วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562
Low Productivity in Japan
เบื้องหลังการทำงานที่ได้ "ผลิตภาพต่ำ" ของญี่ปุ่น
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2562 08:59 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ภาพจาก https://blog.gaijinpot.com/working-past-the-time/
คอลัมน์ "เรื่องเล่าสะใภ้ญี่ปุ่น" โดย "ซาระซัง"
สวัสดีค่ะเพื่อนผู้อ่านที่รักทุกท่าน ญี่ปุ่นมีภาพลักษณ์ว่าเป็นประเทศที่คนทำงานหนัก ทำงานกันจนดึกดื่น และมีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักเกินไปให้ได้ยินเป็นคราว ๆ แม้ปัจจุบันรัฐบาลจะพยายามหามาตรการลดชั่วโมงการทำงานลงแล้ว แต่คนญี่ปุ่นจำนวนมากก็ยังคงทำงานล่วงเวลากันเป็นปกติ ที่สำคัญคือผลิตภาพยังต่ำอีกด้วย
เวลาพวกเพื่อนชาวญี่ปุ่นนัดรับประทานข้าวเย็นกันเป็นกลุ่มทีไร มักจะมีใครสักคนที่มาไม่ได้หรือมาสายกว่าคนอื่นมากเพราะยังทำงานไม่เสร็จ บางคนก็มีช่วงที่งานหนักมาก เลิกงานหลังเที่ยงคืนหลายวันต่อกันจึงไม่มีรถไฟวิ่งแล้ว ต้องค้างโรงแรมแคปซูลใกล้ที่ทำงานแทน
เพื่อนคู่หนึ่งซึ่งเป็นสามีภรรยากันต่างทำงานบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นด้วยกันทั้งคู่ เพื่อนผู้หญิงอยู่บริษัทโทรคมนาคม ยังเลิกงานไม่ดึกมาก กลับบ้านประมาณ 2-3 ทุ่ม ส่วนฝ่ายชายทำงานบริษัทโฆษณากลับดึกกว่าเพราะบางทีต้องถ่ายทำโฆษณากันนาน ฉันถามว่ากลับกี่โมงละ? 4 ทุ่ม? 5 ทุ่ม เขาบอกว่า “แหม อย่างนั้นเขาเรียกว่ากลับเร็ว อย่างผมน่ะได้กลับหลังเที่ยงคืนประจำ ตีสองอะไรอย่างนี้” สภาพการทำงานเช่นนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติและเข้าใจได้สำหรับคนญี่ปุ่น
ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน
ในรายงานของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีชั่วโมงการทำงานต่อปีต่ำกว่าประเทศส่วนใหญ่ใน OECD ซึ่งถ้าดูข้อมูลแค่นี้ก็อาจจะประหลาดใจ และเข้าใจผิดว่าชั่วโมงการทำงานของญี่ปุ่นไม่ได้ยาวนานเป็นพิเศษเลย
ภาพจาก https://theculturetrip.com/asia/japan/
แต่เมื่อดูคำอธิบายของ OECD แล้ว ก็จะพบว่าตัวเลขนี้รวมคนทำงานทุกประเภท ทั้งงานประจำ พาร์ทไทม์ ธุรกิจส่วนตัว และงานเสริม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าญี่ปุ่นมีคนทำงานพาร์ทไทม์เป็นจำนวนมาก และชั่วโมงการทำงานก็มักสั้น จึงอาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทำงานในญี่ปุ่นต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าชั่วโมงการทำงานของลูกจ้างกินเงินเดือนส่วนใหญ่ต่ำไปด้วย
และ OECD เองก็ยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ลูกจ้างในญี่ปุ่นที่มีชั่วโมงการทำงานยาวนานมากนั้น มีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของประเทศกลุ่ม OECD ด้วย นอกจากนี้ ลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลายังให้เวลากับการดูแลตัวเอง (เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับ) และพักผ่อนหย่อนใจ (อยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูง ทำงานอดิเรก หรือทำอะไรเพลิดเพลิน) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม OECD อีกเช่นกัน
จากรายงานของกระทรวงแรงงานญี่ปุ่นระบุว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 59) ทำงานล่วงเวลา คือทำงานเกิน 40 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ และประมาณ 1 ใน 5 ของคนญี่ปุ่น (ร้อยละ 21) ทำงานสัปดาห์ละมากกว่า 49 ชั่วโมง นอกจากนี้ หลายแห่งยังไม่จ่ายค่าล่วงเวลาหรือจ่ายน้อยกว่าที่ควรจะได้รับตามจริงอีกด้วย
สาเหตุของชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และการทำงานหนัก
ลูกจ้างที่ทำงานล่วงเวลาหลายชั่วโมงเป็นปกติมักกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “งานที่ต้องทำมีปริมาณมากจนล้นมือ” การทำงานในบริษัทของลูกจ้างเหล่านี้ยังมักเป็นไปในลักษณะที่ มีงานด่วนเข้ามากระทันหันอยู่บ่อย ๆ กำหนดส่งงานก็กระชั้นชิด และการกระจายงานไม่เท่ากัน ทำให้บางคนงานเยอะกว่าคนอื่น เป็นต้น
การทำงานหนักยังเป็นค่านิยมที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย ดังจะเห็นได้จากรายงานของกระทรวงแรงงานญี่ปุ่นที่ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งลูกจ้างคนไหนทำงานล่วงเวลามาก ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะมองเจ้านายที่ทำงานล่วงเวลาในแง่บวก เช่น มีความขยันขันแข็ง มีความรับผิดชอบสูง ทำงานเก่ง สมควรได้รับการประเมินดี และเป็นที่คาดหวัง แต่ยิ่งลูกจ้างคนไหนทำงานล่วงเวลาน้อย ก็ยิ่งมีแนวโน้มมองเจ้านายที่ทำงานล่วงเวลาในแง่ลบไปแทน เช่น ไร้ประสิทธิภาพในการทำงาน อยากได้เงินค่าล่วงเวลา หรือไม่ก็คงไม่มีอะไรอย่างอื่นทำ
ภาพจาก https://theculturetrip.com/asia/japan/
ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) รู้สึกผิดหากจะใช้สิทธิ์วันลาหยุด เพราะอดคิดไม่ได้ว่าวันธรรมดาคือวันทำงาน ถ้าตนเองลา คนอื่นก็อาจเดือดร้อนต้องทำงานแทน หรือไม่อย่างนั้นตนเองก็ต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อกลับมาทำงานแล้ว บางคนพอจะขอนายลาหยุด ก็โดนนายถามว่าทำไมถึงลา ทำให้ไม่กล้าขอลาหยุด
การที่สังคมให้คุณค่ากับการทำงานหนัก รวมทั้งการรู้สึกผิดหากไม่แสดงให้คนอื่นเห็นว่าตนเองมีความมุมานะขยันทำงาน จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการทำงานล่วงเวลาต่อไปเรื่อย ๆ โดยปริยาย บางคนที่รู้สึกรับผิดชอบต่องานมากก็ยอมกระทั่งทำงานล่วงเวลาโดยสมัครใจและไม่รับค่าล่วงเวลา หรือไม่ก็หอบงานกลับไปทำที่บ้าน ในขณะที่บางคนทำงานเสร็จแล้วอยากจะกลับบ้านก็ไม่กล้า ด้วยกลัวสายตาเจ้านายว่าจะมองเขาอย่างไร
ทำงาน “หนัก” แต่ผลิตภาพต่ำ
ในขณะเดียวกัน ดูเหมือนการทำงาน “หนัก” ของญี่ปุ่นเช่นนี้จะไม่ได้ก่อให้เกิดผลิตภาพที่สูงเท่าใดนัก ดังจะเห็นได้ว่าคนทำงานในญี่ปุ่นหนึ่งคนสามารถสร้าง GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) ต่อชั่วโมงการทำงานได้ต่ำสุดในกลุ่มประเทศ G7 และในขณะที่ค่าเฉลี่ย GDP ต่อชั่วโมงการทำงานของกลุ่มประเทศ G7 อยู่ที่ 65.4 เหรียญสหรัฐฯ ของญี่ปุ่นอยู่ที่เพียง 46.8 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
ภาพจาก https://jopus.net/en/news/
เป็นไปได้ว่าผลิตภาพที่ต่ำของญี่ปุ่นอาจมาจากสองสาเหตุ สาเหตุแรกคือ แสร้งว่าทำงานแต่ทำไปงั้น ๆ คือมีหลายคนที่อยู่ในที่ทำงานจนดึกดื่นไปอย่างนั้นเองเพราะนายยังไม่กลับ หรือบางคนก็คิดว่าอย่างไรตนก็ถูกคาดหวังให้ทำงานล่วงเวลาอยู่แล้ว ระหว่างชั่วโมงการทำงานปกติ จึงไม่ขยันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
สาเหตุที่สองได้แก่ การให้ความสำคัญกับงานที่ไม่จำเป็น คนจำนวนมากระบุว่ามีงานหลายอย่างซึ่งสามารถเอาเทคโนโลยีมาช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นหรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ แต่บริษัทกลับไม่ยอมลงทุนเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ กลับใช้แรงงานคนแทน อีกทั้งคนญี่ปุ่นก็มักเน้นการประชุมซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มีการสื่อสารกันได้ดีขึ้น แต่ก็มีผู้ที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์จริงเท่าใด รวมทั้งบางเรื่องก็กำหนดแน่นอนไปแล้วก่อนมีการประชุมเสียด้วยซ้ำ
มาตรการในปัจจุบันและผลลัพธ์
กฏหมายปฏิรูปการทำงาน
กฎหมายนี้ห้ามมิให้ทำงานล่วงเวลาเกิน 45 ชั่วโมงต่อเดือน และไม่เกิน 360 ชั่วโมงต่อปี เว้นแต่จะมีช่วงที่มีความจำเป็นพิเศษจะทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 100 ชั่วโมงต่อเดือน และไม่เกิน 720 ชั่วโมงต่อปี บังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่ตั้งแต่เมษายนปีนี้ (2562) และจะบังคับใช้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมเดือนเมษายนในปีถัดไป (2563)
“ไม่เอาการทำงานยาวนานหลายชั่วโมงอีกแล้ว” ภาพจาก https://tokyogeneralunion.org/
แต่ปรากฏว่าแม้ที่ทำงานบางแห่งจะบังคับให้ลูกจ้างเลิกงานเร็วขึ้น คือกลับไม่เกินเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการดับไฟอัตโนมัติ หรือปิดคอมพิวเตอร์อัตโนมัติก็ตาม สิ่งเหล่านี้กลับไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้างบางส่วน เนื่องจากว่าปริมาณงานมีอยู่เท่าเดิม พอถูกไล่ให้กลับบ้านก็ทำงานไม่เสร็จ ต้องหอบกลับไปทำต่อที่บ้านบ้าง หรือไม่ก็ต้องมาทำงานแต่เช้าในวันต่อไป
พรีเมียมฟรายเดย์
รัฐเสนอให้ลูกจ้างเลิกงานได้ตั้งแต่บ่ายสามโมงในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน แต่ไม่ได้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และในทางปฏิบัติพบว่ามีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่ได้เลิกงานเร็วจริง
ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน
ปัจจุบันมีบริษัทบางแห่งที่ริเริ่มลดวันทำงานลง เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาไปดูแลครอบครัว เช่นบางคนอาจต้องไปดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า หรือภรรยาที่ป่วย หรือทำธุระจำเป็นอื่น ๆ โดยให้ลูกจ้างที่สมัครใจสามารถมาทำงานสัปดาห์ละ 4 วันได้ แต่ยังคงต้องทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงเท่าเดิม และได้รับเงินค่าจ้างตามปกติ ในขณะที่บางแห่งก็ใช้นโยบายเดียวกัน คือทำงานเท่าเดิม จำนวนวันลดลง แต่ไม่ให้ค่าจ้างในวันที่ได้หยุด
สรุปคือลดวันทำงานไม่ได้แปลว่าลดชั่วโมงการทำงาน ต้องทำงานมากกว่าเดิมในวันอื่น ๆ แทน อีกทั้งยังอาจได้รับค่าจ้างหรือไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ได้หยุดเพิ่มด้วย ไม่ทราบว่าอย่างนี้จะทำให้คนยิ่งเครียดเพิ่มหรือเปล่านะคะ แถมการปรับแบบนี้ยังดูสักแต่ว่าสนองนโยบายรัฐไปอย่างนั้นเอง รูปแบบภายนอกอาจเปลี่ยนแต่เนื้อในก็คงเดิม ไม่ได้มองในแง่ที่จะช่วยลดภาระและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนทำงานจริงเท่าใดเลย
ฉันได้ยินมาว่าประเทศตะวันตกที่ให้ทำงานสัปดาห์ละ 4 วันนั้น บางแห่งนอกจากจะลดชั่วโมงการทำงานแล้ว ยังให้ค่าจ้างเท่าเดิมด้วย ที่สำคัญคือประเทศพัฒนาในตะวันตกมักมีความผ่อนปรนในการทำงานมากกว่า บรรยากาศการทำงานผ่อนคลายกว่า แต่กลับมีผลิตภาพสูงกว่าญี่ปุ่น (ในขณะเดียวกันเกาหลีใต้ซึ่งมีชั่วโมงการทำงานยาวนานกว่าญี่ปุ่น ก็มีผลิตภาพต่ำกว่าญี่ปุ่น และต่ำจนเกือบจะรั้งท้ายประเทศกลุ่ม OECD)
https://classy-online.jp/
การปฏิรูปการทำงานเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเกิดขึ้นได้จริงคาดว่าต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อนคือภายในแต่ละบริษัทเอง ที่ผู้มีตำแหน่งระดับหัวหน้าต้องตระหนักอย่างจริงจังถึงความ “ได้ไม่คุ้มเสีย” ของชั่วโมงการทำงาน ซึ่งนอกจากจะยาวนานเกินความจำเป็นแล้ว ยังสร้างผลิตภาพต่ำและส่งผลร้ายต่อสุขภาพของพนักงานด้วย
นอกเหนือจากนี้ ญี่ปุ่นอาจต้องปรับเปลี่ยนข้อปฏิบัติที่เคยชินกันมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารปริมาณมาก การประชุมที่บ่อยเกินไป และหันมาใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ทำงานได้ง่ายจากทุกที่ อีกทั้งยังต้องท้าทายความเชื่อเดิม ๆ ที่ว่าการทำงานหนัก ยาวนาน และใช้วันลาหยุดน้อยเป็นคุณค่าที่ควรยกย่องในยุคปัจจุบันจริงหรือไม่
หากญี่ปุ่นยังต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ท่ามกลางประชากรที่กำลังจะลดฮวบลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ญี่ปุ่นจำต้องปรับโครงสร้างการทำงานอย่างจริงจังและขนานใหญ่ ที่ไม่ได้เพียงจำกัดกรอบอยู่เพียงในกฎหมาย แต่เป็นไปในทางปฏิบัติให้เห็นชัดเจน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มผลิตภาพให้สูงขึ้น รักษาแรงงานที่มีอยู่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ความยืดหยุ่นนี้เองก็น่าจะทำให้แรงงานต่างชาติมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการทำงานในญี่ปุ่น รวมทั้งอาจมีส่วนส่งเสริมให้ญี่ปุ่นกับต่างชาติเปิดใจในความต่างได้ง่ายขึ้น และร่วมมือกันทำงานได้อย่างกลมกลืนต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ราคาเน็ตทั่วโลก
ราคาเน็ตทั่วโลก ‘ถูก’ หรือ ‘เเพง’ กว่าไทย
By TopTen
-December 15, 2019
เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ประชากรโลกที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีเพียง 4.1% แต่ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 58.8% หรือกว่า 4.5 พันล้านคน แต่แน่นอนว่าแต่ละประเทศมีราคาอินเทอร์เน็ตที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นเราได้รวมราคาอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์รายใหญ่ 233 รายใน 62 ประเทศเพื่อหาคำตอบ
จากข้อมูลของ Speedtest.net พบกว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 70 Mbps ขณะที่ 55 ใน 62 ประเทศ นิยมความเร็วที่ 100 Mbps โดยราคาถูกที่สุดอยู่ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก เช่น มอลโดวา 10 ดอลลาร์/เดือน, รัสเซีย 8 ดอลลาร์/เดือน และยูเครน 6 ดอลลาร์/เดือน ส่วนประเทศที่ราคาสูงสุด อยู่ที่แอฟริกาใต้ 87 ดอลลาร์/เดือน และประเทศทางตอนเหนือ เช่น ไอซ์แลนด์ หรือนอร์เวย์ 69 ดอลลาร์/เดือน ส่วน ‘ไทย’ ราคาเฉลี่ย 20.2 ดอลลาร์ต่อเดือน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ราคาที่ค่อนข้างต่ำ
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศเริ่มให้บริการความเร็ว 1 Gbps แล้ว โดยมี 24 ประเทศ จาก 44 ประเทศ ผู้ที่มีค่าบริการสูงกว่า 50 ดอลลาร์/เดือน ขณะที่ประเทศออสเตรียและออสเตรเลียแพงที่สุดอยู่ที่ 220 ดอลลาร์/เดือน และ 231 ดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่ให้บริการในราคาต่ำกว่า 20 ดอลลาร์ต่อเดือนได้แก่ มอลโดวา อินเดีย ฮังการี ลัตเวีย และยูเครน และโรมาเนียที่ถูกสุดเพียง 9 ดอลลาร์/เดือน ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ 27.79 ดอลลาร์/เดือน
Source: https://positioningmag.com/1257039
วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562
Google สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้อย่างไร
พฤศจิกายน 27, 2019 | By Jen Namjatturas
แน่นอนว่า หากพูดถึงสถานที่ทำงานที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก Google น่าจะอยู่ในลิสต์ต้นๆ ของหลายคน อาจจะเคยเดินทางไปเยี่ยมหรือเคยเห็นภาพบรรยากาศการทำงานของ Google ผ่านตาบ้าง จะเห็นว่าไม่เหมือนสถานที่ทำงานทั่วไป แต่เหมือนสนามเด็กเล่นสำหรับผู้ใหญ่มากกว่า ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จของ Google นั้นมาจากวัฒนธรรมที่คนของเขาได้ร่วมกันสร้าง การหมั่นบริหารความสุข แพชชั่น และเติมความรู้ให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ คือสิ่งที่องค์กรนี้ให้ความสำคัญ มันอาจจะฟังดูเกินไปสำหรับบางคน แต่นี่ก็เป็นวิธีที่ Google ใช้ในการดูแลคนของพวกเขาเอง
หัวข้อ What’s the secret to the world’s most joyful place to work at? โดย คุณ Pim Suvitsakdanon, Head of Sales - Google Customer Solutions Google เป็นอีกหนึ่งเซสชั่นทีได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ในงาน Techsauce Culture Summit 2019 เรามาฟัง secret sauce ของ Google กัน ว่าสามารถสร้างสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้อย่างไร
คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ใช่
เป็นที่รู้กันว่าขั้นตอนการคัดคนเข้าทำงานของ Google นั้นหินสุดๆ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ความสำเร็จของ Google คือ ‘คน’ เริ่มต้นจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ใช่
การจ้างคนทำงานที่ใช่และเหมาะสม หมายถึงการที่บริษัทต้องลงทุนในบุคคลนั้น ทั้งในแง่ทรัพยากร เวลา ไปจนถึงการสร้างความสำเร็จทั้งในระดับบริษัทและในระดับตัวบุคคล โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณลักษณะ 4 ข้อดังนี้
Generate cognitive ability: Google ไม่ได้มองหาคนที่ตอบคำถามได้ถูกต้องที่สุด แต่คือคนที่มีความสามารถในการแสดงกระบวนการคิด มีวิธีการหาคำตอบที่น่าสนใจ และสามารถหาโซลูชั่นออกมาได้
Role related knowledge: Google ไม่ได้มองหาคนที่มีประสบการณ์ในสายงานนั้นโดยตรง แต่คือความสามารถในการเรียนรู้ ความทะเยอทะยานในบทบาทที่ได้รับ ความกระหายที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ความถ่อมตน การมี Growth mindet ความเชื่อว่าทุกสิ่งสามารถเรียนรู้ได้ และสามารถถ่ายทอดทักษะที่มีมาใช้ในบทบาทที่ได้รับมอบหมาย
Leadership: ไม่จำเป็นว่าคนนั้นจะต้องเป็นหัวหน้า แต่คือการมีภาวะความเป็นผู้นำ ที่รู้ว่าเมื่อใดควรจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อนำคนอื่น หรือถอยกลับมาเมื่อจำเป็น เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นได้มีบทบาทบ้าง นี่คือการที่ทุกคนได้มีบทบาทในการทำงานเป็นทีม
Googleyness: คนๆ นั้นไม่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมของ Google แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่คนนั้นจะประสบความสำเร็จและทำงานได้มีประสิทธิภาพในวัฒนธรรมของ Google หรือไม่ คนนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับฟีดแบค กล้าท้าทายต่อ status quo รับผิดชอบต่อโอกาสที่ได้รับ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และพร้อมที่จะออกจากคอมฟอร์ตโซน
โดยผู้สมัครจะต้องผ่านการสัมภาษณ์ถึง 4-6 ครั้ง และในทุกครั้ง กรรมการจะต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น
แล้วองค์กรคุณล่ะ อะไรคือคุณลักษณะที่พนักงานต้องมีบ้าง?
‘Hungry but humble’ กระหายที่จะเรียนรู้ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความทะเยอทะยานในบทบาทที่ได้รับ และมี Growth mindset
สร้างวัฒนธรรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบใหญ่
'คน' คือเรื่องที่ Google ให้ความสำคัญ ในการที่เมล็ดพันธุ์นั้นจะเติบใหญ่ผลิดอกออกผล จึงมีความจำเป็นจะต้องมีดินและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและการหมั่นดูแล
คุณ Pim ได้ยกตัวอย่างสวัสดิการของพนักงาน ทั้งอาหาร คลาสเรียน ฟิตเนส เข้าร่วมอบรม ไปจนถึงฟังบรรยายจากผู้นำทางความคิดระดับโลก การหมั่นบริหารความสุข แพชชั่น และความรู้ของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ก็เพื่อที่พวกเขาจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดินที่ดีคือวัฒนธรรมที่คน Google ได้สร้างขึ้นเพื่อเอื้อต่อการเติบโตของกันและกัน
และในการที่จะบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบใหญ่เป็นต้นไม้ที่แข็งแรงได้นั้น ต้องอาศัยการให้โอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา
ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือสิ่งเดียวในชีวิตที่แน่นอน
ในการที่จะทันต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอนเช่นทุกวันนี้ จึงเป็นความจำเป็นที่คน Google จะต้องมีความกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา อย่างการให้พนักงานได้พัฒนาทักษะอย่าง Leadership training, People management, Onboarding, Skills training, School of leaders และเมื่อพนักงานเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว พวกเขาก็อยากที่จะส่งต่อความรู้นั้นให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นด้วยเช่นกัน ผ่าน Learning program อย่าง g2g (Googler-to-Googler)
เฉลิมฉลองความล้มเหลว
ความล้มเหลวคือส่วนหนึ่งของชีวิต ที่เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้และเติบโต
Google ภาคภูมิใจในการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมนี้ เพราะความล้มเหลวให้โอกาสในการคิดค้นโซลูชั่นที่ดีกว่า เสริมสร้างการเกิดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ที่ Google ได้เปิดตัว และล้มเหลวนั้นก็ไม่น้อย อย่างเช่น Google Glass ที่หลายคนอาจจะทราบกัน
ถอดเคล็ดลับความสำเร็จของ Google ในการทำ Change Management เพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กรและคน
Fail And I Learn
เมื่อใดล้มเหลว จะให้พนักงานตั้งคำถามว่า
พวกเขาได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดครั้งนั้น?
เกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการตัดสินใจในครั้งนั้น?
ในครั้งต่อไปพวกเขาสามารถทำอะไรเพื่อให้มันดีขึ้นได้บ้าง?
ยกตัวอย่างหากพนักงานลาออก พวกเขาจะตั้งคำถามว่าสามารถทำอะไรได้ดีกว่าเดิม เป็นการสร้างความแน่ใจว่าคนที่มาใหม่จะเข้าใจบทบาทของตัวเองดีพอ เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว
ผืนป่าจะอุดมสมบูรณ์ได้ด้วยพันธ์ุไม้ที่หลากหลาย
และเมื่อต้นไม้ต้นนั้นเติบใหญ่ท่ามกลางผืนป่า ในการที่ผืนป่าจะอุดมสมบูรณ์และสวยงามได้นั้น ไม่ได้ประกอบด้วยต้นไม้สายพันธุ์เดียว แต่ด้วยพันธ์ุไม้ที่หลากหลาย ต้นไม้แต่ละต้นก็มีบทบาท หน้าที่ เป้าหมายของมัน และนี่คือเหตุผลที่ Google ได้สร้างสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยความหลากหลายไว้ด้วยกัน
ความหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ที่จะนำความสำเร็จมาสู่บริษัท เมื่อพนักงานมีความรู้และภูมิหลังที่หลากหลาย ก็จะสามารถนำเสนอโซลูชั่นและนวัตกรรมที่ดีกว่า
และเมื่อพวกเขามีความหลากหลาย ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง ซึ่งก็คือความเสมอภาค (Equity) และความเท่าเทียม (Equality) ที่ทุกคนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
คุณ Pim ได้ยกตัวอย่าง ลิฟต์ที่ Google ที่จะเคลื่อนที่ช้ามาก เหตุผลก็เพราะพวกเขาสร้างลิฟต์โดยคิดถึงคนที่ใช้วีลแชร์ด้วยเช่นกัน
การที่ผืนป่าจะอุดมสมบูรณ์ได้นั้นไม่ได้เกิดจากต้นไม้เพียงต้นเดียว แต่คือความหลากหลายที่ทำให้ผืนป่านั้นอุดมสมบูรณ์ และต้นไม้แต่ละต้นก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่ ด้วยดินและสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อที่จะได้โตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแกร่ง สามารถผลิดออกออกผล บรรลุศักยภาพของมันอย่างเต็มที่ และทั้งหมดนี้ก็เริ่มจากการเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ใช่
เพราะทุกคนล้วนมีความพิเศษในตัวเอง
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
Quantum Computing
'ไอบีเอ็ม ผุดศูนย์ควอนตัมฯ โลก จ่อขยายใช้งานเชิงพาณิชย์
27 พฤศจิกายน 2562
ความก้าวหน้าด้านการประมวลผลเชิงควอนตัมอาจเปิดประตูสู่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต เช่น ยา และ วัสดุชนิดใหม่
“ไอบีเอ็ม” เดินหน้าพัฒนาควอนตัมคอมพิวติ้ง เปิดศูนย์ฯ ที่นิวยอร์ค เปิดใช้งานระบบควอนตัมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมเผยโฉมระบบควอนตัมใหม่ขนาด 53 คิวบิตสำหรับการใช้งานในวงกว้าง
ไอบีเอ็มประกาศเปิดตัวศูนย์ประมวลผลควอนตัมแห่งใหม่ที่นิวยอร์ค เพื่อขยายศักยภาพระบบควอนตัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้ครอบคลุมการใช้งานในเชิงพาณิชย์ และการศึกษาวิจัย จากเดิมที่จำกัดอยู่แค่เพียงการใช้ในการทดลองในห้องปฏิบัติการ
ศูนย์ฯ ดังกล่าวจะสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของชุมชนผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 150,000 ราย รวมถึงลูกค้าเชิงพาณิชย์ สถาบันการศึกษา และห้องปฏิบัติการวิจัยอีกเกือบ 80 แห่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อพัฒนาการประมวลผลเชิงควอนตัมให้ก้าวหน้า และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริงในด้านต่างๆ
หนุนความต้องการใช้งานจริง
ชุมชนผู้ใช้งานทั่วโลกได้เริ่มทำการทดลองต่างๆ บนระบบควอนตัมคอมพิวติ้งของไอบีเอ็มผ่านคลาวด์ไปแล้วกว่า 14 ล้านครั้งนับตั้งแต่ปี 2559 โดยได้เผยแพร่เอกสารงานวิจัยวิทยาศาสตร์แล้วกว่า 200 ชิ้น และเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ที่ต้องการเข้าถึงระบบควอนตัมของจริง ไอบีเอ็มจึงได้เปิดระบบประมวลผลควอนตัม 10 ระบบให้สามารถใช้งานออนไลน์ได้ผ่านศูนย์ประมวลผลควอนตัมของไอบีเอ็ม
ประกอบด้วยระบบขนาด 20 คิวบิตจำนวน 5 ระบบ ขนาด 14 คิวบิต 1 ระบบ และขนาด 5 คิวบิตอีก 4 ระบบ นอกจากนี้ยังมีถึง 5 ระบบที่มีควอนตัมวอลุ่ม หรือค่าที่ใช้วัดความประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ควอนตัมสูงถึง 16 ซึ่งถือเป็นอีกก้าวของความสำเร็จในการรักษาระดับประสิทธิภาพให้แรงต่อเนื่อง
ระบบควอนตัมของไอบีเอ็มถูกปรับแต่งมาเพื่อความน่าเชื่อถือ และเพื่อความสามารถในการดำเนินการระดับหลายคิวบิตซ้ำหลายครั้งผ่านการโปรแกรม และปัจจัยเหล่านี้เองก็ทำให้ระบบของไอบีเอ็มสามารถให้บริการด้านการศึกษาวิจัยที่ต้องอาศัยการประมวลผลเชิงควอนตัมอันล้ำสมัยด้วยระดับความพร้อมใช้งานสูงถึง 95%
ภายในหนึ่งเดือน ระบบควอนตัมที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของไอบีเอ็มจะขยายเพิ่มเป็น 14 ระบบ ในจำนวนนี้รวมถึงคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับ 53 คิวบิต เป็นระบบควอนตัมเดี่ยวสำหรับงานทุกประเภทที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าใช้ด้วย มีแลตทิซใหญ่ขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้ทำการทดลองที่มีทั้งความเชื่อมโยงและความยุ่งยากสลับซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
หวังเทคโนฯ ช่วยไทยสู่ยุค 4.0
“ปฐมา จันทรักษ์” รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์ไอบีเอ็ม นับตั้งแต่ที่นำคอมพิวเตอร์ควอนตัมเครื่องแรกมาอยู่บนคลาวด์เมื่อปี 2559 คือ การนำควอนตัมคอมพิวติ้ง ที่เดิมเป็นเพียงการทดลองในห้องปฏิบัติการโดยองค์กรเพียงไม่กี่แห่ง ให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมาก โดยล่าสุดได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับ 53 คิวบิตแล้ว
“ไอบีเอ็มเห็นความสำคัญของการเสริมศักยภาพให้กับชุมชนควอนตัมที่กำลังเติบโต ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นักวิจัย และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ล้วนมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิวัติระบบประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ โดยไอบีเอ็มหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการศึกษาของไทย ในการนำควอนตัมคอมพิวติ้งเข้ามาเสริมสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศไทย ตามนโยบายประเทศไทย 4.0”
ความก้าวหน้าด้านการประมวลผลเชิงควอนตัมอาจเปิดประตูสู่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในอนาคต เช่น ยาและวัสดุชนิดใหม่ ระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพและลงตัวยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก รวมถึงวิธีใหม่ๆ ในการจำลองข้อมูลทางการเงินเพื่อการลงทุนที่ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างผลงานที่ไอบีเอ็มร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ อาทิ
ยูสเคสที่ไอบีเอ็มผนึกพันธมิตร
เจพี มอร์แกน เชส และไอบีเอ็มเผยแพร่บทความใน arXiv ว่าด้วยเรื่อง Option Pricing using Quantum Computers ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดราคาออพชันทางการเงินและพอร์ตโฟลิโอที่มีออพชันดังกล่าวบนคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบเกต ผลลัพธ์ที่ได้ก็คืออัลกอริธึม ที่สามารถเร่งความเร็วแบบยกกำลัง
กล่าวคือในขณะที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปต้องใช้ตัวอย่างนับล้าน แต่การประมวลผลบนควอนตัมใช้เพียงไม่กี่พันตัวอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน เมื่อเทียบกับวิธี Monte Carlo แบบดั้งเดิม ซึ่งอาจช่วยให้นักวิเคราะห์ทางการเงินสามารถกำหนดราคาออพชัน และวิเคราะห์ความเสี่ยงได้แทบจะในทันที และแนวทางการปฏิบัตินี้ก็มีอยู่ใน Qiskit Finance ในรูปแบบโอเพ่นซอร์ส
ขณะที่ มิตซูบิชิ เคมีคัล ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคโอะ และไอบีเอ็ม จำลองขั้นตอนแรกเริ่มของกลไกการเกิดปฏิกิริยาระหว่างลิเธียมและออกซิเจนในแบตเตอรี่แบบลิเธียม-อากาศ บทความเรื่อง Computational Investigations of the Lithium Superoxide Dimer Rearrangement on Noisy Quantum Devices ซึ่งเผยแพร่อยู่บน arXiv คือ ก้าวแรกของการจำลองปฏิกิริยาทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างลิเธียมและออกซิเจนบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม จากนั้นเมื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยานี้ดีขึ้นแล้วก็อาจนำไปสู่การคิดค้นแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับอุปกรณ์พกพาหรือยานยนต์
Source: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856062?utm_source=bottom_relate&utm_medium=internal_referral
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562
V A R K การเรียนรู้แบบไหน … สไตล์คุณ
V A R K การเรียนรู้แบบไหน … สไตล์คุณ
คุณเคยทราบหรือไม่ว่าบุตรหลานของคุณหรือแม้กระทั่งตัวคุณเองชอบการเรียนรู้แบบไหน?
จริงอยู่ ที่เราทุกคนเรียนรู้ผ่านอายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ว่าข้อมูลจะมาในรูปแบบใด เราก็สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น แต่หากเราสังเกตให้ดี จะมีข้อมูลบางรูปแบบที่เรารับรู้ได้ง่ายและรวดเร็วกว่าข้อมูลบางรูปแบบ อาจนับได้ว่าเป็นความชอบเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีแตกต่างกันไป แต่หากเรารู้สไตล์ที่ตัวเองชอบ เราก็สามารถหาวิธีเรียนรู้ที่เหมาะกับตัวเอง และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้จดจำของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นได้
Fleming, N.D. and Mills, C. (1992) แบ่งสไตล์การเรียนรู้ตามความความชอบหรือความถนัดในการรับข้อมูลไว้ 4 กลุ่ม โดย เรียกชื่อการแบ่งกลุ่มนี้ว่า VARK Model หรือ VARK Learning Styles
กลุ่ม V = Visual รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยภาพและสัญลักษณ์
ไม่เพียงแต่ภาพเท่านั้นที่คนรักการเรียนรู้รูปแบบนี้ชื่นชอบ แต่พวกเขายังสามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบแผนที่ แผนผัง แผนภาพ กราฟ แผนภูมิ และลูกศรสัญลักษณ์ต่างๆ อีกด้วย และสิ่งเหล่านี้ ก็ดีกว่าการบอกเล่าเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษร
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม V คุณจะ
ชอบทำงานหรืออ่านหนังสือในบรรยากาศที่เงียบสงบ
ชอบวางแผนก่อนลงมือทำ
อ่านและทำความเข้าใจกับแผนที่ แผนภูมิ และภาษาสัญลักษณ์ได้ดี
ชอบเห็นภาพรวมก่อนที่จะเจาะลึกลงในรายละเอียด
ชอบสีสันและสามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จากรูปลักษณ์และสีสัน
สามารถจำลองเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ และขั้นตอนต่างๆ ที่ได้เห็น เป็นภาพหรือแผนภาพในสมอง
กลุ่ม A = Aural / Auditory รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยเสียง
รูปแบบที่รับรู้ข้อมูลผ่านโสตประสาท หรือผ่านการได้ยินได้ฟัง ผู้ที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะชื่นชอบการฟังบรรยาย ฟังเทป การสนทนากลุ่มย่อย การพูดคุยทางโทรศัพท์ แม้แต่การพูดคุยกับตัวเอง หรือคิดออกมาดังๆ เพื่อเรียบเรียงความคิด และหาคำตอบให้กับเรื่องที่ครุ่นคิดอยู่ขณะนั้น ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนกลุ่มนี้พูดคนเดียว หรือพูดกับหนังสือในมือ เพราะกำลังใช้ความคิดผ่านการพูด
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม A คุณจะ
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม V คุณจะ
ชอบทำงานหรืออ่านหนังสือในบรรยากาศที่เงียบสงบ
ชอบวางแผนก่อนลงมือทำ
อ่านและทำความเข้าใจกับแผนที่ แผนภูมิ และภาษาสัญลักษณ์ได้ดี
ชอบเห็นภาพรวมก่อนที่จะเจาะลึกลงในรายละเอียด
ชอบสีสันและสามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จากรูปลักษณ์และสีสัน
สามารถจำลองเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ และขั้นตอนต่างๆ ที่ได้เห็น เป็นภาพหรือแผนภาพในสมอง
กลุ่ม A = Aural / Auditory รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยเสียง
รูปแบบที่รับรู้ข้อมูลผ่านโสตประสาท หรือผ่านการได้ยินได้ฟัง ผู้ที่มีสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะชื่นชอบการฟังบรรยาย ฟังเทป การสนทนากลุ่มย่อย การพูดคุยทางโทรศัพท์ แม้แต่การพูดคุยกับตัวเอง หรือคิดออกมาดังๆ เพื่อเรียบเรียงความคิด และหาคำตอบให้กับเรื่องที่ครุ่นคิดอยู่ขณะนั้น ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนกลุ่มนี้พูดคนเดียว หรือพูดกับหนังสือในมือ เพราะกำลังใช้ความคิดผ่านการพูด
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม A คุณจะ
ชอบอ่านออกเสียงดัง ๆ
ไม่อายที่จะพูดต่อสาธารณชน
ชอบฟังคำอธิบาย และชอบอธิบาย
จดจำชื่อคนและสิ่งต่างๆ ได้ดี
ได้ยินและระบุเสียงประกอบฉากที่ได้ยินในภาพยนตร์ได้
ชอบฟังดนตรี
เรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศได้ดี
อ่านช้า ๆ
อยู่เงียบๆ ไม่ได้นาน
ชอบขึ้นแสดงบนเวที เช่น ละคร ทอล์คโชว์
ปฏิบัติตามคำบอกได้ดี
กลุ่ม R = Read / write รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยอักษร
สไตล์การเรียนรู้รูปแบบนี้ชื่นชอบข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิชาการทั้งหลายจะมีลักษณะการเรียนรู้รูปแบบนี้โดดเด่นมาก เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการรับและส่งข้อมูลผ่านการอ่านและการเขียน เห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ชื่นชอบสไตล์นี้มักจะพกพาพจนานุกรม, dictionary, power point เอกสารต่างๆ ติดตัวไว้เสมอ และเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตัวเอง
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม R คุณจะ
ชอบอ่านทุกสิ่งทุกอย่าง
พกสมุดโน้ต และปากกาติดตัว (หรือเครื่องบันทึกอื่นๆ เช่น tablet notebook)
ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนตเป็นประจำ
มีพจนานุกรม dictionary อยู่ใกล้ตัวเสมอ
ชอบเล่นกับตัวอักษร เช่น crossword, scrabble
เขียน diary, logbook หรือ รายการสิ่งที่กระทำในแต่ละวัน
สะสมตำรา เช่น ตำราทำอาหาร ตำราการออกกายบริหาร ตำราพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ
ปฏิบัติตามคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ดี
ชอบเขียนบทความ ความคิดเห็น เรื่องแต่ง สารคดี ฯลฯ
กลุ่ม K = Kinesthetic รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยสัมผัสและการกระทำ
คำจำกัดความของรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบนี้คือ การใช้ประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จำลองหรือสถานการจริงก็ตาม ถึงแม้ว่าประสบการณ์จะมีผลกระตุ้นการเรียนรู้ทุกรูปแบบก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงส่วนตัว ตัวอย่าง แบบจำลอง การลงมือปฏิบัติ หรือสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้รวมถึง การสาธิต การจำลองสถานการณ์ด้วยภาพยนตร์ ละคร หรือกรณีศึกษา
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม K คุณจะ
สนุกสนานกับการค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฎิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา
จดจำได้ดีเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ สร้างแบบจำลอง และจับต้องสิ่งที่กำลังเรียนรู้
นั่งอยู่เฉย ๆ นาน ๆ ไม่ได้ ชอบเดินไปมา และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
มีแนวโน้มเป็นนักสะสม
พูดเร็ว และชอบแสดงท่าทางประกอบ
ชอบเล่นกีฬาหรือเครื่องดนตรี
ชอบเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเป็นผู้สังเกตการณ์
ปฏิบัติตามการสาธิตได้ดี
ไม่อายที่จะพูดต่อสาธารณชน
ชอบฟังคำอธิบาย และชอบอธิบาย
จดจำชื่อคนและสิ่งต่างๆ ได้ดี
ได้ยินและระบุเสียงประกอบฉากที่ได้ยินในภาพยนตร์ได้
ชอบฟังดนตรี
เรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศได้ดี
อ่านช้า ๆ
อยู่เงียบๆ ไม่ได้นาน
ชอบขึ้นแสดงบนเวที เช่น ละคร ทอล์คโชว์
ปฏิบัติตามคำบอกได้ดี
กลุ่ม R = Read / write รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยอักษร
สไตล์การเรียนรู้รูปแบบนี้ชื่นชอบข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่น่าแปลกใจที่นักวิชาการทั้งหลายจะมีลักษณะการเรียนรู้รูปแบบนี้โดดเด่นมาก เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการรับและส่งข้อมูลผ่านการอ่านและการเขียน เห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ชื่นชอบสไตล์นี้มักจะพกพาพจนานุกรม, dictionary, power point เอกสารต่างๆ ติดตัวไว้เสมอ และเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตัวเอง
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม R คุณจะ
ชอบอ่านทุกสิ่งทุกอย่าง
พกสมุดโน้ต และปากกาติดตัว (หรือเครื่องบันทึกอื่นๆ เช่น tablet notebook)
ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนตเป็นประจำ
มีพจนานุกรม dictionary อยู่ใกล้ตัวเสมอ
ชอบเล่นกับตัวอักษร เช่น crossword, scrabble
เขียน diary, logbook หรือ รายการสิ่งที่กระทำในแต่ละวัน
สะสมตำรา เช่น ตำราทำอาหาร ตำราการออกกายบริหาร ตำราพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ
ปฏิบัติตามคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ดี
ชอบเขียนบทความ ความคิดเห็น เรื่องแต่ง สารคดี ฯลฯ
กลุ่ม K = Kinesthetic รูปแบบการเรียนรู้ที่สื่อด้วยสัมผัสและการกระทำ
คำจำกัดความของรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบนี้คือ การใช้ประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จำลองหรือสถานการจริงก็ตาม ถึงแม้ว่าประสบการณ์จะมีผลกระตุ้นการเรียนรู้ทุกรูปแบบก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบสไตล์การเรียนรู้แบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงส่วนตัว ตัวอย่าง แบบจำลอง การลงมือปฏิบัติ หรือสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้รวมถึง การสาธิต การจำลองสถานการณ์ด้วยภาพยนตร์ ละคร หรือกรณีศึกษา
ถ้าคุณเป็นคนกลุ่ม K คุณจะ
สนุกสนานกับการค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฎิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา
จดจำได้ดีเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ สร้างแบบจำลอง และจับต้องสิ่งที่กำลังเรียนรู้
นั่งอยู่เฉย ๆ นาน ๆ ไม่ได้ ชอบเดินไปมา และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
มีแนวโน้มเป็นนักสะสม
พูดเร็ว และชอบแสดงท่าทางประกอบ
ชอบเล่นกีฬาหรือเครื่องดนตรี
ชอบเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเป็นผู้สังเกตการณ์
ปฏิบัติตามการสาธิตได้ดี
http://www.okmd.or.th/bbl/articles/217/VARK-how-learning-you-style
วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เมื่อไหร่ที่คุณจะซื้อ iPhone 11 ได้ในราคาน่าคบหาที่สุด!
1 ต.ค. 2562 18:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ในที่สุดสาวก iPhone (ไอโฟน) ก็ได้เฮฮากันอีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่ Apple เปิดตัว iPhone 11 พร้อมราคาที่ถูกลงกว่ารุ่นก่อน ๆ สนนราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 699 ดอลลาห์สหรัฐ ในขณะที่ iPhone XR รุ่นก่อนหน้าเปิดตัวที่ 749 ดอลลาห์สหรัฐเมื่อช่วงตุลาคมปี 2018 ที่ผ่านมา
แน่นอนว่ามีเหล่าแฟนคลับมือหนักมากมายที่เมื่อไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวปุ๊บก็เป็นต้องขวนขวายให้ได้มาครอบครองปั๊บ บ้างถึงขั้นบินไปหิ้วมาจากประเทศที่เปิดวางจำหน่ายก่อนหน้าเลยก็มี แต่ก็มีสาวกไอโฟนจำนวนไม่น้อยที่รอจับไอโฟนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งคาดว่าราคาคงกำลังลดลง หรือไม่ก็เฝ้ารอวันที่ราคาของ iPhone 11 จะลดลงจนราคาเป็นมิตรกว่านี้
และเพราะแฟนคลับไอโฟนมีพฤติกรรมหลากหลายดั่งตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้ iPrice (มาเลเซีย) แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้งัดประวัติราคาไอโฟนใน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้ามาวิเคราะห์กันให้เห็นกันจะ ๆ ว่า จริง ๆ แล้วเราต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าราคา iPhone 11 จะลดลงในราคาสบายกระเป๋ากว่านี้
โดย iPrice ได้แบ่งช่วงเวลาที่มักพบราคาของไอโฟนลดลงเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ 6 เดือน และ 12 เดือนหลังเปิดตัว ซึ่งผลการสำรวจนี้ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจถึง 5 ประการด้วยกัน ดังนี้
คุณต้องรอถึง 3 ปี หากอยากซื้อ iPhone 11 ครึ่งราคาจากราคาเปิดตัว จากผลสำรวจของราคา iPhone 7 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีราคาลดลงที่ 55%
ส่วนใหญ่ราคาไอโฟนทุกรุ่นจะเริ่มลดลง 6 เดือนหลังจากวันเปิดตัว แต่ก็มีค่าเฉลี่ยของราคาที่ลดลงเพียงเล็กน้อยโดยประมาณ 5% เท่านั้น
หากคุณเป็นแฟนคลับที่คอยจับโมเดลรุ่นก่อนหน้าของ iPhone เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วราคาจะลดลงโดยเฉลี่ย 16% หลังเปิดตัว 12 เดือน (ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ iPhone 11 เปิดตัว หมายความว่า iPhone XS จะมีราคาลดลงโดยเฉลี่ย 16%)
iPhone X คือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบรุ่นอื่น ๆ ในตระกูล เพียงระยะเวลา 6 เดือน iPhone X มีราคาลดลงโดยเฉลี่ยถึง 11% และหลังเปิดตัว 12 เดือนไอโฟนรุ่นนี้ก็มีราคาลดลงถึง 27% คาดเกิดจากการที่ Apple ประกาศหยุดการพัฒนา iPhone X หลังเปิดตัว 1 ปี โดยเปลี่ยนไปมุ่งพัฒนา iPhone XS แทน
จากผลการสำรวจราคาลดลงของไอโฟนนี้คาดว่า ในอีก 6 เดือนหลังการเปิดตัว iPhone 11 ราคาของ iPhone รุ่นนี้คงอยู่ในเกณฑ์ที่เหล่าแฟนคลับซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยราคาที่อาจลดลงโดยประมาณ 5% ก็ดี หรือการที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าแล้วก็ตาม และถ้าคุณเป็นหนึ่งในแฟนคลับที่ชื่นชอบเทคโนโลยีของ iPhone โดยไม่ได้ต้องการหามาครอบครองตามเทรนด์เพื่อใช้งานอวดโฉมในเร็ววัน คาดว่าอีก 3 ปี ให้หลัง ราคา iPhone 11 อาจลดลงถึง 55% โดยมีราคาอยู่ที่หมื่นกลาง ๆ เท่านั้นเอง ถ้าคุณรอได้อ่ะนะ
แล้วราคาไอโฟนในไทย 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าล่ะผันผวนขนาดไหนในปีที่ iPhone 11 เปิดตัว?
มาถึงผลการสำรวจข้อมูลราคา iPhone ในไทยในปีที่ iPhone 11 เปิดตัวกันบ้าง ว่าเหตุการณ์นี้ทำให้บรรดาไอโฟน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าราคาขึ้น-ลงขนาดไหน (นับจากเดือนมกราคม 2019: ปีเดียวกับที่ iPhone 11 เปิดตัว)
iPhone 7: เริ่มจากเดือนมกราคม 2019 ถึง เดือนมิถุนายน 2019 พบว่า เป็นไอโฟน 1 ใน 4 รุ่นท็อป ที่มีราคาเพิ่มขึ้น 8.96% แต่ถัดมาเพียงหนึ่งเดือน (ก.ค. 2019) กลับลดลง 10.76% และลดถึง 29.99% ในเดือนสิงหาคม 2019
iPhone 8: ในเดือนมิถุนายน 2019 ไอโฟนรุ่นนี้มีราคาลดลงถึง 8.03% เดือนกรกฎาคม 2019 ลดลงที่ 21.05% และหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 เปิดตัว (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 39.41%
iPhone X: มีราคาลดลงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 3.6% แต่กลับลดลงแบบก้าวกระโดดในเดือนกรกฎาคม 2019 ที่ 36.17 และก่อนไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวหนึ่งเดือน (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 45.77%
iPhone XS: ราคาลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 0.76% และลดลงเพิ่มอีกในเดือนถัดไป (กรกฎาคม 2019) 7.03% และในเดือนสิงคาคม 2019 ลดเพิ่มอีกเล็กน้อยที่ 8.1%
สรุปผลกระทบของราคาไอโฟน 4 รุ่นก่อนหน้าในปีที่ iPhone 11 (2019) ประกาศเปิดตัวคือ ไอโฟนทั้ง 4 รุ่นมีราคาลดลงเล็กน้อยโดยเฉลี่ย 0.4% ในเดือนมิถุนายน 2019 จากนั้นเริ่มลดลงมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2019 ถึง 18.82% และมีราคาลดลงโดยเฉลี่ยในหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 จะเปิดตัวมากถึง 30%
ถือเป็นไกด์ไลน์ที่ช่วยให้สาวกไอโฟนเตรียมตัวทำการบ้านสำหรับไอโฟนที่จะเปิดตัวในอนาคตได้ จะเห็นว่าส่วนใหญ่ไอโฟนจะเปิดตัวรุ่นใหม่ในไตรมาสที่ 4 ของทุกปี หากยังอยากได้ไอโฟนรุ่นวันวานยังหวานอยู่ทั้งหลายหลังจบไตรมาสที่ 3 ของทุกปีนี่แหละถือเป็นช่วยเวลาที่ประหยัดตังในกระเป๋าที่สุด หากช้ากว่านั้นอาจได้โมเดลตกรุ่นก็เป็นได้
การสำรวจราคาลดลงของไอโฟนในปีเดียวกับที่ไอโฟนรุ่นใหม่จะเปิดตัวนี้ทำให้พบว่า ไอโฟนรุ่นที่มีราคาลดลงที่สุดคือ ไอโฟนสองรุ่นก่อนหน้า iPhone 11 (รุ่นเปิดตัวใหม่) ในการสำรวจนี้คือ iPhone X อาจเป็นเพราะเป็นรุ่นที่ Apple ประกาศยกเลิกการพัฒนาหลังการวางจำหน่าย 1 ปี เป็นเหตุผลร่วมด้วย
หากตัด iPhone X ออกจากการสำรวจจะพบว่า iPhone 8 เป็นรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุด (รองจาก iPhone X ที่ตัดออกไป) ถึง 39.41% หรือกล่าวโดยสรุปคือไอโฟนที่เปิดตัวก่อนหน้า 2 ปีคือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดในปีที่ไอโฟนรุ่นใหม่ประกาศเปิดตัว
Source: https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000094688
ในที่สุดสาวก iPhone (ไอโฟน) ก็ได้เฮฮากันอีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่ Apple เปิดตัว iPhone 11 พร้อมราคาที่ถูกลงกว่ารุ่นก่อน ๆ สนนราคาเปิดตัวเริ่มต้นที่ 699 ดอลลาห์สหรัฐ ในขณะที่ iPhone XR รุ่นก่อนหน้าเปิดตัวที่ 749 ดอลลาห์สหรัฐเมื่อช่วงตุลาคมปี 2018 ที่ผ่านมา
แน่นอนว่ามีเหล่าแฟนคลับมือหนักมากมายที่เมื่อไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวปุ๊บก็เป็นต้องขวนขวายให้ได้มาครอบครองปั๊บ บ้างถึงขั้นบินไปหิ้วมาจากประเทศที่เปิดวางจำหน่ายก่อนหน้าเลยก็มี แต่ก็มีสาวกไอโฟนจำนวนไม่น้อยที่รอจับไอโฟนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งคาดว่าราคาคงกำลังลดลง หรือไม่ก็เฝ้ารอวันที่ราคาของ iPhone 11 จะลดลงจนราคาเป็นมิตรกว่านี้
และเพราะแฟนคลับไอโฟนมีพฤติกรรมหลากหลายดั่งตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น ทำให้ iPrice (มาเลเซีย) แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้งัดประวัติราคาไอโฟนใน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้ามาวิเคราะห์กันให้เห็นกันจะ ๆ ว่า จริง ๆ แล้วเราต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าราคา iPhone 11 จะลดลงในราคาสบายกระเป๋ากว่านี้
โดย iPrice ได้แบ่งช่วงเวลาที่มักพบราคาของไอโฟนลดลงเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือ 6 เดือน และ 12 เดือนหลังเปิดตัว ซึ่งผลการสำรวจนี้ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจถึง 5 ประการด้วยกัน ดังนี้
คุณต้องรอถึง 3 ปี หากอยากซื้อ iPhone 11 ครึ่งราคาจากราคาเปิดตัว จากผลสำรวจของราคา iPhone 7 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีราคาลดลงที่ 55%
ส่วนใหญ่ราคาไอโฟนทุกรุ่นจะเริ่มลดลง 6 เดือนหลังจากวันเปิดตัว แต่ก็มีค่าเฉลี่ยของราคาที่ลดลงเพียงเล็กน้อยโดยประมาณ 5% เท่านั้น
หากคุณเป็นแฟนคลับที่คอยจับโมเดลรุ่นก่อนหน้าของ iPhone เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วราคาจะลดลงโดยเฉลี่ย 16% หลังเปิดตัว 12 เดือน (ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ iPhone 11 เปิดตัว หมายความว่า iPhone XS จะมีราคาลดลงโดยเฉลี่ย 16%)
iPhone X คือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบรุ่นอื่น ๆ ในตระกูล เพียงระยะเวลา 6 เดือน iPhone X มีราคาลดลงโดยเฉลี่ยถึง 11% และหลังเปิดตัว 12 เดือนไอโฟนรุ่นนี้ก็มีราคาลดลงถึง 27% คาดเกิดจากการที่ Apple ประกาศหยุดการพัฒนา iPhone X หลังเปิดตัว 1 ปี โดยเปลี่ยนไปมุ่งพัฒนา iPhone XS แทน
จากผลการสำรวจราคาลดลงของไอโฟนนี้คาดว่า ในอีก 6 เดือนหลังการเปิดตัว iPhone 11 ราคาของ iPhone รุ่นนี้คงอยู่ในเกณฑ์ที่เหล่าแฟนคลับซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้วยราคาที่อาจลดลงโดยประมาณ 5% ก็ดี หรือการที่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายมีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าแล้วก็ตาม และถ้าคุณเป็นหนึ่งในแฟนคลับที่ชื่นชอบเทคโนโลยีของ iPhone โดยไม่ได้ต้องการหามาครอบครองตามเทรนด์เพื่อใช้งานอวดโฉมในเร็ววัน คาดว่าอีก 3 ปี ให้หลัง ราคา iPhone 11 อาจลดลงถึง 55% โดยมีราคาอยู่ที่หมื่นกลาง ๆ เท่านั้นเอง ถ้าคุณรอได้อ่ะนะ
แล้วราคาไอโฟนในไทย 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าล่ะผันผวนขนาดไหนในปีที่ iPhone 11 เปิดตัว?
มาถึงผลการสำรวจข้อมูลราคา iPhone ในไทยในปีที่ iPhone 11 เปิดตัวกันบ้าง ว่าเหตุการณ์นี้ทำให้บรรดาไอโฟน 4 รุ่นท็อปก่อนหน้าราคาขึ้น-ลงขนาดไหน (นับจากเดือนมกราคม 2019: ปีเดียวกับที่ iPhone 11 เปิดตัว)
iPhone 7: เริ่มจากเดือนมกราคม 2019 ถึง เดือนมิถุนายน 2019 พบว่า เป็นไอโฟน 1 ใน 4 รุ่นท็อป ที่มีราคาเพิ่มขึ้น 8.96% แต่ถัดมาเพียงหนึ่งเดือน (ก.ค. 2019) กลับลดลง 10.76% และลดถึง 29.99% ในเดือนสิงหาคม 2019
iPhone 8: ในเดือนมิถุนายน 2019 ไอโฟนรุ่นนี้มีราคาลดลงถึง 8.03% เดือนกรกฎาคม 2019 ลดลงที่ 21.05% และหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 เปิดตัว (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 39.41%
iPhone X: มีราคาลดลงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 3.6% แต่กลับลดลงแบบก้าวกระโดดในเดือนกรกฎาคม 2019 ที่ 36.17 และก่อนไอโฟนรุ่นใหม่เปิดตัวหนึ่งเดือน (สิงหาคม 2019) ลดลงถึง 45.77%
iPhone XS: ราคาลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ 0.76% และลดลงเพิ่มอีกในเดือนถัดไป (กรกฎาคม 2019) 7.03% และในเดือนสิงคาคม 2019 ลดเพิ่มอีกเล็กน้อยที่ 8.1%
สรุปผลกระทบของราคาไอโฟน 4 รุ่นก่อนหน้าในปีที่ iPhone 11 (2019) ประกาศเปิดตัวคือ ไอโฟนทั้ง 4 รุ่นมีราคาลดลงเล็กน้อยโดยเฉลี่ย 0.4% ในเดือนมิถุนายน 2019 จากนั้นเริ่มลดลงมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2019 ถึง 18.82% และมีราคาลดลงโดยเฉลี่ยในหนึ่งเดือนก่อนที่ iPhone 11 จะเปิดตัวมากถึง 30%
ถือเป็นไกด์ไลน์ที่ช่วยให้สาวกไอโฟนเตรียมตัวทำการบ้านสำหรับไอโฟนที่จะเปิดตัวในอนาคตได้ จะเห็นว่าส่วนใหญ่ไอโฟนจะเปิดตัวรุ่นใหม่ในไตรมาสที่ 4 ของทุกปี หากยังอยากได้ไอโฟนรุ่นวันวานยังหวานอยู่ทั้งหลายหลังจบไตรมาสที่ 3 ของทุกปีนี่แหละถือเป็นช่วยเวลาที่ประหยัดตังในกระเป๋าที่สุด หากช้ากว่านั้นอาจได้โมเดลตกรุ่นก็เป็นได้
การสำรวจราคาลดลงของไอโฟนในปีเดียวกับที่ไอโฟนรุ่นใหม่จะเปิดตัวนี้ทำให้พบว่า ไอโฟนรุ่นที่มีราคาลดลงที่สุดคือ ไอโฟนสองรุ่นก่อนหน้า iPhone 11 (รุ่นเปิดตัวใหม่) ในการสำรวจนี้คือ iPhone X อาจเป็นเพราะเป็นรุ่นที่ Apple ประกาศยกเลิกการพัฒนาหลังการวางจำหน่าย 1 ปี เป็นเหตุผลร่วมด้วย
หากตัด iPhone X ออกจากการสำรวจจะพบว่า iPhone 8 เป็นรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุด (รองจาก iPhone X ที่ตัดออกไป) ถึง 39.41% หรือกล่าวโดยสรุปคือไอโฟนที่เปิดตัวก่อนหน้า 2 ปีคือรุ่นที่มีราคาลดลงมากที่สุดในปีที่ไอโฟนรุ่นใหม่ประกาศเปิดตัว
Source: https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000094688
วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562
คนไทยช้อปออนไลน์เป็นอันดับ 2 รองจากจีน
by Admin
17-02-2017
ไม่ใช่แค่ช้อปออนไลน์ในประเทศเท่านั้น แต่ตัวเลขคนไทยช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ ที่ PayPal ผู้ให้บริการชำระเงิน ทำร่วมกับอิปซอสส์ ร่วมกันทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคกว่า 28,000 คนใน 32 ประเทศ รวมทั้งผู้บริโภคคนไทย 800 คน สะท้อนว่า การช้อปออนไลน์ข้ามประเทศของคนไทยก็กำลังเติบโต
ผลสำรวจพบว่า ยอดใช้จ่ายออนไลน์ของนักช้อปชาวไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 16% จากปี 2559 หรือคิดเป็นมูลค่า 325,614 ล้านบาท คาดว่าในปี 2560 จะเพิ่มขึ้นเป็น 376,753 ล้านบาท และในปี 2561 จะเพิ่มขึ้น 13% หรือคิดเป็นมูลค่า 426,655 ล้านบาท
คนไทยนิยมใช้จ่ายผ่านมือถือ
ผลสำรวจยังพบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีคนไทย 71% ที่ช้อปออนไลน์ผ่านทั้งเว็บไซต์ช้อปิ้งออนไลน์จ แอปพลิเคชั่น และช่องทางโซเชียลมีเดีย
ที่น่าสนใจ ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นนักช้อปข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด ราว 50 ของนักช้อปชาวจีน และไทยที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศเลือกช้อปผ่านแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน
ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะมีนักช้อปข้ามประเทศที่ซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถืออยู่ที่ 37% ซื่งเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 27 เปอร์เซ็นต์
เป็นที่สังเกตได้ว่า ยอดการซื้อขายออนไลน์ผ่านมือถือ (mobile-commerce) ของคนไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2558 มียอดใช้จ่าย 98,642 ล้านบาท ในปี 2559 เพิ่มเป็น 141,731 ล้านบาท เติบโตถึง 44% คาดว่าปี 2560 จะเติบโต 19 % หรือคิดเป็นมูลค่า 206,077 ล้านบาท
เพิ่มเป็นจาก 141.7 พันล้านบาทในปี 2559 เป็น 173.6 พันล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนอุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ค้าออนไลน์
จับตาช้อปข้ามประเทศมาแรง
นอกจากนี้ ยอดการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศของคนไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เมื่อประเมินจากจำนวนผู้ใช้งานอีคอมเมิร์ซในไทยจะมีอยู่ราว 7.9 ล้านคน ในจำนวนนี้ 2 ล้านราย เคยซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศ คิดเป็นมูลค่าราว 6.03 หมื่นล้านบาท และในปี 2560 คาดว่าจะมีโอกาสเติบโตถึง 84% เนื่องจากมีการทำสำรวจต่อว่า ในปีนี้จะมีการซื้อของจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดย 55% ซื้อเพิ่มขึ้นแน่นอน 23% ซื้อเท่าเดิม6% ซื้อลดลง
โดยที่คนไทยมียอดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของการซื้อของต่างประเทศอยู่ที่ 30,892 บาท/คน/ปี จากยอดอีคอมเมิร์ซต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 41,215 บาท
5 ปัจจัยหนุนช้อปออนไลน์
ผลจากการสำรวจพบว่านักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 55% มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 เนื่องจาก 82% เห็นว่า ความสะดวกสบายของการช้อปออนไลน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาหันมาช้อปด้วยวิธีนี้มากขึ้น
ในขณะที่ 37% มองว่าการส่งของที่รวดเร็วเป็นอีกปัจจัยหลัก และ 35% คิดว่าทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่า 30% คาดว่าการจัดส่งสินค้าจะถูกลง 27% มาจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
ช้อปของใช้ครัวเรือนนิยมแซงหน้าสินค้าแฟชั่น
ในส่วนของประเภทสินค้าที่นิยมช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพบว่าส่วนใหญ่จะนิยมซื้อเสื้อผ้ารองเท้าสินค้าแฟชั่นเครื่องสำอางท่องเที่ยวสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอลคอนเทนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ส่วนในปี 2560 คาดว่า ผู้บริโภคชาวไทยจะหันมาซื้อสินค้าที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น โดยสินค้า 3 ประเภทที่คาดว่าจะมีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน (เติบโต 24%) สินค้าบริโภค (เติบโต 20%) และสินค้าสำหรับเด็ก (เติบโต 16%)
สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย มอว่า นี่คือโอกาสของธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก โดยผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงเหมือนกับการขยายสาขาแบบดั้งเดิม
ค่าขนส่ง-ภาษี ข้อจำกัด
แม้โอกาสจะมีอยู่มาก แต่อุปสรรคที่ทำให้คนไทยไม่กล้าช้อปออนไลน์ ยังกังวลค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้า และการเสียภาษี และกลัวว่าไม่ได้รับสินค้า
โดย 45% ของผู้สำรวจยังมองว่า ค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำไม่สามารถซื้อของข้ามประเทศได้บ่อยครั้งเท่าที่ควร ปัจจัยรองลงมาคือ การจ่ายค่าภาษีศุลกากร 44% และความชัดเจนของอัตราภาษีศุลกากร 42%
โอกาสของ PayPal
ด้วยผลวิจัยดังกล่าว เป็นโอกาสทางธุรกิจ PayPal ในการผลักดันให้ธุรกิจส่งออกหันมาใช้บริการเพย์เม้นท์ ที่สะดวกปลอดภัย และใช้กันแพร่หลายทั่วโลก แทนที่จะเป็นการเก็บเงินสดปลายทาง โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ขนส่ง จองตั๋วแพ็กเกจทัวร์สินค้าแฟชั่นเสื้อผ้ากระเป๋า
PayPal มองว่า คู่แข่งไม่ใช่ผู้ให้บริการเพย์เมนต์ แต่เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนจากการชำระเงินสดปลายทาง ซึ่ง ธุรกิจส่วนใหญ่รู้จัก PayPal แต่ยังไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
ปัจจุบัน PayPal ให้บริการออนไลน์เพย์เมนต์มา 18 ปี ใน 200 ประเทศทั่วโลก รองรับสกุลเงินมากกว่า 25 สกุลเงิน แต่ละวินาที จะธุรกรรมผ่าน PayPal 10,900 เหรียญสหรัฐ /วินาที โดยมีพนักงานรวมกันทั่วโลกกว่า1.7 หมื่นคน รองรับบริการหลังการขาย 20 ภาษา โดยมีผู้ใช้งานแล้ว 197 ล้านบัญชี ส่วนในไทย PayPal ได้เข้ามาเปิดสำนักงานเมื่อต้นปีที่แล้ว มีพนักงาน 4 คน
Source: https://positioningmag.com/1116556
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562
7-Eleven
เผยแพร่: 2 ก.ย. 2562 11:50 โดย: โรม บุนนาค
เซเวน อีเลฟเวนที่พัทยา โอ่อ่าเกินจะเป็นร้านสะดวกซื้อข้างถนน
ทุกวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “7-Eleven” ร้านสะดวกซื้อที่จำหน่ายสินค้าทั่วไปในชีวิตประจำวัน เปิดบริการตลอด ๒๔ ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และมีสาขาแพร่กระจายเกือบทั่วทุกหัวระแหงในประเทศไทย เป็นแฟรนไชส์ที่มีสาขาในประเทศต่างๆมากที่สุดในโลก
เดิม “เซเวน อีเลฟเวน” เป็นลิขสิทธิ์ของ บริษัท เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ๒๔๗๐ ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำแข็งที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ในปีเดียวกันนั้นก็ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote'm Store ต่อมาในปี ๒๔๘๙ ก็ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น 7-Eleven เพื่อรองรับการขยายกิจการ ซึ่งในระยะแรกเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๒๓.๐๐ น. ของทุกวัน อันเป็นที่มาของชื่อ เซเวน อีเลฟเวน นั่นเอง
ในช่วงปลายปี ๒๕๓๓ บริษัทเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน และได้รับความช่วยเหลือจาก อิโต-โยคะโด ซึ่งเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหญ่ที่สุด บริษัทญี่ปุ่นจึงเข้าควบคุมกิจการของบริษัทในปี ๒๕๓๔ ต่อมาในปี ๒๕๔๘ อิโต-โยคะโด ได้ก่อตั้งบริษัท “เซเวน แอนด์ ไอ โฮลดิงส์” เซเวน อีเลฟเวนจึงกลายเป็นบริษัทลูกของบริษัท เซเวน แอนด์ ไอ โฮลดิงส์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
สำหรับประเทศไทย เซเวน อีเลฟเวน บริหารโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้ลงนามในสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ และได้เปิดสาขาแรกขึ้นที่หัวมุมถนนพัฒน์พงศ์ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๒ จากนั้นก็เติบโตเพิ่มสาขาขึ้นไม่หยุด
ในปี ๒๕๔๕ ซีพี ออลล์ขยายสาขาเซเวน อีเลฟเวนไปตามสถานีบริการน้ำมัน ปตท.เพื่อให้ครอบคลุมได้ทั่วประเทศจนถึงสิ้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ เซเวน อีเลฟเวนในประเทศไทยมีสาขาถึง ๕,๔๔๒ สาขา เฉพาะในกรุงเทพฯกว่า ๓,๐๐๐ สาขา และตัวเลขยังวิ่งขึ้นทุกวัน เป็นอันดับ ๔ รองจาก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน มีลูกค้ากว่า ๔ ล้านคนต่อวัน โดยมียอดขายเฉลี่ยวันละ ๖๕,๐๑๙ ต่อสาขา
ในปี ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา เซเวน อีเลฟเวน มีสาขา ๑๐,๙๘๘ สาขา เป็นรองแค่ญี่ปุ่นซึ่งมี ๒๐,๐๓๓ สาขา แต่ญี่ปุ่นก็มีจำนวนประชากร ๑๒๗ ล้านคน มากกว่าไทยเท่าตัวเช่นกัน อันดับ ๓ เป็นเกาหลีใต้ มี ๙,๒๐๐ สาขา มีประชากร ๕๑ ล้านคน ส่วนอเมริกาผู้ให้กำเนิดเซเวน อีเลฟเวน เป็นอันดับ ๔ มี ๘,๔๒๑ สาขา มีประชากรถึง ๓๒๓ ล้านคน
ในด้านรายได้ ในปี ๒๕๖๑ เซเวน อีเลฟเวนในไทย มีรายได้ ๓๐๘,๘๔๘ ล้านบาท มีกำไรก่อนหักภาษี ๘๕,๖๙๗ ล้านบาท เฉลี่ยในหนึ่งวันมีลูกค้า ๑,๑๘๕ คนต่อสาขา ใช้จ่าย ๖๙ บาทต่อบิลล์ มีรายได้ ๘๑.๗๘๘ ต่อสาขา
ในปี ๒๕๖๒ นี้ ซีพี ออลตั้งเป้าจะขยายสาขาเซเวน อีเลฟเวนขึ้นอีก ๗๐๐ สาขา ทั้งจะสวมบทบาทเป็น “แบงกิ้งเอเยนต์” รับฝาก-ถอนเงินให้ธนาคารออมสินและ SCB ธุรกิจอาหารตามสั่ง บริการรับส่งพัสดุภายใต้แบรนด์ Speed D ขายกาแฟ ซัก อบ รีด จุดคืนภาษีนักท่องเที่ยว และร้านขายยา รวมถึงเตรียมทำธุรกิจดูแลสุขภาพ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ดูแล
นอกจากนี้ เซเวน อีเลฟเวนยังพยายามอัพเกรดตัวเองให้เป็นมากกว่าร้านสะดวกซื้อ แต่เป็นศูนย์รวมทุกอย่างที่ผู้บริโภคต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างสาขาพัทยาก็มีขนาดใหญ่ มี ๒ ชั้น และมีห้องน้ำ มี Digital Aquarium และสื่อ Interactive เป็นต้น
ห้องน้ำในเซเวน อีเลฟเวน ที่สาขาพัทยา
Source: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000084059
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
Principles
Principles ของ Ray Dalio
โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
สยามรัฐออนไลน์ 4 เมษายน 2561
โดยการสรุปส่วนที่สำคัญและเป็นหัวใจ ดังนี้
บทที่ 1 สิ่งสำคัญของหลักการ ทำไม จึงเชื่อว่า การมีหลักการนั้นสำคัญ และแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกได้ว่า หลักการแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด
1.อะไรคือหลักการ? คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะเชื่อมกับการกระทำของเรา ชี้นำในสิ่งที่เรากำลังจะทำ และช่วยให้ประสบความสำเร็จได้
2.ทำไมมันถึงสำคัญ? หลักการช่วยให้เราทำถูกทาง ไม่ออกนอกทาง และนำเราไปสู่ความสำเร็จ
3.แล้วหลักการนี้มาจากไหน? หลักการของเรา : มาจากค่านิยมถึงสิ่งที่เราเชื่อมั่นอย่างแท้จริง
4.วิถีชีวิตของเราสามารถไปด้วยกันกับหลักการนั้นได้หรือไม่? แล้วมันคืออะไร? หลักการเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมของเรา และความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตประจำ
5.แค่ไหนที่เราคิดว่ามันใช้งานได้แล้ว? และทำไม? หลักการต่างๆ ล้วนมาจากจุดมุ่งหมายและประสบการณืที่แตกต่างกันของแต่ละละบุคคลเราต้องยึดหลักการของเราเป็นหลัก แต่อาจจะปรับให้สอดคล้องกับคนอื่นโดยไม่ผิดหลักการ และได้ผลลัพท์ที่ดี เราต้องตอบคำถามเหล่านี้ด้วยความซื่อตรง โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะคิดอย่างไร ความซื่อตรงนั้นจะช่วยให้เราไม่รู้สึกอืดอัดไปกับหลักการณ์ของเรา
บทที่ 2 หลักการในการลงทุนทั้งชีวิตของเรย์
พื้นฐานทั้งหมดของหลักการของเรย์ ดังนั้นสรุปได้ว่า
1.)เราต้องทำงานที่เราอยากทำ สิ่งที่ชอบ ไม่ได้ทำเพราะคนอื่นอยากให้เราทำ
2.)เข้าถึงความคิดเห็นที่ไม่ฝักใฝ่ทางไหน มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ
3.ทดสอบความคิดเห็นของเรากับคนที่ฉลาดเท่าที่เราจะสามารถหาได้ ทำให้เรามีหลักการเหตุผลเพิ่มขึ้น
4.ระมัดระวังความมั่นใจสุดโต้งเกินไป และคิดเผื่อไว้ถึงสิ่งที่เราไม่รู้ด้วย
5.ต่อสู้ด้วยความเป็นจริง ตอบสนองกับผลลัพธ์ของการตัดสินใจ และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงพัฒนาการต่อไป
“ผมต้องการให้คุณทำเพื่อตัวคุณเอง มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ แล้วทดสอบมัน ระมัดระวังความเห็นที่สุดโต่ง ตอบสนองกับผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่คุณตัดสนใจลงไป และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ”
1. เขาเรียนรู้ว่า : ความล้มเหลว มาจากความไม่ยอมรับความจริง และความสำเร็จมาจากการยอมรับความจริง
ค้นหาว่า อะไร คือ ความจริง ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวจากการแสวงหาความจริง การเป็นคนซื่อตรง เป็นการเปิดกว้าง ให้เข้าสู่ความคิดอิสระ การเผชิญหน้ากับผู้คนที่จะบอกว่าเขาเชื่ออย่างไร ฟังความเห็นของเขา เพื่อหาคำตอบว่า ความจริงคืออะไรทุกคนมีข้อผิดพลาดและจุดอ่อน และนี่คือ สิ่งที่จะบอกถึงความแตกต่างของผู้คน ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่สวยงาม เมื่อแก้ข้อผิดพลาดได้ ทำให้เขาเข้มแข็งขึ้น และนำไปสู่ความสำเร็จ เขามองตรงกันข้ามกับคนส่วนใหญ่ คือ
1) คนส่วนใหญ่คิดว่า ควรจะเรียนรู้อะไร จึงจะประสบความสำเร็จ การหาตัวเองว่า เราต้องการอะไร และจะได้มาอย่างไร
2) การมีคำตอบ ดีกว่าคำถาม การมีคำถาม ดีกว่ามีคำตอบ เพราะ เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้ และการได้มาซึ่งการแก้ปัญหา
3) ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่แย่ เป็นสิ่งที่ดี เพราะ การเรียนรู้ มาจากความผิดพลาด
4) การหาจุดอ่อนเป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นขั้นตอนแรกที่จะค้นหาว่า มันคืออะไร และทำอย่างไร จะไม่เกิดกับเราอีก
5) ความเจ็บปวด นั้นแย่ ดี เพราะเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะแข็งแกร่ง ( เหมือนการเล่นกล้าม )
6) ความแก่ชรา ไม่ดี ดี ทำให้เรา เห็นจุดอ่อน ข้อผิดพลาด ข้อดีจุดแข็ง ที่เราจะนำมาใช้กับตนเองและลูกหลาน
2. รากฐานของหลักการพื้นฐานของเรย์ ความเป็นจริง ความเที่ยงตรงและถูกต้อง ในการเข้าใจความเป็นจริง เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน สำหรับการผลิตผลลัพธ์ที่ดี ความเป็นจริง + ความฝัน + ความตั้งใจจริง = ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ การตัดสินใจที่สำคัญของเรา โดย 5 หัวข้อใหญ่ สำหรับตัวเลือกที่จะกำหนดอนาคตของเรา
1) ลำดับที่ 1
สิ่งที่ไม่ดี BAD : ให้ความเจ็บปวด ทำให้ยืนอยู่บนเส้นทางของความก้าวหน้าได้
สิ่งที่ดี GOOD : เข้าใจถึงการจัดการความเจ็บปวด ที่จะไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างไร
ความเจ็บปวด + การตอบสนอง = กระบวนการพัฒนา
2) ลำดับที่สอง
สิ่งที่ไม่ดี BAD หลีกเลี่ยงการพบกับ ความจริงอันโหดร้าย
สิ่งที่ดี GOOD เผชิญหน้าในการพบกับความจริงอันโหดร้าย
3) ลำดับที่สาม
สิ่งที่ไม่ดี BAD กังวล เกี่ยวกับ การทำให้ตัวเองดูดี
สิ่งที่ดี GOOD กังวล เกี่ยวกับ การทำให้บรรลุเป้าหมาย
4) ลำดับที่สี่
สิ่งที่ไม่ดี BAD : เน้นผลกระทบลำดับแรกของการตัดสินใจ
สิ่งที่ดี GOOD : เน้นการตัดสินใจ ในผลกระทบอันดับแรก ที่สอง ที่สาม ตามสภาพความเป็นจริง
5) ลำดับที่ห้า
สิ่งที่ไม่ดี BAD : กล่าวโทษคนอื่น ในงานที่ไม่บรรลุ
สิ่งที่ดี GOOD : เน้นความรับผิดชอบด้วยตนเอง
3. ตัวคุณทั้งสองคน และ เครื่องจักรของคุณ
Goals ( เป้าหมาย) > Machine ( เครื่องจักร) > Out-comes ( ผลลัพธ์ )
Design (ออกแบบ ) + People ( บุคคล ) วงจรนี้หมายความว่า : เป้าหมายของคุณจะเป็นตัวกำหนด “เครื่องจักร” ที่คุณสร้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เครื่องจักรจะสร้างผลลัพธ์ที่ควรเปรียบเทียบกับเป้าหมาย เพื่อตัดสินวิธีการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักร : ประกอบด้วยการออกแบบและบุคคลที่คัดเลือกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4. 5 ขั้นตอน ( กระบวนการ ) สำคัญในการได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการในชีวิต
1) มีเป้าหมายที่ชัดเจน
2) ระบุปัญหาและไม่ปล่อยให้ปัญหานั้น เป็นอุปสรรคขัดขวางในการบรรลุเป้าหมาย
3) ทำการวินิจฉัยปัญหาอย่างถูกต้องแม่นยำ
4) ออกแบบแผนอย่างชัดเจน และจัดวางหน้าที่(งาน) ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา และนำพาไปสู่เป้าหมาย
5) ดำเนินการตามแผน
จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จ
• บทที่ 3 หลักการบริหารของเรย์
บทที่ 1 สิ่งสำคัญของหลักการ
ทำไม จึงเชื่อว่า การมีหลักการนั้นสำคัญ และแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกได้ว่า หลักการแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด บทที่ 2 หลักการในการลงทุนทั้งชีวิตของเรย์ พื้นฐานทั้งหมดของหลักการของเรย์ บทที่ 3 อธิบาย ถึงหลักการบริหารของเรย์ มีการบริหารหรือนำไปใช้ ซึ่งมาจากหลักการเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน 3 ส่วน
1) เรื่องของตนเอง ซึ่งต้องเริ่มต้นจาก การแสวงหา “ หลักการ “ ของตัวเองก่อน
2) เป็นเรื่องของบริษัท คนกลุ่มต่างๆ และ
3) เป็นเรื่องของสังคมหรือประเทศหนึ่งๆ ที่มีส่วนกำหนดเกี่ยวข้องกับ สองส่วนแรก ที่อยู่ในสังคม
หลักการต้องได้มาจากความเป็นจริง และนำไปใช้ได้ผลจริง โดยเป้าหมายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงเมื่อเรามีหลักการของตนแล้ว การนำไปใช้กับคนอื่น ต้องมีคุณค่าและหลักการเดียวกันหรือร่วมกัน และ สอดคล้องกับหลักการของสังคมและประเทสที่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งหมด จึงจักได้ผลสำเร็จ ที่สำคัญ คือ ต้องยึดจับแน่นเป้าหมาย อย่าให้ความปรารถนาอารมณ์หรืออุปสรรคมาเปลี่ยนแปลงเป้าหมายไป นี่เป็นเรื่องสำคัญ ที่มักเกิดขึ้นในชีวิต อันเกิดจาก ตัวเอง ที่ขาดหลักการที่ดี และ จากกระแสสังคมพัดพาไป ในปัจจุบันของสังคมไทย ที่คนขาดคุณภาพ ขาดความเป็นอิสระ ที่จะคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐาน ของการมีความรู้ สติปัญญา ที่จะแสวงหาความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากยังไม่เข้าใจ ก็ต้องไม่ตัดสินใจเราต้องมีการสรุปประเมินและพัฒนาตลอด: หลักการและคุณค่าวัฒนธรรมของเรา -องค์กรและสังคมประเทศ
โดย ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
สยามรัฐออนไลน์ 4 เมษายน 2561
โดยการสรุปส่วนที่สำคัญและเป็นหัวใจ ดังนี้
บทที่ 1 สิ่งสำคัญของหลักการ ทำไม จึงเชื่อว่า การมีหลักการนั้นสำคัญ และแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกได้ว่า หลักการแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด
1.อะไรคือหลักการ? คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะเชื่อมกับการกระทำของเรา ชี้นำในสิ่งที่เรากำลังจะทำ และช่วยให้ประสบความสำเร็จได้
2.ทำไมมันถึงสำคัญ? หลักการช่วยให้เราทำถูกทาง ไม่ออกนอกทาง และนำเราไปสู่ความสำเร็จ
3.แล้วหลักการนี้มาจากไหน? หลักการของเรา : มาจากค่านิยมถึงสิ่งที่เราเชื่อมั่นอย่างแท้จริง
4.วิถีชีวิตของเราสามารถไปด้วยกันกับหลักการนั้นได้หรือไม่? แล้วมันคืออะไร? หลักการเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมของเรา และความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่เราใช้ชีวิตประจำ
5.แค่ไหนที่เราคิดว่ามันใช้งานได้แล้ว? และทำไม? หลักการต่างๆ ล้วนมาจากจุดมุ่งหมายและประสบการณืที่แตกต่างกันของแต่ละละบุคคลเราต้องยึดหลักการของเราเป็นหลัก แต่อาจจะปรับให้สอดคล้องกับคนอื่นโดยไม่ผิดหลักการ และได้ผลลัพท์ที่ดี เราต้องตอบคำถามเหล่านี้ด้วยความซื่อตรง โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะคิดอย่างไร ความซื่อตรงนั้นจะช่วยให้เราไม่รู้สึกอืดอัดไปกับหลักการณ์ของเรา
บทที่ 2 หลักการในการลงทุนทั้งชีวิตของเรย์
พื้นฐานทั้งหมดของหลักการของเรย์ ดังนั้นสรุปได้ว่า
1.)เราต้องทำงานที่เราอยากทำ สิ่งที่ชอบ ไม่ได้ทำเพราะคนอื่นอยากให้เราทำ
2.)เข้าถึงความคิดเห็นที่ไม่ฝักใฝ่ทางไหน มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ
3.ทดสอบความคิดเห็นของเรากับคนที่ฉลาดเท่าที่เราจะสามารถหาได้ ทำให้เรามีหลักการเหตุผลเพิ่มขึ้น
4.ระมัดระวังความมั่นใจสุดโต้งเกินไป และคิดเผื่อไว้ถึงสิ่งที่เราไม่รู้ด้วย
5.ต่อสู้ด้วยความเป็นจริง ตอบสนองกับผลลัพธ์ของการตัดสินใจ และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงพัฒนาการต่อไป
“ผมต้องการให้คุณทำเพื่อตัวคุณเอง มีความคิดเห็นที่เป็นอิสระ แล้วทดสอบมัน ระมัดระวังความเห็นที่สุดโต่ง ตอบสนองกับผลลัพธ์ที่ได้จากสิ่งที่คุณตัดสนใจลงไป และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ”
1. เขาเรียนรู้ว่า : ความล้มเหลว มาจากความไม่ยอมรับความจริง และความสำเร็จมาจากการยอมรับความจริง
ค้นหาว่า อะไร คือ ความจริง ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวจากการแสวงหาความจริง การเป็นคนซื่อตรง เป็นการเปิดกว้าง ให้เข้าสู่ความคิดอิสระ การเผชิญหน้ากับผู้คนที่จะบอกว่าเขาเชื่ออย่างไร ฟังความเห็นของเขา เพื่อหาคำตอบว่า ความจริงคืออะไรทุกคนมีข้อผิดพลาดและจุดอ่อน และนี่คือ สิ่งที่จะบอกถึงความแตกต่างของผู้คน ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่สวยงาม เมื่อแก้ข้อผิดพลาดได้ ทำให้เขาเข้มแข็งขึ้น และนำไปสู่ความสำเร็จ เขามองตรงกันข้ามกับคนส่วนใหญ่ คือ
1) คนส่วนใหญ่คิดว่า ควรจะเรียนรู้อะไร จึงจะประสบความสำเร็จ การหาตัวเองว่า เราต้องการอะไร และจะได้มาอย่างไร
2) การมีคำตอบ ดีกว่าคำถาม การมีคำถาม ดีกว่ามีคำตอบ เพราะ เป็นหัวใจหลักของการเรียนรู้ และการได้มาซึ่งการแก้ปัญหา
3) ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่แย่ เป็นสิ่งที่ดี เพราะ การเรียนรู้ มาจากความผิดพลาด
4) การหาจุดอ่อนเป็นสิ่งไม่ดี เป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นขั้นตอนแรกที่จะค้นหาว่า มันคืออะไร และทำอย่างไร จะไม่เกิดกับเราอีก
5) ความเจ็บปวด นั้นแย่ ดี เพราะเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่เราจะแข็งแกร่ง ( เหมือนการเล่นกล้าม )
6) ความแก่ชรา ไม่ดี ดี ทำให้เรา เห็นจุดอ่อน ข้อผิดพลาด ข้อดีจุดแข็ง ที่เราจะนำมาใช้กับตนเองและลูกหลาน
2. รากฐานของหลักการพื้นฐานของเรย์ ความเป็นจริง ความเที่ยงตรงและถูกต้อง ในการเข้าใจความเป็นจริง เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน สำหรับการผลิตผลลัพธ์ที่ดี ความเป็นจริง + ความฝัน + ความตั้งใจจริง = ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ การตัดสินใจที่สำคัญของเรา โดย 5 หัวข้อใหญ่ สำหรับตัวเลือกที่จะกำหนดอนาคตของเรา
1) ลำดับที่ 1
สิ่งที่ไม่ดี BAD : ให้ความเจ็บปวด ทำให้ยืนอยู่บนเส้นทางของความก้าวหน้าได้
สิ่งที่ดี GOOD : เข้าใจถึงการจัดการความเจ็บปวด ที่จะไปสู่ความก้าวหน้าได้อย่างไร
ความเจ็บปวด + การตอบสนอง = กระบวนการพัฒนา
2) ลำดับที่สอง
สิ่งที่ไม่ดี BAD หลีกเลี่ยงการพบกับ ความจริงอันโหดร้าย
สิ่งที่ดี GOOD เผชิญหน้าในการพบกับความจริงอันโหดร้าย
3) ลำดับที่สาม
สิ่งที่ไม่ดี BAD กังวล เกี่ยวกับ การทำให้ตัวเองดูดี
สิ่งที่ดี GOOD กังวล เกี่ยวกับ การทำให้บรรลุเป้าหมาย
4) ลำดับที่สี่
สิ่งที่ไม่ดี BAD : เน้นผลกระทบลำดับแรกของการตัดสินใจ
สิ่งที่ดี GOOD : เน้นการตัดสินใจ ในผลกระทบอันดับแรก ที่สอง ที่สาม ตามสภาพความเป็นจริง
5) ลำดับที่ห้า
สิ่งที่ไม่ดี BAD : กล่าวโทษคนอื่น ในงานที่ไม่บรรลุ
สิ่งที่ดี GOOD : เน้นความรับผิดชอบด้วยตนเอง
3. ตัวคุณทั้งสองคน และ เครื่องจักรของคุณ
Goals ( เป้าหมาย) > Machine ( เครื่องจักร) > Out-comes ( ผลลัพธ์ )
Design (ออกแบบ ) + People ( บุคคล ) วงจรนี้หมายความว่า : เป้าหมายของคุณจะเป็นตัวกำหนด “เครื่องจักร” ที่คุณสร้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เครื่องจักรจะสร้างผลลัพธ์ที่ควรเปรียบเทียบกับเป้าหมาย เพื่อตัดสินวิธีการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักร : ประกอบด้วยการออกแบบและบุคคลที่คัดเลือกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
4. 5 ขั้นตอน ( กระบวนการ ) สำคัญในการได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการในชีวิต
1) มีเป้าหมายที่ชัดเจน
2) ระบุปัญหาและไม่ปล่อยให้ปัญหานั้น เป็นอุปสรรคขัดขวางในการบรรลุเป้าหมาย
3) ทำการวินิจฉัยปัญหาอย่างถูกต้องแม่นยำ
4) ออกแบบแผนอย่างชัดเจน และจัดวางหน้าที่(งาน) ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา และนำพาไปสู่เป้าหมาย
5) ดำเนินการตามแผน
จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จ
• บทที่ 3 หลักการบริหารของเรย์
บทที่ 1 สิ่งสำคัญของหลักการ
ทำไม จึงเชื่อว่า การมีหลักการนั้นสำคัญ และแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกได้ว่า หลักการแบบไหน ที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด บทที่ 2 หลักการในการลงทุนทั้งชีวิตของเรย์ พื้นฐานทั้งหมดของหลักการของเรย์ บทที่ 3 อธิบาย ถึงหลักการบริหารของเรย์ มีการบริหารหรือนำไปใช้ ซึ่งมาจากหลักการเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน 3 ส่วน
1) เรื่องของตนเอง ซึ่งต้องเริ่มต้นจาก การแสวงหา “ หลักการ “ ของตัวเองก่อน
2) เป็นเรื่องของบริษัท คนกลุ่มต่างๆ และ
3) เป็นเรื่องของสังคมหรือประเทศหนึ่งๆ ที่มีส่วนกำหนดเกี่ยวข้องกับ สองส่วนแรก ที่อยู่ในสังคม
หลักการต้องได้มาจากความเป็นจริง และนำไปใช้ได้ผลจริง โดยเป้าหมายต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงเมื่อเรามีหลักการของตนแล้ว การนำไปใช้กับคนอื่น ต้องมีคุณค่าและหลักการเดียวกันหรือร่วมกัน และ สอดคล้องกับหลักการของสังคมและประเทสที่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งหมด จึงจักได้ผลสำเร็จ ที่สำคัญ คือ ต้องยึดจับแน่นเป้าหมาย อย่าให้ความปรารถนาอารมณ์หรืออุปสรรคมาเปลี่ยนแปลงเป้าหมายไป นี่เป็นเรื่องสำคัญ ที่มักเกิดขึ้นในชีวิต อันเกิดจาก ตัวเอง ที่ขาดหลักการที่ดี และ จากกระแสสังคมพัดพาไป ในปัจจุบันของสังคมไทย ที่คนขาดคุณภาพ ขาดความเป็นอิสระ ที่จะคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐาน ของการมีความรู้ สติปัญญา ที่จะแสวงหาความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากยังไม่เข้าใจ ก็ต้องไม่ตัดสินใจเราต้องมีการสรุปประเมินและพัฒนาตลอด: หลักการและคุณค่าวัฒนธรรมของเรา -องค์กรและสังคมประเทศ
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
Ray Dalio มองเศรษฐกิจโลก
23 July 2019
Ray Dalio มองเศรษฐกิจโลกจะแย่หลังจากนี้ และ Fed เหลือนโยบายทางการเงินอีกไม่มาก
Ray Dalio เจ้าของ Hedge Fund ใหญ่ที่สุดในโลกได้ให้มุมมองสำคัญในด้านเศรษฐกิจ การลงทุน รวมไปถึงวิธีการสังเกตุว่าเศรษฐกิจโลกในขนาดนี้แย่หรือไม่
Ray Dalio เจ้าของ Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Bridgewater Associates ได้ให้สัมภาษณ์ลงในบทวิเคราะห์ของทาง Goldman Sachs ในเดือนกรกฏาคม ถึงมุมมองการลงทุน เรื่องของนโยบายธนาคารกลาง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ หลายๆ ประเด็นเป็นเรื่องที่น่าจับตามองในขณะนี้อย่างมาก รวมไปถึงการอยู่ให้เป็นในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้
Brand Inside รวบรวมประเด็นสำคัญจากบทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs มาฝาก
นโยบายธนาคารกลางแต่ละที่เหลือไม่มาก
Ray เองมองว่าราคาหุ้นนั้นขึ้นมาเป็นอย่างมาก รวมไปถึงตราสารหนี้ด้วย สาเหตุเนื่องจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ได้ทำนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน โดยเราจะเห็นว่าปัจจุบันสภาพคล่องที่อัดเข้ามาจากธนาคารกลางทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวในโลกการเงินมีมากถึง 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากในช่วงวิกฤติการเงินเป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี Ray มองว่าในระยะสั้นๆ ผลตอบแทนสินทรัพย์เหล่านี้จะดี แต่ในระยะยาวแล้วจะลดลง เนื่องจากธนาคารกลางแต่ละที่จะเริ่มไม่เหลือนโยบายทางการเงิน เพราะว่าปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากๆ และถ้าหากนักลงทุนยังคาดหวังว่าธนาคารกลางยังคงนโยบายกดดอกเบี้ยต่ำและซื้อสินทรัพย์แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อแก้ปัญหา และถ้าแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจไม่ได้ มุมมองของตลาดจะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน และ Ray มองว่าเวลาใกล้จะหมดไปทุกทีแล้ว
นอกจากนี้ Ray ยังมองว่าแต่เดิมอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำสูงถึง 5% ทำให้ Fed มีช่องว่างลดดอกเบี้ยลงมาได้มาก แต่ทุกวันนี้ถ้าหากเศรษฐกิจตกต่ำ Fed เหลืออัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 2% เท่านั้น และถ้ามองปัจจุบันนโยบายธนาคารกลางเริ่มอันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ
Fed มองระยะสั้นไป ทำให้ตลาดพังในปีที่แล้ว
Ray ยังมองว่าการที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีที่ผ่านมาถือว่าได้ทำถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ดีเขาได้กล่าวว่าแต่ Fed ก็รู้ตัวว่าที่สุดแล้วได้ทำผิดพลาดเนื่องจากมองความเสี่ยงของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงเงินเฟ้อผิดพลาดไป รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอื่นๆ
เขายังมองว่า Fed กังวลเรื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากปี 2017 ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษี หรือแม้แต่ตัวเลขการว่างงานที่ลดลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เลยทำให้ Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ยในปีที่ผ่านมา แต่สิ่งหนึ่งที่ Fed ลืมไปคือเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงจากเรื่องของเทคโนโลยี รวมไปถึงการที่ Fed มองการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ มากไป ส่งผลให้ในปี 2018 ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ตกลงอย่างถ้วนหน้า
เศรษฐกิจโลกแย่หลังจากนี้ 4 เรื่องใหญ่ๆ
นอกจากนี้ตัวเขาเองยังมองว่าเศรษฐกิจโลกหลังจากนี้จะแย่ลง โดยมองจาก 4 เรื่องสำคัญได้แก่
- วัฏจักรของธุรกิจและการใช้จ่ายของประชาชน เขามองว่าวัฏจักรธุรกิจ (รวมไปถึง Debt Cycle ด้วย) รวมไปถึงเรื่องของวัฏจักรการใช้จ่ายเองไม่สัมพันธ์กัน โดยดูได้จากงบดุลของบริษัทต่างๆ ซึ่งเราจะเห็นในอนาคตการเจริญเติบโตจะลดลง
- วัฏจักรหนี้ระยะยาว (เช่น ตราสารหนี้ 10 ปี) อย่างที่เขาเองได้บอกไปตอนต้นว่าธนาคารกลางเริ่มที่จะหมดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
- การเมืองสหรัฐ โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้กันทางความคิดระหว่าง ทุนนิยม กับ สังคมนิยม เนื่องจากช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นรายได้ โอกาสต่างๆ รวมไปถึงทรัพย์สิน ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนนโยบายต่างๆ ก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างรวมไปถึงตลาดหุ้น เช่น การลดภาษีนิติบุคคล แต่ไปเพิ่มภาษีอย่างอื่น ฯลฯ และเขามองว่าการปะทะกันทางความคิดหลังจากนี้จะย่ำแย่หนักกว่าเดิม
- เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งในช่วงหลังประเทศจีนเริ่มท้าทายผู้นำอย่างสหรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ
ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกที่เขามองว่ามีผลกระทบ เช่น การขึ้นมามีอำนาจมากขึ้นของเยอรมันและญี่ปุ่น แทนที่สหรัฐกับญี่ปุ่น การใช้นโยบายประชานิยม แรงกดดันเหล่านี้กดดันให้ธนาคารกลางแต่ละแห่งเหลือนโยบายทางการเงินไม่มาก และเรื่องดังกล่าวต่อไปนี้จะกดดันตลาดหุ้นในช่วงหลังจากนี้เป็นต้นไป
เราจะเห็นอะไรหลังจากนี้
Ray มองว่าด้วยปัจจัยหลังจากนี้ที่ได้กล่าวไป รวมไปถึงบริษัทต่างๆ ในตลาดหุ้นจะเริ่มมีการควบรวมกิจการกัน หรือแม้แต่การซื้อหุ้นกลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนโยบายของธนาคารกลางแต่ละแห่ง นอกจากนี้เขายังได้ฉายภาพถึงการเติบโตของบริษัทเอกชนในช่วงที่ผ่านมาถึงอัตรกำไรสุทธิรวมไปถึงรายได้ต่างๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุนทำให้เกิดช่องว่างทางรายได้ที่ได้กล่าวไปข้างต้น
นอกจากนี้ยังมีปัญหาหนี้ของประกันสังคมรวมไปถึงหนี้ของการรักษาสุขภาพของประชาชนที่มากขึ้น สอดคล้องกับภาษีที่ประชาชนต้องจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น หรือนโยบายทางการคลังที่ทำให้งบประมาณขาดดุล ซึ่งหลังจากนี้เขามองว่าเศรษฐกิจกำลังจะเกิดความเสี่ยงครั้งใหญ่ แต่เขาไม่สามารถบอกได้ว่าเศรษฐกิจกำลังจะถดถอยได้ภายในกี่ปี
แต่เขามองว่าถ้าหากเรื่องราวต่างๆ ยังเป็นไปแบบนี้เขามองว่าเศรษฐกิจโลกจะเหมือนกับช่วงหลังปี 1930 ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำนานที่สุด
นอกจากนี้เขายังได้แนะนำให้นักลงทุนเริ่มทยอยลดความเสี่ยงลงมาบ้าง และการลงทุนในทองคำยังคงน่าสนใจ ขณะที่หุ้นจีนก็ควรมีลงทุนไว้บ้าง โดยเขายังเน้นเรื่องการกระจายความเสี่ยงและไม่กระจุกสินทรัพย์เสี่ยงไว้ในที่เดียว
Source: https://www.stock2morrow.com/
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ประชาธิปไตย - เสรีนิยม กำลังพ้นสมัย
โดย: ทับทิม พญาไท
เผยแพร่: 4 ก.ค. 2562 15:38
Manager Online
ด้วยเหตุเพราะข่าวคราวความเคลื่อนไหวของโลก ของประเทศต่างๆ ช่วงวัน-สองวันมานี้...มันยังหนักไปทาง “ยักตื้นติดกึก-ยักลึกติดกัก” ไปตามธรรมชาติของมันอีกสักพัก ปิดท้ายสัปดาห์นี้...เลยขออนุญาตไปว่ากันถึงข่าวคราวที่ออกไปทาง “แนวคิด” ทางความเห็น ทางทัศนคติ อะไรทำนองนั้น ที่อาจน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าการไล่ฟัด ไล่บี้ ไล่ถีบ ไล่กระทืบ ระหว่างประเทศโน้น ประเทศนี้ เอาเลยก็ไม่แน่ แถมยังอาจนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เป็นคติ เป็นสติ ให้กับใครต่อใครในบ้านเราได้ไม่น้อย โดยเฉพาะบรรดาประเภท “นักประชาธิปไตย” ทั้งหลาย ที่กำลังกระเหี้ยนกระหือรืออยากเล่นงาน “เผด็จการ” ผู้สืบทอดอำนาจกันชนิดวันละ 3 เวลาหลังอาหาร...
คือข่าวคราวที่ว่านี้...น่าจะมีอยู่ประมาณ 2 เรื่อง 2 กรณีด้วยกัน เรื่องแรกคือ กรณีที่ผู้นำรัสเซีย ประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” ท่านได้เปิดปาก เปิดใจ ให้สัมภาษณ์ 2 นักข่าวแห่งหนังสือพิมพ์ “ไฟแนลเชียล ไทมส์” คือ “นายเฮนรี ฟอย” (Henry Foy) และ “ลีโอเนล บาร์เบอร์” (Lionel Barber) เมื่อช่วงวันพุธที่ 26 มิถุนายนเดือนที่แล้ว แบบชนิดยาวเหยียดอีเหลนเป๋น มีทั้งเรื่องปัญหาในตะวันออกกลาง ในละตินอเมริกา ความขัดแย้งทางการเมืองในซีเรีย ในเวเนซุเอลา ฯลฯ ฟังกันชนิดอิ่มไปข้าง แต่ที่น่าคิด น่าสะกิดใจเอามากๆ ก็คือการที่ท่านได้ “ฟันธง” ลงไปแบบชนิดเต็มผืน เต็มด้าม ว่า “แนวคิดแบบเสรีนิยม” อันเป็นพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตยไม่ว่าในอเมริกา หรือในยุโรปก็แล้วแต่ ได้พ้นสมัย หรือหมดสมัยลงไปเรียบโร้ยย์ย์ย์แล้ว!!!
ส่วนเรื่องที่ 2 อาจไม่ออกไปทางข่าวคราวโดยทั่วไปสักเท่าไหร่ เพราะเป็นการแสดงความคิด ความเห็น ผ่านข้อเขียน หรือบทความของนักคิด นักเขียน คอลัมนิสต์แห่งหนังสือพิมพ์ “เดอะ การ์เดียน” ผู้เคยมีฐานะเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานประเทศอเมริกา เป็นศาสตราจารย์ด้านนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และเคยเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Saving Capitalism : For the Many, Not the Few” ที่ขายดิบ ขายดี อยู่พอสมควร ชื่อว่า “นายโรเบิร์ต ไรช์” (Robert Reich) ที่ได้สรุปความคิด ความเห็นเอาไว้ในบทความว่าด้วยความพังพินาศของเศรษฐกิจอเมริกา อันมีเหตุปัจจัยเนื่องมาจาก “ตัวของตัวเอง” นั่นแหละ ไม่ใช่เป็นเพราะ “จีน” หรือเพราะประเทศคู่แข่ง คู่กัดไหนๆ ก็แล้วแต่ อันถือเป็นบทความที่น่าคิด น่าสะกิดใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเว็บไซต์ “ผู้จัดการ ออนไลน์” ของเราเอง ก็ได้นำมาถ่ายทอดเรียบเรียงให้อ่านกันได้สบายๆ เมื่อช่วงวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา และอาจถือเป็นบทความที่ “ต้องอ่าน” หรือ “อ่านแล้วบ้านท่านไฟไม่ไหม้” อะไรทำนองนั้น...
คือทั้งศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน และผู้นำชาวรัสเซียที่อยู่กันคนละโลก คนละซีก คนละประเทศ คนละระบบ แต่ดูจะมีความคิด ความเห็นตรงกันในเรื่องหนึ่ง ก็คือเรื่องที่ “ความเป็นประชาธิปไตย” อันมีพื้นฐานมาจากแนวคิดเสรีนิยมทั้งหลายนั้น เอาไป-เอามาแล้ว มันไม่ได้เป็นตัวตอบคำถาม หรือเป็นตัวแก้ปัญหา ไม่ว่าในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ให้กับแต่ละประเทศได้แบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ไม่สามารถนำไปอม-ดม-หยอด-สอด-เสียบ ได้ในทุกเรื่อง ทุกกรณี อย่างที่เคยคิดๆ กันมาก่อนหน้านั้น ชนิดสามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือ “ช่องว่างทางผลประโยชน์” ระหว่าง “ชนชั้นนำ” กับบรรดา “ประชาชน” คนส่วนใหญ่โดยทั่วไป หรืออย่างที่ “ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ไรช์” ท่านได้ให้ข้อสรุปเอาไว้นั่นแหละว่า ด้วยเหตุเพราะ “ระบบเศรษฐกิจ” ของประเทศประชาธิปไตยอย่างอเมริกานั้น มุ่งที่จะเน้นการเพิ่มผลตอบแทนให้กับบรรดาเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น ในบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำประมาณ 500 บริษัท เศรษฐกิจอเมริกาก็จึงบรรลุเป้าหมายไปตามแนวทางทุนนิยมดังที่ตัวเองต้องการ นั่นก็คือก่อให้เกิดผลกำไร ผลประโยชน์ตกอยู่บรรดาบริษัทเหล่านี้แบบชนิดอุ่นหนาฝาคั่ง อันสามารถดูได้จากผลประกอบการของบรรดาบริษัทใน “S&P 500” ที่อู้ฟู่ อูมฟูม มาโดยตลอด...
แต่ในขณะที่ “ระบบเศรษฐกิจ” ของประเทศเผด็จการอย่างจีนนั้น กลับมุ่งที่จะบรรลุเป้าหมายในทิศทางตรงกันข้าม คือมุ่งที่จะเพิ่มประโยชน์สูงสุดให้กับบรรดาประชาชนชาวจีนโดยทั่วไป จนสามารถบรรลุเป้าหมายภายในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา นั่นคือสามารถทำให้ชาวจีนไม่น้อยกว่า 100 ล้านคน หลุดพ้นไปจากความยากจนได้สำเร็จ ภายใต้ความพยายามบรรลุจุดมุ่งหมายในลักษณะที่แตกต่างกันไปเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้ผลพวงของ “ความเป็นประชาธิปไตย” และ “ความเป็นเผด็จการ” มันเลยย่อมแตกต่างกันไปด้วย ดังที่ศาสตราจารย์รายนี้ท่านอดไม่ได้ที่ต้องสรุปไว้ว่า... “อเมริกาเป็นประชาธิปไตย และจีนเผด็จการใช่ไหม...ใช่!!! แต่นับวันคนอเมริกันส่วนใหญ่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะน้อยเอามากๆ หรือแทบไม่มีเลย...”
และด้วยการหยิบยกตัวอย่าง มาเป็นเครื่องพิสูจน์ รองรับเหตุผลให้เห็นกันแบบจะจะแจ้งๆ ก็ออกจะเป็นอะไรที่แทบมิอาจปฏิเสธได้อย่างที่ท่านว่าเอาจริงๆ นั่นแหละ เช่นกรณีบริษัท “Walmart” ที่ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำของอเมริกา และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกันยุค “ทรัมป์บ้า” ลดภาษีนิติบุคคลให้ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ แต่ด้วยจุดมุ่งเพื่อที่จะทำผลประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัท ให้กับเจ้าของผู้ถือหุ้น ขณะบริษัทพยายามลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายของตัวเองด้วยการปิดสาขา ลอยแพพนักงานไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ แต่กลับยอมเจียดเงินจำนวนถึง 20,000 ล้านดอลลาร์มาซื้อคืนหุ้นตัวเอง เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง ฯลฯ ตลอดไปจนอีกหลายๆ ตัวอย่าง หลายๆ เหตุผล ที่ยากจะปฏิเสธ ใครสนใจรายละเอียด คงต้องไปหาอ่านกันเอาเองก็แล้วกัน...
แต่โดยสรุปรวมความแล้ว...ก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากผู้นำรัสเซีย อย่างประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” นั่นแหละ ที่สรุปเอาไว้ว่า “ปัญหาที่เด่นชัดของอเมริกา” (รวมทั้งอีกหลายประเทศในยุโรป) ก็คือ “ช่องว่างระหว่างผลประโยชน์ของชนชั้นนำกับผลประโยชน์ของบรรดาชาวอเมริกันส่วนใหญ่ทั้งหลาย” หรือ “การที่ผู้ปกครองอันประกอบด้วยบรรดาชนชั้นนำ ได้ถูกตัดขาดไปจากประชาชนส่วนใหญ่แบบแทบจะโดยสิ้นเชิง” ความเป็นเสรีนิยมอันเป็นถือเป็นรากฐานของประชาธิปไตยในอเมริกาหรือในยุโรปแต่ละประเทศ มันจึงได้เกิดอาการ “Liberal Idea has become obsolete” หรือเกิดอาการพ้นยุค พ้นสมัย ไปด้วยประการละฉะนี้...
พูดง่ายๆ ว่า...ไม่ว่าประชาธิปไตย เผด็จการ หรือระบอบระบบชนิดไหนๆ ก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญเอามากๆ หรือต้องเรียกว่าสำคัญที่สุดเอาเลยก็ว่าได้ มันก็น่าจะอยู่ที่ “จุดมุ่งหมาย” หรือความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของระบบและระบอบนั้นๆ นั่นแล ไม่ได้เกี่ยวกับว่าใครจะลิเบอร่าน ไม่ลิเบอร่าน ใครจะก้าวหน้า ใครจะอนุรักษ์ ใครอยากจะนับญาติ นับลุง-ป้า-น้า-อา หรือไม่คิดจะนับลุง-ป้า-น้า-อา ไปจนถึงใครยิ้ม-ใครไม่ยิ้ม เพราะมีอะไร หรือไม่มีอะไรอยู่ในสมอง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ...มันอยู่ที่คุณธรรม อยู่ที่ศีลธรรมของ “ผู้ปกครอง” นั่นเอง ว่าจะสูง จะต่ำกันไปในระดับไหน อันนี้นี่เอง...ที่อาจนำมาใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ นำมาเป็นคติ เป็นสติให้กับบรรดา “นักประชาธิปไตยวันละ 3 เวลาหลังอาหาร” ในบ้านเราได้มั่ง แต่แม้แต่เล็กๆ-น้อยๆ ก็ยังดี...
Source: https://mgronline.com/daily/detail/9620000063704
วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562
กฎ 10,000 ชั่วโมง
มัลลคอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm Gladwell) เป็นคนหนึ่งที่ได้ดีจากความช่างสงสัย เขาเป็นคอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร เดอะนิวยอร์กเกอร์ และมีงานเขียนห้าเล่ม คือ The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference (2000), Blink: The Power of Thinking without Thinking (2005), Outliers: The Story of Success (2008), What the Dog Saw: And Other Adventures (2009) หนังสือรวบรวมบทความ, และ David and Goliath: Underdogs, Misfits, and the Art of Battling Giants (2013) ซึ่งทั้งหมดล้วนขายดีติดอันดับ The New York Times Best Seller นอกจากนี้เขายังมีพอดแคสชื่อว่า Revisionist History อีกด้วย กฎ 10,000 ชั่วโมง
ในปี 2005 นิตยสารไทม์ยกย่องมัลคอล์มให้เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลร้อยคนแรกของโลก
มัลคอล์มเล่าว่า จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้มาจากความสงสัยของเขาเอง เขาอยากรู้ว่าทำไมคนบางคนถึงได้ประสบความสำเร็จเหนือกว่าคนทั่วไปหลายเท่า เขาจึงหาคำตอบด้วยการศึกษาชีวประวัติของเหล่าคนดังอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานครอบครัว สถานที่เกิด วันเกิด และเหตุการณ์พลิกผันต่างๆ
เมื่อศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ มัลคอล์มก็พบข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น นักกฎหมายที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลในนิวยอร์กมักจะมีภูมิหลังที่ใกล้เคียงกันอย่างเหลือเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น ทุกคนล้วนเกิดในช่วงกลางทศวรรษ 1930
มัลคอล์มเล่าว่า เหตุผลของความเหลือเชื่อเหล่านั้นก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เขาอธิบายว่า ทศวรรษ 1930 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตสูงมากเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีอัตราการเกิดต่ำ ทำให้มีจำนวนนักเรียนน้อย ครูจึงมีเวลาเหลือเฟือในการดูแลเด็กๆ และเมื่อถึงคราวที่เด็กๆ เหล่านั้นต้องก้าวเข้าสู่สังคมการทำงาน พวกเขาก็จะเจอคู่แข่งในวัยเดียวกันค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน บริษัทจึงทุ่มเทให้พนักงานแต่ละคนได้มากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้คนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1930 จึงได้เปรียบกว่าคนทั่วไป
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการมีภูมิหลังที่ได้เปรียบจะเป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จ เพราะมัลคอล์มพบว่า “ไอคิว” หรือความฉลาดทางปัญญานั้นแทบจะไม่มีผลต่อการประสบความสำเร็จเลย เห็นได้จากการที่ ไอน์สไตน์ มีไอคิวเพียง 150 เท่านั้น ซึ่งคนที่มีไอคิวระดับนี้มีอยู่มากมายดาษดื่น อันที่จริงแล้ว “อีคิว” หรือความฉลาดทางอารมณ์ต่างหากที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินโชคชะตาของคนแต่ละคน เพราะความสำเร็จมักจะต้องอาศัยความสามารถในการปรับตัวและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอย่างแรงกล้าจากคนรอบข้าง
อีกสิ่งหนึ่งที่มัลคอล์มค้นพบซึ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ แม้คุณจะเลือกปีเกิดหรือเพิ่มไอคิวให้ตัวเองไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจของความสำเร็จ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เท่าเทียมกันก็คือ การลงมือทำอย่างต่อเนื่องให้ได้นาน 10,000 ชั่วโมง
ผู้ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อยส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น ไทเกอร์ วู้ดส์, บิล เกตส์ หรือวงดนตรี เดอะบีเทิลส์ นั้น ล้วนแล้วแต่ผ่านการลงมือทำตามกฎนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ไทเกอร์ลงสนามซ้อมตีกอล์ฟกับบิดาวันละหลายชั่วโมงตั้งแต่สองขวบ บิลหมกมุ่นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อายุ 13 ส่วนหนุ่มๆ แห่งวงสี่เต่าทองก็ตะลุยแสดงคอนเสิร์ตในประเทศเยอรมนีมากกว่า 1,000 รอบ ก่อนจะกลับมาบันทึกแผ่นเสียงที่อังกฤษและโด่งดังไปทั่วโลก
นอกจากการทุ่มเทอย่างยาวนานแล้ว ผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่ามหัศจรรย์มักจะคิดเสมอว่า “วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวานและชั่วโมงนี้ต้องดีกว่าชั่วโมงที่ผ่านมา” ดังที่ เอ็ดสเกอร์ ไวบ์ ดิจก์สตรา (Edsger Wybe Dijkstra) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวเนเธอร์แลนด์เคยกล่าวไว้ว่า “พยายามตั้งมาตรฐานของตัวเองให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการผลาญเวลาไปกับการแก้ปัญหาเก่าๆ และตั้งใจทำงานให้มากที่สุดเท่าที่ขีดความสามารถของคุณจะอำนวย”
“จงทำตามนี้ เพราะนี่เป็นวิธีเดียวที่จะได้รู้ว่า คุณจะสามารถขยายขีดความสามารถของตัวเองออกไปได้มากแค่ไหน”
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร และไม่ว่าความฝันของคุณจะเป็นอะไร อย่าได้กล่าวคำว่า “ทำไม่ได้” หากยังไม่ได้ลงมือทำสิ่งนั้นครบ 10,000 ชั่วโมง
Source: Secret Magazine (Thailand)
ในปี 2005 นิตยสารไทม์ยกย่องมัลคอล์มให้เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลร้อยคนแรกของโลก
มัลคอล์มเล่าว่า จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้มาจากความสงสัยของเขาเอง เขาอยากรู้ว่าทำไมคนบางคนถึงได้ประสบความสำเร็จเหนือกว่าคนทั่วไปหลายเท่า เขาจึงหาคำตอบด้วยการศึกษาชีวประวัติของเหล่าคนดังอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานครอบครัว สถานที่เกิด วันเกิด และเหตุการณ์พลิกผันต่างๆ
เมื่อศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ มัลคอล์มก็พบข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น นักกฎหมายที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลในนิวยอร์กมักจะมีภูมิหลังที่ใกล้เคียงกันอย่างเหลือเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น ทุกคนล้วนเกิดในช่วงกลางทศวรรษ 1930
มัลคอล์มเล่าว่า เหตุผลของความเหลือเชื่อเหล่านั้นก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เขาอธิบายว่า ทศวรรษ 1930 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตสูงมากเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีอัตราการเกิดต่ำ ทำให้มีจำนวนนักเรียนน้อย ครูจึงมีเวลาเหลือเฟือในการดูแลเด็กๆ และเมื่อถึงคราวที่เด็กๆ เหล่านั้นต้องก้าวเข้าสู่สังคมการทำงาน พวกเขาก็จะเจอคู่แข่งในวัยเดียวกันค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน บริษัทจึงทุ่มเทให้พนักงานแต่ละคนได้มากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้คนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1930 จึงได้เปรียบกว่าคนทั่วไป
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการมีภูมิหลังที่ได้เปรียบจะเป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จ เพราะมัลคอล์มพบว่า “ไอคิว” หรือความฉลาดทางปัญญานั้นแทบจะไม่มีผลต่อการประสบความสำเร็จเลย เห็นได้จากการที่ ไอน์สไตน์ มีไอคิวเพียง 150 เท่านั้น ซึ่งคนที่มีไอคิวระดับนี้มีอยู่มากมายดาษดื่น อันที่จริงแล้ว “อีคิว” หรือความฉลาดทางอารมณ์ต่างหากที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินโชคชะตาของคนแต่ละคน เพราะความสำเร็จมักจะต้องอาศัยความสามารถในการปรับตัวและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอย่างแรงกล้าจากคนรอบข้าง
อีกสิ่งหนึ่งที่มัลคอล์มค้นพบซึ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ แม้คุณจะเลือกปีเกิดหรือเพิ่มไอคิวให้ตัวเองไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจของความสำเร็จ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เท่าเทียมกันก็คือ การลงมือทำอย่างต่อเนื่องให้ได้นาน 10,000 ชั่วโมง
ผู้ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อยส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็น ไทเกอร์ วู้ดส์, บิล เกตส์ หรือวงดนตรี เดอะบีเทิลส์ นั้น ล้วนแล้วแต่ผ่านการลงมือทำตามกฎนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ไทเกอร์ลงสนามซ้อมตีกอล์ฟกับบิดาวันละหลายชั่วโมงตั้งแต่สองขวบ บิลหมกมุ่นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อายุ 13 ส่วนหนุ่มๆ แห่งวงสี่เต่าทองก็ตะลุยแสดงคอนเสิร์ตในประเทศเยอรมนีมากกว่า 1,000 รอบ ก่อนจะกลับมาบันทึกแผ่นเสียงที่อังกฤษและโด่งดังไปทั่วโลก
นอกจากการทุ่มเทอย่างยาวนานแล้ว ผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่ามหัศจรรย์มักจะคิดเสมอว่า “วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวานและชั่วโมงนี้ต้องดีกว่าชั่วโมงที่ผ่านมา” ดังที่ เอ็ดสเกอร์ ไวบ์ ดิจก์สตรา (Edsger Wybe Dijkstra) นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวเนเธอร์แลนด์เคยกล่าวไว้ว่า “พยายามตั้งมาตรฐานของตัวเองให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการผลาญเวลาไปกับการแก้ปัญหาเก่าๆ และตั้งใจทำงานให้มากที่สุดเท่าที่ขีดความสามารถของคุณจะอำนวย”
“จงทำตามนี้ เพราะนี่เป็นวิธีเดียวที่จะได้รู้ว่า คุณจะสามารถขยายขีดความสามารถของตัวเองออกไปได้มากแค่ไหน”
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร และไม่ว่าความฝันของคุณจะเป็นอะไร อย่าได้กล่าวคำว่า “ทำไม่ได้” หากยังไม่ได้ลงมือทำสิ่งนั้นครบ 10,000 ชั่วโมง
Source: Secret Magazine (Thailand)
วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562
Exponential Transformation
Salim Ismail กูรูด้าน Exponential Transformation เผยเคล็ดลับในการปรับองค์กรเพื่อรองรับ Accelerating Technologies
วันที่ 11 มี.ค. คณะบัญชีๆ จุฬาฯ ร่วมกับ SET จัดงานสัมมนา "How to Transform Your Business to Become an Exponential Company in a Digital Era" มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
## Accelerating Technologies เป็นอย่างไร ##
Accelerating Technologies ทำให้ธุรกิจสามารถโตได้แบบก้าวกระโดด เช่น AI, robotics, biotech เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มขีดความสามารถได้แบบทวีคูณ เหมือนใน Moore’s law ที่บอกว่าจำนวน transistor ในแผงวงจรเพิ่มจำนวนขึ้นได้ทุกๆ 2 ปี การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ในช่วงเริ่มต้นอาจช้า แต่พอถึงจุดก็สามารถพุ่งทะยานแต่ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น drone ที่ในอดีตไม่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มาก แต่ปัจจุบันสามารถบรรทุกของหนัก 600 กิโลกรัมได้ไกลถึง 10 กิโลเมตร การลดลงของต้นทุนของการผลิตแสงสว่าง ต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรายได้จากการโฆษณาของสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จะเกิดอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนธุรกิจในอดีต
เทคโนโลยีเหล่านี้ก่อให้เกิด 4D ซึ่งประกอบด้วย Digitize, Disrupt, Demonetize และ Democratize
## 1. Digitize ##
เมื่อกิจกรรมต่างๆ เป็น digital มากขึ้นผ่าน Internet of Things (IOT) ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจจะมีอุปกรณ์ถึง 1 ล้านล้านตัวในปี 2030 ที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ ทำให้มีข้อมูลที่ทำประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น มีบริษัท startup ใน Israel สามารถใช้คลิปเสียงเพียง 10 วินาทีวิเคราะห์อารมณ์ของผู้พูดได้ด้วยความแม่นยำถึง 85%
## 2. Disrupt ##
เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน รูปแบบการทำธุรกิจก็เปลี่ยน
สมัยก่อนกล้องต้องใช้ฟิล์ม ทำให้เวลาถ่ายภาพต้องระมัดระวังเนื่องจากความจุมีจำกัด คอร์สสอนถ่ายรูปจึงมีความจำเป็น แต่พอมีกล้องดิจิตัล ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความจุอีกต่อไป ก็ไม่จำเป็นต้องมีคอร์สสอนแล้ว ปัญหาของคนกลายเป็นทำอย่างไรให้ค้นหาและจัดการรูปถ่ายจำนวนมากที่มีอยู่ในอุปกรณ์หลายรูปแบบ เป็นต้น
จาก scarcity กลายเป็น abundance ต้นทุน marginal cost กลายเป็น 0 ทำให้เนื้อของธุรกิจ (เช่นจำนวนรูปถ่าย ปริมาณพลังงาน) เพิ่มอย่างมหาศาล โจทย์ของธุรกิจก็เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงมาก ทำให้ปัญหาไม่ใช่เรื่องการผลิต แต่เป็นการเก็บ จุดพลิกเหล่านี้เรียกว่า Gutenberg moment (ตามชื่อผู้คิดค้นแท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลก) ซึ่งเกิดมากขึ้นและบ่อยขึ้นในโลกปัจจุบัน
## 3. Demonetize ##
เมื่อต้นทุนถูกลงเรื่อยๆ คู่แข่งที่มา Disrupt ก็มากขึ้นเรื่อยๆ รายได้ก็ลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น บริษัทรถยนต์ที่ผ่านมาไม่สนใจเรี่อง self-driving car เนื่องจากต้นทุนเทคโนโลยีสูง เป็นแสนเหรียญต่อคัน ทำให้สร้างแล้วขายไม่คุ้ม แต่เมื่อต้นทุนเทคโนโลยีลดลงแบบ exponential เหลือแค่หลักพัน ตอนนี้กลับต้องมาพัฒนาบ้างตามหลัง Google หรือ Uber ซึ่งได้ลงทุนวิจัยนำมานานแล้ว ตัวอย่างที่สอง ธุรกิจล้างรถใน Buenos Aires ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจดี คนมีรถมากขึ้น แต่รายได้กลับลดลง ต้นเหตุที่แท้จริงกลับเป็นเพราะเทคโนโลยีในการพยากรณ์อากาศดีขึ้น ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเกี่ยวกัน แต่เมื่อพยากรณ์ว่าฝนตกแล้วฝนมักจะตกจริงๆ คนจึงมาล้างรถน้อยลง
ตัวอย่างแรกแสดงให้เห็นถึงการคิดแบบ linear กับการคิดแบบ exponential หากเราไม่คิดแบบ exponential เราจะพลาดโอกาสในอนาคตได้ ส่วนตัวอย่างหลังแสดงให้เห็นว่า disruption มาได้จากทุกที่ ทำให้เราควรมีความหวาดระแวงไว้บ้าง ให้คิดไว้เลยว่าเราจะถูก disrupt ได้เสมอ
## 4. Democratize ##
เมื่อทุกอย่างต้นทุนลดลง ก็ทำให้เปิดกว้างมากขึ้น
เมื่อเรานำเทคโนโลยีไปให้กลุ่มชายขอบใช้ สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างทันที เช่น หลังเหตุการณ์สึนามิที่ Indonesia ชาวประมงมีรายได้มากขึ้นถึง 30% จากการใช้ SMS ส่งข่าวราคารับซื้อปลาที่ท่าเรือให้กัน ทำให้ชาวประมงตัดสินใจได้ดีขึ้น การเปิดกว้างนี้ทำให้ใครก็ได้ที่มีไอเดียสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้กับธุรกิจเดิมๆ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
Elon Musk ไม่ได้คิดค้นอะไรใหม่ แต่กลยุทธ์ของเขาคือหาเทคโนโลยีก้าวกระโดดเหล่านี้และสร้างบริษัทมาเพื่อจะได้ทันใช้ประโยชน์จากการเติบโตใน 10 ปีข้างหน้า
## คำแนะนำจาก Salim สำหรับการปรับตัว ##
องค์กรที่เรียกได้ว่าเป็น Exponential Organization ต่างมีจุดร่วมดังนี้
1. ใช้ MTP (massive transformative purpose) ซึ่งเหมือนเป็น mantra ประจำองค์กร เช่น Ideas worth spreading (TED), Organize the world’s information (Alphabet/Google), Open happiness (Coca-Cola) ในการสร้าง culture
2. ไม่จำเป็นต้องใหญ่โต แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าด้วยหลักการ SCALE (Staff on demand, Community & crowd, Algorithms, Leveraged assets, Engagement)
ซึ่งองค์กรที่ต้องการเตรียมพร้อม ควรจะ
1. ให้ผู้นำรับทราบถึงสภาวะปัจจุบันของโลก เช่น Accelerating Technologies และ Exponential Growth และเปลี่ยนแนวคิด
2. เริ่มนวัตกรรม disruptive จากชายขอบ (edges) ไม่ใช่จากศูนย์กลางขององค์กร (core) เพราะมิเช่นนั้นระบบภูมิคุ้มกัน (ต่อความเปลี่ยนแปลงขององค์กร) จะทำงาน ให้สร้างทีมพิเศษขึ้นมาที่ตามชายขอบโดยที่เก็บศูนย์กลางไว้ เมื่อเวลาผ่านไป ทีมพิเศษนี้อาจจะใหญ่กว่าตัวองค์กรดั้งเดิมเองก็ได้
วันที่ 11 มี.ค. คณะบัญชีๆ จุฬาฯ ร่วมกับ SET จัดงานสัมมนา "How to Transform Your Business to Become an Exponential Company in a Digital Era" มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
## Accelerating Technologies เป็นอย่างไร ##
Accelerating Technologies ทำให้ธุรกิจสามารถโตได้แบบก้าวกระโดด เช่น AI, robotics, biotech เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มขีดความสามารถได้แบบทวีคูณ เหมือนใน Moore’s law ที่บอกว่าจำนวน transistor ในแผงวงจรเพิ่มจำนวนขึ้นได้ทุกๆ 2 ปี การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ในช่วงเริ่มต้นอาจช้า แต่พอถึงจุดก็สามารถพุ่งทะยานแต่ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น drone ที่ในอดีตไม่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มาก แต่ปัจจุบันสามารถบรรทุกของหนัก 600 กิโลกรัมได้ไกลถึง 10 กิโลเมตร การลดลงของต้นทุนของการผลิตแสงสว่าง ต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรายได้จากการโฆษณาของสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จะเกิดอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนธุรกิจในอดีต
เทคโนโลยีเหล่านี้ก่อให้เกิด 4D ซึ่งประกอบด้วย Digitize, Disrupt, Demonetize และ Democratize
## 1. Digitize ##
เมื่อกิจกรรมต่างๆ เป็น digital มากขึ้นผ่าน Internet of Things (IOT) ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจจะมีอุปกรณ์ถึง 1 ล้านล้านตัวในปี 2030 ที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ ทำให้มีข้อมูลที่ทำประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น มีบริษัท startup ใน Israel สามารถใช้คลิปเสียงเพียง 10 วินาทีวิเคราะห์อารมณ์ของผู้พูดได้ด้วยความแม่นยำถึง 85%
## 2. Disrupt ##
เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน รูปแบบการทำธุรกิจก็เปลี่ยน
สมัยก่อนกล้องต้องใช้ฟิล์ม ทำให้เวลาถ่ายภาพต้องระมัดระวังเนื่องจากความจุมีจำกัด คอร์สสอนถ่ายรูปจึงมีความจำเป็น แต่พอมีกล้องดิจิตัล ไม่มีข้อจำกัดเรื่องความจุอีกต่อไป ก็ไม่จำเป็นต้องมีคอร์สสอนแล้ว ปัญหาของคนกลายเป็นทำอย่างไรให้ค้นหาและจัดการรูปถ่ายจำนวนมากที่มีอยู่ในอุปกรณ์หลายรูปแบบ เป็นต้น
จาก scarcity กลายเป็น abundance ต้นทุน marginal cost กลายเป็น 0 ทำให้เนื้อของธุรกิจ (เช่นจำนวนรูปถ่าย ปริมาณพลังงาน) เพิ่มอย่างมหาศาล โจทย์ของธุรกิจก็เปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น ตอนนี้ต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์ถูกลงมาก ทำให้ปัญหาไม่ใช่เรื่องการผลิต แต่เป็นการเก็บ จุดพลิกเหล่านี้เรียกว่า Gutenberg moment (ตามชื่อผู้คิดค้นแท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลก) ซึ่งเกิดมากขึ้นและบ่อยขึ้นในโลกปัจจุบัน
## 3. Demonetize ##
เมื่อต้นทุนถูกลงเรื่อยๆ คู่แข่งที่มา Disrupt ก็มากขึ้นเรื่อยๆ รายได้ก็ลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น บริษัทรถยนต์ที่ผ่านมาไม่สนใจเรี่อง self-driving car เนื่องจากต้นทุนเทคโนโลยีสูง เป็นแสนเหรียญต่อคัน ทำให้สร้างแล้วขายไม่คุ้ม แต่เมื่อต้นทุนเทคโนโลยีลดลงแบบ exponential เหลือแค่หลักพัน ตอนนี้กลับต้องมาพัฒนาบ้างตามหลัง Google หรือ Uber ซึ่งได้ลงทุนวิจัยนำมานานแล้ว ตัวอย่างที่สอง ธุรกิจล้างรถใน Buenos Aires ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจดี คนมีรถมากขึ้น แต่รายได้กลับลดลง ต้นเหตุที่แท้จริงกลับเป็นเพราะเทคโนโลยีในการพยากรณ์อากาศดีขึ้น ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเกี่ยวกัน แต่เมื่อพยากรณ์ว่าฝนตกแล้วฝนมักจะตกจริงๆ คนจึงมาล้างรถน้อยลง
ตัวอย่างแรกแสดงให้เห็นถึงการคิดแบบ linear กับการคิดแบบ exponential หากเราไม่คิดแบบ exponential เราจะพลาดโอกาสในอนาคตได้ ส่วนตัวอย่างหลังแสดงให้เห็นว่า disruption มาได้จากทุกที่ ทำให้เราควรมีความหวาดระแวงไว้บ้าง ให้คิดไว้เลยว่าเราจะถูก disrupt ได้เสมอ
## 4. Democratize ##
เมื่อทุกอย่างต้นทุนลดลง ก็ทำให้เปิดกว้างมากขึ้น
เมื่อเรานำเทคโนโลยีไปให้กลุ่มชายขอบใช้ สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างทันที เช่น หลังเหตุการณ์สึนามิที่ Indonesia ชาวประมงมีรายได้มากขึ้นถึง 30% จากการใช้ SMS ส่งข่าวราคารับซื้อปลาที่ท่าเรือให้กัน ทำให้ชาวประมงตัดสินใจได้ดีขึ้น การเปิดกว้างนี้ทำให้ใครก็ได้ที่มีไอเดียสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้กับธุรกิจเดิมๆ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
Elon Musk ไม่ได้คิดค้นอะไรใหม่ แต่กลยุทธ์ของเขาคือหาเทคโนโลยีก้าวกระโดดเหล่านี้และสร้างบริษัทมาเพื่อจะได้ทันใช้ประโยชน์จากการเติบโตใน 10 ปีข้างหน้า
## คำแนะนำจาก Salim สำหรับการปรับตัว ##
องค์กรที่เรียกได้ว่าเป็น Exponential Organization ต่างมีจุดร่วมดังนี้
1. ใช้ MTP (massive transformative purpose) ซึ่งเหมือนเป็น mantra ประจำองค์กร เช่น Ideas worth spreading (TED), Organize the world’s information (Alphabet/Google), Open happiness (Coca-Cola) ในการสร้าง culture
2. ไม่จำเป็นต้องใหญ่โต แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าด้วยหลักการ SCALE (Staff on demand, Community & crowd, Algorithms, Leveraged assets, Engagement)
ซึ่งองค์กรที่ต้องการเตรียมพร้อม ควรจะ
1. ให้ผู้นำรับทราบถึงสภาวะปัจจุบันของโลก เช่น Accelerating Technologies และ Exponential Growth และเปลี่ยนแนวคิด
2. เริ่มนวัตกรรม disruptive จากชายขอบ (edges) ไม่ใช่จากศูนย์กลางขององค์กร (core) เพราะมิเช่นนั้นระบบภูมิคุ้มกัน (ต่อความเปลี่ยนแปลงขององค์กร) จะทำงาน ให้สร้างทีมพิเศษขึ้นมาที่ตามชายขอบโดยที่เก็บศูนย์กลางไว้ เมื่อเวลาผ่านไป ทีมพิเศษนี้อาจจะใหญ่กว่าตัวองค์กรดั้งเดิมเองก็ได้
วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562
ทักษะ ในยุค AI
9 March 2019
By Thanisara GG Ruangdej
‘แค่อยู่กับที่ก็ถอยหลังแล้ว’ ไม่ใช่คำพูดเกินจริงสำหรับยุคสมัยนี้ ที่เทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ตื่นเช้า หยิบมือถือมาดู อ้าว.. เฟซบุ๊กเปลี่ยนหน้าตาอีกแล้ว, เปิดอ่านข่าว อ้าว.. AI ทำนู่นนี่นั่นได้แล้ว, ไหนจะวิธีคิดหรือสกิลใหม่ๆ ที่งอกเงยตามมา เพื่อแนะนำ (แกมบังคับ) ให้ผู้ใช้อย่างเราต้องเรียนรู้และตามให้ทันเทคโนโลยีเหล่านั้นด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาในโลกที่เทคโนโลยีอัพเดทอยู่แทบทุกนาที คือทักษะและความรู้ของคนทำงานที่อัพตามไม่ทัน จนเกิด ‘Skill Gap’ หรือการที่คนทำงานมีทักษะที่ไม่สอดคล้องกับที่องค์กรต้องการ เพราะกว่าจะเรียนจบ สิ่งที่เรียนมา ก็ล้าสมัยไปหมดแล้ว
สิ่งที่สถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ พยายามทำเพื่อแก้ปัญหาอยู่ก็คือการหาวิธี Upskill และ Reskill เพื่อ ‘อัพเกรด’ ทั้งคนที่กำลังจะทำงาน คนที่เพิ่งทำงานใหม่ๆ และคนที่ทำงานอยู่เดิม มีทักษะที่ทันยุคสมัยและใช้ได้จริงในงานที่ตัวเองทำ
อะไรที่ต้องเรียนรู้ในยุคนี้?
Tim Ferriss นักคิด นักเขียน และนักลงทุนระดับโลกเคยบอกว่า เป้าหมายการเรียนรู้ของเขาคือ “การเรียนอะไรก็ได้ ที่เรียนแค่ครั้งเดียว แล้วใช้ได้ตลอดชีวิต” (My goal is to learn things once and use them forever.) ซึ่งในบริบทของโลกที่มีการ ‘อัพเดท’ ตลอดเวลา และสามารถ ‘เสิร์ช’ หาสิ่งต่างๆ ได้ภายในไม่กี่วินาทีจากบนหน้าจอ การเรียนรู้ในยุคสมัยนี้จึงควรมุ่งไปที่ ‘ทักษะ’ (Skill) มากกว่า ‘องค์ความรู้’ (Knowledge
เมื่อต้นปี 2019 ‘LinkedIn’ แพลตฟอร์มที่รวมตำแหน่งงานและประวัติคนทำงานไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้ทำการวิเคราะห์งานนับล้านตำแหน่งที่โพสต์ลงบนแพลตฟอร์มเมื่อปี 2018 เพื่อค้นหา ‘ทักษะที่องค์กรต้องการมากที่สุด’
นี่น่าจะเป็นลิสต์ของทักษะที่เราควรเลือกจะเรียนรู้เพื่ออัพเกรดตัวเองให้ทันโลกและตลาดแรงงาน
ด้าน ‘Soft Skill’ หรือทักษะด้านอารมณ์และการอยู่ร่วมกับคนอื่นที่องค์กรต้องการมากที่สุดคือ
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ความสามารถในการโน้มน้าวชักจูง (Persuasion)
การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
การจัดการเวลา (Time Management)
Soft Skill นี้เป็นอะไรที่เรียนรู้ครั้งเดียวแล้วใช้ได้ยาวๆ แถมเหมาะมากๆ สำหรับยุคที่หุ่นยนต์และ AI จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของมนุษย์ เพราะเป็นทักษะที่ยังไงๆ AI ก็ทำได้ไม่ดีเท่ากับมนุษย์
ส่วน ‘Hard Skill’ หรือทักษะเชิงความรู้ความเชี่ยวชาญที่องค์กรต้องการ 10 อันดับแรกคือ
ทักษะด้าน Cloud Computing
ทักษะด้านการใช้งานปัญญาประดิษฐ์
ทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงเหตุผลและการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ (Analytical Reasoning)
ทักษะด้านการจัดการทีม (People Management)
ทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX Design)
ทักษะด้านการออกแบบแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
ทักษะด้านการผลิตวิดีโอ (Video Production)
ทักษะด้านการขาย (Sales Leadership)
ทักษะด้านการแปลภาษา (Translation)
ทักษะด้านการผลิตสื่อด้านเสียง (Audio Production)
Hard Skill ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการใช้งานบนโลกดิจิทัล รวมถึงเป็นทักษะที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี (Technology) การจัดการข้อมูล (Data) การออกแบบ (Design) และธุรกิจ (Business) มาประกอบเข้าด้วยกัน
แล้วที่เรียนมา.. ไม่เห็นใช้ได้เลย
หลายคนเห็นลิสต์แล้วอาจจะรู้สึกว่า เราอยู่คนละสายอาชีพกันเลย แต่ในโลกยุคดิจิทัลที่ทุกอย่าง ‘คอนเน็กต์’ กันหมดแบบนี้ ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องของทุกคน และไม่ว่าจะทำสายอาชีพไหนหรือระดับงานใดๆ หากไม่ ‘อัพเกรด’ ตัวเองขึ้นมา เราก็อาจจะถูก ‘แย่งงาน’ ได้ และไม่ใช่จากหุ่นยนต์ด้วย แต่จากการที่เรามีทักษะไม่เพียงพอที่จะทำงานได้ตามความคาดหวัง จนองค์กรต้องไปหาคนอื่นที่ทำได้มาแทนเรา!
การที่คนทำงานมีทักษะไม่สอดคล้องกับงานหรือ ‘Skill Gap’ นี้ OECD แบ่งไว้ 3 รูปแบบ คือ
Qualification Mismatch : คนมีระดับวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับงาน
Field of Study Mismatch : คนเรียนจบในสาขาที่ไม่ตรงกับงานที่ทำ
Skills Mismatch : คนมีความสามารถไม่เพียงพอกับความต้องการขององค์กร
ซึ่งถ้ามองหาสาเหตุกันจริงๆ ก็จะย้อนกลับไปสู่ระบบการศึกษาของไทยที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเน้นการสอน ‘ทักษะ’ ไม่ได้มีกระบวนการให้ข้อมูลหรือแนะนำการเรียนรู้เพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน รวมถึงว่า แม้ตอนนี้พอจะรู้ถึงปัญหา ก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปการศึกษา กระบวนการผลิตทรัพยากรด้านบุคคลจึงตกที่นั่งเดิมว่า “เรียน 4-5 ปี จบมา ความรู้ที่เรียนก็ล้าสมัยเกินเอามาใช้แล้ว”
วิธีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในรายงานเรื่อง Future of Jobs ของ World Economic Forum (WEF) บอกว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ เราต้องออกแบบวิธีการเรียนรู้กันใหม่ ถ้าจะให้ดี ทักษะความรู้ต้องเข้าถึงได้ ‘สะดวก ทุกที่ และทุกเวลา’ และวิธีการเรียนการสอน ต้องเน้นไปที่การปลูกฝังและติดตั้ง ‘ระบบความคิด’ ให้คนเรียน โดย WEF ได้แนะนำหลักการ ‘MPPG’ ที่ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา Skill Gap ที่เกิดจากเทคโนโลยีไว้ว่า การเรียนรู้ในยุคนี้ต้องมีองค์ประกอบคือ
Mobile-first : ช่องทางเข้าถึงง่าย และออกแบบเล่าได้น่าสนใจ (ใช้ UX และ UI เข้ามาช่วย)
Participatory : สร้างประสบการณ์ร่วมในการเรียนรู้ จะช่วยให้เกิดความ ‘อยากแชร์’ ต่อ
Personalized : เมื่อได้รับโจทย์เฉพาะ แต่ละคนจะได้พัฒนาทักษะในการคิดแบบวิเคราะห์ (Critical Thinking) และทักษะในการตัดสินใจ (Judgement skills)
Group-based : สร้างส่วนของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเพิ่มมุมมองใหม่และกระตุ้นการแบ่งปันไอเดีย
เราเลยพอจะเห็นความเคลื่อนไหวของหลายๆ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชนหลายแห่ง ที่มีการตั้งคอร์ส ‘เฉพาะกิจ’ เพื่อสอนทักษะที่จำเป็นสำหรับยุคสมัย โดยมีให้เลือกทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงงานสัมมนาที่จะช่วยให้คนพัฒนาทักษะตัวเองได้
หนึ่งในคอร์สออนไลน์ (ฟรีด้วย) ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้คือ ‘Learning how to learn’ ที่เปิดสอนบน Coursera (coursera.org/learn/learning-how-to-learn) ซึ่งสอน ‘ฐาน’ ของการเรียนรู้สิ่งอื่นๆ เช่น เทคนิคการเรียน-พักแบบ Pomodoro (เรียน 25 นาที พัก 5 นาที สลับกันไป), การใช้ Chunking หรือแบ่งสิ่งที่อยากเรียนรู้เป็นแนวคิดย่อยๆ, หรือการจดสรุปด้วยคำของตนเองแทนไฮไลท์ เพื่อป้องกัน Illusions of Competence หรือความหลงคิดไปเองว่าตัวเองรู้อะไรแล้ว ทั้งๆ ที่อาจจะไม่รู้จริง
หรืออย่างสิ้นเดือนนี้ Skooldio โรงเรียนที่เปิดสอนสกิลที่จำเป็นสำหรับยุคสมัยนี้และในอนาคต ก็จะจัดงาน ‘Beta’ งานสัมมนาที่รวบรวมเอานักพัฒนาเทคโนโลยี (Developer) นักออกแบบ (Designer) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) และผู้บริหารจัดการด้านคน (People Manager) มาแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะที่เป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานในยุคสมัยนี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนประกอบของทักษะที่ต้องการในตลาด ตามที่ LinkedIn วิเคราะห์ไว้ (ดูรายละเอียดงานได้ที่ beta.skooldio.com)
ในเมื่อโลกไม่หยุดขยับ และเทคโนโลยีอัพเกรดอยู่แทบทุกนาที เราเลยอยู่กับที่ไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาอัพสกิลตัวเองให้ทันโลกด้วย
Source :https://thematter.co/byte/future-skills-2/72461
‘แค่อยู่กับที่ก็ถอยหลังแล้ว’ ไม่ใช่คำพูดเกินจริงสำหรับยุคสมัยนี้ ที่เทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ตื่นเช้า หยิบมือถือมาดู อ้าว.. เฟซบุ๊กเปลี่ยนหน้าตาอีกแล้ว, เปิดอ่านข่าว อ้าว.. AI ทำนู่นนี่นั่นได้แล้ว, ไหนจะวิธีคิดหรือสกิลใหม่ๆ ที่งอกเงยตามมา เพื่อแนะนำ (แกมบังคับ) ให้ผู้ใช้อย่างเราต้องเรียนรู้และตามให้ทันเทคโนโลยีเหล่านั้นด้วย
ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาในโลกที่เทคโนโลยีอัพเดทอยู่แทบทุกนาที คือทักษะและความรู้ของคนทำงานที่อัพตามไม่ทัน จนเกิด ‘Skill Gap’ หรือการที่คนทำงานมีทักษะที่ไม่สอดคล้องกับที่องค์กรต้องการ เพราะกว่าจะเรียนจบ สิ่งที่เรียนมา ก็ล้าสมัยไปหมดแล้ว
สิ่งที่สถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ พยายามทำเพื่อแก้ปัญหาอยู่ก็คือการหาวิธี Upskill และ Reskill เพื่อ ‘อัพเกรด’ ทั้งคนที่กำลังจะทำงาน คนที่เพิ่งทำงานใหม่ๆ และคนที่ทำงานอยู่เดิม มีทักษะที่ทันยุคสมัยและใช้ได้จริงในงานที่ตัวเองทำ
อะไรที่ต้องเรียนรู้ในยุคนี้?
Tim Ferriss นักคิด นักเขียน และนักลงทุนระดับโลกเคยบอกว่า เป้าหมายการเรียนรู้ของเขาคือ “การเรียนอะไรก็ได้ ที่เรียนแค่ครั้งเดียว แล้วใช้ได้ตลอดชีวิต” (My goal is to learn things once and use them forever.) ซึ่งในบริบทของโลกที่มีการ ‘อัพเดท’ ตลอดเวลา และสามารถ ‘เสิร์ช’ หาสิ่งต่างๆ ได้ภายในไม่กี่วินาทีจากบนหน้าจอ การเรียนรู้ในยุคสมัยนี้จึงควรมุ่งไปที่ ‘ทักษะ’ (Skill) มากกว่า ‘องค์ความรู้’ (Knowledge
เมื่อต้นปี 2019 ‘LinkedIn’ แพลตฟอร์มที่รวมตำแหน่งงานและประวัติคนทำงานไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้ทำการวิเคราะห์งานนับล้านตำแหน่งที่โพสต์ลงบนแพลตฟอร์มเมื่อปี 2018 เพื่อค้นหา ‘ทักษะที่องค์กรต้องการมากที่สุด’
นี่น่าจะเป็นลิสต์ของทักษะที่เราควรเลือกจะเรียนรู้เพื่ออัพเกรดตัวเองให้ทันโลกและตลาดแรงงาน
ด้าน ‘Soft Skill’ หรือทักษะด้านอารมณ์และการอยู่ร่วมกับคนอื่นที่องค์กรต้องการมากที่สุดคือ
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ความสามารถในการโน้มน้าวชักจูง (Persuasion)
การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
การจัดการเวลา (Time Management)
Soft Skill นี้เป็นอะไรที่เรียนรู้ครั้งเดียวแล้วใช้ได้ยาวๆ แถมเหมาะมากๆ สำหรับยุคที่หุ่นยนต์และ AI จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของมนุษย์ เพราะเป็นทักษะที่ยังไงๆ AI ก็ทำได้ไม่ดีเท่ากับมนุษย์
ส่วน ‘Hard Skill’ หรือทักษะเชิงความรู้ความเชี่ยวชาญที่องค์กรต้องการ 10 อันดับแรกคือ
ทักษะด้าน Cloud Computing
ทักษะด้านการใช้งานปัญญาประดิษฐ์
ทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงเหตุผลและการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ (Analytical Reasoning)
ทักษะด้านการจัดการทีม (People Management)
ทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX Design)
ทักษะด้านการออกแบบแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
ทักษะด้านการผลิตวิดีโอ (Video Production)
ทักษะด้านการขาย (Sales Leadership)
ทักษะด้านการแปลภาษา (Translation)
ทักษะด้านการผลิตสื่อด้านเสียง (Audio Production)
Hard Skill ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการใช้งานบนโลกดิจิทัล รวมถึงเป็นทักษะที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี (Technology) การจัดการข้อมูล (Data) การออกแบบ (Design) และธุรกิจ (Business) มาประกอบเข้าด้วยกัน
แล้วที่เรียนมา.. ไม่เห็นใช้ได้เลย
หลายคนเห็นลิสต์แล้วอาจจะรู้สึกว่า เราอยู่คนละสายอาชีพกันเลย แต่ในโลกยุคดิจิทัลที่ทุกอย่าง ‘คอนเน็กต์’ กันหมดแบบนี้ ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องของทุกคน และไม่ว่าจะทำสายอาชีพไหนหรือระดับงานใดๆ หากไม่ ‘อัพเกรด’ ตัวเองขึ้นมา เราก็อาจจะถูก ‘แย่งงาน’ ได้ และไม่ใช่จากหุ่นยนต์ด้วย แต่จากการที่เรามีทักษะไม่เพียงพอที่จะทำงานได้ตามความคาดหวัง จนองค์กรต้องไปหาคนอื่นที่ทำได้มาแทนเรา!
การที่คนทำงานมีทักษะไม่สอดคล้องกับงานหรือ ‘Skill Gap’ นี้ OECD แบ่งไว้ 3 รูปแบบ คือ
Qualification Mismatch : คนมีระดับวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับงาน
Field of Study Mismatch : คนเรียนจบในสาขาที่ไม่ตรงกับงานที่ทำ
Skills Mismatch : คนมีความสามารถไม่เพียงพอกับความต้องการขององค์กร
ซึ่งถ้ามองหาสาเหตุกันจริงๆ ก็จะย้อนกลับไปสู่ระบบการศึกษาของไทยที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเน้นการสอน ‘ทักษะ’ ไม่ได้มีกระบวนการให้ข้อมูลหรือแนะนำการเรียนรู้เพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน รวมถึงว่า แม้ตอนนี้พอจะรู้ถึงปัญหา ก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปการศึกษา กระบวนการผลิตทรัพยากรด้านบุคคลจึงตกที่นั่งเดิมว่า “เรียน 4-5 ปี จบมา ความรู้ที่เรียนก็ล้าสมัยเกินเอามาใช้แล้ว”
วิธีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในรายงานเรื่อง Future of Jobs ของ World Economic Forum (WEF) บอกว่าในศตวรรษที่ 21 นี้ เราต้องออกแบบวิธีการเรียนรู้กันใหม่ ถ้าจะให้ดี ทักษะความรู้ต้องเข้าถึงได้ ‘สะดวก ทุกที่ และทุกเวลา’ และวิธีการเรียนการสอน ต้องเน้นไปที่การปลูกฝังและติดตั้ง ‘ระบบความคิด’ ให้คนเรียน โดย WEF ได้แนะนำหลักการ ‘MPPG’ ที่ใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา Skill Gap ที่เกิดจากเทคโนโลยีไว้ว่า การเรียนรู้ในยุคนี้ต้องมีองค์ประกอบคือ
Mobile-first : ช่องทางเข้าถึงง่าย และออกแบบเล่าได้น่าสนใจ (ใช้ UX และ UI เข้ามาช่วย)
Participatory : สร้างประสบการณ์ร่วมในการเรียนรู้ จะช่วยให้เกิดความ ‘อยากแชร์’ ต่อ
Personalized : เมื่อได้รับโจทย์เฉพาะ แต่ละคนจะได้พัฒนาทักษะในการคิดแบบวิเคราะห์ (Critical Thinking) และทักษะในการตัดสินใจ (Judgement skills)
Group-based : สร้างส่วนของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเพิ่มมุมมองใหม่และกระตุ้นการแบ่งปันไอเดีย
เราเลยพอจะเห็นความเคลื่อนไหวของหลายๆ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชนหลายแห่ง ที่มีการตั้งคอร์ส ‘เฉพาะกิจ’ เพื่อสอนทักษะที่จำเป็นสำหรับยุคสมัย โดยมีให้เลือกทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงงานสัมมนาที่จะช่วยให้คนพัฒนาทักษะตัวเองได้
หนึ่งในคอร์สออนไลน์ (ฟรีด้วย) ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้คือ ‘Learning how to learn’ ที่เปิดสอนบน Coursera (coursera.org/learn/learning-how-to-learn) ซึ่งสอน ‘ฐาน’ ของการเรียนรู้สิ่งอื่นๆ เช่น เทคนิคการเรียน-พักแบบ Pomodoro (เรียน 25 นาที พัก 5 นาที สลับกันไป), การใช้ Chunking หรือแบ่งสิ่งที่อยากเรียนรู้เป็นแนวคิดย่อยๆ, หรือการจดสรุปด้วยคำของตนเองแทนไฮไลท์ เพื่อป้องกัน Illusions of Competence หรือความหลงคิดไปเองว่าตัวเองรู้อะไรแล้ว ทั้งๆ ที่อาจจะไม่รู้จริง
หรืออย่างสิ้นเดือนนี้ Skooldio โรงเรียนที่เปิดสอนสกิลที่จำเป็นสำหรับยุคสมัยนี้และในอนาคต ก็จะจัดงาน ‘Beta’ งานสัมมนาที่รวบรวมเอานักพัฒนาเทคโนโลยี (Developer) นักออกแบบ (Designer) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) และผู้บริหารจัดการด้านคน (People Manager) มาแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะที่เป็นที่ต้องการสำหรับการทำงานในยุคสมัยนี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนประกอบของทักษะที่ต้องการในตลาด ตามที่ LinkedIn วิเคราะห์ไว้ (ดูรายละเอียดงานได้ที่ beta.skooldio.com)
ในเมื่อโลกไม่หยุดขยับ และเทคโนโลยีอัพเกรดอยู่แทบทุกนาที เราเลยอยู่กับที่ไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาอัพสกิลตัวเองให้ทันโลกด้วย
วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
Big Data @ Life ชีวิตผูกติดข้อมูล สู่อนาคตประเทศไทย 4.0
วันที่ 7 กรกฎาคม 2559
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
ประเทศไทยเริ่มก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างช้าๆ แต่โลกไปเร็วด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มนุษย์โลกแชร์ข้อมูล เรื่องราวในโซเชียลมีเดีย มีการส่งอีเมล มีการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากมาย ข้อมูลระบุว่าปี 2012 มนุษย์มีการผลิตข้อมูลมากถึงวันละ 2.5 quintillion ไบท์ หรือเท่ากับ 2,500,000,000,000,000,000 ไบท์ การกำเนิดของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ทุกนาทีในระดับที่เราไม่เคยคิดว่าเป็นไปได้มาก่อน นี่คือ Big Data ที่ทุกวันนี้บริษัทเล็กใหญ่ต่างใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการสร้างผลกำไร ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะในด้านต่างๆ ได้เช่นกัน คำถามคือ เราจะใช้ประโยชน์จาก Big Data อย่างไรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศักยภาพของประเทศ การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ท่ามกลางการแข่งขันและทรัพยากรที่นับวันจะหมดไป
ในตอนที่แล้ว นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ได้เสนอ แนะให้ตั้ง National Data Pool-ปลุกจิตสำนึกการใช้ข้อมูล รับสังคม Big Data @ life ส่วนตอนที่ 2 นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล ได้กล่าวถึงพลังของ Big Data-ความย้อนแย้ง-สิทธิที่จะถูกลืม ส่วนในตอนแรก นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ได้กล่าวถึง ไม่แข่งก็ยิ่งแพ้ยุค Big Data ว่าชีวิตเราจะมาผูกติดกับข้อมูล ไม่ได้ผูกติดแค่ว่าข้อมูลทำให้ชีวิตเราสะดวกขึ้น แต่ว่าผูกในอีกแง่หนึ่งด้วย คือ ในการเอาตัวรอดในเศรษฐกิจสมัยใหม่ เราจะขาดข้อมูลไม่ได้ด้วยซ้ำ
Big Data ต้องคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ
นางสาวสุมล กานตกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานวิเคราะห์และวางแผนการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ได้กล่าวถึงการนำเอา Big Data มาใช้ในภาคธุรกิจว่า การที่เราจะเอา Big Data มาใช้งาน ก็มีจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณา คือเรื่องของ Data Privacy ไม่ใช่ใครก็ได้จะเดินเข้ามาขอข้อมูล AIS เราคงไม่สามารถให้ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
ขอเรียนว่าจริงๆ แล้ว คำว่า Big Data ใน AIS เรายังห่างไกลคำว่าสมบูรณ์แบบมาก ตามที่คุณณภัทรและทุกท่านแชร์มา จริงๆ แล้ว AIS ยังต้องพัฒนาและต่อยอดกันอีกมาก แต่เรามีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า Big Data ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เยอะมากในเชิงปริมาณ แต่สิ่งสำคัญต้องเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ หัวใจสำคัญของ Big Data ไม่ใช่แค่เรื่องของการเก็บข้อมูล แต่เป็นเรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจมากกว่า
ด้วยความเชื่อเหล่านี้ ทำให้เราเริ่มนำข้อมูล Big Data มาใช้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อมูลเรามีเยอะพอหรือต้องเป็น Perfect Information (ข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์) เราถึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เราเริ่มจากข้อมูลที่เรามีอยู่ ซึ่งเราคิดว่าการเก็บข้อมูลของเรานั้น ถ้าเรามีข้อมูลที่เป็น Meaningful Information (ข้อมูลที่มีความหมาย) เพียงพอ ก็น่าจะเอามาใช้งานในทางธุรกิจได้ เราก็เริ่มทำงาน เริ่มลุยกันเลย
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
ประเทศไทยเริ่มก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างช้าๆ แต่โลกไปเร็วด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มนุษย์โลกแชร์ข้อมูล เรื่องราวในโซเชียลมีเดีย มีการส่งอีเมล มีการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากมาย ข้อมูลระบุว่าปี 2012 มนุษย์มีการผลิตข้อมูลมากถึงวันละ 2.5 quintillion ไบท์ หรือเท่ากับ 2,500,000,000,000,000,000 ไบท์ การกำเนิดของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ทุกนาทีในระดับที่เราไม่เคยคิดว่าเป็นไปได้มาก่อน นี่คือ Big Data ที่ทุกวันนี้บริษัทเล็กใหญ่ต่างใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้เพื่อการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการสร้างผลกำไร ขณะเดียวกัน ภาครัฐก็สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะในด้านต่างๆ ได้เช่นกัน คำถามคือ เราจะใช้ประโยชน์จาก Big Data อย่างไรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศักยภาพของประเทศ การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ท่ามกลางการแข่งขันและทรัพยากรที่นับวันจะหมดไป
ในตอนที่แล้ว นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ได้เสนอ แนะให้ตั้ง National Data Pool-ปลุกจิตสำนึกการใช้ข้อมูล รับสังคม Big Data @ life ส่วนตอนที่ 2 นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล ได้กล่าวถึงพลังของ Big Data-ความย้อนแย้ง-สิทธิที่จะถูกลืม ส่วนในตอนแรก นายณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ได้กล่าวถึง ไม่แข่งก็ยิ่งแพ้ยุค Big Data ว่าชีวิตเราจะมาผูกติดกับข้อมูล ไม่ได้ผูกติดแค่ว่าข้อมูลทำให้ชีวิตเราสะดวกขึ้น แต่ว่าผูกในอีกแง่หนึ่งด้วย คือ ในการเอาตัวรอดในเศรษฐกิจสมัยใหม่ เราจะขาดข้อมูลไม่ได้ด้วยซ้ำ
Big Data ต้องคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ
นางสาวสุมล กานตกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานวิเคราะห์และวางแผนการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ได้กล่าวถึงการนำเอา Big Data มาใช้ในภาคธุรกิจว่า การที่เราจะเอา Big Data มาใช้งาน ก็มีจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณา คือเรื่องของ Data Privacy ไม่ใช่ใครก็ได้จะเดินเข้ามาขอข้อมูล AIS เราคงไม่สามารถให้ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
ขอเรียนว่าจริงๆ แล้ว คำว่า Big Data ใน AIS เรายังห่างไกลคำว่าสมบูรณ์แบบมาก ตามที่คุณณภัทรและทุกท่านแชร์มา จริงๆ แล้ว AIS ยังต้องพัฒนาและต่อยอดกันอีกมาก แต่เรามีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า Big Data ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เยอะมากในเชิงปริมาณ แต่สิ่งสำคัญต้องเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ หัวใจสำคัญของ Big Data ไม่ใช่แค่เรื่องของการเก็บข้อมูล แต่เป็นเรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจมากกว่า
ด้วยความเชื่อเหล่านี้ ทำให้เราเริ่มนำข้อมูล Big Data มาใช้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อมูลเรามีเยอะพอหรือต้องเป็น Perfect Information (ข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์) เราถึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เราเริ่มจากข้อมูลที่เรามีอยู่ ซึ่งเราคิดว่าการเก็บข้อมูลของเรานั้น ถ้าเรามีข้อมูลที่เป็น Meaningful Information (ข้อมูลที่มีความหมาย) เพียงพอ ก็น่าจะเอามาใช้งานในทางธุรกิจได้ เราก็เริ่มทำงาน เริ่มลุยกันเลย
น.ส.สุมล กานตกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานวิเคราะห์และวางแผนการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ที่ผ่านมาเราก็นำข้อมูลเท่าที่เรามีอยู่มาทำการตอบโจทย์ทางด้านธุรกิจ Bisiness Ojective 5 ด้าน ด้วยกัน ในช่วงเริ่มต้น 1) Customer insight 2) Monetization 3) Customer retention & loyalty 4) Customer experience management 5) Operation efficiency ซึ่งต่อจากนี้เราคงต้องทำเพิ่มอีกมาก
เรื่องแรกการทำ Customer insight ถ้าย้อนกลับไปในอดีต ที่เป็นมาร์เก็ตติ้งรุ่นแรกๆ สาวกของฟิลิป คอตเลอร์ ที่เป็นกูรูมาร์เก็ตติ้ง เขาจะมีคำว่า Customer Segmentation เกิดขึ้น ทุกคนก็มาทำ Customer Segmentation กันมากมาย แต่จากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น ต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลก็เริ่มถูกลง รวมถึง Tools หรือ Processor ต่างๆ ก็จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้ในเวลาที่สั้นลง
ดังนั้น เราก็คิดว่า Customer Segmentation ที่มีอยู่เริ่มไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของคำว่า Micro Segmentation ท้ายที่สุดก็มาที่คำว่า Nano Segmentation แต่ด้วยความสามารถของ Big Data เราสามารถเข้าใจ Customer insight ถึงในระดับ Individual หรือ Personalization เราสามารถเข้าใจว่าลูกค้ารายนี้มีพฤติกรรมอย่างไร ชอบอะไร มีไลฟ์สไตล์แบบไหน ไปเที่ยวที่ไหน มีโลเคชั่นอะไร เป็นต้น
พอพูดจุดนี้ วิทยากรหลายท่านก็อาจจะเป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและข้อมูล อยากจะบอกว่าข้อมูลของเราที่มีทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ในระบบ และระบบนี้ได้รับการดูแลบริหารจัดการและควบคุมอย่างดีโดยหน่วยงานที่เราเรียกว่า Data Security ซึ่งหน่วยงานนี้คอยดูแลการนำข้อมูลไปใช้งานแล้วให้มั่นใจว่าไม่มีการนำข้อมูลระดับบุคคลหรือข้อมูลที่เจาะจงเฉพาะตัวลูกค้าไปใช้งาน การทำงานของเราคือคนจะนำข้อมูลไปใช้งาน จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น อะไรที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบก็จะมองไม่เห็น เจ้าหน้าที่จะเห็นเป็นส่วนๆ เท่านั้น
เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล AIS เป็นผู้ให้บริการรายเดียวในเมืองไทยที่จดทะเบียนอยู่ใน DJSI หรือ Dow Jone Sustainability Index พอเราตอบรับเขาไป เขาก็จะเข้ามาดูการบริหารจัดการว่ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดหรือไม่ หนึ่งในคุณสมบัติที่เขากำหนดคือการทำ Data Privacy Management เพราะฉะนั้น ให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านใช้งานต่างๆ เหล่านี้ การบริหารของเราได้ดูแลข้อมูลอย่างดีในระดับมาตรฐานโลก
พอเราได้ข้อมูล Customer insight เราเข้าใจพฤติกรรม เข้าใจลูกค้าแล้ว สิ่งที่เราต่อยอดมาก็คือ เราก็เอามาทำ Monetization หรือทำให้เกิดดอกออกผล กับสิ่งที่เราได้รับและเรียนรู้มา
การทำ Data Monetize ของ AIS พอเราได้ insight เราก็จะ Design Offering (ออกแบบข้อเสนอ) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นอกเหนือจากการออกแบบสินค้า เราออกแบบไปถึงเวลาที่เราควรจะไปติดต่อกับลูกค้า ไม่ใช่มองแค่เรื่อง right product แต่เรามองไปถึง right customer… to the right custumer at the right time ซึ่งการทำตรงนี้ AIS ก็ได้มีการลงทุนกับระบบ PCM หรือ Personalized Campaign Management เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกถึงเหตุการณ์อะไรบางอย่างให้ระบบรับรู้ว่าเวลานี้คือเวลาที่ดีที่สุดแล้วที่เราควรจะติดต่อลูกค้าในท่านนี้ เราก็จะใส่ข้อเสนอที่เราดีไซน์เอาไว้ว่าให้ส่งไปหาลูกค้าคนนี้นะ ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการทำแคมเปญไป
นอกเหนือจากนี้ AIS ศึกษาพฤติกรรมลูกค้าต่างๆ ที่อยู่ในระบบ เพื่อหาโอกาสในการทำต้นทุนการขายสินค้าของเรา เช่น เราอาจจะเอาข้อมูลสถานที่อยู่ของลูกค้ามารวมกันกับพฤติกรรมบางอย่างที่เรามีการทดสอบแล้ว หรือวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานแล้ว ลูกค้ารายนี้น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพหรือเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ เราก็เสนอบริการ M Pay เข้าไปเป็นหนึ่งในช่องทางการชำระเงินของเขา
จาก Monetization อีกอันที่เรามาทำ Customer retention & loyalty เราก็มีการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์ หรือมีอะไรบางอย่าง ทำให้เราทราบว่าลูกค้าคนนี้เริ่มจะตัดสินใจยกเลิกสินค้าบริการของ AIS หรือเปล่า หรือเริ่มมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร มีโอกาสที่จะไปใช้บริการผู้ให้บริการเจ้าอื่น เราคงต้องรีบเข้าไปดูแลลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจยกเลิกจริงๆ เข้าไปศึกษาเขาจากแพทเทิร์นข้อมูล ทำให้เราพอรู้ว่ามีประเด็นอะไรที่ทำให้เขาอยากจะยกเลิกสินค้าบริการของเรา ก็รีบเข้าไปแก้ไขเหตุการณ์ก่อนจะบานปลาย
เรื่องถัดไป Customer experience management ของ AIS โดยจะศึกษาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าหลายๆ อย่าง ก็จะทราบว่าลูกค้าต้องการข้อมูลหรือต้องการอะไร เราสามารถเข้าไปช่วยเขาได้
ความท้าทายการใช้ Big data ของ AIS
อีกเรื่องหนึ่งตอนที่ AIS ออก 4G Network ใหม่ๆ เราจะมีการทำ Customer experience management เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าของเราจะประทับใจ และได้ 4G Experience จริงๆ เราจะแจ้งว่าลูกค้าตอนนี้ Set ของคุณเป็น 4G แล้ว และเราเปิดให้คุณแล้ว ถ้าคุณต้องการใช้ 4G ให้ดีจริงๆ คุณสามารถเปลี่ยน Handset ที่ดีที่สุดได้อย่างไร หรือส่งข้อมูลที่ลูกค้ากดแล้วสามารถ Setting ได้เลย
นอกจากนี้ เราก็จะมีการนำข้อมูล Customer Research และข้อมูลที่เกิดจากพวกเทคโนโลยีใหม่ เช่น การที่เราปรับใช้เรื่องของ VDO analytic ใน AIS shop หรือเรื่องของการทำ Speed analytic ของ Call center เข้ามาประกอบกับข้อมูลที่เรามีอยู่ด้วยในการที่จะออกแบบคุณภาพด้านการบริการ และการกำหนดคุณภาพการบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่อง Operation Efficiency คือเรื่องของการลดต้นทุน หรือการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้เราจะนำ GEO Analytic มาใช้วางแผนร่วมกับวิศวกรในการทำ Network priority เพราะว่า 4G ของ AIS เริ่มนำมาใช้ช้ากว่าเจ้าอื่น เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไรที่จะสร้าง Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด และเร็วที่สุด รวมถึงได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ที่ดีที่สุดด้วย ก็จะมีการเข้าไปดูแลร่วมกับวิศวกร รวมถึงเป็นคนชี้เป้าให้วิศวกรทราบว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง เพราะจากประสบการณ์ อาจเจอว่าลูกค้าอาจจะมีประสบการณ์ไม่ดีตรงจุดนี้ หรือจุดนี้คุณภาพบริการต่ำกว่า KPI ที่เรากำหนด ก็จะมีการแจ้งไปทางวิศวกร อย่างแรกๆ คือการทำ Network Planning
ส่วนเรื่องที่ 2 ก็คือ การทำ Channel Planning เราก็มาศึกษาดูเรื่อง Customer Identity มาดูกับช่องทางที่เรามีอยู่เพื่อให้แน่ใจว่าการกระจายตัวของ Channel ของเราสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ รวมถึงมั่นใจว่าลูกค้าของเราจะได้รับความสะดวกสบายในการใช้ Channel ของเราไม่ว่าอันใดอันหนึ่ง หรือเราควรไปเปิด Channel ใหม่ๆ หรือไม่เปิดแล้ว ธุรกิจต้องอยู่ได้ด้วยว่าควรจะเปิดด้วยขนาดแบบไหน ซึ่งไม่ว่าช็อปนั้นจะเปิดโดยเราหรือโดยพาร์ทเนอร์ ช็อปนั้นจะต้องอยู่ได้ ต้องเป็น win-win ร่วมกัน
อีกอันที่เราจะแชร์ คือ การทำ Media Planning ยกตัวอย่างสื่อ Outdoor เมื่อก่อนใช้วิธีคาดการณ์เอา ตรงนี้น่าจะมีคนดูเยอะ เราจะไปซื้อป้ายโฆษณาตรงนี้ ตอนนี้พอเรามีข้อมูลเหล่านี้เข้ามาเราสามารถรู้ได้เลย ตรงจุดไหนมีคนดูมากน้อยเพียงใด เมื่อมีข้อมูลเหล่านี้เข้ามา เราสามารถวางแผนซื้อสื่อของเราได้ นอกเหนือจากซื้อตรงจุดไหนแล้ว เราสามารถทราบว่าลูกค้าที่ไปอยู่บริเวณนั้นมีไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมแบบไหน ทำให้เราสามารถสื่อสารข้อความที่เราจะไปลงโฆษณาในจุดต่างๆ เหล่านั้นได้
เรื่องสุดท้ายที่อยากแชร์ หลังจาก AIS ไม่ได้คลื่น 900 ช่วงปลายปี 2558 ความท้าทายของเรา คือ เราจะทำอย่างไรกับลูกค้า 12-13 ล้านคนที่ถือ 2G Handset อยู่ โจทย์ใหญ่ของเราคือจะทำอย่างไรให้ลูกค้า 12-13 ล้านคน เปลี่ยนมาใช้มือถือ 3G ให้เร็วที่สุดและมากที่สุดในเวลาที่จำกัดที่สุด
นอกเหนือจากเรื่องเวลาที่สั้นแล้ว ประเด็นที่ 2 เรื่องของทรัพยากรบุคคลที่จะมาทำงานกับเรา ลองนึกภาพดู ลูกค้าของเรามี 12-13 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วประเทศ แล้วคนที่เรามีอยู่ตอบโจทย์ได้ไม่มาก การที่จะรับคนใหม่เข้ามาต้องใช้เวลา และต้องฝึกอบรม เพื่อบริการได้ดี
อีกประเด็นคือ Inventory ที่เรามีอยู่ จุดนั้นเราไม่เคยคิดเลยว่าเราจะประมูลคลื่นไม่ได้ เราไม่มีการเตรียมแผนตรงนี้เลย สิ่งที่เราต้องทำคือ Handset ลองนึกภาพในช่วงนั้น (ปลายปี) เป็นวันหยุดยาวจากคริสต์มาส ต่อเนื่องมาถึงปีใหม่ และมาถึงตรุษจีน จะมีซัพพลายเอร์เจ้าไหนที่จะส่ง Handset ให้เราได้นับล้านเครื่องภายในเวลาที่สั้นมาก นี่คือความท้าทายขอเรา อีกฝั่งหนึ่งก็ต้องดูว่าคนที่ได้ใบอนุญาต เอาเงินไปจ่ายปุ๊บ เราต้องถูกแย่งลูกค้าทันที นี่คือจุดที่เราต้องวางแผนอย่างดีว่าจะต้องเกิดขึ้น และเราก็นำข้อมูลเหล่านี้มาใช้งาน ท้ายที่สุด ผลก็คือ เราสามารถเปลี่ยนลูกค้า 2G มาเป็น 3G ภายใน 1 ไตรมาส ได้ถึง 6 ล้านเบอร์ถือว่าไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับทรัพยากรที่เรามีอยู่
Big data ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ตอบโจทย์ได้
สรุปการใช้งาน Big Data ไม่ได้หมายถึงการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น นี่คือตัวอย่างของ AIS ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ไม่ได้มีอะไรเยอะมาก แต่การนำมาใช้งานเป็นหัวใจสำคัญมากกว่า
นางสาวสุมลกล่าวเสริมในตอนท้ายว่า การที่เราจะขับเคลื่อนไปให้ถึง Thailand 4.0 จริงๆ แล้วก็อย่างที่หลายท่านได้พูดมา การแชร์ข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าสามารถนำมารวมกันไว้ตรงกลาง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 1+1 จะไม่ได้ 2 แต่เป็น 3, 4, 5 เป็นการต่อยอดไปได้เรื่อยๆ
“ถ้าเราจะไป Thailand 4.0 หรือ Digital Economy ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน หลายๆ อย่างมันติดขัดกับกฎระเบียบย่อยๆ อย่างที่เราเจออยู่ ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ได้ จริงๆ มีหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการข้ามเข้ามาทำงานร่วมกับเรา ก็ต้องรอก่อน เพราะติดปัญหาในเรื่องการกำกับดูแล ดังนั้น จึงอยากจะฝากดูว่าพอจะมีลักษณะที่เป็น National Policy ที่ทำออกมาแล้วเชื่อมโยงกันในทุกๆ ที่ทุกๆ อัน ไม่ใช่แต่ละที่มีจุดต่างๆ กัน พอเชื่อมเข้าหากันแล้วก็เกิดเป็นอุปสรรคในการที่จะแชร์ข้อมูล เพื่อทำให้เกิด Big Data ระดับประเทศ”
“จริงๆ ข้อมูลภาครัฐมีเยอะ ที่สามารถสนับสนุนให้กับหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างง่ายๆ มีใครรู้บ้างประเทศไทยมีประชากรกี่คน แหล่งข้อมูลหนึ่งบอกว่า 64 ล้านคน อีกแหล่งบอก 65 ล้านคน อีกแหล่งบอก 67 ล้านคน อีกแหล่งบอก 68 ล้านคน และถ้าเราจะนำมาใช้งานแหล่งไหนถูกต้องที่สุด ดังนั้น แต่ละหน่วยงานภาครัฐมีข้อมูลมากมาย แต่ขาดการบูรณาการเข้าหากัน มาใช้เป็นข้อมูลกลาง ให้ทุกฝ่ายได้นำไปใช้ประโยชน์และแชร์กัน ก็อยากจะฝากเรื่องนี้ไว้ด้วย”
“การใช้ Big Data ไม่ใช่แค่เอา Data มาใช้งานอย่างเดียว การเอามาใช้ต้องมีการแปลความที่ถูกต้องด้วย บางครั้งอาจจะแปลความอะไร ที่ใส่ความรู้สึกลำเอียงเข้าไป พอตีความออกมาทำให้ข้อมูลบิดเบือนได้ Big Data ถ้าใช้ไม่ถูกทางก็เป็นโทษเหมือนกัน และ Big Data ไม่ใช่เรื่องของการเก็บข้อมูล แต่เป็นเรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ ด้วยวัฒนธรรมขององค์กรไทยหลายๆ แห่ง ชอบเก็บข้อมูลไว้ก่อน ยังไม่เอามาใช้ ต้องรอให้ Perfect ก่อนถึงจะเริ่มใช้ พอไม่มีการใช้ Big Data มันก็ไม่ต่างจากเราซื้อถังขยะใบใหญ่ๆ มาใบหนึ่ง แล้วเราก็เก็บทุกอย่างโยนมันลงไปก็คิดว่าวันหนึ่งมันจะมีประโยชน์ เพราะฉะนั้น เราต้องเลิกคิดแบบนี้ พอเราจะหยิบมาใช้ ก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาใช้เหมือนกัน เราควรเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่บัดนี้ อย่างน้อยการเริ่มต้นของเราจะทำให้เรารู้ว่าข้อมูลที่เรามีแล้วนั้นเพียงพอหรือไม่ เราต้องการหาข้อมูลอะไรเพิ่มเติม การนำข้อมูลเข้ามาใช้ก็จะมีโฟกัส มีเป้าหมายมากขึ้น ไม่ใช่หว่านแหเก็บอะไรมาหมด ท้ายที่สุด Big Data ไม่เห็นเวิร์กเลย หรือถ้าใครมีเงินเยอะหน่อย ก็สงสัยถังขยะเรายังใหญ่ไม่พอ ก็ไปขยายถังขยะให้ใหญ่ขึ้น ท้ายที่สุดมันก็กลับไปสู่วัฏจักรเดิมอีก ก็อยากจะฝากถึงองค์กรที่เริ่มนำ Big Data มาใช้แล้ว ให้ท่านเริ่มนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว ไม่ใช้นำข้อมูลมาเก็บไว้ด้วยกัน และก็รอว่าวันหนึ่งมันจะสมบูรณ์”
Source: https://thaipublica.org/2016/07/big-data-sumol/
ที่ผ่านมาเราก็นำข้อมูลเท่าที่เรามีอยู่มาทำการตอบโจทย์ทางด้านธุรกิจ Bisiness Ojective 5 ด้าน ด้วยกัน ในช่วงเริ่มต้น 1) Customer insight 2) Monetization 3) Customer retention & loyalty 4) Customer experience management 5) Operation efficiency ซึ่งต่อจากนี้เราคงต้องทำเพิ่มอีกมาก
เรื่องแรกการทำ Customer insight ถ้าย้อนกลับไปในอดีต ที่เป็นมาร์เก็ตติ้งรุ่นแรกๆ สาวกของฟิลิป คอตเลอร์ ที่เป็นกูรูมาร์เก็ตติ้ง เขาจะมีคำว่า Customer Segmentation เกิดขึ้น ทุกคนก็มาทำ Customer Segmentation กันมากมาย แต่จากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนามากขึ้น ต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลก็เริ่มถูกลง รวมถึง Tools หรือ Processor ต่างๆ ก็จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้ในเวลาที่สั้นลง
ดังนั้น เราก็คิดว่า Customer Segmentation ที่มีอยู่เริ่มไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของคำว่า Micro Segmentation ท้ายที่สุดก็มาที่คำว่า Nano Segmentation แต่ด้วยความสามารถของ Big Data เราสามารถเข้าใจ Customer insight ถึงในระดับ Individual หรือ Personalization เราสามารถเข้าใจว่าลูกค้ารายนี้มีพฤติกรรมอย่างไร ชอบอะไร มีไลฟ์สไตล์แบบไหน ไปเที่ยวที่ไหน มีโลเคชั่นอะไร เป็นต้น
พอพูดจุดนี้ วิทยากรหลายท่านก็อาจจะเป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและข้อมูล อยากจะบอกว่าข้อมูลของเราที่มีทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ในระบบ และระบบนี้ได้รับการดูแลบริหารจัดการและควบคุมอย่างดีโดยหน่วยงานที่เราเรียกว่า Data Security ซึ่งหน่วยงานนี้คอยดูแลการนำข้อมูลไปใช้งานแล้วให้มั่นใจว่าไม่มีการนำข้อมูลระดับบุคคลหรือข้อมูลที่เจาะจงเฉพาะตัวลูกค้าไปใช้งาน การทำงานของเราคือคนจะนำข้อมูลไปใช้งาน จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะส่วนที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น อะไรที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบก็จะมองไม่เห็น เจ้าหน้าที่จะเห็นเป็นส่วนๆ เท่านั้น
เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล AIS เป็นผู้ให้บริการรายเดียวในเมืองไทยที่จดทะเบียนอยู่ใน DJSI หรือ Dow Jone Sustainability Index พอเราตอบรับเขาไป เขาก็จะเข้ามาดูการบริหารจัดการว่ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดหรือไม่ หนึ่งในคุณสมบัติที่เขากำหนดคือการทำ Data Privacy Management เพราะฉะนั้น ให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านใช้งานต่างๆ เหล่านี้ การบริหารของเราได้ดูแลข้อมูลอย่างดีในระดับมาตรฐานโลก
พอเราได้ข้อมูล Customer insight เราเข้าใจพฤติกรรม เข้าใจลูกค้าแล้ว สิ่งที่เราต่อยอดมาก็คือ เราก็เอามาทำ Monetization หรือทำให้เกิดดอกออกผล กับสิ่งที่เราได้รับและเรียนรู้มา
การทำ Data Monetize ของ AIS พอเราได้ insight เราก็จะ Design Offering (ออกแบบข้อเสนอ) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นอกเหนือจากการออกแบบสินค้า เราออกแบบไปถึงเวลาที่เราควรจะไปติดต่อกับลูกค้า ไม่ใช่มองแค่เรื่อง right product แต่เรามองไปถึง right customer… to the right custumer at the right time ซึ่งการทำตรงนี้ AIS ก็ได้มีการลงทุนกับระบบ PCM หรือ Personalized Campaign Management เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกถึงเหตุการณ์อะไรบางอย่างให้ระบบรับรู้ว่าเวลานี้คือเวลาที่ดีที่สุดแล้วที่เราควรจะติดต่อลูกค้าในท่านนี้ เราก็จะใส่ข้อเสนอที่เราดีไซน์เอาไว้ว่าให้ส่งไปหาลูกค้าคนนี้นะ ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการทำแคมเปญไป
นอกเหนือจากนี้ AIS ศึกษาพฤติกรรมลูกค้าต่างๆ ที่อยู่ในระบบ เพื่อหาโอกาสในการทำต้นทุนการขายสินค้าของเรา เช่น เราอาจจะเอาข้อมูลสถานที่อยู่ของลูกค้ามารวมกันกับพฤติกรรมบางอย่างที่เรามีการทดสอบแล้ว หรือวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานแล้ว ลูกค้ารายนี้น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพหรือเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ เราก็เสนอบริการ M Pay เข้าไปเป็นหนึ่งในช่องทางการชำระเงินของเขา
จาก Monetization อีกอันที่เรามาทำ Customer retention & loyalty เราก็มีการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์ หรือมีอะไรบางอย่าง ทำให้เราทราบว่าลูกค้าคนนี้เริ่มจะตัดสินใจยกเลิกสินค้าบริการของ AIS หรือเปล่า หรือเริ่มมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร มีโอกาสที่จะไปใช้บริการผู้ให้บริการเจ้าอื่น เราคงต้องรีบเข้าไปดูแลลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจยกเลิกจริงๆ เข้าไปศึกษาเขาจากแพทเทิร์นข้อมูล ทำให้เราพอรู้ว่ามีประเด็นอะไรที่ทำให้เขาอยากจะยกเลิกสินค้าบริการของเรา ก็รีบเข้าไปแก้ไขเหตุการณ์ก่อนจะบานปลาย
เรื่องถัดไป Customer experience management ของ AIS โดยจะศึกษาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าหลายๆ อย่าง ก็จะทราบว่าลูกค้าต้องการข้อมูลหรือต้องการอะไร เราสามารถเข้าไปช่วยเขาได้
ความท้าทายการใช้ Big data ของ AIS
อีกเรื่องหนึ่งตอนที่ AIS ออก 4G Network ใหม่ๆ เราจะมีการทำ Customer experience management เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าของเราจะประทับใจ และได้ 4G Experience จริงๆ เราจะแจ้งว่าลูกค้าตอนนี้ Set ของคุณเป็น 4G แล้ว และเราเปิดให้คุณแล้ว ถ้าคุณต้องการใช้ 4G ให้ดีจริงๆ คุณสามารถเปลี่ยน Handset ที่ดีที่สุดได้อย่างไร หรือส่งข้อมูลที่ลูกค้ากดแล้วสามารถ Setting ได้เลย
นอกจากนี้ เราก็จะมีการนำข้อมูล Customer Research และข้อมูลที่เกิดจากพวกเทคโนโลยีใหม่ เช่น การที่เราปรับใช้เรื่องของ VDO analytic ใน AIS shop หรือเรื่องของการทำ Speed analytic ของ Call center เข้ามาประกอบกับข้อมูลที่เรามีอยู่ด้วยในการที่จะออกแบบคุณภาพด้านการบริการ และการกำหนดคุณภาพการบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่อง Operation Efficiency คือเรื่องของการลดต้นทุน หรือการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้เราจะนำ GEO Analytic มาใช้วางแผนร่วมกับวิศวกรในการทำ Network priority เพราะว่า 4G ของ AIS เริ่มนำมาใช้ช้ากว่าเจ้าอื่น เพราะฉะนั้น เราจะทำอย่างไรที่จะสร้าง Network ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด และเร็วที่สุด รวมถึงได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ที่ดีที่สุดด้วย ก็จะมีการเข้าไปดูแลร่วมกับวิศวกร รวมถึงเป็นคนชี้เป้าให้วิศวกรทราบว่าควรปรับปรุงตรงไหนบ้าง เพราะจากประสบการณ์ อาจเจอว่าลูกค้าอาจจะมีประสบการณ์ไม่ดีตรงจุดนี้ หรือจุดนี้คุณภาพบริการต่ำกว่า KPI ที่เรากำหนด ก็จะมีการแจ้งไปทางวิศวกร อย่างแรกๆ คือการทำ Network Planning
ส่วนเรื่องที่ 2 ก็คือ การทำ Channel Planning เราก็มาศึกษาดูเรื่อง Customer Identity มาดูกับช่องทางที่เรามีอยู่เพื่อให้แน่ใจว่าการกระจายตัวของ Channel ของเราสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ รวมถึงมั่นใจว่าลูกค้าของเราจะได้รับความสะดวกสบายในการใช้ Channel ของเราไม่ว่าอันใดอันหนึ่ง หรือเราควรไปเปิด Channel ใหม่ๆ หรือไม่เปิดแล้ว ธุรกิจต้องอยู่ได้ด้วยว่าควรจะเปิดด้วยขนาดแบบไหน ซึ่งไม่ว่าช็อปนั้นจะเปิดโดยเราหรือโดยพาร์ทเนอร์ ช็อปนั้นจะต้องอยู่ได้ ต้องเป็น win-win ร่วมกัน
อีกอันที่เราจะแชร์ คือ การทำ Media Planning ยกตัวอย่างสื่อ Outdoor เมื่อก่อนใช้วิธีคาดการณ์เอา ตรงนี้น่าจะมีคนดูเยอะ เราจะไปซื้อป้ายโฆษณาตรงนี้ ตอนนี้พอเรามีข้อมูลเหล่านี้เข้ามาเราสามารถรู้ได้เลย ตรงจุดไหนมีคนดูมากน้อยเพียงใด เมื่อมีข้อมูลเหล่านี้เข้ามา เราสามารถวางแผนซื้อสื่อของเราได้ นอกเหนือจากซื้อตรงจุดไหนแล้ว เราสามารถทราบว่าลูกค้าที่ไปอยู่บริเวณนั้นมีไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมแบบไหน ทำให้เราสามารถสื่อสารข้อความที่เราจะไปลงโฆษณาในจุดต่างๆ เหล่านั้นได้
เรื่องสุดท้ายที่อยากแชร์ หลังจาก AIS ไม่ได้คลื่น 900 ช่วงปลายปี 2558 ความท้าทายของเรา คือ เราจะทำอย่างไรกับลูกค้า 12-13 ล้านคนที่ถือ 2G Handset อยู่ โจทย์ใหญ่ของเราคือจะทำอย่างไรให้ลูกค้า 12-13 ล้านคน เปลี่ยนมาใช้มือถือ 3G ให้เร็วที่สุดและมากที่สุดในเวลาที่จำกัดที่สุด
นอกเหนือจากเรื่องเวลาที่สั้นแล้ว ประเด็นที่ 2 เรื่องของทรัพยากรบุคคลที่จะมาทำงานกับเรา ลองนึกภาพดู ลูกค้าของเรามี 12-13 ล้านคน กระจายอยู่ทั่วประเทศ แล้วคนที่เรามีอยู่ตอบโจทย์ได้ไม่มาก การที่จะรับคนใหม่เข้ามาต้องใช้เวลา และต้องฝึกอบรม เพื่อบริการได้ดี
อีกประเด็นคือ Inventory ที่เรามีอยู่ จุดนั้นเราไม่เคยคิดเลยว่าเราจะประมูลคลื่นไม่ได้ เราไม่มีการเตรียมแผนตรงนี้เลย สิ่งที่เราต้องทำคือ Handset ลองนึกภาพในช่วงนั้น (ปลายปี) เป็นวันหยุดยาวจากคริสต์มาส ต่อเนื่องมาถึงปีใหม่ และมาถึงตรุษจีน จะมีซัพพลายเอร์เจ้าไหนที่จะส่ง Handset ให้เราได้นับล้านเครื่องภายในเวลาที่สั้นมาก นี่คือความท้าทายขอเรา อีกฝั่งหนึ่งก็ต้องดูว่าคนที่ได้ใบอนุญาต เอาเงินไปจ่ายปุ๊บ เราต้องถูกแย่งลูกค้าทันที นี่คือจุดที่เราต้องวางแผนอย่างดีว่าจะต้องเกิดขึ้น และเราก็นำข้อมูลเหล่านี้มาใช้งาน ท้ายที่สุด ผลก็คือ เราสามารถเปลี่ยนลูกค้า 2G มาเป็น 3G ภายใน 1 ไตรมาส ได้ถึง 6 ล้านเบอร์ถือว่าไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับทรัพยากรที่เรามีอยู่
Big data ไม่ต้องสมบูรณ์แบบก็ตอบโจทย์ได้
สรุปการใช้งาน Big Data ไม่ได้หมายถึงการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น นี่คือตัวอย่างของ AIS ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ไม่ได้มีอะไรเยอะมาก แต่การนำมาใช้งานเป็นหัวใจสำคัญมากกว่า
นางสาวสุมลกล่าวเสริมในตอนท้ายว่า การที่เราจะขับเคลื่อนไปให้ถึง Thailand 4.0 จริงๆ แล้วก็อย่างที่หลายท่านได้พูดมา การแชร์ข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าสามารถนำมารวมกันไว้ตรงกลาง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 1+1 จะไม่ได้ 2 แต่เป็น 3, 4, 5 เป็นการต่อยอดไปได้เรื่อยๆ
“ถ้าเราจะไป Thailand 4.0 หรือ Digital Economy ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน หลายๆ อย่างมันติดขัดกับกฎระเบียบย่อยๆ อย่างที่เราเจออยู่ ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ได้ จริงๆ มีหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการข้ามเข้ามาทำงานร่วมกับเรา ก็ต้องรอก่อน เพราะติดปัญหาในเรื่องการกำกับดูแล ดังนั้น จึงอยากจะฝากดูว่าพอจะมีลักษณะที่เป็น National Policy ที่ทำออกมาแล้วเชื่อมโยงกันในทุกๆ ที่ทุกๆ อัน ไม่ใช่แต่ละที่มีจุดต่างๆ กัน พอเชื่อมเข้าหากันแล้วก็เกิดเป็นอุปสรรคในการที่จะแชร์ข้อมูล เพื่อทำให้เกิด Big Data ระดับประเทศ”
“จริงๆ ข้อมูลภาครัฐมีเยอะ ที่สามารถสนับสนุนให้กับหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างง่ายๆ มีใครรู้บ้างประเทศไทยมีประชากรกี่คน แหล่งข้อมูลหนึ่งบอกว่า 64 ล้านคน อีกแหล่งบอก 65 ล้านคน อีกแหล่งบอก 67 ล้านคน อีกแหล่งบอก 68 ล้านคน และถ้าเราจะนำมาใช้งานแหล่งไหนถูกต้องที่สุด ดังนั้น แต่ละหน่วยงานภาครัฐมีข้อมูลมากมาย แต่ขาดการบูรณาการเข้าหากัน มาใช้เป็นข้อมูลกลาง ให้ทุกฝ่ายได้นำไปใช้ประโยชน์และแชร์กัน ก็อยากจะฝากเรื่องนี้ไว้ด้วย”
“การใช้ Big Data ไม่ใช่แค่เอา Data มาใช้งานอย่างเดียว การเอามาใช้ต้องมีการแปลความที่ถูกต้องด้วย บางครั้งอาจจะแปลความอะไร ที่ใส่ความรู้สึกลำเอียงเข้าไป พอตีความออกมาทำให้ข้อมูลบิดเบือนได้ Big Data ถ้าใช้ไม่ถูกทางก็เป็นโทษเหมือนกัน และ Big Data ไม่ใช่เรื่องของการเก็บข้อมูล แต่เป็นเรื่องของการนำข้อมูลมาใช้ ด้วยวัฒนธรรมขององค์กรไทยหลายๆ แห่ง ชอบเก็บข้อมูลไว้ก่อน ยังไม่เอามาใช้ ต้องรอให้ Perfect ก่อนถึงจะเริ่มใช้ พอไม่มีการใช้ Big Data มันก็ไม่ต่างจากเราซื้อถังขยะใบใหญ่ๆ มาใบหนึ่ง แล้วเราก็เก็บทุกอย่างโยนมันลงไปก็คิดว่าวันหนึ่งมันจะมีประโยชน์ เพราะฉะนั้น เราต้องเลิกคิดแบบนี้ พอเราจะหยิบมาใช้ ก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาใช้เหมือนกัน เราควรเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่บัดนี้ อย่างน้อยการเริ่มต้นของเราจะทำให้เรารู้ว่าข้อมูลที่เรามีแล้วนั้นเพียงพอหรือไม่ เราต้องการหาข้อมูลอะไรเพิ่มเติม การนำข้อมูลเข้ามาใช้ก็จะมีโฟกัส มีเป้าหมายมากขึ้น ไม่ใช่หว่านแหเก็บอะไรมาหมด ท้ายที่สุด Big Data ไม่เห็นเวิร์กเลย หรือถ้าใครมีเงินเยอะหน่อย ก็สงสัยถังขยะเรายังใหญ่ไม่พอ ก็ไปขยายถังขยะให้ใหญ่ขึ้น ท้ายที่สุดมันก็กลับไปสู่วัฏจักรเดิมอีก ก็อยากจะฝากถึงองค์กรที่เริ่มนำ Big Data มาใช้แล้ว ให้ท่านเริ่มนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว ไม่ใช้นำข้อมูลมาเก็บไว้ด้วยกัน และก็รอว่าวันหนึ่งมันจะสมบูรณ์”
Source: https://thaipublica.org/2016/07/big-data-sumol/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)