วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ไทยแข่งโลกธุรกิจ 7 เทรนด์+การเมือง ชี้อนาคตเศรษฐกิจไทย
โดย บิสิเนสไทย [22-8-2008]
เปิดอนาคต 7 เทรนด์โลก “วิกฤติพลังงาน-ค่าเงินผันผวน- โลกร้อน-สังคมสูงอายุ-สังคมเมืองขยายตัว-เทคโนโลยีข้ามสายพันธุ์-การรวมกลุ่มประเทศ” ซึ่งมีอิทธิพล "พลิกชะตา" ประเทศไทยสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ประเทศไทยจะปรับตัวอย่างไรต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกกดดันจนตกขบวนแข่งขัน

สศช.ได้วาดอนาคตประเทศไทยอีก 20 ปีข้างหน้า โดยระดมผู้รู้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น Business Thai ทำหน้าที่เตือนภัย โดยส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังคืบคลานเข้ามาเรื่อยๆ..!!!
ภายใต้กรอบการแข่งขันระดับประเทศ ซึ่งถูกเดิมพันด้วย "ชื่อเสียง" และ "จีดีพี" ทำให้ "วิสัยทัศน์" ของ "ผู้นำประเทศ" และ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานคณะกรรมการฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือ สภาพัฒน์ เป็นแม่งานใหญ่ ต่างถูกจับตามองจากบุคคลรอบข้าง
เพราะนี่คือ "วิสัยทัศน์ประเทศไทย" และแนวทางพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่เวทีการค้า การลงทุนระดับโลกได้อย่างภาคภูมิ
พลวัฒน์เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนเกษตรสู่”อุตสาหกรรม-บริการ” ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยคำนึงถึงการแข่งขันและมุ่งการตอบสนองความต้องการของตลาดโลกเป็นหลัก ขณะที่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ได้ปรับเปลี่ยนจาก “เกษตรกรรม”ไปสู่”อุตสาหกรรมและบริการ”ที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออก และสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากลไกดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลาง ประชาชนมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 819 ดอลล่าร์สหรัฐ/คน/ปี ในปี 2539 เป็นประมาณ 4,432 ดอลล่าร์สหรัฐ/คน/ปี หรือประมาณ 142,705 บาท/คน/ปี ในปี 2551
แต่สิ่งเหล่านี้ก็ต้องแลกเปลี่ยนด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เกิดปัญหาช่องว่างการกระจายรายได้และความไม่เท่าเทียบกันระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท นำไปสู่การเกิดปัญหาวิกฤติสังคม ที่คนส่วนใหญ่มีค่านิยมยึดติดกับอำนาจจากความร่ำรวย วัตถุนิยม ทำให้รากฐานทางสังคมอ่อนแอ ที่สำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องพึงพิงต่างประเทศแทบทุกด้าน นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ประเทศที่ประกาศตัวเองเป็น “HUB” หรือ "ศูนย์กลาง" อยู่หลายเรื่อง อาทิ ฮับรถยนต์ ฮับสุขภาพ ฮับท่องเที่ยว ฮับการค้า การลงทุนฯลฯของเอเชีย !!! ดร.อำพน ในฐานะเลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า จากนี้ไปสภาพัฒน์ในฐานะหน่วยงานวางแผนพัฒนาประเทศจะอยู่เฉยไม่ได้ จำเป็นที่จะลุกขึ้นมามองและทบทวนกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศในอนาคตใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาบนหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักของความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ได้วางโรแมฟเพื่อสร้างแต้มต่อให้กับประเทศไทยภายใต้กรอบการแข่งขันที่ "รวดเร็ว" และ "รุนแรง" โดยกำหนดกรอบเป้าหมายพัฒนาประเทศ อาทิ การจัดระบบโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะพึ่งพาตนเองมากขึ้น มีความมั่นคงทางด้านอาหาร , พลังงาน และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตร , อุตสาหกรรม , บริการ , การค้าและการลงทุน รวมทั้งให้ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนพัฒนากับประเทศเพื่อนบ้านและอนุภูมิภาคเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมรวมกัน โดยมีเป้าหมายให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศผู้นำของโลกในด้านบริหารจัดการที่ดี นอกจากนี้ยังเน้นให้สังคมมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดหาพลังงานให้เกิดความมั่นคง การพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมและพัฒนาระบบควบคุมคอร์รัปชันให้มีระบบตรวจสอบที่เข้มแข็ง
จับตา 7 เทรนด์โลกผลกระทบกับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย สู่ปี 2570 หรือ 20 ปีข้างหน้า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการ สภาพัฒน์ บอกว่า ถือเป็นสิ่งจำเป็นและท้าทาย เพราะเป็นการพิจารณาถึงปัจจัยและแนวโน้มหลักที่ประเทศไทยต้องเผชิญ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งล้วนแล้วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในมิติต่างๆ โดยพบว่าจากนี้ไปอีก 20 ปีข้างหน้า "โลก" และ "ประเทศไทย" จะต้องเผชิญกับ 7 เหตุการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันได้แก่ 1. ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกจะส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคน ซึ่งในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 0.3-0.6 องศาเซลเซียส เป็นผลให้น้ำทะเลเพิ่มขึ้น 10-25 เซนติเมตร และคาดการณ์ว่าในปี 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5-5.1 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้น้ำทะเลเพิ่มขึ้น 90 เซนติเมตร ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนมากกว่าปกติและภัยพิบัติจะทางธรรมชาติจะเกิดมากขึ้น จนสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าต้นทุนที่ประเทศต่างๆ จะต้องจ่ายในการป้องกันและรับมือกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.05-0.5 ของ GDP โลก 2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก โดย "นายอาคม" บอกว่า โลกจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แรงงานซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคเศรษฐกิจของประเทศมีผลิตภาพลดลง รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศ/โลกจะต้องเผชิญกับภาวการณ์ออมและการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ชะลอตัวลง นั่นเพราะเมื่อประชากรมีอายุมากขึ้นจะบริโภคมากขึ้นทำให้อัตราการออมลดลง หรืออัตราการออมของผู้มีงานทำจะเพิ่มขึ้นในช่วงวัยทำงานแต่ละลดลงในช่วงที่เกษียณอายุแล้ว จะส่งผลทำให้เศรษฐกิจของโลกและประเทศไทยในอนาคตที่กำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุจะต้องเผชิญกับภาวะการออมและการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ชะลอลงตามไปด้วย ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ได้คาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 1 ใน 4 ของประชากรรวม จากจำนวน 7.14 ล้านคน หรือร้อยละ10.8 ของประชากรรวมในปี 2550 เป็น 16.05 ล้านคน หรือร้อยละ 22.7 ในปี 2570 ขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานสัดส่วนจะลดลงตามลำดับ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรสูงวัย คาดว่าจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ "เมื่อประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ก็จะทำให้จำนวนประชากรในวัยทำงานหรือจำนวนแรงงานของประเทศลดลง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนแรงงานแล้ว ยังส่งผลให้มีการอพยพเครื่องย้ายแรงงานต่างชาติเข้ามาเพื่อทดแทนกำลังแรงงานในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดปัญหาทางสังคม "เขาย้ำ
ก่อนหน้านี้ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุจะเป็นนโยบายใหญ่ระยะยาวของชาติ เพราะมีผลกระทบอย่างมากสำหรับประเทศที่เข้าสู่ aging society แล้ว เช่น ญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาผลิตภาพต่ำ กำลังแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจในอนาคต แม้จะพยายามแก้ปัญหา โดยพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงาน เช่นเดียวกับประเทศอเมริกาซึ่งมีคนแก่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำลังแรงงานเริ่มลดลง ทั้งนี้ อเมริกาแก้ปัญหาโดยเปิดรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น
วิกฤติพลังงาน-อาหาร 3.พลังงานและความมั่นคงด้านอาหาร โดยในอีก 20 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้พลังงานของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและบริการมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รูปแบบ และวิถีชีวิตของประชาชนไปสู่การบริโภคพลังงานมากขึ้น โดย IEA ได้คาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้พลังงานของประเทศกำลังพัฒนาในช่วงปี 2547-2573 จะขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียจะมีความต้องการใช้พลังงานขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3.2 ต่อปี จากการศึกษาของธนาคารโลกพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานในอัตราที่สูง โดยหากพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเซีย จะพบว่าเศรษฐกิจไทยมีระดับการพึ่งพิงสินค้าพลังงานสูงกว่า เกาหลีใต้ อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการผันผวนของราคาพลังงานในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีการปรับตัวในด้านพลังงานโดยหันไปสู่การใช้พลังงานทดแทน ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาพืชพลังงานโดยเฉพาะมันสำปะหลัง อ้อย และปาล์มน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่เพาะปลูกระหว่างพืชที่ใช้การผลิตน้ำมันกับพืชที่ใช้เพื่ออาหาร "การขยายตัวของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต จะส่งผลให้ความต้องการใช่พลังงานขยายตัวตามไปด้วย ซึ่งในส่วนของการใช้ไฟฟ้าประมาณว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 6 ในอีก 15 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1,800 เมกะวัตต์" รายงานจากสภาพัฒน์ระบุ
เทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัย เหตุการณ์ที่ 4 ที่จะเข้ามามีบทบาทต่อ "โลก" และ "ประเทศไทย" คือ "เทคโนโลยี" โดยสภาพัฒน์มองว่า แนวโน้มการผสมผสานของเทคโนโลยีจะมีความเป็นได้สูง และจะเกิดเทคโนโลยีสาขาหลักใหม่ที่สามารถประยุกต์ใช้ในหลากหลายมิติ นำไปสู่ "นวัตกรรมใหม่" ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แบบแผนการผลิตและการตลาด รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เน้นการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลที่ต่างจากปัจจุบัน นอกจากนี้ พัฒนาการของเทคโนโลยีจะสร้างความสะดวกสบายในชีวิตและสังคมการทำงานให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว รวมทั้งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงสมรรถณะด้านความทรงจำและความฉลาดของมนุษย์มาพัฒนาแรงงานให้มีผลิตภาพที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน "วิวัฒนาการของเทคโนโลยีและแนวโน้มของกระแสความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นบนโลก จะเป็นปัญจัยสำคญในการผลักดันกระบวนการผลิตในสาขาการผลิตหลักและหล่อหลอมรูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคของประชากรโลกให้มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง" เรื่องที่ 5. คือ การเงินโลก โดย "นายอาคม" อธิบายว่า ปัจจุบันความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและการเงินโลกจะเป็นปัจจัยและแรงผลักดันที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ซึ่งจากนี้ไปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านการเงินโลกจะมีความผันผวนมากขึ้น ในระยะยาวประเทศต่าง ๆ จะมีการรวมกลุ่มและจัดทำข้อตกลงทางการค้า การลงทุน และการเงินร่วมกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและเกิดการเก็งกำไร โดยการเปลี่ยนแปลงของตลาดเงินจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระยะยาว นั่นหมายถึง การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสินทรัพย์ทางการเงินโลก ในปัจจุบันตลาดเงินยุโรปจะมีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงรองจากตลาดเงินสหรัฐฯ แต่ในอนาคตตลาดสินทรัพย์ทางการเงินของยุโรปจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นกว่าตลาดสินทรัพย์ทางการเงินในสหรัฐฯ เนื่องจากธนาคารชาติส่วนใหญ่ได้หันมาสำรองเงินสกุลยูโรมากขึ้น นอกจากนี้ "ประเทศจีน" จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดเงินโลกมากขึ้น จากการเกิดดุลการค้าในอัตราที่สูง ได้ทำให้จีนเปลี่ยนสถานะเป็นประเทศผู้ส่งออกเงินทุนหรือกลายเป็นผู้ให้กู้ ตลอดจนมีการลงทุนในตลาดต่างประเทศและเข้ามามีบทบาทในตลาดเงินโลกมากขึ้น
จุดแข่งขันยุคหน้า รวมกลุ่มสร้างข้อได้เปรียบ 6. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการร่วมมือในอนุภูมิภาค จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ก่อเกิดตลาดการค้าใหม่ และการเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลกในอนาคต ยกตัวอย่าง ประเทศในทวีปยุโรปมีการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป หรือ EU ประเทศในทวีปแอฟริกา มีการรวมตัวกันเป็นสหภาพแอฟริกา และประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมตัวกันเป็นประชาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น จากนี้ไป "จีน" และ "อินเดีย" จะก้าวสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา "จีน" ได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีการค้า และการลงทุน ทั้งด้านการผ่อนคลายกฏระเบีบบให้เอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเปิดพื้นที่เมืองชายฝั่งทะเล เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างเต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี นอกจากนี้ จีนยังมีข้อได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงาน และจำนวนประชากรที่มีมากถึง 1,300 ล้านคน ทำให้จีนเป็นตลาดการลงทุนและการรองรับการบริโภคสินค้าและบริการ เช่นเดียวกับอินเดีย ที่เริ่มผ่อนกฎระเบียบเอื้อต่อการลงทุน เมื่อผนวกร่วมกับจีนทั้งในด้านค่าจ้างแรงงาน ภาษา และจำนวนประชากรก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจมาอยู่ที่ประเทศแถบเอเซียมากขึ้น สำหรับประเทศไทย จากการรวมกลุ่มในระดับอนุภูมิภาค จะทำให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงของระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งเส้นทางคมนาคมทางบก โทรคมนาคม และโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและพลังงาน รวมทั้งความร่วมมือทางด้านการค้ามากขึ้น 7. การพัฒนาเมือง ชนบท และพื้นที่เศรษฐกิจ โดย "สภาพัฒน์" ชี้ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า หลายประเทศในโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะสูงกว่าร้อยละ60 และประเทศในเอเชียจะขยายตัวมากกว่าที่อื่น ขณะที่ประเทศไทยคาดว่าสัดส่วนประชากรเมืองจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47.0 ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 2570 โดยประเทศไทยจะมีสภาวะความเป็นเมืองขยายตัวออกไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ มากขึ้น ในรูปแบบของเมืองใหญ่ในภูมิภาคและประชากรเมืองจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 14 ล้านคน ในปี 2570-2573 ประชากรในชนบทจะลดลง โดยประชากรเมืองจะกระจายตัวอยู่ในหัวเมืองใหญ่ ๆ
ตรวจสอบความประเทศไทย ทั้งนี้ เมื่อเหตุการณ์ทั้ง 7 จะเกิดขึ้น แนวโน้มการขยายตัวและการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ดร.อาคม ตอบว่า ขณะนี้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่น่าเป็นห่วง โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา (ปี 2530-2550) ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 6.1 โดยที่ประเทศไทยมีช่วงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 10.9 ต่อปีในช่วงปี 2530-2534 และชะลอลงเป็นเฉลี่ยร้อยละ 8.1 ต่อปี ในปี 2535-2539 นอกจากนี้ หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมาเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.0 ในช่วงปี 2542-2550 หากเปรียบเทียบกับประเทศที่กำลังพัฒนาถือว่าประเทศไทยอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยขนาดเศรษฐกิจไทยอยู่ในอันดับที่ 11 จาก 25 ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด และเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดเป็นอันดับ 4 เฉลี่ยร้อยละ 5.9 ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา
แต่วันนี้ระบบการค้า การลงทุนมีความสลับซับซ้อนและมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นวันนี้เราต้องวางตำแหน่งของประเทศในอนาคต บนแนวคิดการแก้ปัญหาจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบันที่ส่งผลให้เศรษฐกิจขาดเสถียรภาพได้ง่าย ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเอาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอีก 20 ปีข้างหน้ามาเป็นกรอบในการพิจารณา ทั้งนี้ สภาพัฒน์ ได้มองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอีก 20 ปี ไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า หากการลงทุนขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3 ต่อปีจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ประมาณเฉลี่ยร้อยละ 4.48 ต่อปีในช่วงปี 2551-2570 หรือหากสามารถผลักดันการลงทุนให้ขยายตัวให้ได้เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปีและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสามารถผลักดันให้ผลิตภาพการผลิตรวมในทุกสาขาการผลิตเพิ่มขึ้นจากกรณีต่ำอีกร้อยละ 0.22 ต่อปี เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.46
และในกรณีที่ 3.หากการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยร้อยละ 7 และเพิ่มผลิตภาพการผลิตรวมจากกรณีฐานได้อีกเฉลี่ยร้อยละ 0.44 ต่อปีจากกรณีต่ำ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 6.47 ต่อปี หรือ 4. จากผลการประมาณการในทุกระดับของสมมติฐานการลงทุนและผลิตภาพการผลิต เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในระยะยาว เนื่องจากมีข้อจำกัดจากการชะลอตัวและการลงลงของกำลังแรงงาน โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.42 ในช่วงปี 2551-2555 และปรับตัวเข้าสู่ระดับสูงสุดร้อยละ 5.65 ในช่วงปี 2556-2560 ก่อนที่จะชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 5.55 และร้อยละ 5.21 ในช่วงปี 2561-2565 และ 2566-2570 ตามลำดับ
ยุทธศาสตร์สภาพัฒน์ เน้นเศรษฐกิจสู่อุตสาหกรรมต้นน้ำ
อย่างไรก็ตาม จากเอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2551 ของสภาพัฒน์ ในหัวข้อ ภาพของเศรษฐกิจไทยที่พึงปรารถนาในอีก 20 ปีข้างหน้า ระบุไว่อย่างน่าสนใจว่า ในส่วนของภาคผลิตจะมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้นระหว่างภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยผ่านการเชื่อมโยงในน฿ปห่วงโซ่อุปการผลิต และการรวมตัวในลักษณะของคลัสเตอร์ โดยที่ภาคการเกษตรยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญที่จะเชื่อมโยงในการสร้างมูลค่าในภาคอุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค โดยที่ประเทศไทยจะต้องมีบทบาทนำด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคในรูแปบบพันธมิตรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนุภูมิภาค โดยสร้างบทบาทนำผ่านการให้ความช่วยเหลือในรูปเงินให้เปล่า เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการช่วยเหลือทางวิชาการ ขณะที่ความมั่นคงทางด้านพลังงาน จะมีการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงด้าไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน ไม่เพียงเท่านั้นในด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์จะมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น สำหรับประเด็นยุทธ์ศาสตร์ สภาพัฒน์ ชี้ว่า ในภาคการผลิต จะต้องเร่งรัดปรับปรุงผลิตภาพการผลิตให้สูงขึ้น พร้อมกับสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตบนพื้นฐานองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมกับสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องและธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการสร้างสรรค์ รวมถึงสนุบสนุนการลงทุนในต่างประเทศ และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการลงทุน และพัฒนาการบริการใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวให้สามารถเป็นแหล่งรายได้ของประเทศ และพัฒนาแรงงานใหม่ให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ภาคการผลิตและพัฒนาแรงงานที่มีอยู่ในตลาดให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่สำคัญยังมีการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ไม่ว่าจะเป็นส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการเตรียมพื้นที่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม การค้า การลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพของประเทศ นี่คือแผน 20 ปี ของ สภาพัฒน์ หน่วยงานที่วางโรดแมฟให้กับประเทศ !!!
ภาคธุรกิจเอกชน เสนอแผนรับมือกับภัยคุกคาม
อย่างไรก็ตาม ยังมีมุมมองจากภาคธุรกิจที่เข้าร่วมในการระดมสมองครั้งนี้ เสนอแผนรับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อวางโรดแมฟประเทศ 20 ปีข้างหน้า หวังสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ตามกระแสโลกาภิวัตน์ จนทำให้ต้องเจอกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไปพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะการวิ่งตามกระแสโลกาภิวัตน์ จึงต้องทบทวนแนวทางดังกล่าวซึ่งต้องให้ความสำคัญด้านกระบวนการเรียนรู้ให้รอบด้าน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง "ผมมองว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคแห่งการเรียนรู้" เขาย้ำ ผู้บริหาร ธนาคารกรุงเทพ รายนี้เชื่อว่า ประเทศไทยต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรองรับระบบโลกาภิวัตน์ที่ยังมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ ภายใต้โจทย์ที่เหมาะสม กับกระบวนการขยายผล และกระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันในเรื่องดังกล่าว เช่นเดียวกัน รัฐบาลจะต้องเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยในการขับเคลื่อน ส่วนมุมมอง ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งภายนอกและภายใน 5 เรื่อง ที่ต้องเตรียมรับมือ ได้แก่ 1. ภาวะโลกร้อนที่อีก 10 ปีข้างหน้า ยังคงเป็นปัญหาใหญ่และมีผลกระทบต่อการค้าของโลก ซึ่งสหรัฐและสหภาพยุโรปจะใช้ประเด็นโลกร้อน มาเป็นมาตรการกีดกันสินค้า 2. ภาวะที่เงินทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า มีมากกว่าเงินทุนที่ใช้ในการค้าขายถึง 6 เท่า ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปลงทุนเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก 3. การลงนามข้อตกลงเอฟทีเอ ที่ประเทศเล็กต้องเสียเปรียบประเทศใหญ่ๆ อยู่เสมอ 4. โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ 5. การขยายตัวของเมืองที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง ซึ่งวิธีการรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น "ดร.ธวัชชัย" บอกว่า "เราต้องพึงตัวเองก่อน โดยต้องเพิ่มขีดความสามารถในทุก ๆ ด้าน" เขาย้ำว่า จากนี้ไปกองทุนเฮดจ์ฟันด์ จะเข้ามาอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเอเซียมากขึ้นหลังจากผลตอบแทนจากการลงทุนในยุโรปหรือสหรัฐฯ ลดลง ขณะที่เงินทุนจากเอเซียจะไหลเข้าไปซื้อที่ดิน สิ่งปลูกสร้างในสหรัฐฯมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกอันเป็นผลมาจากซับไพร์ส เช่นเดียวกับ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่ประเทไทยจะสุ้กับประเทศคู่ค้าได้นั้น เราจะต้องมีความต่าง โดยใช้โลเกชั่นของประเทศให้เป็นประโยชน์ ที่สำคัญประเทศไทยต้องมีความมั่นคงเรื่องพลังงาน