสียงตะโกน
introvert กลับเลือกที่จะรับฟัง
และนำไปกลั่นกรอง คิดวิเคราะห์ จากนั้นจึงค่อยตัดสินใจอย่างเฉียบคม
4.ความสันโดษนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
มีงานศึกษาพบว่ากลุ่มคนที่ถือได้ว่าเป็นหัวกระทิของหลายๆวงการที่เรียกได้ว่ามีความคิดสร้างสรรค์สูงมักจะเป็นคน introvert
หรือคนระดับประวัติศาสตร์ต้องจารึกอย่าง…
ในเวลาที่ต้องขบคิดปัญหายากๆซับซ้อน ไอสไตน์ จะมีเวลาพักเบรกเพื่อหันไปทำงานอย่างอื่นที่ใช้พลังสมองน้อยกว่า
อีกกรณีก็เป็นที่รู้กันว่าตอนไอแซก นิวตัน ยังเป็นเด็กๆ แม่ของเขาต้องคอยเอาอาหารเข้ามาเสริฟชายน้อยเพราะเขามักจะหมกมุ่นอยู่กับการขบคิดปัญหาต่างๆ จนลืมโลกรอบตัวไป
ชาลส์ ดาร์วิน เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการก็เป็นอีกคนที่ใช้เวลาอย่างลำพังเพื่อขบคิดในขณะที่เขาเดินไปตามทางเดินในสวนละแวกบ้านของเขา
เมื่อเราได้ใช้เวลาลำพัง เมื่อเราได้มีเวลาให้ความคิดที่ฟุ้งซ่านได้ตกตะกอน สิ่งเหล่านี้เปิดโอกาสให้เราได้มองปัญหาในมุมใหม่
ทำสิ่งใหม่ได้ไม่เหมือนใคร และยากที่จะมีคนทำได้เหมือนพวกเราชาว introvert
5.สร้างแรงบันดาลใจได้เอง
เคยไหมที่แบบว่าคนรอบข้างยังต้องงงเวลาพวกเราชาว introvert ลุกขึ้นมาทำอะไร
ด้วยนิสัยที่มีโลกภายในกว้างใหญ่ไพศาล ซับซ้อน ลุ่มลึก และเต็มไปด้วยจินตนาการ
ทำให้หลายๆ ครั้งเรามีแผนการ มีความฝัน มีความหวังที่เป็นเหตุผลในตัวเอง ซึ่งหลายๆครั้งเราก็ไม่ได้เอามันไปบอกใครหรอกว่าเราทำไปทำไม
วันดีคืนดีคนรู้จักของคุณอาจจะต้องงงเมื่อเห็นคุณที่น้ำหนักเกินมาตลอดลุกขึ้นมาขยันออกกำลังกายตอนหกโมงเช้าทุกวัน หรืออยู่ๆก็ไปซื้อสีน้ำมาหัดระบายสี หรือบางคนอาจนั่งร่างแผนการแต่งระเบียงห้องด้วยต้นไม้
ประเด็นก็คือพวกเราชาว introvert นั้นมีพรสวรรค์ในการลุกขึ้นมาทำอะไรซักอย่างโดยไม่ต้องทำตามใคร เรามีแนวทางเป็นของตัวเอง หรือพูดง่ายๆว่าอินดี้นั่นเอง
สิ่งเหล่านี้คือความสามารถพิเศษในการจมจ่อม หลงไหล ใฝ่ฝัน ทุ่มเทไปกับการงานที่เรารักที่จะทำ
หลายครั้งมันมันยากที่คนอื่นจะเข้าใจแรงเบื้องหลังที่หนุนนำในสิ่งที่เราทำอยู่ แต่ก็ต้องระวงเหมือนกันตรงที่เรามีเหตุผลในตัวเองที่จะเริ่มต้นที่จะทำอะไรซักอย่างหนึ่ง แต่ความสำเร็จที่แท้จริงก็ต้องการความต่อเนื่องเพื่อการยืนระยะอย่างยาวนานจนเกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้
ความเข้าใจในตัวเองอย่างลึกซึ้ง นั่นคือการรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรของ introvert เมื่อรวมกับแรงบันดาลใจในตัวที่เกิดขึ้นได้เอง หากเราฝึกฝนเพิ่มอีกนิดให้ตัวเองเป็นคนที่มีระเบียบวินัยและฝึกนิสัยแห่งการลงมือทำ
พวกเราชาว introvert จะเหมือนมีพลังพิเศษที่จะเปลี่ยนภาพฝันในสมองให้เป็นความจริงตรงน่าได้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
ที่มา: http://news.se-ed.com/?p=5625
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
วิกฤตเศรษฐกิจ แห่งทศวรรษ
ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
คำถามที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหญ่ 2 ท่าน ได้แก่ เบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานเฟด และ พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล และคอลัมนิสต์ชื่อดัง
ได้ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องแบบเชิงสร้างสรรค์ เมื่อเดือนที่แล้ว คือ ดัชนีใดกันแน่ที่เป็นสัญญาณที่ดีที่สุดในการคาดการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ โดยใช้วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ 2008 เป็นสนามทดลอง
โดยฝั่งเบอร์นันเก้ เชื่อว่าดัชนีที่แสดงความตื่นกลัว อย่าง การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน และการกระตุกตัวขึ้นของผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่มิใช่สินเชื่อบ้านที่ได้ทำ Securitized สามารถทำหน้าที่เป็นตัวคาดการณ์ที่ดีกว่าราคาบ้าน ราคาตลาดของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์แบบ Subprime หรืออัตราการผิดนัดของสินเชื่อบ้าน ในการบอกถึงจังหวะและความรุนแรงของเศรษฐกิจถดถอยหรือแม้แต่วิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะที่ครุกแมน กลับเห็นต่าง โดยเน้นว่าผลกระทบจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์รวมของเศรษฐกิจสหรัฐต่างหากที่เป็นสาเหตุของ‘วิกฤติเศรษฐกิจ’ แห่งทศวรรษที่ผ่านมา
ครุกแมน ร่วมกับ ดีน เบเกอร์ ใช้ข้อมูลแบบลงลึกถึงขนาดระดับ accounting-based ทำการวิเคราะห์แบบระบบสมการเชิงโครงสร้างหรือ Structural Analysis เพื่อชี้ให้เห็นถึงจีดีพีที่หดตัวและชะลอลงและการว่างงานที่เคยสูงสุดเกือบ 10% ในช่วงเวลากว่า 7 ปีหลังวิกฤติการเงิน 2008 ว่ามาจากปัจจัยของตลาดอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ ครุกแมนทิ้งท้ายว่า กรอบวิธีการวิเคราะห์ของเบอร์นันเก้เป็นวิธีที่ละเอียดน้อยกว่า ซึ่งเรียกกันว่า Reduced-form โดยหาปัจจัยต่างๆ ในตลาดการเงินแล้วใช้ข้อมูลย้อนอดีต (Time-Series) เพื่อประมาณผลกระทบต่อจีดีพี ในทางกลับกัน ครุกแมนร่วมกับดีน เบเกอร์ ใช้ข้อมูลแบบลงลึกถึงขนาดระดับ accounting-based ทำการวิเคราะห์แบบระบบสมการเชิงโครงสร้างหรือ Structural Analysis ซึ่งครุกแมนมีบลั๊ฟว่า หากจะกล้าสรุปแบบที่ฟันธงว่าระบบการเงินที่กระตุกขึ้นมาแบบรุนแรงจนทำให้วิกฤติแบบลากยาวนั้น เบอร์นันเก้ต้องใช้วิธี Structural Analysis อย่างที่เขาทำ ซึ่งจะทำให้เห็นกลไกการเชื่อมโยงหรือ Transmission Mechanism ระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ครุกแมนมีทางลงให้กับความเห็นต่างของเขาและเบอร์นันเก้ว่าเขาเองศึกษาในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า ในขณะที่เบนศึกษาในช่วง 1-2 ปีแรก เลยทำให้ผลออกมาต่างกัน
ด้านเบอร์นันเก้ได้เขียนตอบกลับว่าหากพิจารณาให้ดี แม้ตัวเลขสินเชื่อบ้านและอสังหาริมทรัพย์ก่อนวิกฤติ จะไม่ได้ชี้ว่าจะมีวิกฤติการเงินเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ทว่าเขาเคยออกบทวิจัยร่วมกับมาร์ค เกิร์ตเลอร์ และไซมอนด์ กิลไคร์สต์ ในปี 1999 ว่าการลดหนี้หรือ deleveraging ของงบดุลภาคครัวเรือน มีส่วนต่อวิกฤติเศรษฐกิจอย่างที่ครุกแมนเชื่อ ทว่าหากระบบการเงินสหรัฐไม่เข้าขั้นโคม่าในเดือน ก.ย.2008 วิกฤติซับไพร์มจะไม่เกิดขึ้นจากเพียงแค่จากความไม่สมดุลของตลาดอสังหาริมทรัพย์หรือครุกแมนมองว่ารวมถึงตราสารหนี้ซับไพร์ม
ในประเด็นนี้ ผมขอออกความเห็นส่วนตัวว่า พื้นความรู้เดิมหรือความถนัดของทั้งคู่ มีผลต่อข้อสรุปของสาเหตุที่พวกเขาฟันธงว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติการเงินในรอบที่ผ่านมา โดยผลงาน Signature ของเบอร์นันเก้ ไม่ใช่การศึกษาวิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุค 1980 อย่างที่หลายคนทราบกัน ทว่าผลงานชิ้นที่ใส่ ตัวกลางของระบบการเงิน หรือ Financial Intermediaries ลงไปในตัวแบบจำลองทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า Financial Accelerator เป็นครั้งแรก เพื่อแสดงถึงผลกระทบของสถาบันการเงินต่อพลวัตทางเศรษฐกิจเมื่อเกิดความแน่นอนต่อระบบเศรษฐกิจต่างหากที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของเบอร์นันเก้ ซึ่งความเด่นตรงนี้ ทำให้เมื่อเกิดการล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ในปี 2008 เบอร์นันเก้จึงอ่านเกมเพื่อที่จะหาทางแก้ไขเหตุการณ์ช่วงคับขันในเดือน ต.ค.2008 ได้แบบไม่เจ็บตัวเกินเหตุ
นอกจากนี้ ตัวเบอร์นันเก้เอง ในฐานะที่เป็นอดีตประธานเฟด มีแนวโน้มที่จะชี้ไปว่าดัชนีทางการเงินที่เกิดกระตุกขึ้นอย่างแรงในช่วงเดือน ก.ย. 2008 เป็นต้นเหตุของวิกฤติการเงินโลก 2008 เนื่องจากหากเขาเชื่อว่าวิกฤติเป็นผลมาจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก นั่นหมายความว่าเบอร์นันเก้เองละเลยสัญญาณดัชนีอสังหาริมทรัพย์ที่แม้จะไม่ชัดเจนว่าถึงขั้นจะเกิดวิกฤติ ทว่าหากมองดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ ในภาพใหญ่แบบบูรณาการ ผมว่าก็พอจะอนุมานได้ว่าวิกฤติใหญ่กำลังรออยู่ตรงหน้า อย่างที่นูเรล รูบินีทำนายไว้แต่เขาก็ไม่รู้ช่วงเวลาที่ชัดเจน
หันมาฝากครุกแมนบ้าง หลายคนทราบดีว่าครุกแมนโดดเด่นจากผลงานการสร้างแบบจำลอง Currency Model รุ่นแรก ที่ชี้ถึงความไม่เสถียรของระบบเศรษฐกิจที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในระบบเศรษฐกิจเปิดแบบเสรี ที่นักเก็งกำไรพร้อมถล่มค่าเงินประเทศนั้น เนื่องจากสำรองเงินตราระหว่างประเทศมีจำกัด แต่หากใครเป็นแฟนพันธ์ุแท้ของครุกแมน จะทราบว่าครุกแมนเป็นอัจฉริยะด้านการใช้เรขาคณิตในการพิสูจน์ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ และที่น้อยคนมากๆ จะทราบคือ ครุกแมนเก่งในวิชา Spatial Economics หรือเศรษฐศาตร์ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นมือง ซึ่งผมมองว่าแม้เขาจะห่างจากงานทางด้านนี้มานาน แต่ Sense ของครุกแมนในเรื่องนี้ยังดีมาก และนี่คือสาเหตุที่เขาและโรเบิร์ต ชิลเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล มองออกว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐที่เขาเตือนมา 2-3 ปีก่อนวิกฤตซับไพร์ม ว่าเริ่มจะส่อเค้าว่าจะเป็นวิกฤต
โดยคำตอบของปริศนานี้ มีความสำคัญสุดๆ ต่อบริบทการวิเคราะห์วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคตเป็นอย่างมาก
ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645949
คำถามที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหญ่ 2 ท่าน ได้แก่ เบน เบอร์นันเก้ อดีตประธานเฟด และ พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล และคอลัมนิสต์ชื่อดัง
ได้ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องแบบเชิงสร้างสรรค์ เมื่อเดือนที่แล้ว คือ ดัชนีใดกันแน่ที่เป็นสัญญาณที่ดีที่สุดในการคาดการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ โดยใช้วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ 2008 เป็นสนามทดลอง
โดยฝั่งเบอร์นันเก้ เชื่อว่าดัชนีที่แสดงความตื่นกลัว อย่าง การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงิน และการกระตุกตัวขึ้นของผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่มิใช่สินเชื่อบ้านที่ได้ทำ Securitized สามารถทำหน้าที่เป็นตัวคาดการณ์ที่ดีกว่าราคาบ้าน ราคาตลาดของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์แบบ Subprime หรืออัตราการผิดนัดของสินเชื่อบ้าน ในการบอกถึงจังหวะและความรุนแรงของเศรษฐกิจถดถอยหรือแม้แต่วิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะที่ครุกแมน กลับเห็นต่าง โดยเน้นว่าผลกระทบจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์รวมของเศรษฐกิจสหรัฐต่างหากที่เป็นสาเหตุของ‘วิกฤติเศรษฐกิจ’ แห่งทศวรรษที่ผ่านมา
ครุกแมน ร่วมกับ ดีน เบเกอร์ ใช้ข้อมูลแบบลงลึกถึงขนาดระดับ accounting-based ทำการวิเคราะห์แบบระบบสมการเชิงโครงสร้างหรือ Structural Analysis เพื่อชี้ให้เห็นถึงจีดีพีที่หดตัวและชะลอลงและการว่างงานที่เคยสูงสุดเกือบ 10% ในช่วงเวลากว่า 7 ปีหลังวิกฤติการเงิน 2008 ว่ามาจากปัจจัยของตลาดอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ ครุกแมนทิ้งท้ายว่า กรอบวิธีการวิเคราะห์ของเบอร์นันเก้เป็นวิธีที่ละเอียดน้อยกว่า ซึ่งเรียกกันว่า Reduced-form โดยหาปัจจัยต่างๆ ในตลาดการเงินแล้วใช้ข้อมูลย้อนอดีต (Time-Series) เพื่อประมาณผลกระทบต่อจีดีพี ในทางกลับกัน ครุกแมนร่วมกับดีน เบเกอร์ ใช้ข้อมูลแบบลงลึกถึงขนาดระดับ accounting-based ทำการวิเคราะห์แบบระบบสมการเชิงโครงสร้างหรือ Structural Analysis ซึ่งครุกแมนมีบลั๊ฟว่า หากจะกล้าสรุปแบบที่ฟันธงว่าระบบการเงินที่กระตุกขึ้นมาแบบรุนแรงจนทำให้วิกฤติแบบลากยาวนั้น เบอร์นันเก้ต้องใช้วิธี Structural Analysis อย่างที่เขาทำ ซึ่งจะทำให้เห็นกลไกการเชื่อมโยงหรือ Transmission Mechanism ระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ครุกแมนมีทางลงให้กับความเห็นต่างของเขาและเบอร์นันเก้ว่าเขาเองศึกษาในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่า ในขณะที่เบนศึกษาในช่วง 1-2 ปีแรก เลยทำให้ผลออกมาต่างกัน
ด้านเบอร์นันเก้ได้เขียนตอบกลับว่าหากพิจารณาให้ดี แม้ตัวเลขสินเชื่อบ้านและอสังหาริมทรัพย์ก่อนวิกฤติ จะไม่ได้ชี้ว่าจะมีวิกฤติการเงินเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ทว่าเขาเคยออกบทวิจัยร่วมกับมาร์ค เกิร์ตเลอร์ และไซมอนด์ กิลไคร์สต์ ในปี 1999 ว่าการลดหนี้หรือ deleveraging ของงบดุลภาคครัวเรือน มีส่วนต่อวิกฤติเศรษฐกิจอย่างที่ครุกแมนเชื่อ ทว่าหากระบบการเงินสหรัฐไม่เข้าขั้นโคม่าในเดือน ก.ย.2008 วิกฤติซับไพร์มจะไม่เกิดขึ้นจากเพียงแค่จากความไม่สมดุลของตลาดอสังหาริมทรัพย์หรือครุกแมนมองว่ารวมถึงตราสารหนี้ซับไพร์ม
ในประเด็นนี้ ผมขอออกความเห็นส่วนตัวว่า พื้นความรู้เดิมหรือความถนัดของทั้งคู่ มีผลต่อข้อสรุปของสาเหตุที่พวกเขาฟันธงว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤติการเงินในรอบที่ผ่านมา โดยผลงาน Signature ของเบอร์นันเก้ ไม่ใช่การศึกษาวิกฤติเศรษฐกิจญี่ปุ่นในยุค 1980 อย่างที่หลายคนทราบกัน ทว่าผลงานชิ้นที่ใส่ ตัวกลางของระบบการเงิน หรือ Financial Intermediaries ลงไปในตัวแบบจำลองทางเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า Financial Accelerator เป็นครั้งแรก เพื่อแสดงถึงผลกระทบของสถาบันการเงินต่อพลวัตทางเศรษฐกิจเมื่อเกิดความแน่นอนต่อระบบเศรษฐกิจต่างหากที่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของเบอร์นันเก้ ซึ่งความเด่นตรงนี้ ทำให้เมื่อเกิดการล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ในปี 2008 เบอร์นันเก้จึงอ่านเกมเพื่อที่จะหาทางแก้ไขเหตุการณ์ช่วงคับขันในเดือน ต.ค.2008 ได้แบบไม่เจ็บตัวเกินเหตุ
นอกจากนี้ ตัวเบอร์นันเก้เอง ในฐานะที่เป็นอดีตประธานเฟด มีแนวโน้มที่จะชี้ไปว่าดัชนีทางการเงินที่เกิดกระตุกขึ้นอย่างแรงในช่วงเดือน ก.ย. 2008 เป็นต้นเหตุของวิกฤติการเงินโลก 2008 เนื่องจากหากเขาเชื่อว่าวิกฤติเป็นผลมาจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก นั่นหมายความว่าเบอร์นันเก้เองละเลยสัญญาณดัชนีอสังหาริมทรัพย์ที่แม้จะไม่ชัดเจนว่าถึงขั้นจะเกิดวิกฤติ ทว่าหากมองดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ ในภาพใหญ่แบบบูรณาการ ผมว่าก็พอจะอนุมานได้ว่าวิกฤติใหญ่กำลังรออยู่ตรงหน้า อย่างที่นูเรล รูบินีทำนายไว้แต่เขาก็ไม่รู้ช่วงเวลาที่ชัดเจน
หันมาฝากครุกแมนบ้าง หลายคนทราบดีว่าครุกแมนโดดเด่นจากผลงานการสร้างแบบจำลอง Currency Model รุ่นแรก ที่ชี้ถึงความไม่เสถียรของระบบเศรษฐกิจที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในระบบเศรษฐกิจเปิดแบบเสรี ที่นักเก็งกำไรพร้อมถล่มค่าเงินประเทศนั้น เนื่องจากสำรองเงินตราระหว่างประเทศมีจำกัด แต่หากใครเป็นแฟนพันธ์ุแท้ของครุกแมน จะทราบว่าครุกแมนเป็นอัจฉริยะด้านการใช้เรขาคณิตในการพิสูจน์ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ และที่น้อยคนมากๆ จะทราบคือ ครุกแมนเก่งในวิชา Spatial Economics หรือเศรษฐศาตร์ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นมือง ซึ่งผมมองว่าแม้เขาจะห่างจากงานทางด้านนี้มานาน แต่ Sense ของครุกแมนในเรื่องนี้ยังดีมาก และนี่คือสาเหตุที่เขาและโรเบิร์ต ชิลเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล มองออกว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐที่เขาเตือนมา 2-3 ปีก่อนวิกฤตซับไพร์ม ว่าเริ่มจะส่อเค้าว่าจะเป็นวิกฤต
โดยคำตอบของปริศนานี้ มีความสำคัญสุดๆ ต่อบริบทการวิเคราะห์วิกฤติเศรษฐกิจในอนาคตเป็นอย่างมาก
ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645949
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)