"ทำไม Paul Krugman ถึงได้รางวัลโนเบล"
ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
คณะกรรมการรางวัลโนเบลไพรซ์ ได้ตัดสินให้ศาสตราจารย์ Paul Krugman ได้รับรางวัลโนเบลไพรซ์สาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปีนี้ ศาสตราจารย์ Paul Krugman เป็นใคร มีความสามารถอย่างไร และทำไมถึงได้รับรางวัลโนเบลไพรซ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
Paul Krugman เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นศาสตราจารย์สอนในมหาวิทยาลัย Princeton สาขาเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้นเขายังเป็นคอลัมนิสต์ เขียนบทความประจำให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ Paul Krugman เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ หนังสือเรื่อง Theory and Policy: International Economics ที่เขาเขียนได้กลายเป็นตำราเรียนที่ใช้มากที่สุดเล่มหนึ่งในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้นเขายังเขียนบทความในประเด็นด้านเศรษฐกิจ ทั้งเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการกระจายรายได้
คณะกรรมการโนเบลไพรซ์ให้เหตุผลถึงการเลือก Paul Krugman ว่า Paul Krugman ให้องค์ความรู้ใหม่กับสังคมในเรื่องผลกระทบของการผลิตที่ได้จากการประหยัดจากขนาด ที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศว่า แม้ในยุคปัจจุบันประเทศที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันก็ยังต้องทำการค้า ซื้อขายระหว่างกัน ยกตัวอย่างเช่น สวีเดน ส่งออกรถยนต์ Volvo ให้เยอรมนี แต่เยอรมนีก็ส่งออกรถยนต์ BMW ให้สวีเดน เขาตั้งสมมุติฐานว่าผู้บริโภคชอบสินค้าที่หลากหลาย และความชอบเช่นนี้ทำให้ สินค้าที่มีเวอร์ชั่นแตกต่างกันดำรงอยู่ได้ แต่เนื่องจากหลักการประหยัดต่อขนาด บริษัทจึงไม่สามารถกระจายการผลิตรถยนต์ Volvo ไปทั่วโลกได้ ดังนั้นบริษัทจึงมีฐานการผลิตที่กระจุกตัวในไม่กี่ประเทศ ไม่จำเป็นต้องขยายฐานการผลิตไปทั่วโลก ฐานการผลิตจะตั้งอยู่เพียงไม่กี่ภูมิภาคหรือไม่กี่เมืองเท่านั้นที่มีประชากรหนาแน่นและประชากรมีระดับรายได้ที่สูง จึงเห็นได้ว่าบางประเทศจะเน้นผลิตยี่ห้อสินค้าบางอย่างเท่านั้น ทฤษฎีของ Paul Krugman ได้รับการยอมรับและเป็นที่อ้างอิงของรูปแบบการค้าระหว่างประเทศในเวลาต่อมา ซึ่งหลักการนี้ได้รับชื่อว่า New trade theory
Paul Krugman เขียนบทความเกี่ยวกับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ (Economic geography) เขาตั้งสมมติฐานว่าการค้าระหว่างประเทศมีรูปแบบ (pattern) และพฤติกรรมไปตามเส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (increasing retunes to scale) ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ภูมิภาคเศรษฐกิจใดที่มีการผลิตมากก็จะยิ่งกำไรมากและสามารถดึงดูดการโยกย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศเข้ามาอีก ดังนั้นแล้วการผลิตจะไม่กระจายไปเท่าเทียมกันทั่วโลก แต่การผลิตจะกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ หรือไม่กี่ภูมิภาค หรือไม่กี่เมืองที่มีประชากรจำนวนมาก แน่นหนา และมีรายได้สูง
นอกจากนั้นในด้านการเงินระหว่างประเทศ Paul Krugman ยังได้เขียนงานเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ค่าเงินและทำนายว่าจะเกิดปัญหากับค่าเงินของประเทศในเอเชียในช่วงก่อนปี 1997
Paul Krugman ยังเขียนหนังสือที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนหลายเล่ม เขาเขียนเกี่ยวกับปัญหาการกระจายรายได้ของสหรัฐอเมริกาที่มีปัญหามากขึ้น นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้สนับสนุนไอเดียที่ว่าเศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะทำอะไรใหม่ๆ แต่เป็นเพราะประเทศเหล่านั้นเพิ่มทุนสินค้าและแรงงานเข้าไป ซึ่งไม่ได้มีการเพิ่มผลิตภาพที่แท้จริง เขาทำนายว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้จะเติบโตช้าลง เนื่องจากมีข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ
หนังสือของ Paul Krugman ที่น่าสนใจ เช่น The Great Unraveling: Losing Our Way in The New Century และThe Conscience of a Liberal โดยเฉพาะหนังสือ The Great Unraveling เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาที่โจมตีนโยบายทางเศรษฐกิจและการต่างประเทศของรัฐบาล
ประธานาธิบดี George Bush โดยเน้นที่การบริหารของรัฐบาลที่ทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณ และดุลการค้าอันเกิดจากการใช้จ่ายภาครัฐ การลดภาษีที่ไม่เหมาะสม และการทำสงครามในอีรัก ซึ่งในระยะยาวแล้วเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่อาจรักษาเสถียรภาพได้ และจะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2003 และเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม Paul Krugman เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Enron ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการทุจริต ฉ้อโกง หลอกลวง สาธารณชน และในเวลาต่อมาก็ล้มละลาย จนผู้บริหารหลายคนถูกตัดสินจำคุก ซึ่งเป็นคดีดังทางธุรกิจที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกาคดีหนึ่ง
http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=4982&user=chodechai
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
เปลี่ยนชีวิตมือถือด้วย 3G
น้ำค้าง ไชยพุฒ
Positioning Magazine กันยายน 2551
ลองนั่งจินตนาการดูเล่นๆ ไว้ก่อนล่วงหน้าว่า หากมือถือของคุณเล่นอินเทอร์เน็ตได้เร็วเท่าบรอดแบนด์ที่บ้าน คุณทั้งดาวน์โหลดเพลงเอ็มพีสามโดยใช้เวลาไม่เกิน 15 วินาที ดูทีวีได้โดยไม่กระตุก คุณจะรู้สึกอย่างไร
ลองจินตนาการต่ออีกสักนิดว่าในเวลาเดียวกันคุณยังสามารถเข้าเว็บไซต์โปรดผ่านมือถือ ทั้ง google, hi5 หรือแม้แต่ใช้บริการโปรแกรมแชตได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องนั่งรอจนเหงือกแห้ง คุณคิดว่าชีวิตคุณจะดีขึ้นไหม
คำถามเหล่านี้จะมีคำตอบในทันที เพราะหากไม่มีอะไรผิดพลาด ในอีกหนึ่งปีข้างหน้านับจากนี้คุณจะมีโอกาสได้เห็นสิ่งที่คุณจินตนาการไว้ได้อย่างครบถ้วนผ่านการให้บริการเครือข่าย “3G” ที่โอเปอเรเตอร์มือถือจะเปิดให้บริการนั่นเอง
มี 3G เน็ตบนมือถือก็ไม่เต่า
ก่อนหน้านี้ มีความพยายามมาโดยตลอด เพื่อที่จะบอกผู้คนในสังคมไทยว่าเขาจะได้รับบริการที่มากมายบานตะไท ดีและเท่อย่างไรจากเครือข่ายมือถือ 3G แต่ก็เชื่อได้ว่าคนหมู่มากยังจินตนาการไม่ออกว่า 3G จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตพวกเขาได้อย่างไร บริการที่ว่าจะใหม่แปลกมากพอไปกว่าที่เห็นทุกวันนี้แค่ไหน ในเมื่อข้อมูลตัวเลขสถิติชี้ชัดว่า คนไทยส่วนมากยังใช้มือถือไปกับ “โทรเข้าและรับสาย” มากกว่าใช้ส่งข้อความภาพแนบเสียง ดาวน์โหลดเพลง หรือแม้แต่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ขณะที่ ธนา เธียรอัจฉริยะ รองซีอีโอของดีแทค และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สิ่งที่ 3G จะทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้น เห็นจะเป็นเรื่องของ “ความเร็ว” โดยเฉพาะความเร็วของ “อินเทอร์เน็ต” ที่เมืองไทยยังประสบปัญหาอยู่มาก
ที่ผ่านมาการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย ไม่เพียงแต่ถูกจำกัดด้วยเรื่องของโครงข่ายสาย ที่ผู้บริโภคต้องยกหูถามผู้ให้บริการว่าจะได้ลากสายผ่านหน้าบ้านของตนเองหรือยัง อาทิ ค่ายทรู และทีโอที ผูกติดกับหมายเลขในกรุงเทพมหานคร ขณะที่ค่ายทีทีแอนด์ทีผูกติดกับตลาดต่างจังหวัด นอกจากนี้บางเส้นทางยังถูกแบ่งแยกเขตแดนของการให้บริการของแต่ละค่าย ความซับซ้อนและการผูกติดดังกล่าวทำให้ลูกค้าจำใจต้องเลือกผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งที่ว่า โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงเพราะจำเป็นต้องใช้งาน
แต่ปัญหาความเร็วที่แปรผันตามราคาค่างวดมักจะส่งผลให้ผู้บริโภคนั้นปวดหัวมาแต่ไหนแต่ไร แม้จะมีการให้บริการในความเร็วที่สูงถึง 2 เมกะบิตต่อวินาที เป็นขั้นพื้นฐาน โดยคิดราคาเริ่มต้นที่เฉลี่ย 590 บาทต่อเดือน ไม่รวมค่าภาษี ซึ่งเป็นราคามาตรฐานของตลาดไทยในปัจจุบัน แต่ต้องยอมรับว่า ความเร็วที่ได้ไม่เพียงแต่ไม่เต็มที่ แต่ยังถูกแบ่งกับผู้ใช้งานรายอื่น ณ ช่วงเวลานั้น พอๆ กับได้รับการควบคุมการใช้งานที่เกินขนาดจากผู้ให้บริการเสียเองด้วยซ้ำไป
อีกทั้ง หากประเมินตัวเลขราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จะพบว่าปัจจุบันไทยมีประชากรอยู่ 63,038,247 คน หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกช่องทางทั้งอินเทอร์เน็ตคาเฟ่, ใช้โมเด็มในบ้าน หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ตตำบล ทั้งสิ้นราว 15 ล้านราย จะพบว่าความหนาแน่นของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในไทย 4.2 % หรือคน 100 คน เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ถึง 5 คน เท่านั้นเอง
เครือข่าย 3G จะไม่เพียงจะเข้ามาลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของกลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึง เพราะขอให้มีเพียงสถานีฐานหรือเสาโทรศัพท์ไปตั้ง คนก็เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทันที และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่สัญญาณโทรศัพท์จะครอบคลุม แต่ยังปลดล็อกปัญหาเรื่องความเร็วที่ไม่คงที่ ปัญหาเรื่องสัญญาที่ผูกติดระหว่างค่ายกับพื้นที่ให้บริการ เหมือนอย่างที่ผ่านมาอีกด้วย
และนี่คือสิ่งที่คนไทยไม่เคยจะล่วงรู้ แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือหรือโอเปอเรเตอร์กลับรู้ดีกว่าใคร นับจากนี้เป็นต้นไป ถนนทุกสายของโอเปอเรเตอร์จึงไม่เน้นมุ่งหน้าไปยังการให้บริการที่เลิศหรู แต่ทุกคนต่างมุ่งไปหาการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย 3G แทบทั้งสิ้น
ความเร็วที่แตกต่างระหว่าง 2G และ 3G
ช่องทาง/ความเร็วในการรับส่งข้อมูล/ผลของความเร็ว
2G/10 กิโลบิต/วินาที/ใช้เวลา 31-41 นาทีในการดาวน์โหลดเพลง MP3 ความยาว 3 นาที
2.5G GPRS, EDGE)/ 64-144 กิโลบิต/วินาที/ใช้เวลา 6-9 นาทีในการดาวน์โหลดเพลง MP3 ความยาว 3 นาที
3G/144 กิโลบิต/วินาที - 2 เมกะไบต์/วินาที/เวลา 11 วินาที-1.5 นาทีในการดาวน์โหลดเพลง MP3 ความยาว 3 นาที
โมบายบรอดแบนด์
ว่ากันว่า เครือข่าย 3G ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้โอเปอเรเตอร์เพิ่มบทบาทและหน้าที่จากการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือมาเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือ ISP ด้วยในเวลาเดียวกัน และนั่นหมายถึงการมองหาโมเดลและรูปแบบใหม่ทั้งรูปแบบของการให้บริการและค่าใช้จ่ายที่จะสะท้อนความเป็นจริงจากการขายอินเทอร์เน็ตผ่านซิมการ์ดของมือถือด้วย
ในทางเดียวกัน เทคโนโลยี 3G ส่งผลให้ผู้คนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือหรือที่เรียกกันว่า โมบายบรอดแบนด์ ได้ทันทีโดยผ่านซิมการ์ดที่ใช้โทรออกหรือรับสายปกติ หรือจะเสียบสายต่อเข้าคอมพิวเตอร์ และสื่ออื่นได้ทุกที่ที่มีสัญญาณมือถือ
นี่คือเทรนด์ “โมบิลิตี้” ที่โพลไม่ว่าจะสำนักไหน หรือผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีทุกรายต่างยกให้ว่ากำลังมา และกำลังเติบโตเต็มที่
การพกพาคอมพิวเตอร์ออกไปนอกบ้าน และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานนอกสถานที่ การสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แม้จะนั่งอยู่บนรถไฟฟ้าใต้ดิน อยู่บนรถโดยสาร ไม่เว้นแม้กระทั่งบนเครื่องบิน เป็นสิ่งที่ผู้คนกำลังมองหา และดูเหมือนว่าโมบายบรอดแบนด์กำลังตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ
ในงานสัมมนาหัวข้อ “วินโดวส์โมบาย โมบิลิตี้ เทคโนโลยี แอนด์ พีดีเอโฟน อินโนเวชั่น 2008? ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พบว่าปัจจุบันมีคนไทยราว 15 ล้านคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต แต่ในจำนวนนั้นมีเพียง 1.5 ล้านรายที่ทดลองใช้โมบายบรอดแบนด์จริงๆ แต่ตัวเลขนี้หาใช่หยุดนิ่ง แต่จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3 ล้านรายในอีก 2-3 ปีข้างหน้า และผู้คนต่างบอกว่า สิ่งที่มีผลทำให้ตนเลือกโมบายบรอดแบนด์มาใช้ก็คือ จำนวนแบนด์วิธหรือความเร็วที่สูงขึ้น
มีการคาดการณ์กันว่าโมเดลของการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ นั้นจะฉีกกฎโมเดลของการให้บริการ GPRS หรือ EDGE ซึ่งคิดเหมาจ่ายเป็นนาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ และเดือน แต่โอเปอเรเตอร์จะหันมาใช้โมเดลแบบเดียวกันกับอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ทั่วไป คือเลือกเหมาจ่ายแบบรายเดือนใช้ไม่อั้นในความเร็วเริ่มต้นที่ 2 เมกะบิตต่อวินาที และผู้ใช้สามารถเลือกใช้ผ่านซิมการ์ดของตนเหมือนกับใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS และ EDGE ดังเช่นก่อนหน้า และสามารถใช้ผ่านสื่ออุปกรณ์ทั้งมือถือ หรือคอมพิวเตอร์พกพาในการใช้งาน
หากแผนการทั้งหมดเป็นจริง นี่คือโอกาสของโมบายบรอดแบนด์ที่จะมาเป็นทางเลือกใหม่ ที่จะมาเขย่าตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หากค่ายทรู ทีโอที ทีทีแอนด์ที ไม่ระวังส่วนแบ่งตลาดอาจหลุดลอยได้ง่าย
ตัวเลขการขยายตัวของบรอดแบนด์ในไทย
2550 1.2 ล้าน
2551 1.9 ล้าน
2552 2.7 ล้าน
ที่มา : ไอดีซี
หมายเหตุ : หน่วยเป็น Account โดยที่ 1 Account สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้หลายคน
สัดส่วนการใช้ GPRS ของ 3 โอเปอเรเตอร์หลัก
AIS 4,000,000 ราย
DTAC 2,900,000 ราย
TRUE Move 2,000,000 ราย
ที่มา : ไอดีซี
Did you know?
จากข้อมูลล่าสุดเชื่อว่า ทั่วโลกมีผู้ให้บริการ 3G แล้วราว 211 ราย ใน 95 ประเทศ
น้ำค้าง ไชยพุฒ
Positioning Magazine กันยายน 2551
ลองนั่งจินตนาการดูเล่นๆ ไว้ก่อนล่วงหน้าว่า หากมือถือของคุณเล่นอินเทอร์เน็ตได้เร็วเท่าบรอดแบนด์ที่บ้าน คุณทั้งดาวน์โหลดเพลงเอ็มพีสามโดยใช้เวลาไม่เกิน 15 วินาที ดูทีวีได้โดยไม่กระตุก คุณจะรู้สึกอย่างไร
ลองจินตนาการต่ออีกสักนิดว่าในเวลาเดียวกันคุณยังสามารถเข้าเว็บไซต์โปรดผ่านมือถือ ทั้ง google, hi5 หรือแม้แต่ใช้บริการโปรแกรมแชตได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องนั่งรอจนเหงือกแห้ง คุณคิดว่าชีวิตคุณจะดีขึ้นไหม
คำถามเหล่านี้จะมีคำตอบในทันที เพราะหากไม่มีอะไรผิดพลาด ในอีกหนึ่งปีข้างหน้านับจากนี้คุณจะมีโอกาสได้เห็นสิ่งที่คุณจินตนาการไว้ได้อย่างครบถ้วนผ่านการให้บริการเครือข่าย “3G” ที่โอเปอเรเตอร์มือถือจะเปิดให้บริการนั่นเอง
มี 3G เน็ตบนมือถือก็ไม่เต่า
ก่อนหน้านี้ มีความพยายามมาโดยตลอด เพื่อที่จะบอกผู้คนในสังคมไทยว่าเขาจะได้รับบริการที่มากมายบานตะไท ดีและเท่อย่างไรจากเครือข่ายมือถือ 3G แต่ก็เชื่อได้ว่าคนหมู่มากยังจินตนาการไม่ออกว่า 3G จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตพวกเขาได้อย่างไร บริการที่ว่าจะใหม่แปลกมากพอไปกว่าที่เห็นทุกวันนี้แค่ไหน ในเมื่อข้อมูลตัวเลขสถิติชี้ชัดว่า คนไทยส่วนมากยังใช้มือถือไปกับ “โทรเข้าและรับสาย” มากกว่าใช้ส่งข้อความภาพแนบเสียง ดาวน์โหลดเพลง หรือแม้แต่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ขณะที่ ธนา เธียรอัจฉริยะ รองซีอีโอของดีแทค และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า สิ่งที่ 3G จะทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้น เห็นจะเป็นเรื่องของ “ความเร็ว” โดยเฉพาะความเร็วของ “อินเทอร์เน็ต” ที่เมืองไทยยังประสบปัญหาอยู่มาก
ที่ผ่านมาการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย ไม่เพียงแต่ถูกจำกัดด้วยเรื่องของโครงข่ายสาย ที่ผู้บริโภคต้องยกหูถามผู้ให้บริการว่าจะได้ลากสายผ่านหน้าบ้านของตนเองหรือยัง อาทิ ค่ายทรู และทีโอที ผูกติดกับหมายเลขในกรุงเทพมหานคร ขณะที่ค่ายทีทีแอนด์ทีผูกติดกับตลาดต่างจังหวัด นอกจากนี้บางเส้นทางยังถูกแบ่งแยกเขตแดนของการให้บริการของแต่ละค่าย ความซับซ้อนและการผูกติดดังกล่าวทำให้ลูกค้าจำใจต้องเลือกผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งที่ว่า โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงเพราะจำเป็นต้องใช้งาน
แต่ปัญหาความเร็วที่แปรผันตามราคาค่างวดมักจะส่งผลให้ผู้บริโภคนั้นปวดหัวมาแต่ไหนแต่ไร แม้จะมีการให้บริการในความเร็วที่สูงถึง 2 เมกะบิตต่อวินาที เป็นขั้นพื้นฐาน โดยคิดราคาเริ่มต้นที่เฉลี่ย 590 บาทต่อเดือน ไม่รวมค่าภาษี ซึ่งเป็นราคามาตรฐานของตลาดไทยในปัจจุบัน แต่ต้องยอมรับว่า ความเร็วที่ได้ไม่เพียงแต่ไม่เต็มที่ แต่ยังถูกแบ่งกับผู้ใช้งานรายอื่น ณ ช่วงเวลานั้น พอๆ กับได้รับการควบคุมการใช้งานที่เกินขนาดจากผู้ให้บริการเสียเองด้วยซ้ำไป
อีกทั้ง หากประเมินตัวเลขราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 จะพบว่าปัจจุบันไทยมีประชากรอยู่ 63,038,247 คน หากนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกช่องทางทั้งอินเทอร์เน็ตคาเฟ่, ใช้โมเด็มในบ้าน หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ตตำบล ทั้งสิ้นราว 15 ล้านราย จะพบว่าความหนาแน่นของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในไทย 4.2 % หรือคน 100 คน เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ถึง 5 คน เท่านั้นเอง
เครือข่าย 3G จะไม่เพียงจะเข้ามาลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของกลุ่มคนที่ยังเข้าไม่ถึง เพราะขอให้มีเพียงสถานีฐานหรือเสาโทรศัพท์ไปตั้ง คนก็เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทันที และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่สัญญาณโทรศัพท์จะครอบคลุม แต่ยังปลดล็อกปัญหาเรื่องความเร็วที่ไม่คงที่ ปัญหาเรื่องสัญญาที่ผูกติดระหว่างค่ายกับพื้นที่ให้บริการ เหมือนอย่างที่ผ่านมาอีกด้วย
และนี่คือสิ่งที่คนไทยไม่เคยจะล่วงรู้ แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือหรือโอเปอเรเตอร์กลับรู้ดีกว่าใคร นับจากนี้เป็นต้นไป ถนนทุกสายของโอเปอเรเตอร์จึงไม่เน้นมุ่งหน้าไปยังการให้บริการที่เลิศหรู แต่ทุกคนต่างมุ่งไปหาการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย 3G แทบทั้งสิ้น
ความเร็วที่แตกต่างระหว่าง 2G และ 3G
ช่องทาง/ความเร็วในการรับส่งข้อมูล/ผลของความเร็ว
2G/10 กิโลบิต/วินาที/ใช้เวลา 31-41 นาทีในการดาวน์โหลดเพลง MP3 ความยาว 3 นาที
2.5G GPRS, EDGE)/ 64-144 กิโลบิต/วินาที/ใช้เวลา 6-9 นาทีในการดาวน์โหลดเพลง MP3 ความยาว 3 นาที
3G/144 กิโลบิต/วินาที - 2 เมกะไบต์/วินาที/เวลา 11 วินาที-1.5 นาทีในการดาวน์โหลดเพลง MP3 ความยาว 3 นาที
โมบายบรอดแบนด์
ว่ากันว่า เครือข่าย 3G ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้โอเปอเรเตอร์เพิ่มบทบาทและหน้าที่จากการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือมาเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือ ISP ด้วยในเวลาเดียวกัน และนั่นหมายถึงการมองหาโมเดลและรูปแบบใหม่ทั้งรูปแบบของการให้บริการและค่าใช้จ่ายที่จะสะท้อนความเป็นจริงจากการขายอินเทอร์เน็ตผ่านซิมการ์ดของมือถือด้วย
ในทางเดียวกัน เทคโนโลยี 3G ส่งผลให้ผู้คนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือหรือที่เรียกกันว่า โมบายบรอดแบนด์ ได้ทันทีโดยผ่านซิมการ์ดที่ใช้โทรออกหรือรับสายปกติ หรือจะเสียบสายต่อเข้าคอมพิวเตอร์ และสื่ออื่นได้ทุกที่ที่มีสัญญาณมือถือ
นี่คือเทรนด์ “โมบิลิตี้” ที่โพลไม่ว่าจะสำนักไหน หรือผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีทุกรายต่างยกให้ว่ากำลังมา และกำลังเติบโตเต็มที่
การพกพาคอมพิวเตอร์ออกไปนอกบ้าน และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานนอกสถานที่ การสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แม้จะนั่งอยู่บนรถไฟฟ้าใต้ดิน อยู่บนรถโดยสาร ไม่เว้นแม้กระทั่งบนเครื่องบิน เป็นสิ่งที่ผู้คนกำลังมองหา และดูเหมือนว่าโมบายบรอดแบนด์กำลังตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้อย่างเหมาะเจาะ
ในงานสัมมนาหัวข้อ “วินโดวส์โมบาย โมบิลิตี้ เทคโนโลยี แอนด์ พีดีเอโฟน อินโนเวชั่น 2008? ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พบว่าปัจจุบันมีคนไทยราว 15 ล้านคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต แต่ในจำนวนนั้นมีเพียง 1.5 ล้านรายที่ทดลองใช้โมบายบรอดแบนด์จริงๆ แต่ตัวเลขนี้หาใช่หยุดนิ่ง แต่จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3 ล้านรายในอีก 2-3 ปีข้างหน้า และผู้คนต่างบอกว่า สิ่งที่มีผลทำให้ตนเลือกโมบายบรอดแบนด์มาใช้ก็คือ จำนวนแบนด์วิธหรือความเร็วที่สูงขึ้น
มีการคาดการณ์กันว่าโมเดลของการให้บริการโมบายบรอดแบนด์ นั้นจะฉีกกฎโมเดลของการให้บริการ GPRS หรือ EDGE ซึ่งคิดเหมาจ่ายเป็นนาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ และเดือน แต่โอเปอเรเตอร์จะหันมาใช้โมเดลแบบเดียวกันกับอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ทั่วไป คือเลือกเหมาจ่ายแบบรายเดือนใช้ไม่อั้นในความเร็วเริ่มต้นที่ 2 เมกะบิตต่อวินาที และผู้ใช้สามารถเลือกใช้ผ่านซิมการ์ดของตนเหมือนกับใช้อินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS และ EDGE ดังเช่นก่อนหน้า และสามารถใช้ผ่านสื่ออุปกรณ์ทั้งมือถือ หรือคอมพิวเตอร์พกพาในการใช้งาน
หากแผนการทั้งหมดเป็นจริง นี่คือโอกาสของโมบายบรอดแบนด์ที่จะมาเป็นทางเลือกใหม่ ที่จะมาเขย่าตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หากค่ายทรู ทีโอที ทีทีแอนด์ที ไม่ระวังส่วนแบ่งตลาดอาจหลุดลอยได้ง่าย
ตัวเลขการขยายตัวของบรอดแบนด์ในไทย
2550 1.2 ล้าน
2551 1.9 ล้าน
2552 2.7 ล้าน
ที่มา : ไอดีซี
หมายเหตุ : หน่วยเป็น Account โดยที่ 1 Account สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้หลายคน
สัดส่วนการใช้ GPRS ของ 3 โอเปอเรเตอร์หลัก
AIS 4,000,000 ราย
DTAC 2,900,000 ราย
TRUE Move 2,000,000 ราย
ที่มา : ไอดีซี
Did you know?
จากข้อมูลล่าสุดเชื่อว่า ทั่วโลกมีผู้ให้บริการ 3G แล้วราว 211 ราย ใน 95 ประเทศ
ตลาด 3G ทั่วโลก ก่อนถึงหลักชัย ต้องปรับกระบวนรบ
ชฎาพันธุ์ มลิพันธุ์
Positioning Magazine กันยายน 2551
ปี 2544 เป็นจุดเปลี่ยนเทคโนโลยีครั้งใหญ่ เมื่อญี่ปุ่นประกาศใช้ 3G เชิงพาณิชย์เป็นเจ้าแรก หลังจากนั้น 1 ปีก็ตามติดมาด้วยอังกฤษ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป ทว่าทุกประเทศต่างมีบทเรียนว่าทุกการเริ่มต้นย่อมเผชิญอุปสรรค ขณะเดียวกันก็มี "ปัจจัยแห่งความสำเร็จ" ที่ทำให้ตลาดเติบโตได้
ญี่ปุ่น – "ภาพอนาคต" ของตลาดใหม่
ผู้บุกเบิกตลาด 3G ในญี่ปุ่น คือ NTT DoCoMo ไม่มีอุปสรรคมากนักเพราะไม่ต้องแก้ระบบ Roaming ที่ซับซ้อน ผู้บริโภคก็เคยชินกับการใช้บริการ Non-voice มานานแล้ว และได้แรงหนุนจากภาครัฐแข็งขัน ขณะที่ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติต้องพลาดท่า Vodafone KK จากอังกฤษเสียลูกค้าจำนวนมากในช่วงเปลี่ยนระบบ 2G เป็น 3G จนต้องขายบริษัทกลายเป็น SoftBank Mobile ไป เนื่องจากโทรศัพท์รองรับ 3G สไตล์ยุโรปมีขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่เข้าใจว่าผู้บริโภคญี่ปุ่นชอบโทรศัพท์น้ำหนักเบา
ปัจจุบันญี่ปุ่นมีเจ้าของเครือข่าย (Operators) หลัก 3 รายคือ NTT DoCoMo, KDDI และ Softbank มีผู้ใช้โทรมือถือ (Subscribers) กว่า 100 ล้านคน และใช้ 3G กว่า 80% ด้วยบริการฉับไวทันสมัยเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของชาวญี่ปุ่น เช่น ใช้โทรศัพท์ดูทีวีบนรถไฟใต้ดิน ดาวน์โหลด e-book มาอ่าน บ้างก็นั่งเขียนบล็อก เล่นเกม ดูแค็ตตาล็อกสินค้าใหม่ แม้กระทั่งจ่ายเงินซื้อสินค้า นอกจากนี้มี 44% คลิกโฆษณา โทรศัพท์มือถือจึงเป็นชีวิตประจำวันของพวกเขาอย่างแท้จริงและกำลังก้าวสู่ 4G ทำให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำและเป็น "ภาพอนาคต" ของกิจกรรมการใช้โทรศัพท์ไร้สายและโฆษณาของตลาดใหม่ในเอเชีย
ตลาดอเมริกา ต้องแพ้ก่อนถึงจะชนะ
ในอเมริกา บริษัทโทรคมนาคมที่พยายามเจาะตลาด 3G เจ้าแรก คือ Monet Mobile Network ในปี 2546 แต่ไม่นานก็ต้องปิดตัวลงเพราะระบบพื้นฐานไม่พร้อม การเชื่อมโยงบรอดแบนด์จำกัด เน้นเฉพาะตลาดระดับกลางและเล็ก ต่อมา Verizon ที่พร้อมกว่าก็ยึดตลาดแทน
จนบัดนี้ การตลาดบนโทรศัพท์มือถือเพิ่มดีกรีร้อนแรงขึ้นทุกวัน เพราะขยันหาไอเดียหวือหวาและหลอกล่อด้วย "ของฟรี" แม้คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ชอบโฆษณาแต่ก็เปลี่ยนใจหากจ่ายค่าโทรศัพท์ถูกลง ผู้ให้บริการโทรศัพท์เช่น Verizon, Sprint and Cingular และ AT&T จึงทดสอบแคมเปญโฆษณาบนมือถือให้ผู้ใช้ได้บริการดีขึ้นและดูคอนเทนต์ฟรี ยิ่งดูโฆษณาจะเสียค่าโทรศัพท์ลดลง จึงเชื่อว่าปีหน้าจะมีโฆษณาช่องทางนี้มากขึ้น ขณะที่ Amp’d Mobile มุ่งไปที่วัยรุ่น 18 – 24 ปี สมาชิกได้ดูรายการฟรีแต่ต้องดูโฆษณาด้วย เหมือนแคมเปญในอังกฤษ วัยทีนได้โทรฟรีแลกกับดูโฆษณาและตอบแบบสอบถาม
ตลาดจีน อินเดีย 3G จะมาแรงติดจรวด ในตลาดเอเชียส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ เพิ่งพัฒนาระบบ 3G ได้ไม่นาน Biraja Swain ผู้อำนวยการของ MEC International สิงคโปร์จึงมองว่า 90 - 95% ของการใช้โทรศัพท์มือถือเน้นโทรคุยกันหรือไม่ก็ส่งข้อความอักษร ดังนั้นโฆษณาผ่านมือถือใน "ตลาดใหม่" เหล่านี้จะอยู่บนพื้นฐานของ SMS เช่น ให้ส่วนลด 15% ให้กลุ่มเป้าหมายช่วงอาหารกลางวัน
แต่ไม่ใช่สำหรับจีนและอินเดีย ด้วยจำนวนประชากรล้นหลามและใช้โทรศัพท์มือถือเป็น “จอแรก” ในชีวิตประจำวัน จึงเชื่อกันว่าตลาดนี้จะเฟื่องฟูเหมือนญี่ปุ่น แต่ต้องรอความพร้อมของระบบ ซึ่งปัจจุบันตลาดจีนยังใช้ GSM (2G) เป็นส่วนใหญ่ China Mobile เป็นรายใหญ่ 70% ทว่ารัฐบาลเตรียมออกใบอนุญาตและมาตรการช่วยเหลือในการเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์เพื่อหนุน 3G เต็มที่ จึงมีแนวโน้มว่าบริษัทข้ามชาติจะมาร่วมฟาดฟันในตลาดขนาดมหึมานี้อีกมาก ส่วนตลาดอินเดียก็คึกคักไม่น้อยหน้า Bharti Airtel ผู้นำโทรคมนาคมที่ครองตลาด 50% เพิ่งประกาศความพร้อมด้านคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่นและพาร์ตเนอร์เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา โดยใช้การเปิดตัว iPhone 3G ในอินเดียเป็นตัวนำร่องอีกด้วย
ใช่ว่า iPhone 3G จะช่วยกรุยทาง กระแสคลั่งไคล้ iPhone ระบาดไปทั่วโลก ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าการเปิดตัว iPhone 3G ทั่วเอเชียเมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมาจะเร่งให้ตลาด 3G ขยายตัว ทว่าเอาเข้าจริงตลาดเวียดนามกลับ "แป้ก" ด้วยข้อจำกัดที่รัฐไม่เปิดทาง และหลายบริการ 3G ไม่พร้อมจนกว่าจะปีหน้า ทำให้การใช้จริงแตกต่างจากที่ผู้บริโภคคาดหวัง นอกจากนี้มีสาเหตุจาก "ราคา iPhone สูงไป ฟังก์ชันในรุ่น 3G ก็ไม่ต่างจากรุ่นแรกมากนัก"
พฤติกรรมบ่งชี้ตลาด สำหรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย พบว่าการใช้โทรศัพท์ไร้สายเน้นเป็น "จอที่สาม" เมื่อพิจารณาจากมาเลเซียที่ใช้ 3G มาตั้งแต่ปี 2548 พบว่าพฤติกรรมใช้สื่อบนโทรศัพท์มือถือกลับไม่หวือหวาเท่าคอมพิวเตอร์ มี Penetration Rate แค่ 15% ดังนั้น พฤติกรรมพื้นฐานเหล่านี้มีส่วนทำให้การทำตลาดบนมือถือไม่ดึงดูดใจ และอาจเกิดขึ้นกับตลาดไทยในอนาคต ที่แม้ 3G จะแพร่หลายแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าคนไทยจะนิยมออนไลน์ผ่าน "จอที่ 2" หรือคอมพิวเตอร์มากกว่า
Timeline
2544
- (พฤษภาคม) ญี่ปุ่น NTT DoCoMo ให้บริการ3G ภายใต้ชื่อ “FOMA”
- (ธันวาคม) อังกฤษ British Telecom ส่วนยุโรป Telenor เป็นเจ้าแรกเปิดตัว W-CDMA (UMTS)
2545
- (มกราคม) เกาหลีใต้ SK Telecom เสนอระบบ CDMA2000 1xEV-DO
2546
- (เมษายน) ออสเตรเลีย Hutchison
- (ตุลาคม) สหรัฐอเมริกา Verizon เป็นเจ้าแรก CDMA2000 1x EV-DO อย่างเป็นทางการ หลัง Monet Mobile Network ไม่ประสบความสำเร็จ
2547
- (ธันวาคม) ฝรั่งเศส Orange เปิดตัว WCDMA
2548
- (เมษายน) สิงคโปร์ SingTel เปิดตัวเครือข่าย 3G หลังทดสอบตลาดปลายปี 2547
- มาเลเซีย เปิดตัว WCDMA เป็นทางการ หลัง Soft Lunch โดย Huawai เมื่อ 2 ปีก่อน
2549
- (ตุลาคม) กัมพูชา โดย CamGSM (Mobitel) เปิดตัว 3G/UMTS
- (ตุลาคม) ออสเตรเลีย ยักษ์ใหญ่ Telstar เปิดตัวระบบ 3G ชื่อ "NextG (TM)" บนความถี่ 850 MHz
2550
- เวียดนาม บริษัทโทรคมนาคมได้ใบอนุญาตให้บริการ 3G ระบบ WCDMA
2551
- (พฤษภาคม) จีน ประกาศจะเปิดตัว 3G เป็นทางการภายในปีนี้ หลังจากเลื่อนหลายครั้ง
- (สิงหาคม) ไทย เอกชนและรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารอนุมัติแผนให้บริการ 3G
การเติบโตของ WCDMA/UMTS (3G) และ HSPA (3.5G) ในโซนต่าง ๆ
ทวีป WCDMA (3G) HSPA (3.5G)
อเมริกา (เหนือและใต้) 2,698% 802%
แอฟริกา 371% 558%
ตะวันออกกลาง 220% 471%
ยุโรปตะวันออก 170% 267%
สหรัฐอเมริกา/แคนาดา 145% 989%
ยุโรปตะวันตก 83% 364%
เอเชียแปซิฟิก 70% 562%
10 อันดับประเทศผู้ใช้ WCDMA/UMTS (3G) และ HSPA (3.5G)
ปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ W-CDMA* หรือ UMTS (3 G) ประมาณ 200 เครือข่ายในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ HSDPA (3.5G) ใช้กันมากกว่า 71 ประเทศ
ประเทศ WCDMA/UMTS (3G) HSPA (3.5G)
ญี่ปุ่น 62% 3%
ออสเตรเลีย 42% 19%
สิงคโปร์ 40% 2%
ลักเซมเบิร์ก 39% 1%
ไอร์แลนด์ 38% 3%
ฮ่องกง 38% 1%
บรูไน 37% 0%
โปรตุเกส 36% 2%
สวีเดน 32% 1%
ไต้หวัน 31% 1%
ที่มา : UMTS Forum, 2551
*WCDMA เป็นระบบเดียวกับ UMTS (Universal Mobile Telecommunication System หรือโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่สากล)
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และอัตราการใช้ 3G (Penetration Rate) ของตลาดญี่ปุ่น
2543– 53%
2544 – 59%
2545 – 64%
2546 – 68%
2547– 72%
2548 – 76%
2549 – 80%
2550 – 82%
แหล่งที่มา - Ministry of Internal Affairs and Communications, SCIBS Research
Positioning Magazine กันยายน 2551
ปี 2544 เป็นจุดเปลี่ยนเทคโนโลยีครั้งใหญ่ เมื่อญี่ปุ่นประกาศใช้ 3G เชิงพาณิชย์เป็นเจ้าแรก หลังจากนั้น 1 ปีก็ตามติดมาด้วยอังกฤษ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป ทว่าทุกประเทศต่างมีบทเรียนว่าทุกการเริ่มต้นย่อมเผชิญอุปสรรค ขณะเดียวกันก็มี "ปัจจัยแห่งความสำเร็จ" ที่ทำให้ตลาดเติบโตได้
ญี่ปุ่น – "ภาพอนาคต" ของตลาดใหม่
ผู้บุกเบิกตลาด 3G ในญี่ปุ่น คือ NTT DoCoMo ไม่มีอุปสรรคมากนักเพราะไม่ต้องแก้ระบบ Roaming ที่ซับซ้อน ผู้บริโภคก็เคยชินกับการใช้บริการ Non-voice มานานแล้ว และได้แรงหนุนจากภาครัฐแข็งขัน ขณะที่ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติต้องพลาดท่า Vodafone KK จากอังกฤษเสียลูกค้าจำนวนมากในช่วงเปลี่ยนระบบ 2G เป็น 3G จนต้องขายบริษัทกลายเป็น SoftBank Mobile ไป เนื่องจากโทรศัพท์รองรับ 3G สไตล์ยุโรปมีขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่เข้าใจว่าผู้บริโภคญี่ปุ่นชอบโทรศัพท์น้ำหนักเบา
ปัจจุบันญี่ปุ่นมีเจ้าของเครือข่าย (Operators) หลัก 3 รายคือ NTT DoCoMo, KDDI และ Softbank มีผู้ใช้โทรมือถือ (Subscribers) กว่า 100 ล้านคน และใช้ 3G กว่า 80% ด้วยบริการฉับไวทันสมัยเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของชาวญี่ปุ่น เช่น ใช้โทรศัพท์ดูทีวีบนรถไฟใต้ดิน ดาวน์โหลด e-book มาอ่าน บ้างก็นั่งเขียนบล็อก เล่นเกม ดูแค็ตตาล็อกสินค้าใหม่ แม้กระทั่งจ่ายเงินซื้อสินค้า นอกจากนี้มี 44% คลิกโฆษณา โทรศัพท์มือถือจึงเป็นชีวิตประจำวันของพวกเขาอย่างแท้จริงและกำลังก้าวสู่ 4G ทำให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำและเป็น "ภาพอนาคต" ของกิจกรรมการใช้โทรศัพท์ไร้สายและโฆษณาของตลาดใหม่ในเอเชีย
ตลาดอเมริกา ต้องแพ้ก่อนถึงจะชนะ
ในอเมริกา บริษัทโทรคมนาคมที่พยายามเจาะตลาด 3G เจ้าแรก คือ Monet Mobile Network ในปี 2546 แต่ไม่นานก็ต้องปิดตัวลงเพราะระบบพื้นฐานไม่พร้อม การเชื่อมโยงบรอดแบนด์จำกัด เน้นเฉพาะตลาดระดับกลางและเล็ก ต่อมา Verizon ที่พร้อมกว่าก็ยึดตลาดแทน
จนบัดนี้ การตลาดบนโทรศัพท์มือถือเพิ่มดีกรีร้อนแรงขึ้นทุกวัน เพราะขยันหาไอเดียหวือหวาและหลอกล่อด้วย "ของฟรี" แม้คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ชอบโฆษณาแต่ก็เปลี่ยนใจหากจ่ายค่าโทรศัพท์ถูกลง ผู้ให้บริการโทรศัพท์เช่น Verizon, Sprint and Cingular และ AT&T จึงทดสอบแคมเปญโฆษณาบนมือถือให้ผู้ใช้ได้บริการดีขึ้นและดูคอนเทนต์ฟรี ยิ่งดูโฆษณาจะเสียค่าโทรศัพท์ลดลง จึงเชื่อว่าปีหน้าจะมีโฆษณาช่องทางนี้มากขึ้น ขณะที่ Amp’d Mobile มุ่งไปที่วัยรุ่น 18 – 24 ปี สมาชิกได้ดูรายการฟรีแต่ต้องดูโฆษณาด้วย เหมือนแคมเปญในอังกฤษ วัยทีนได้โทรฟรีแลกกับดูโฆษณาและตอบแบบสอบถาม
ตลาดจีน อินเดีย 3G จะมาแรงติดจรวด ในตลาดเอเชียส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ เพิ่งพัฒนาระบบ 3G ได้ไม่นาน Biraja Swain ผู้อำนวยการของ MEC International สิงคโปร์จึงมองว่า 90 - 95% ของการใช้โทรศัพท์มือถือเน้นโทรคุยกันหรือไม่ก็ส่งข้อความอักษร ดังนั้นโฆษณาผ่านมือถือใน "ตลาดใหม่" เหล่านี้จะอยู่บนพื้นฐานของ SMS เช่น ให้ส่วนลด 15% ให้กลุ่มเป้าหมายช่วงอาหารกลางวัน
แต่ไม่ใช่สำหรับจีนและอินเดีย ด้วยจำนวนประชากรล้นหลามและใช้โทรศัพท์มือถือเป็น “จอแรก” ในชีวิตประจำวัน จึงเชื่อกันว่าตลาดนี้จะเฟื่องฟูเหมือนญี่ปุ่น แต่ต้องรอความพร้อมของระบบ ซึ่งปัจจุบันตลาดจีนยังใช้ GSM (2G) เป็นส่วนใหญ่ China Mobile เป็นรายใหญ่ 70% ทว่ารัฐบาลเตรียมออกใบอนุญาตและมาตรการช่วยเหลือในการเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์เพื่อหนุน 3G เต็มที่ จึงมีแนวโน้มว่าบริษัทข้ามชาติจะมาร่วมฟาดฟันในตลาดขนาดมหึมานี้อีกมาก ส่วนตลาดอินเดียก็คึกคักไม่น้อยหน้า Bharti Airtel ผู้นำโทรคมนาคมที่ครองตลาด 50% เพิ่งประกาศความพร้อมด้านคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่นและพาร์ตเนอร์เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา โดยใช้การเปิดตัว iPhone 3G ในอินเดียเป็นตัวนำร่องอีกด้วย
ใช่ว่า iPhone 3G จะช่วยกรุยทาง กระแสคลั่งไคล้ iPhone ระบาดไปทั่วโลก ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าการเปิดตัว iPhone 3G ทั่วเอเชียเมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมาจะเร่งให้ตลาด 3G ขยายตัว ทว่าเอาเข้าจริงตลาดเวียดนามกลับ "แป้ก" ด้วยข้อจำกัดที่รัฐไม่เปิดทาง และหลายบริการ 3G ไม่พร้อมจนกว่าจะปีหน้า ทำให้การใช้จริงแตกต่างจากที่ผู้บริโภคคาดหวัง นอกจากนี้มีสาเหตุจาก "ราคา iPhone สูงไป ฟังก์ชันในรุ่น 3G ก็ไม่ต่างจากรุ่นแรกมากนัก"
พฤติกรรมบ่งชี้ตลาด สำหรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย พบว่าการใช้โทรศัพท์ไร้สายเน้นเป็น "จอที่สาม" เมื่อพิจารณาจากมาเลเซียที่ใช้ 3G มาตั้งแต่ปี 2548 พบว่าพฤติกรรมใช้สื่อบนโทรศัพท์มือถือกลับไม่หวือหวาเท่าคอมพิวเตอร์ มี Penetration Rate แค่ 15% ดังนั้น พฤติกรรมพื้นฐานเหล่านี้มีส่วนทำให้การทำตลาดบนมือถือไม่ดึงดูดใจ และอาจเกิดขึ้นกับตลาดไทยในอนาคต ที่แม้ 3G จะแพร่หลายแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าคนไทยจะนิยมออนไลน์ผ่าน "จอที่ 2" หรือคอมพิวเตอร์มากกว่า
Timeline
2544
- (พฤษภาคม) ญี่ปุ่น NTT DoCoMo ให้บริการ3G ภายใต้ชื่อ “FOMA”
- (ธันวาคม) อังกฤษ British Telecom ส่วนยุโรป Telenor เป็นเจ้าแรกเปิดตัว W-CDMA (UMTS)
2545
- (มกราคม) เกาหลีใต้ SK Telecom เสนอระบบ CDMA2000 1xEV-DO
2546
- (เมษายน) ออสเตรเลีย Hutchison
- (ตุลาคม) สหรัฐอเมริกา Verizon เป็นเจ้าแรก CDMA2000 1x EV-DO อย่างเป็นทางการ หลัง Monet Mobile Network ไม่ประสบความสำเร็จ
2547
- (ธันวาคม) ฝรั่งเศส Orange เปิดตัว WCDMA
2548
- (เมษายน) สิงคโปร์ SingTel เปิดตัวเครือข่าย 3G หลังทดสอบตลาดปลายปี 2547
- มาเลเซีย เปิดตัว WCDMA เป็นทางการ หลัง Soft Lunch โดย Huawai เมื่อ 2 ปีก่อน
2549
- (ตุลาคม) กัมพูชา โดย CamGSM (Mobitel) เปิดตัว 3G/UMTS
- (ตุลาคม) ออสเตรเลีย ยักษ์ใหญ่ Telstar เปิดตัวระบบ 3G ชื่อ "NextG (TM)" บนความถี่ 850 MHz
2550
- เวียดนาม บริษัทโทรคมนาคมได้ใบอนุญาตให้บริการ 3G ระบบ WCDMA
2551
- (พฤษภาคม) จีน ประกาศจะเปิดตัว 3G เป็นทางการภายในปีนี้ หลังจากเลื่อนหลายครั้ง
- (สิงหาคม) ไทย เอกชนและรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารอนุมัติแผนให้บริการ 3G
การเติบโตของ WCDMA/UMTS (3G) และ HSPA (3.5G) ในโซนต่าง ๆ
ทวีป WCDMA (3G) HSPA (3.5G)
อเมริกา (เหนือและใต้) 2,698% 802%
แอฟริกา 371% 558%
ตะวันออกกลาง 220% 471%
ยุโรปตะวันออก 170% 267%
สหรัฐอเมริกา/แคนาดา 145% 989%
ยุโรปตะวันตก 83% 364%
เอเชียแปซิฟิก 70% 562%
10 อันดับประเทศผู้ใช้ WCDMA/UMTS (3G) และ HSPA (3.5G)
ปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ W-CDMA* หรือ UMTS (3 G) ประมาณ 200 เครือข่ายในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ HSDPA (3.5G) ใช้กันมากกว่า 71 ประเทศ
ประเทศ WCDMA/UMTS (3G) HSPA (3.5G)
ญี่ปุ่น 62% 3%
ออสเตรเลีย 42% 19%
สิงคโปร์ 40% 2%
ลักเซมเบิร์ก 39% 1%
ไอร์แลนด์ 38% 3%
ฮ่องกง 38% 1%
บรูไน 37% 0%
โปรตุเกส 36% 2%
สวีเดน 32% 1%
ไต้หวัน 31% 1%
ที่มา : UMTS Forum, 2551
*WCDMA เป็นระบบเดียวกับ UMTS (Universal Mobile Telecommunication System หรือโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่สากล)
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และอัตราการใช้ 3G (Penetration Rate) ของตลาดญี่ปุ่น
2543– 53%
2544 – 59%
2545 – 64%
2546 – 68%
2547– 72%
2548 – 76%
2549 – 80%
2550 – 82%
แหล่งที่มา - Ministry of Internal Affairs and Communications, SCIBS Research
3G ทะลุโลก
สุกรี แมนชัยนิมิต
Positioning Magazine กันยายน 2551
โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือ 3G (Third Generation) เทคโนโลยีที่ทำให้การสื่อสารติด “Speed” มากขึ้น ในทุกที่ทุกเวลา กำลังจะทำให้เกิดปรากฏการณ์มากมายในสังคมไทย ตั้งแต่ “ไลฟ์สไตล์” ไปจนถึง “จีดีพี” ของประเทศ
3G ทำให้ “ผู้เล่น” ที่อยู่ในธุรกิจสื่อสารตื่นตัว และแข่งขันกันอย่างหนักที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจ เป็นเดิมพันเพื่อสร้างรายได้ครั้งใหม่ในอนาคต 3G ยังทำให้ผู้คนสะดวกในการหาความรู้ ความบันเทิง ในทุกที่ทุกเวลา จนเป็นที่มาของธุรกิจต่อเนื่อง การตลาดรูปแบบใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย
...นี่จึงเป็นช่วงเวลาเของ 3G
จาก 1G ถึง 3G ประเทศไทยใช้เวลาเกือบ 20 ปี ปัจจุบันไทยอยู่ในยุค 2.5G ทำให้การโหลดข้อมูลขนาด 1 เมกะไบต์ ยังต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 นาที แต่หากเป็น 3G ใช้เวลาเพียง 4 วินาที ซึ่งต่างประเทศมี 3G ให้บริการมานานเกือบ 10 ปี และบางประเทศกำลังก้าวไปสู่ยุค 4G เพราะไทยมีอุปสรรคอยู่ที่ “การเมือง” และการแย่งชิง “ผลประโยชน์” ที่ไม่ลงตัว ทำให้ ณ วันนี้ 3G ในไทยเพิ่งเริ่มต้น
ปี 2551 ถือว่ามีความเคลื่อนไหวของการเมือง และการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของภาครัฐมากมาย โดยเฉพาะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จนเมื่อการ “วิ่งเต้น” สำเร็จ ทำให้รัฐช่วยกันเคาะให้เกิดโครงการ 3G ในที่สุด แม้จะไม่ใช่ในย่านความถี่ 2.1 GHz อย่างที่เป็นนิยมใช้กันทั่วโลกในเวลานี้ แต่ก้าวแรกกับย่านความถี่ 800-900 MHz ก็ถือว่าลงตัว เพื่อพร้อมลุยตลาดเต็มที่ หากปี 2552 กทช.จัดสรรคลื่น 2.1 GHz ให้ผู้ประกอบการ
เมื่อโอกาสมาถึง เอกชน 3 ราย คือ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ในเครือบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่าง “ร้อนวิชา” กันเต็มที่ ทั้งการเตรียมแผนลงทุน เตรียมบุคลากร และทางการตลาด เพราะหากภายใน 1-2 ปีนี้ยังไม่มี 3G รายได้ของแต่ละบริษัทอาจลดลง
สัญญาณมีให้เห็นจากผลประกอบการในแต่ละไตรมาสในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่แม้รายได้รวมเป็นบวก แต่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดลง อัตราการทำกำไรลดลง แม้แต่เบอร์ 1 ในตลาดอย่างเอไอเอส ที่ปี 2547 เคยทำได้ 20.87% ในปี 2550 ทำได้เพียง 14.93% และรายได้ต่อเลขหมายเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่สัญญาณของความจำเป็นต้องมี 3G เห็นได้จากรายได้การใช้บริการ Non Voice หรือสื่อสารข้อมูลดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยทำรายได้ให้ไม่ถึง 5% ภายในไม่ถึง 2 ปี ทำรายได้ให้ถึงกว่า 10% ของรายได้ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าตลาดมีความต้องการใช้บริการสื่อสาร เพียงแต่ตัวเลขไม่เติบโตแรง เพราะความเร็วในระดับ 2.5G ในปัจจุบันไม่สามารถสนองความต้องการได้
บทพิสูจน์ว่า Speed จะช่วยให้รายได้วิ่งฉิว คือเมื่อบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเสนอบริการความเร็วที่ 2 Mbps ปรากฏว่าจุดพลุให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กรณีของทรูออนไลน์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด เพราะรายงานในไตรมาส 2 ปี 2551 ว่ามีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 31,000 ราย สูงสุดในรอบ 1 ปี เพราะแพ็กเกจไฮสปีด 2 Mbps นี่ขนาดเป็นเพียงไฮสปีดอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่กับที่ ซึ่งคงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากโทรศัพท์มือถือสามารถทำให้คนเล่นไฮสปีดอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา และขณะเคลื่อนที่ได้ จะได้รับการตอบรับจากผู้ใช้บริการมากเพียงใด
เมื่อ Speed มาแล้ว คอนเทนต์ และ Application ต่างๆ จะตามมา หลายอย่างที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G จะทำให้เป็นจริงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโมบาย แบงกิ้ง การโหลดหนัง ฟังเพลง ภายในเวลาไม่กี่วินาที การซื้อขายผ่านออนไลน์ Social Networking ที่ขยายตัวมากขึ้น และทุกอย่างจะสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ตั้งแต่เน็ตบุ๊กไปจนถึงเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีพร้อมอยู่ในตลาดรองรับ 3G อยู่แล้ว
3G ยังทำให้วงการธุรกิจโฆษณาคึกคัก เพราะนี่คือช่องทางที่สามารถใช้สื่อสารเพื่อเจาะ Segment ที่ต้องการ และได้ผลมากที่สุด เพราะจอที่ 3 นี้อยู่ในมือของลูกค้าทุกคน
ทั้งหมดนี้คือเทคโนโลยี 3G ที่กำลังสร้างโอกาสของธุรกิจใหม่ๆ และที่สำคัญกำลังนำเทรนด์ใหม่ เข้ามาสู่ไลฟ์สไตล์ของคุณทุกคน
เกิดอะไรขึ้นเมื่อมี 3G
1. คนใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงมากขึ้น เพราะความสะดวกในการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10-20% จากผู้ใช้ปัจจุบันประมาณ 2 ล้านคน
2. ค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะถูกลงจากปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 590 บาท ในความเร็วที่ 1 Mbps จะเหลือประมาณ 400 บาทในระบบ 3G
3. ธุรกิจโทรศัพท์มือถือแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น ทั้งการชิงคลื่นความถี่ แผนการตลาดเพื่อชิงลูกค้า มีลูกค้าจำนวนมากที่มี 2 เบอร์ เบอร์ 1 สำหรับการใช้โทร และอีก 1 เบอร์สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย โดยคาดว่าจะทำให้รายได้แต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10-15%
4. ธุรกิจไอเอสพี หรือผู้บริการอินเทอร์เน็ตแบบมีสายจะมีลูกค้าลดลง
5. คอนเทนต์ต่างๆ มีช่องทางในการสื่อสารมากขึ้น โดยเฉพาะของคอนเทนต์ด้านบันเทิง การดาวน์โหลดเพลง คลิปวิดีโอ และเว็บอีคอมเมิร์ช
6. สินค้า บริการ มีช่องทางในการโฆษณามากขึ้น และตรงกับกลุ่มเป้าหมายกว่าเดิม โดยคาดว่ารายได้สื่อโฆษณาผ่านดิจิตอลจะเพิ่มขึ้น
7. โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือมัลติมีเดีย และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะมียอดขายเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
8. ผู้คนจะใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น ในสถานที่เป็น Third Place และใช้โทรศัพท์ทำกิจกรรมหลากหลาย และอาจใช้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น คุยพร้อมดูวิดีโอคลิป มีการเขียนบล็อก ดูทีวี แชต จากเดิมใช้แค่โทร และส่ง SMS
9. ความสะดวกของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตไร้สายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต่างชาติตัดสินใจมาลงทุนในไทย
10. หากทุกบริษัทลงทุนบริษัทละประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี จะทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1% (มูลค่าจีดีพีของไทยเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านล้านบาทต่อปี) และคนไทยมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
3G ความเร็วยิ่งสูง ยิ่งบริการได้มาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุค เทคโนโลยี ความเร็ว บริการ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
1G NMT/AMPS/Datatac - เสียงอย่างเดียว
2G GSM/CDMA/iDen น้อยกว่า 20 Kbps เสียง/SMS/ประชุมหลายสาย Caller ID/Push to talk
2.5G GPRS/1xRTT/EDGE 30-90 Kbps MMS/รับส่งรูป/ดูเน็ต/ คลิปเสียง วิดีโอ ไม่เกิน 10 วินาที/ ริงโทน/ เกม /อีเมลแบบไม่มีไฟล์แนบ/โมบายมันนี่
3G UMTS/1xEV-DO 144Kbps-2Mbps คลิปเสียง วิดีโอ ยาว 1-2 นาที และต่อเนื่อง / ดูเน็ตเร็วขึ้น/เกม 3 มิติ
3.5G HSDPA/1EV-DV 384Kbps-14.4Mbps ประชุมเห็นทั้งภาพและเสียง/ดาวน์โหลดหนัง/บริการ VOIP/ Triple Play ทั้งโทรศัพท์ เล่นเน็ต และส่งข้อมูล/โหลดเพลง MP3 ทั้งอัลบั้ม
4G Wimax 100Kbps-1Gbps ส่งข้อมูลเร็ว และคุณภาพดีขึ้น
ยอดผู้ใช้โทรศัพท์-อินเทอร์เน็ต
--------------------------------------------------------
โทรศัพท์พื้นฐาน 9.37 ล้านเลขหมาย
โทรศัพท์มือถือ 45.82 ล้านเลขหมาย
อินเทอร์เน็ต 15.4 ล้านคน
---------------------------------------------------------
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2551 จำนวน 15.4 ล้านคน
Dial up ความเร็ว 56K จำนวน 13.4 ล้านคน
เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) 2 ล้านคน
รายได้จากบริการเสียง และบริการเสริม (หน่วย : ล้านบาท)
----------------------------------------------------
ปี บริการเสียง บริการเสริม
----------------------------------------------------
2550 150,000 5,000
2551 153,000 15,830
2552 155,000 18,600
-------------------------------------------------------------------
Time Line ยุคโทรศัพท์มือถือ จาก 1G-3G ในไทย
ยุค 1G ยุคอะนาล็อก เริ่ม พ.ศ. 2529
ปี 2529
-ทีโอที เปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ NMT บนความถี่ 470 MHz
ปี 2533
-ทีโอทีให้สัมปทานเอไอเอส บริการโทรศัพท์มือถือบนความถี่ 900 MHz
-แคท เทเลคอม ให้สัมปทานดีแทคบริการโทรศัพท์มือถือบนความถี่ 800 MHz
ยุค 2G ยุคดิจิตอล เริ่ม พ.ศ. 2537
ปี 2537
-เอไอเอส และดีแทคให้บริการระบบดิจิตอล บนเทคโนโลยี GSM บนคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ตามลำดับ
ปี 2540
-เกิดวิกฤตการเศรษฐกิจ ดีแทค ประสบปัญหาทางการเงินมากที่สุด จนเริ่มมีการขายต่อคลื่นความถี่ย่าน 1800 โดยมีกลุ่มไออีซีภายใต้ชื่อ “ดับบลิวซีเอส” และสามารถฯ “ดีพีซี” แบรนด์ “ฮัลโหล”
ปี2542
-ดีพีซี เปิดให้บริการ
ปี 2543
-เอไอเอส เทกโอเวอร์ดีพีซี
-ทรู เทกโอเวอร์คลื่นต่อจากไออีซี
ยุค 2.5G เริ่ม พ.ศ. 2544
ปี 2544
-เอไอเอส และดีแทค เริ่มให้บริการสื่อสารข้อมูล บนเทคโนโลยี GPRS
-ทรูมูฟ บริการโทรศัพท์มือถือดิจิตอล GSM บนคลื่น 1800
ปี 2545
-ทีโอทีร่วมกับแคท เทเลคอม ตั้งบริษัทลูกให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1900 MHz ด้วยเทคโนโลยี GSM
ยุค 2.75G เริ่ม พ.ศ. 2546
ปี 2546
-ฮัทชิสัน ร่วมทุนกับแคทฯให้บริการภายใต้แบรนด์ “ฮัทช์”
-เอไอเอส ให้บริการ EDGE
ปี 2547
-ดีแทค ให้บริการ EDGE
ยุค 3-3.5 G เริ่ม พ.ศ. 2551
ปี 2551
-มกราคม
-ดีแทค เปิดทดสอบ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSDPA บนคลื่น 850 MHz
-พฤษภาคม
-เอไอเอส เปิดบริการ 3G ที่เชียงใหม่ ภายใต้แบรนด์ “3GSM advance” เทคโนโลยี HSDPA บนคลื่น 900 MHz
-สิงหาคม
-แคท เทเลคอม เปิดตัว CDMA 2000 1 X EV-DO ที่เชียงใหม่
-กทช. อนุมัติให้เอกชนพัฒนาเครือข่ายบนคลื่นความถี่ 800 MHz เทคโนโลยี HSPDA
-กทช. จัดประชาพิจารณ์ หลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz
-ครม. อนุมัติให้โอนสิทธิในคลื่น 1900 จาก กสท ให้ทีโอทีทั้งหมดภายใต้บริษัทไทยโมบาย
-เอไอเอส เสนอกระทรวงไอซีทีเจรจากับทีโอทีเพื่อขอแบ่งคลื่น 1900 จำนวน 5 MHz
-ทีโอที เสนอ ครม.อนุมัติลงทุนพัฒนาบริการภายใต้ “ไทย โมบาย” เป็น 3G งบลงทุนประมาณ 29,000 ล้านบาท
-ประมาณสิ้นปี
-เอไอเอส วางแผนเปิดตัวบริการในพื้นที่ 9 จังหวัด
ปี 2552
-ดีแทค วางแผนเปิดบริการ HSPDA ประมาณกลางปี
-ภายในกลางปีคาดว่า กทช. จะสามารถจัดสรรคลื่น 2.1 GHz ให้เอกชน
สุกรี แมนชัยนิมิต
Positioning Magazine กันยายน 2551
โทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือ 3G (Third Generation) เทคโนโลยีที่ทำให้การสื่อสารติด “Speed” มากขึ้น ในทุกที่ทุกเวลา กำลังจะทำให้เกิดปรากฏการณ์มากมายในสังคมไทย ตั้งแต่ “ไลฟ์สไตล์” ไปจนถึง “จีดีพี” ของประเทศ
3G ทำให้ “ผู้เล่น” ที่อยู่ในธุรกิจสื่อสารตื่นตัว และแข่งขันกันอย่างหนักที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจ เป็นเดิมพันเพื่อสร้างรายได้ครั้งใหม่ในอนาคต 3G ยังทำให้ผู้คนสะดวกในการหาความรู้ ความบันเทิง ในทุกที่ทุกเวลา จนเป็นที่มาของธุรกิจต่อเนื่อง การตลาดรูปแบบใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกมากมาย
...นี่จึงเป็นช่วงเวลาเของ 3G
จาก 1G ถึง 3G ประเทศไทยใช้เวลาเกือบ 20 ปี ปัจจุบันไทยอยู่ในยุค 2.5G ทำให้การโหลดข้อมูลขนาด 1 เมกะไบต์ ยังต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 นาที แต่หากเป็น 3G ใช้เวลาเพียง 4 วินาที ซึ่งต่างประเทศมี 3G ให้บริการมานานเกือบ 10 ปี และบางประเทศกำลังก้าวไปสู่ยุค 4G เพราะไทยมีอุปสรรคอยู่ที่ “การเมือง” และการแย่งชิง “ผลประโยชน์” ที่ไม่ลงตัว ทำให้ ณ วันนี้ 3G ในไทยเพิ่งเริ่มต้น
ปี 2551 ถือว่ามีความเคลื่อนไหวของการเมือง และการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของภาครัฐมากมาย โดยเฉพาะคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จนเมื่อการ “วิ่งเต้น” สำเร็จ ทำให้รัฐช่วยกันเคาะให้เกิดโครงการ 3G ในที่สุด แม้จะไม่ใช่ในย่านความถี่ 2.1 GHz อย่างที่เป็นนิยมใช้กันทั่วโลกในเวลานี้ แต่ก้าวแรกกับย่านความถี่ 800-900 MHz ก็ถือว่าลงตัว เพื่อพร้อมลุยตลาดเต็มที่ หากปี 2552 กทช.จัดสรรคลื่น 2.1 GHz ให้ผู้ประกอบการ
เมื่อโอกาสมาถึง เอกชน 3 ราย คือ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ในเครือบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต่าง “ร้อนวิชา” กันเต็มที่ ทั้งการเตรียมแผนลงทุน เตรียมบุคลากร และทางการตลาด เพราะหากภายใน 1-2 ปีนี้ยังไม่มี 3G รายได้ของแต่ละบริษัทอาจลดลง
สัญญาณมีให้เห็นจากผลประกอบการในแต่ละไตรมาสในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่แม้รายได้รวมเป็นบวก แต่เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดลง อัตราการทำกำไรลดลง แม้แต่เบอร์ 1 ในตลาดอย่างเอไอเอส ที่ปี 2547 เคยทำได้ 20.87% ในปี 2550 ทำได้เพียง 14.93% และรายได้ต่อเลขหมายเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่สัญญาณของความจำเป็นต้องมี 3G เห็นได้จากรายได้การใช้บริการ Non Voice หรือสื่อสารข้อมูลดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยทำรายได้ให้ไม่ถึง 5% ภายในไม่ถึง 2 ปี ทำรายได้ให้ถึงกว่า 10% ของรายได้ทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าตลาดมีความต้องการใช้บริการสื่อสาร เพียงแต่ตัวเลขไม่เติบโตแรง เพราะความเร็วในระดับ 2.5G ในปัจจุบันไม่สามารถสนองความต้องการได้
บทพิสูจน์ว่า Speed จะช่วยให้รายได้วิ่งฉิว คือเมื่อบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเสนอบริการความเร็วที่ 2 Mbps ปรากฏว่าจุดพลุให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กรณีของทรูออนไลน์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด เพราะรายงานในไตรมาส 2 ปี 2551 ว่ามีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 31,000 ราย สูงสุดในรอบ 1 ปี เพราะแพ็กเกจไฮสปีด 2 Mbps นี่ขนาดเป็นเพียงไฮสปีดอินเทอร์เน็ตที่ใช้อยู่กับที่ ซึ่งคงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากโทรศัพท์มือถือสามารถทำให้คนเล่นไฮสปีดอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา และขณะเคลื่อนที่ได้ จะได้รับการตอบรับจากผู้ใช้บริการมากเพียงใด
เมื่อ Speed มาแล้ว คอนเทนต์ และ Application ต่างๆ จะตามมา หลายอย่างที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G จะทำให้เป็นจริงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโมบาย แบงกิ้ง การโหลดหนัง ฟังเพลง ภายในเวลาไม่กี่วินาที การซื้อขายผ่านออนไลน์ Social Networking ที่ขยายตัวมากขึ้น และทุกอย่างจะสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ตั้งแต่เน็ตบุ๊กไปจนถึงเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีพร้อมอยู่ในตลาดรองรับ 3G อยู่แล้ว
3G ยังทำให้วงการธุรกิจโฆษณาคึกคัก เพราะนี่คือช่องทางที่สามารถใช้สื่อสารเพื่อเจาะ Segment ที่ต้องการ และได้ผลมากที่สุด เพราะจอที่ 3 นี้อยู่ในมือของลูกค้าทุกคน
ทั้งหมดนี้คือเทคโนโลยี 3G ที่กำลังสร้างโอกาสของธุรกิจใหม่ๆ และที่สำคัญกำลังนำเทรนด์ใหม่ เข้ามาสู่ไลฟ์สไตล์ของคุณทุกคน
เกิดอะไรขึ้นเมื่อมี 3G
1. คนใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงมากขึ้น เพราะความสะดวกในการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10-20% จากผู้ใช้ปัจจุบันประมาณ 2 ล้านคน
2. ค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะถูกลงจากปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 590 บาท ในความเร็วที่ 1 Mbps จะเหลือประมาณ 400 บาทในระบบ 3G
3. ธุรกิจโทรศัพท์มือถือแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น ทั้งการชิงคลื่นความถี่ แผนการตลาดเพื่อชิงลูกค้า มีลูกค้าจำนวนมากที่มี 2 เบอร์ เบอร์ 1 สำหรับการใช้โทร และอีก 1 เบอร์สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย โดยคาดว่าจะทำให้รายได้แต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10-15%
4. ธุรกิจไอเอสพี หรือผู้บริการอินเทอร์เน็ตแบบมีสายจะมีลูกค้าลดลง
5. คอนเทนต์ต่างๆ มีช่องทางในการสื่อสารมากขึ้น โดยเฉพาะของคอนเทนต์ด้านบันเทิง การดาวน์โหลดเพลง คลิปวิดีโอ และเว็บอีคอมเมิร์ช
6. สินค้า บริการ มีช่องทางในการโฆษณามากขึ้น และตรงกับกลุ่มเป้าหมายกว่าเดิม โดยคาดว่ารายได้สื่อโฆษณาผ่านดิจิตอลจะเพิ่มขึ้น
7. โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือมัลติมีเดีย และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะมียอดขายเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
8. ผู้คนจะใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น ในสถานที่เป็น Third Place และใช้โทรศัพท์ทำกิจกรรมหลากหลาย และอาจใช้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น คุยพร้อมดูวิดีโอคลิป มีการเขียนบล็อก ดูทีวี แชต จากเดิมใช้แค่โทร และส่ง SMS
9. ความสะดวกของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตไร้สายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต่างชาติตัดสินใจมาลงทุนในไทย
10. หากทุกบริษัทลงทุนบริษัทละประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี จะทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1% (มูลค่าจีดีพีของไทยเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านล้านบาทต่อปี) และคนไทยมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
3G ความเร็วยิ่งสูง ยิ่งบริการได้มาก
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ยุค เทคโนโลยี ความเร็ว บริการ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
1G NMT/AMPS/Datatac - เสียงอย่างเดียว
2G GSM/CDMA/iDen น้อยกว่า 20 Kbps เสียง/SMS/ประชุมหลายสาย Caller ID/Push to talk
2.5G GPRS/1xRTT/EDGE 30-90 Kbps MMS/รับส่งรูป/ดูเน็ต/ คลิปเสียง วิดีโอ ไม่เกิน 10 วินาที/ ริงโทน/ เกม /อีเมลแบบไม่มีไฟล์แนบ/โมบายมันนี่
3G UMTS/1xEV-DO 144Kbps-2Mbps คลิปเสียง วิดีโอ ยาว 1-2 นาที และต่อเนื่อง / ดูเน็ตเร็วขึ้น/เกม 3 มิติ
3.5G HSDPA/1EV-DV 384Kbps-14.4Mbps ประชุมเห็นทั้งภาพและเสียง/ดาวน์โหลดหนัง/บริการ VOIP/ Triple Play ทั้งโทรศัพท์ เล่นเน็ต และส่งข้อมูล/โหลดเพลง MP3 ทั้งอัลบั้ม
4G Wimax 100Kbps-1Gbps ส่งข้อมูลเร็ว และคุณภาพดีขึ้น
ยอดผู้ใช้โทรศัพท์-อินเทอร์เน็ต
--------------------------------------------------------
โทรศัพท์พื้นฐาน 9.37 ล้านเลขหมาย
โทรศัพท์มือถือ 45.82 ล้านเลขหมาย
อินเทอร์เน็ต 15.4 ล้านคน
---------------------------------------------------------
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2551 จำนวน 15.4 ล้านคน
Dial up ความเร็ว 56K จำนวน 13.4 ล้านคน
เน็ตความเร็วสูง(บรอดแบนด์) 2 ล้านคน
รายได้จากบริการเสียง และบริการเสริม (หน่วย : ล้านบาท)
----------------------------------------------------
ปี บริการเสียง บริการเสริม
----------------------------------------------------
2550 150,000 5,000
2551 153,000 15,830
2552 155,000 18,600
-------------------------------------------------------------------
Time Line ยุคโทรศัพท์มือถือ จาก 1G-3G ในไทย
ยุค 1G ยุคอะนาล็อก เริ่ม พ.ศ. 2529
ปี 2529
-ทีโอที เปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือ NMT บนความถี่ 470 MHz
ปี 2533
-ทีโอทีให้สัมปทานเอไอเอส บริการโทรศัพท์มือถือบนความถี่ 900 MHz
-แคท เทเลคอม ให้สัมปทานดีแทคบริการโทรศัพท์มือถือบนความถี่ 800 MHz
ยุค 2G ยุคดิจิตอล เริ่ม พ.ศ. 2537
ปี 2537
-เอไอเอส และดีแทคให้บริการระบบดิจิตอล บนเทคโนโลยี GSM บนคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ตามลำดับ
ปี 2540
-เกิดวิกฤตการเศรษฐกิจ ดีแทค ประสบปัญหาทางการเงินมากที่สุด จนเริ่มมีการขายต่อคลื่นความถี่ย่าน 1800 โดยมีกลุ่มไออีซีภายใต้ชื่อ “ดับบลิวซีเอส” และสามารถฯ “ดีพีซี” แบรนด์ “ฮัลโหล”
ปี2542
-ดีพีซี เปิดให้บริการ
ปี 2543
-เอไอเอส เทกโอเวอร์ดีพีซี
-ทรู เทกโอเวอร์คลื่นต่อจากไออีซี
ยุค 2.5G เริ่ม พ.ศ. 2544
ปี 2544
-เอไอเอส และดีแทค เริ่มให้บริการสื่อสารข้อมูล บนเทคโนโลยี GPRS
-ทรูมูฟ บริการโทรศัพท์มือถือดิจิตอล GSM บนคลื่น 1800
ปี 2545
-ทีโอทีร่วมกับแคท เทเลคอม ตั้งบริษัทลูกให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1900 MHz ด้วยเทคโนโลยี GSM
ยุค 2.75G เริ่ม พ.ศ. 2546
ปี 2546
-ฮัทชิสัน ร่วมทุนกับแคทฯให้บริการภายใต้แบรนด์ “ฮัทช์”
-เอไอเอส ให้บริการ EDGE
ปี 2547
-ดีแทค ให้บริการ EDGE
ยุค 3-3.5 G เริ่ม พ.ศ. 2551
ปี 2551
-มกราคม
-ดีแทค เปิดทดสอบ 3G ด้วยเทคโนโลยี HSDPA บนคลื่น 850 MHz
-พฤษภาคม
-เอไอเอส เปิดบริการ 3G ที่เชียงใหม่ ภายใต้แบรนด์ “3GSM advance” เทคโนโลยี HSDPA บนคลื่น 900 MHz
-สิงหาคม
-แคท เทเลคอม เปิดตัว CDMA 2000 1 X EV-DO ที่เชียงใหม่
-กทช. อนุมัติให้เอกชนพัฒนาเครือข่ายบนคลื่นความถี่ 800 MHz เทคโนโลยี HSPDA
-กทช. จัดประชาพิจารณ์ หลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz
-ครม. อนุมัติให้โอนสิทธิในคลื่น 1900 จาก กสท ให้ทีโอทีทั้งหมดภายใต้บริษัทไทยโมบาย
-เอไอเอส เสนอกระทรวงไอซีทีเจรจากับทีโอทีเพื่อขอแบ่งคลื่น 1900 จำนวน 5 MHz
-ทีโอที เสนอ ครม.อนุมัติลงทุนพัฒนาบริการภายใต้ “ไทย โมบาย” เป็น 3G งบลงทุนประมาณ 29,000 ล้านบาท
-ประมาณสิ้นปี
-เอไอเอส วางแผนเปิดตัวบริการในพื้นที่ 9 จังหวัด
ปี 2552
-ดีแทค วางแผนเปิดบริการ HSPDA ประมาณกลางปี
-ภายในกลางปีคาดว่า กทช. จะสามารถจัดสรรคลื่น 2.1 GHz ให้เอกชน
มาตรฐานปริญญาเอกในประเทศไทย
โดย ศาสตราจารย์สุทัศน์ ยกส้าน
30 ตุลาคม 2551 15:36 น.
ตามคำจำกัดความในพจนานุกรม คนที่มีคำนำหน้านามว่า ด็อกเตอร์ คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) ซึ่งสังคมยอมรับว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในสาขาที่ถนัดได้ดี อีกทั้งสามารถวิจัยและค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง และหากมองย้อนกลับไปในอดีต คำว่า doctor ในภาษาละตินยังหมายถึง คนที่ต้องทำหน้าที่สอนด้วย สำหรับขั้นตอนการได้มาซึ่งปริญญาเอก (Ph.D.) นั้น สังคมปัจจุบันได้กำหนดว่าบุคคลผู้นั้นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีก่อน แล้วใช้เวลาค้นคว้าวิจัยต่ออีกประมาณ 4-6 ปี แต่ในกรณีคนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ก็ควรใช้เวลาศึกษาและวิจัยเพิ่มอีก 3-5 ปี เพื่อจะได้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีใครพบ หรือรู้มาก่อน และเพื่อให้การอ้างนี้สมเหตุและผล มีน้ำหนักและเป็นที่ยอมรับ บุคคลผู้นั้นต้องผ่านการสอบปากเปล่า โดยคณะกรรมการควบคุมและสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งตามปกติจะประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ท่านอื่นๆ อีก 2-4 ท่านโดยคณะกรรมการชุดนี้จะตรวจสอบความรู้ของบุคคลนั้น ในประเด็นที่เขาได้ค้นคว้าและวิจัยมา รวมถึงวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อน บุคคลนั้นต้องผ่านการสอบวิชาปรัชญาด้วย และนั่นคือที่มาของคำว่า Doctor of Philosophy เพราะสังคมยุโรปในสมัยก่อนถือว่า มหาวิทยาลัยคือแหล่งผลิตสติปัญญาให้สังคม จึงได้กำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเผยแพร่ความรู้สู่สังคมเป็นการตอบแทนที่ให้เงินเดือน ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงจัดการสอบปากเปล่าอย่างเปิดเผย โดยให้สาธารณชนมีสิทธิเข้าร่วมฟังด้วย เป็นการแสดงให้เห็นความโปร่งใสในการทำงานของมหาวิทยาลัย และเป็นการให้เกียรติแก่สังคมโดยประชาคมมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้นในห้องสอบปากเปล่า จึงอาจมีบุคคลภายนอกหรือประชาชนเข้าร่วมฟังการสอบด้วยก็ได้ และเกณฑ์หยาบๆ ที่อาจใช้ตัดสินว่านิสิตผ่านการสอบปากเปล่าหรือไม่นั้น ก็คือนิสิตได้พิสูจน์ให้กรรมการสอบปากเปล่าเห็นว่า ตนมีความสามารถพอๆ หรือดีกว่าอาจารย์ที่สอบตน ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบไม่ผ่าน เขาก็จะต้องแก้ไข ปรับปรุงหรือรื้อวิทยานิพนธ์เพื่อทำใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร ในอดีตเมื่อ 250 ปีก่อน การสอบปากเปล่าเป็นเรื่องที่ทารุณมาก จนบุคคลผู้เข้าสอบต้องสาบานตนว่า ถ้าสอบไม่ผ่านหรือสอบได้ไม่ดี เพราะถูกถามด้วยคำถามยากๆ ที่ตนตอบไม่ได้ ก็จะไม่แก้แค้นกรรมการสอบไม่ว่าจะโดยวิธีใด การสอบปากเปล่าที่มหาวิทยาลัย TÜbingen ในเยอรมนีนี้ซึ่งมีกรรมการสอบ 3 ท่านนั่งที่โต๊ะ บุคคลที่เข้าสอบต้องยืนสอบ กรรมการท่านหนึ่งมีหน้าที่จดบันทึกคำตอบของผู้ที่เข้าสอบตลอดการสอบ แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบผ่าน เขาก็จะได้ปริญญา Ph.D. และมีคำนำหน้าชื่อว่า Doctor ทันที และนี่ก็คือประเพณีที่มหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ได้ดำเนินการมานานหลายปี ณ วันนี้ ความต้องการของสังคมไทย ในการเรียนระดับดุษฎีบัณฑิตกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะประเทศกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมมีค่านิยมในการนับถือผู้มีความรู้สูง สังคมจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยตอบสนองความต้องการในประเด็นนี้ โดยการผลิตนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกมากขึ้น และสถิติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็ได้แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยไทยมีหลักสูตรปริญญาเอกที่เปิดดำเนินการประมาณ 320 หลักสูตร ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบที่เน้นการวิจัยและไม่มีการเรียนรายวิชา กับแบบที่ไม่เน้นการวิจัยนักแต่นิสิตต้องเรียนรายวิชาด้วย ทำให้ในปีหนึ่งๆ มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับ Ph.D. ประมาณ 1,450 คน สถิติยังระบุอีกว่า ปริมาณการผลิตบุคลากรระดับ Ph.D. มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี การศึกษาโครงการปริญญาเอกต่างๆ ในประเทศเราได้ทำให้คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. สังเกตเห็นว่า โครงการปริญญาเอกหลายโครงการในบางมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการที่เป็นวิทยธุรกิจ เช่น คิดค่าหน่วยกิตสูงมาก (ระดับแสนบาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา) จนทำให้ผู้เรียนที่ไม่พร้อมด้านการเงิน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาสำรองจ่าย ด้วยความคาดหวังว่าอีกไม่นาน ถ้าจ่ายครบก็จบแน่ หรือในทำนองเดียวกัน บางมหาวิทยาลัยก็ยึดหลักการว่า เงินมาปริญญาไป จึงไม่ได้กำกับและควบคุมมาตรฐานของการสำเร็จการเรียนระดับปริญญาเอกอย่างที่ควร กิจกรรมและการกระทำเช่นนี้ เป็นการทำลายเกียรติภูมิและอุดมการณ์ของการศึกษาไทยระดับร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. จึงใคร่ชี้ให้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของนิสิตปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษาในประเทศ อันคำว่าคุณภาพและมาตรฐานนี้ โดยทั่วไปเป็นคำที่ปัจเจกบุคคลเห็นไม่ตรงกัน แต่สำหรับวงการวิชาการแล้ว ดัชนีวัดคุณภาพของปริญญาเอก คือ งานวิจัยที่ปราชญ์ หรือผู้รู้ดีในเรื่องนั้นยอมรับว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ประเมินนี้ มักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนอกสถาบัน หรือเป็นบุคคลที่กองบรรณาธิการวารสารวิจัย ได้แต่งตั้งให้ประเมินและตรวจสอบงานวิจัยนั้นว่าถูกต้อง สำคัญ ผิดพลาด หรือบกพร่องอย่างไร เพราะผู้ทรงคุณวุฒิ ตามปกติจะไม่รู้ชื่อคนที่เสนองานวิจัย เขาจึงสามารถประเมินผลงานได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ และตรงไปตรงมาดีกว่าคนที่เป็นกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เสียอีก ทั้งนี้เพราะกรรมการสอบปากเปล่าบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับงานวิจัยที่นิสิตนำมาเสนอก็ได้ ดังนั้นถ้าวารสารวิจัยเป็นวารสารชั้นนำของโลก การประเมินความถูกต้อง และความสำคัญของงานวิจัยก็จะเป็นไปอย่างจริงจังมาก และนั่นก็หมายความว่า งานวิจัยที่ผ่านการประเมินและได้มีการลงพิมพ์ สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบอกคุณภาพและมาตรฐานของปริญญาเอกของบุคคลผู้นั้นได้ เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นได้ว่า ในการที่จะบรรลุถึงซึ่งมาตรฐานของปริญญาเอกที่มีคุณภาพ ปัจจัยที่สำคัญคืออาจารย์ที่คุมวิทยานิพนธ์ต้องมีความสามารถสูงในการวิจัยและมีเวลาที่จะทุ่มเท ฝึกฝนนิสิตที่อยู่ภายใต้การดูแล นิสิตเองก็ต้องเป็นคนที่มีคุณภาพและมีความมุ่งมั่น ส่วนมหาวิทยาลัยก็ต้องมีระบบวัดผล ดูแล ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนิสิต รวมถึงดูแลการควบคุมวิทยานิพนธ์ของอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพื่อให้งานวิจัยของนิสิตสามารถลงพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับ (สำหรับรายชื่อวารสารที่เป็นที่ยอมรับนี้มีในประกาศของ สกอ.) ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ เพราะเหตุว่าภาควิชาบางภาคอาจมีอาจารย์ที่สนใจ หรือรู้เรื่องเดียวกันจำนวนไม่มาก และถึงจะมีอาจารย์หลายคนที่รู้เรื่องนั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เคยรู้ เพราะอาจารย์ได้ว่างเว้นการทำวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมานานแล้ว ภาควิชาก็ควรเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่น ที่มีความรู้ลึกซึ้งและเป็นนักวิจัยที่สามารถแข็งขันไม่น้อยกว่าอาจารย์ที่ปรึกษา มาร่วมเป็นกรรมการคุมวิทยานิพนธ์ด้วย และต้องดำเนินการในประเด็นนี้ เพื่อให้นิสิตปริญญาเอกที่สถาบันผลิต มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การผลิต Ph.D. เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะมหาวิทยาลัยต้องจ้างอาจารย์ระดับศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์หลายคน อีกทั้งต้องมีอุปกรณ์วิจัย โดยเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการวิจัยด้วยอุปกรณ์ Hardware ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลซื้อ เพื่อจะผลิตนักวิจัยมาแก้ปัญหาของสังคม และสร้างสรรค์ปัญญาให้แก่โลก แต่ถ้าการผลิต Ph.D. นั้น สร้างบุคคลที่ไม่สามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ หรือแก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ Ph.D. คนนั้นก็จะไม่มีคุณภาพ และเขาเหล่านั้นก็จะสร้างวงจรอุบาทว์ที่จะทำให้ประเทศเรามีปัญหาด้านการศึกษาไม่รู้จบ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000128982
โดย ศาสตราจารย์สุทัศน์ ยกส้าน
30 ตุลาคม 2551 15:36 น.
ตามคำจำกัดความในพจนานุกรม คนที่มีคำนำหน้านามว่า ด็อกเตอร์ คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) ซึ่งสังคมยอมรับว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในสาขาที่ถนัดได้ดี อีกทั้งสามารถวิจัยและค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง และหากมองย้อนกลับไปในอดีต คำว่า doctor ในภาษาละตินยังหมายถึง คนที่ต้องทำหน้าที่สอนด้วย สำหรับขั้นตอนการได้มาซึ่งปริญญาเอก (Ph.D.) นั้น สังคมปัจจุบันได้กำหนดว่าบุคคลผู้นั้นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีก่อน แล้วใช้เวลาค้นคว้าวิจัยต่ออีกประมาณ 4-6 ปี แต่ในกรณีคนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ก็ควรใช้เวลาศึกษาและวิจัยเพิ่มอีก 3-5 ปี เพื่อจะได้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีใครพบ หรือรู้มาก่อน และเพื่อให้การอ้างนี้สมเหตุและผล มีน้ำหนักและเป็นที่ยอมรับ บุคคลผู้นั้นต้องผ่านการสอบปากเปล่า โดยคณะกรรมการควบคุมและสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งตามปกติจะประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ท่านอื่นๆ อีก 2-4 ท่านโดยคณะกรรมการชุดนี้จะตรวจสอบความรู้ของบุคคลนั้น ในประเด็นที่เขาได้ค้นคว้าและวิจัยมา รวมถึงวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อน บุคคลนั้นต้องผ่านการสอบวิชาปรัชญาด้วย และนั่นคือที่มาของคำว่า Doctor of Philosophy เพราะสังคมยุโรปในสมัยก่อนถือว่า มหาวิทยาลัยคือแหล่งผลิตสติปัญญาให้สังคม จึงได้กำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเผยแพร่ความรู้สู่สังคมเป็นการตอบแทนที่ให้เงินเดือน ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงจัดการสอบปากเปล่าอย่างเปิดเผย โดยให้สาธารณชนมีสิทธิเข้าร่วมฟังด้วย เป็นการแสดงให้เห็นความโปร่งใสในการทำงานของมหาวิทยาลัย และเป็นการให้เกียรติแก่สังคมโดยประชาคมมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้นในห้องสอบปากเปล่า จึงอาจมีบุคคลภายนอกหรือประชาชนเข้าร่วมฟังการสอบด้วยก็ได้ และเกณฑ์หยาบๆ ที่อาจใช้ตัดสินว่านิสิตผ่านการสอบปากเปล่าหรือไม่นั้น ก็คือนิสิตได้พิสูจน์ให้กรรมการสอบปากเปล่าเห็นว่า ตนมีความสามารถพอๆ หรือดีกว่าอาจารย์ที่สอบตน ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบไม่ผ่าน เขาก็จะต้องแก้ไข ปรับปรุงหรือรื้อวิทยานิพนธ์เพื่อทำใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร ในอดีตเมื่อ 250 ปีก่อน การสอบปากเปล่าเป็นเรื่องที่ทารุณมาก จนบุคคลผู้เข้าสอบต้องสาบานตนว่า ถ้าสอบไม่ผ่านหรือสอบได้ไม่ดี เพราะถูกถามด้วยคำถามยากๆ ที่ตนตอบไม่ได้ ก็จะไม่แก้แค้นกรรมการสอบไม่ว่าจะโดยวิธีใด การสอบปากเปล่าที่มหาวิทยาลัย TÜbingen ในเยอรมนีนี้ซึ่งมีกรรมการสอบ 3 ท่านนั่งที่โต๊ะ บุคคลที่เข้าสอบต้องยืนสอบ กรรมการท่านหนึ่งมีหน้าที่จดบันทึกคำตอบของผู้ที่เข้าสอบตลอดการสอบ แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบผ่าน เขาก็จะได้ปริญญา Ph.D. และมีคำนำหน้าชื่อว่า Doctor ทันที และนี่ก็คือประเพณีที่มหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ได้ดำเนินการมานานหลายปี ณ วันนี้ ความต้องการของสังคมไทย ในการเรียนระดับดุษฎีบัณฑิตกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะประเทศกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมมีค่านิยมในการนับถือผู้มีความรู้สูง สังคมจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยตอบสนองความต้องการในประเด็นนี้ โดยการผลิตนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกมากขึ้น และสถิติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็ได้แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยไทยมีหลักสูตรปริญญาเอกที่เปิดดำเนินการประมาณ 320 หลักสูตร ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบที่เน้นการวิจัยและไม่มีการเรียนรายวิชา กับแบบที่ไม่เน้นการวิจัยนักแต่นิสิตต้องเรียนรายวิชาด้วย ทำให้ในปีหนึ่งๆ มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับ Ph.D. ประมาณ 1,450 คน สถิติยังระบุอีกว่า ปริมาณการผลิตบุคลากรระดับ Ph.D. มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี การศึกษาโครงการปริญญาเอกต่างๆ ในประเทศเราได้ทำให้คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. สังเกตเห็นว่า โครงการปริญญาเอกหลายโครงการในบางมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการที่เป็นวิทยธุรกิจ เช่น คิดค่าหน่วยกิตสูงมาก (ระดับแสนบาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา) จนทำให้ผู้เรียนที่ไม่พร้อมด้านการเงิน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาสำรองจ่าย ด้วยความคาดหวังว่าอีกไม่นาน ถ้าจ่ายครบก็จบแน่ หรือในทำนองเดียวกัน บางมหาวิทยาลัยก็ยึดหลักการว่า เงินมาปริญญาไป จึงไม่ได้กำกับและควบคุมมาตรฐานของการสำเร็จการเรียนระดับปริญญาเอกอย่างที่ควร กิจกรรมและการกระทำเช่นนี้ เป็นการทำลายเกียรติภูมิและอุดมการณ์ของการศึกษาไทยระดับร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. จึงใคร่ชี้ให้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของนิสิตปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษาในประเทศ อันคำว่าคุณภาพและมาตรฐานนี้ โดยทั่วไปเป็นคำที่ปัจเจกบุคคลเห็นไม่ตรงกัน แต่สำหรับวงการวิชาการแล้ว ดัชนีวัดคุณภาพของปริญญาเอก คือ งานวิจัยที่ปราชญ์ หรือผู้รู้ดีในเรื่องนั้นยอมรับว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ประเมินนี้ มักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนอกสถาบัน หรือเป็นบุคคลที่กองบรรณาธิการวารสารวิจัย ได้แต่งตั้งให้ประเมินและตรวจสอบงานวิจัยนั้นว่าถูกต้อง สำคัญ ผิดพลาด หรือบกพร่องอย่างไร เพราะผู้ทรงคุณวุฒิ ตามปกติจะไม่รู้ชื่อคนที่เสนองานวิจัย เขาจึงสามารถประเมินผลงานได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ และตรงไปตรงมาดีกว่าคนที่เป็นกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เสียอีก ทั้งนี้เพราะกรรมการสอบปากเปล่าบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับงานวิจัยที่นิสิตนำมาเสนอก็ได้ ดังนั้นถ้าวารสารวิจัยเป็นวารสารชั้นนำของโลก การประเมินความถูกต้อง และความสำคัญของงานวิจัยก็จะเป็นไปอย่างจริงจังมาก และนั่นก็หมายความว่า งานวิจัยที่ผ่านการประเมินและได้มีการลงพิมพ์ สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบอกคุณภาพและมาตรฐานของปริญญาเอกของบุคคลผู้นั้นได้ เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นได้ว่า ในการที่จะบรรลุถึงซึ่งมาตรฐานของปริญญาเอกที่มีคุณภาพ ปัจจัยที่สำคัญคืออาจารย์ที่คุมวิทยานิพนธ์ต้องมีความสามารถสูงในการวิจัยและมีเวลาที่จะทุ่มเท ฝึกฝนนิสิตที่อยู่ภายใต้การดูแล นิสิตเองก็ต้องเป็นคนที่มีคุณภาพและมีความมุ่งมั่น ส่วนมหาวิทยาลัยก็ต้องมีระบบวัดผล ดูแล ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนิสิต รวมถึงดูแลการควบคุมวิทยานิพนธ์ของอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพื่อให้งานวิจัยของนิสิตสามารถลงพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับ (สำหรับรายชื่อวารสารที่เป็นที่ยอมรับนี้มีในประกาศของ สกอ.) ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ เพราะเหตุว่าภาควิชาบางภาคอาจมีอาจารย์ที่สนใจ หรือรู้เรื่องเดียวกันจำนวนไม่มาก และถึงจะมีอาจารย์หลายคนที่รู้เรื่องนั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เคยรู้ เพราะอาจารย์ได้ว่างเว้นการทำวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมานานแล้ว ภาควิชาก็ควรเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่น ที่มีความรู้ลึกซึ้งและเป็นนักวิจัยที่สามารถแข็งขันไม่น้อยกว่าอาจารย์ที่ปรึกษา มาร่วมเป็นกรรมการคุมวิทยานิพนธ์ด้วย และต้องดำเนินการในประเด็นนี้ เพื่อให้นิสิตปริญญาเอกที่สถาบันผลิต มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การผลิต Ph.D. เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะมหาวิทยาลัยต้องจ้างอาจารย์ระดับศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์หลายคน อีกทั้งต้องมีอุปกรณ์วิจัย โดยเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการวิจัยด้วยอุปกรณ์ Hardware ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลซื้อ เพื่อจะผลิตนักวิจัยมาแก้ปัญหาของสังคม และสร้างสรรค์ปัญญาให้แก่โลก แต่ถ้าการผลิต Ph.D. นั้น สร้างบุคคลที่ไม่สามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ หรือแก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ Ph.D. คนนั้นก็จะไม่มีคุณภาพ และเขาเหล่านั้นก็จะสร้างวงจรอุบาทว์ที่จะทำให้ประเทศเรามีปัญหาด้านการศึกษาไม่รู้จบ
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000128982
3G ต้องแบบนี้ถึงจะ “เวิร์ค” (ผู้จัดการ)
วันพฤหัสบดี 30 ตุลาคม 2008 - 8:37
จากแคมเปญการตลาดที่ได้ผลในประเทศที่ใช้ 3G แพร่หลาย ฉีกข้อจำกัดเดิมๆ ของโฆษณาด้วยลูกเล่นแพรวพราวดึงดูดใจผู้บริโภค นำมาสู่ “กฎเหล็ก 10 ประการ” ที่นักการตลาดต้องไม่พลาด เพื่อติดปีกให้อัตราการตอบสนองโฆษณาบน “มือถือ” วิ่งฉิว ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ 1. รู้จักผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคชอบมีส่วนร่วมกับกิจกรรมง่ายๆ David Ketchum ประธานของสมาคมการตลาดดิจิตอลแห่งเอเชียจึงมองว่าผู้บริโภคสำคัญที่สุด ดังนั้น นักโฆษณาต้องดึงดูดให้พวกเขาสนใจและอยากมีส่วนร่วมให้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหวือหวาด้วยซ้ำ “ควรให้ความสำคัญกับอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเขา ไม่ว่าจะเป็นคอมมูนิตี้, ของแจกฟรี, ข่าวสาร หรือกอสซิปต่างๆ” ยกตัวอย่างเช่นแคมเปญในฮ่องกงของคอนแทคเลนส์ Acuvue อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้บริโภคสนใจ “สิทธิประโยชน์” มากกว่าแบรนด์ จึงเชื้อเชิญให้พวกเขาดาวน์โหลดคูปองจากโทรศัพท์ขอรับคอนแทคเลนส์ชนิดทำให้ตากลมโตขึ้นไปทดลองใช้ฟรี ขณะเดียวกันก็ให้ร่วมสนุกส่ง MMS ประกวดภาพถ่ายหลังจากใช้สินค้า ปรากฏว่ามีสาวๆ หลายหมื่นคนดาวน์โหลดคูปอง และร่วมประกวดครั้งนี้หลายพันราย โดยผู้ชนะเลิศได้รับโหวตมากถึง 9,000 ครั้ง เป็นต้น 2. รอจนกว่าจะพร้อม แม้จะมีไอเดียกระฉูดร้อนแรงปานใด แต่ก็ไร้ค่าได้หากเครือข่าย 3G ยังไม่พร้อม ดังนั้นโฆษณาไม่จำเป็นต้องซับซ้อนจนกว่าจะมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ระดับไฮเอนด์มากพอ เช่น ในอินเดียและประเทศไทยที่เครือข่ายและอุปกรณ์ยังคงมีราคาแพง จำนวนคนดูคอนเทนต์จากมือถือไม่มากนัก หากนักการตลาดต้องการโฆษณาในรูปแบบหนังก็ควรสั้นและกระชับ หรือแบ่งส่วนให้ดาวน์โหลดได้ง่ายในแต่ละครั้ง สำหรับ MTV ใช้วิธี SMS เตือนให้คนชมรายการแทน เป็นต้น ดังนั้นสำหรับตลาดใหม่ ยังควรใช้การผสมผสานระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อดิจิตอลแบบเรียบง่ายไปก่อน 3. ช่วงเวลาโฆษณาเข้ากับวิถีชีวิต แม้จอภาพบนโทรศัพท์ของผู้บริโภคบางรายอาจไม่ใหญ่พอ แต่ก็มีอำนาจเต็มเปี่ยม ดังนั้นนักการตลาดควรทำให้พวกเขาเป็นมิตร ด้วยการสร้างความเป็นส่วนตัวให้เกิดขึ้น ดังที่ David Wolf ซีอีโอของ Wolf Group Asia บอกว่าเป็นความได้เปรียบของโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งความสามารถในการระบุตำแหน่งผู้ใช้ ช่วยหลีกเลี่ยงการรบกวนผู้บริโภค โดยส่งข้อความที่มีความหมายและน่านำไปใช้ขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น เช่น ส่งส่วนลดร้านอาหารก่อนเวลาอาหาร รวมไปถึงการส่งข้อความด้วยภาษาไทยหากผู้ใช้เป็นคนไทย เป็นต้น 4. ห้าม “สแปม” เด็ดขาด สแปมอีเมลน่ารำคาญฉันใด ข้อความขยะบนโทรศัพท์มือถือก็ชวนเอือมระอาฉันนั้น สิ่งเหล่านี้บริษัทโทรคมนาคมต้องเป็นฝ่ายจัดการ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับโฆษณาผ่านช่องทางนี้ อย่างเช่นที่ประเทศจีน China Mobile และ China Unicom พยายามหาทางลดข้อความขยะเหล่านั้นอยู่ 5. เชื่อฟังผู้คุ้มกฎไม่ละเมิดความลับ โฆษณาไฮเทคขนาดไหนก็ต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า มิเช่นนั้นชื่อเสียงของแบรนด์อาจเสียหายได้ แม้จะมีความแตกต่างทางกฎหมายในแต่ละประเทศก็ตาม เพราะตำรวจตัวจริงก็คือผู้บริโภคนั่นเอง สักวันหนึ่งพวกเขาก็จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น 6. รู้จังหวะที่ผู้บริโภค “เล่น” ด้วย โดยทั่วไปในแต่ละวันผู้ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่จะเช็กข้อมูลของตัวเองหลายครั้ง และชื่นชอบการฟังเพลงไปด้วย ในกรณีของตลาดญี่ปุ่นพบว่าผู้บริโภคชอบข้อความและคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย ช่วยให้เสพข้อมูลเหล่านั้นได้ทันที ส่งผลให้พวกเขากลับมาใช้แอพพลิเคชั่นหรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ใช้ง่ายเหล่านี้บ่อยๆ ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้มักตอบสนองกับข่าวสารจากโทรศัพท์ตัวเองในช่วงวันทำงาน หรือ จันทร์ – ศุกร์มากกว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ ดังนั้นนักการตลาดต้องรู้ว่าช่วงเวลาไหนเหมาะสมกับการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยความเข้าใจเรื่องจังหวะเวลา ทำให้ Motorola ออกแคมเปญ “บอกลาคนที่คุณรัก” ที่สนามบินฮ่องกง ให้บริการข้อความ “Goodbye” ต่างๆ ในรูปแบบ SMS, MMS, Mobile Video ผ่าน Bluetooth จากนั้นผู้รับสามารถส่งข้อความต่อไปยังคนที่กำลังเดินทาง ซึ่งมีการนำซูเปอร์สตาร์เช่น David Beckham และเจย์ โชว์มาบันทึกข้อความ “Goodbye” ยั่วใจให้คนส่งกันเพิ่มขึ้นอีกด้วย 7. สร้างคอนเทนต์เฉพาะ “มือถือ” โฆษณาแบบ Branded Content ก็ทำได้ผ่านแมกกาซีน รายการ และเว็บไซต์ ที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ (Mobizines, Mobisodes และ Mobisites) ซึ่งเชื่อกันว่าจะมีแนวโน้มสดใส หากเนื้อหาที่นำเสนอมีความกระชับและใช้เวลาพอเหมาะเพื่อไม่ให้ผู้ใช้รู้สึกเบื่อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจาก MTV แนะนำว่า “หากเป็นหนังสั้น ควรแบ่งเป็นตอนๆ ละ 2 นาที ไม่ควรยาวกว่านี้ เบรกโฆษณาไม่ควรนานเกิน 15 วินาที” ปรากฏการณ์นี้ไม่นับรวมตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ 3G เฟื่องฟูมานานแล้ว พวกเขายินดีเสียเวลาดาวน์โหลดเพื่อดู VDO เต็มรูปแบบให้อิ่มไปเลยทีเดียว 8. แคมเปญผสมผสาน ดันสู่การประกวด การโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายก็จริง แต่จะทรงพลังยิ่งขึ้นหากมีโฆษณาจากสื่ออื่นๆ หนุนนำไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ หรือทีวี ฯลฯ ที่กระตุ้นระดับแมสก่อน แล้วค่อยต่อยอดด้วยสื่อโทรศัพท์มือถือที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ตอบโต้ 2 ทางกับโฆษณา และกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสู่สายตากลุ่มเป้าหมายได้ 9. ข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ ส่วนใหญ่ลูกค้าชาวเอเชียไม่ชอบถูกรบกวนทางโทรศัพท์ เว้นแต่ว่ามีข้อเสนอที่สำคัญจริงๆ ตัวอย่างแคมเปญที่ผู้ใช้เห็นแล้วไม่อยากพลาด อาทิ เสนอเกมใหม่ที่ให้คอนเทนต์เฉพาะใช้ฟรี ตบด้วยโอกาสลุ้นสินค้าที่กำลังฮิตขณะนั้น หรือดาวน์โหลดเพลงฟรีเมื่อซื้อสินค้า ซึ่งเครื่องดื่มสไปรท์ทำสำเร็จมาแล้วในเมืองจีน หรือไม่ก็เสนอประสบการณ์ที่มีเงินก็ซื้อไม่ได้ เช่น โอกาสได้เดตกับดาราขวัญใจ เป็นต้น 10. ทดลองสิ่งใหม่ๆ จากเทคโนโลยีเท่าที่มีอยู่เพียงแค่ SMS และ Bluetooth ก็ทดลองแคมเปญใหม่ๆ ได้มากมาย เช่น แคมเปญฉลองครบรอบ 25 ปีแบรนด์ Air Force ของ Nike ในฮ่องกง ก็ใช้ Bluetooth สร้างความหวือหวาให้แคมเปญการตลาด โดยเชิญลูกค้ามาไล่ล่าสะสมคูปองดิจิตอลตามจุดต่างๆ จนครบ 40 อัน เพื่อลุ้นรางวัลรองเท้ารุ่นพิเศษสุดมูลค่า 15,000 เหรียญฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งก็มีคนร่วมสนุกถึง 5,000 คน ดังนั้นเทคโนโลยีหวือหวาไม่สำคัญเท่าความคิดสร้างสรรค์เก๋ไก๋ที่นักการตลาดรู้แจ้งว่าโทรศัพท์สามารถ “เล่น” กับกิจกรรมชนิดไหนและอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้ อาจดูเรียบง่ายและแสนจะธรรมดาจนนักการตลาดบางคนมองข้าม ทว่ากลับ “โดนใจ” กลุ่มเป้าหมาย ช่วยประกันความสำเร็จของแคมเปญโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างเหลือเชื่อ
วันพฤหัสบดี 30 ตุลาคม 2008 - 8:37
จากแคมเปญการตลาดที่ได้ผลในประเทศที่ใช้ 3G แพร่หลาย ฉีกข้อจำกัดเดิมๆ ของโฆษณาด้วยลูกเล่นแพรวพราวดึงดูดใจผู้บริโภค นำมาสู่ “กฎเหล็ก 10 ประการ” ที่นักการตลาดต้องไม่พลาด เพื่อติดปีกให้อัตราการตอบสนองโฆษณาบน “มือถือ” วิ่งฉิว ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ 1. รู้จักผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคชอบมีส่วนร่วมกับกิจกรรมง่ายๆ David Ketchum ประธานของสมาคมการตลาดดิจิตอลแห่งเอเชียจึงมองว่าผู้บริโภคสำคัญที่สุด ดังนั้น นักโฆษณาต้องดึงดูดให้พวกเขาสนใจและอยากมีส่วนร่วมให้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหวือหวาด้วยซ้ำ “ควรให้ความสำคัญกับอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเขา ไม่ว่าจะเป็นคอมมูนิตี้, ของแจกฟรี, ข่าวสาร หรือกอสซิปต่างๆ” ยกตัวอย่างเช่นแคมเปญในฮ่องกงของคอนแทคเลนส์ Acuvue อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้บริโภคสนใจ “สิทธิประโยชน์” มากกว่าแบรนด์ จึงเชื้อเชิญให้พวกเขาดาวน์โหลดคูปองจากโทรศัพท์ขอรับคอนแทคเลนส์ชนิดทำให้ตากลมโตขึ้นไปทดลองใช้ฟรี ขณะเดียวกันก็ให้ร่วมสนุกส่ง MMS ประกวดภาพถ่ายหลังจากใช้สินค้า ปรากฏว่ามีสาวๆ หลายหมื่นคนดาวน์โหลดคูปอง และร่วมประกวดครั้งนี้หลายพันราย โดยผู้ชนะเลิศได้รับโหวตมากถึง 9,000 ครั้ง เป็นต้น 2. รอจนกว่าจะพร้อม แม้จะมีไอเดียกระฉูดร้อนแรงปานใด แต่ก็ไร้ค่าได้หากเครือข่าย 3G ยังไม่พร้อม ดังนั้นโฆษณาไม่จำเป็นต้องซับซ้อนจนกว่าจะมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ระดับไฮเอนด์มากพอ เช่น ในอินเดียและประเทศไทยที่เครือข่ายและอุปกรณ์ยังคงมีราคาแพง จำนวนคนดูคอนเทนต์จากมือถือไม่มากนัก หากนักการตลาดต้องการโฆษณาในรูปแบบหนังก็ควรสั้นและกระชับ หรือแบ่งส่วนให้ดาวน์โหลดได้ง่ายในแต่ละครั้ง สำหรับ MTV ใช้วิธี SMS เตือนให้คนชมรายการแทน เป็นต้น ดังนั้นสำหรับตลาดใหม่ ยังควรใช้การผสมผสานระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อดิจิตอลแบบเรียบง่ายไปก่อน 3. ช่วงเวลาโฆษณาเข้ากับวิถีชีวิต แม้จอภาพบนโทรศัพท์ของผู้บริโภคบางรายอาจไม่ใหญ่พอ แต่ก็มีอำนาจเต็มเปี่ยม ดังนั้นนักการตลาดควรทำให้พวกเขาเป็นมิตร ด้วยการสร้างความเป็นส่วนตัวให้เกิดขึ้น ดังที่ David Wolf ซีอีโอของ Wolf Group Asia บอกว่าเป็นความได้เปรียบของโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งความสามารถในการระบุตำแหน่งผู้ใช้ ช่วยหลีกเลี่ยงการรบกวนผู้บริโภค โดยส่งข้อความที่มีความหมายและน่านำไปใช้ขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น เช่น ส่งส่วนลดร้านอาหารก่อนเวลาอาหาร รวมไปถึงการส่งข้อความด้วยภาษาไทยหากผู้ใช้เป็นคนไทย เป็นต้น 4. ห้าม “สแปม” เด็ดขาด สแปมอีเมลน่ารำคาญฉันใด ข้อความขยะบนโทรศัพท์มือถือก็ชวนเอือมระอาฉันนั้น สิ่งเหล่านี้บริษัทโทรคมนาคมต้องเป็นฝ่ายจัดการ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับโฆษณาผ่านช่องทางนี้ อย่างเช่นที่ประเทศจีน China Mobile และ China Unicom พยายามหาทางลดข้อความขยะเหล่านั้นอยู่ 5. เชื่อฟังผู้คุ้มกฎไม่ละเมิดความลับ โฆษณาไฮเทคขนาดไหนก็ต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า มิเช่นนั้นชื่อเสียงของแบรนด์อาจเสียหายได้ แม้จะมีความแตกต่างทางกฎหมายในแต่ละประเทศก็ตาม เพราะตำรวจตัวจริงก็คือผู้บริโภคนั่นเอง สักวันหนึ่งพวกเขาก็จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น 6. รู้จังหวะที่ผู้บริโภค “เล่น” ด้วย โดยทั่วไปในแต่ละวันผู้ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่จะเช็กข้อมูลของตัวเองหลายครั้ง และชื่นชอบการฟังเพลงไปด้วย ในกรณีของตลาดญี่ปุ่นพบว่าผู้บริโภคชอบข้อความและคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย ช่วยให้เสพข้อมูลเหล่านั้นได้ทันที ส่งผลให้พวกเขากลับมาใช้แอพพลิเคชั่นหรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ใช้ง่ายเหล่านี้บ่อยๆ ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้มักตอบสนองกับข่าวสารจากโทรศัพท์ตัวเองในช่วงวันทำงาน หรือ จันทร์ – ศุกร์มากกว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ ดังนั้นนักการตลาดต้องรู้ว่าช่วงเวลาไหนเหมาะสมกับการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยความเข้าใจเรื่องจังหวะเวลา ทำให้ Motorola ออกแคมเปญ “บอกลาคนที่คุณรัก” ที่สนามบินฮ่องกง ให้บริการข้อความ “Goodbye” ต่างๆ ในรูปแบบ SMS, MMS, Mobile Video ผ่าน Bluetooth จากนั้นผู้รับสามารถส่งข้อความต่อไปยังคนที่กำลังเดินทาง ซึ่งมีการนำซูเปอร์สตาร์เช่น David Beckham และเจย์ โชว์มาบันทึกข้อความ “Goodbye” ยั่วใจให้คนส่งกันเพิ่มขึ้นอีกด้วย 7. สร้างคอนเทนต์เฉพาะ “มือถือ” โฆษณาแบบ Branded Content ก็ทำได้ผ่านแมกกาซีน รายการ และเว็บไซต์ ที่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ (Mobizines, Mobisodes และ Mobisites) ซึ่งเชื่อกันว่าจะมีแนวโน้มสดใส หากเนื้อหาที่นำเสนอมีความกระชับและใช้เวลาพอเหมาะเพื่อไม่ให้ผู้ใช้รู้สึกเบื่อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจาก MTV แนะนำว่า “หากเป็นหนังสั้น ควรแบ่งเป็นตอนๆ ละ 2 นาที ไม่ควรยาวกว่านี้ เบรกโฆษณาไม่ควรนานเกิน 15 วินาที” ปรากฏการณ์นี้ไม่นับรวมตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ 3G เฟื่องฟูมานานแล้ว พวกเขายินดีเสียเวลาดาวน์โหลดเพื่อดู VDO เต็มรูปแบบให้อิ่มไปเลยทีเดียว 8. แคมเปญผสมผสาน ดันสู่การประกวด การโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายก็จริง แต่จะทรงพลังยิ่งขึ้นหากมีโฆษณาจากสื่ออื่นๆ หนุนนำไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ หรือทีวี ฯลฯ ที่กระตุ้นระดับแมสก่อน แล้วค่อยต่อยอดด้วยสื่อโทรศัพท์มือถือที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ตอบโต้ 2 ทางกับโฆษณา และกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสู่สายตากลุ่มเป้าหมายได้ 9. ข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ ส่วนใหญ่ลูกค้าชาวเอเชียไม่ชอบถูกรบกวนทางโทรศัพท์ เว้นแต่ว่ามีข้อเสนอที่สำคัญจริงๆ ตัวอย่างแคมเปญที่ผู้ใช้เห็นแล้วไม่อยากพลาด อาทิ เสนอเกมใหม่ที่ให้คอนเทนต์เฉพาะใช้ฟรี ตบด้วยโอกาสลุ้นสินค้าที่กำลังฮิตขณะนั้น หรือดาวน์โหลดเพลงฟรีเมื่อซื้อสินค้า ซึ่งเครื่องดื่มสไปรท์ทำสำเร็จมาแล้วในเมืองจีน หรือไม่ก็เสนอประสบการณ์ที่มีเงินก็ซื้อไม่ได้ เช่น โอกาสได้เดตกับดาราขวัญใจ เป็นต้น 10. ทดลองสิ่งใหม่ๆ จากเทคโนโลยีเท่าที่มีอยู่เพียงแค่ SMS และ Bluetooth ก็ทดลองแคมเปญใหม่ๆ ได้มากมาย เช่น แคมเปญฉลองครบรอบ 25 ปีแบรนด์ Air Force ของ Nike ในฮ่องกง ก็ใช้ Bluetooth สร้างความหวือหวาให้แคมเปญการตลาด โดยเชิญลูกค้ามาไล่ล่าสะสมคูปองดิจิตอลตามจุดต่างๆ จนครบ 40 อัน เพื่อลุ้นรางวัลรองเท้ารุ่นพิเศษสุดมูลค่า 15,000 เหรียญฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งก็มีคนร่วมสนุกถึง 5,000 คน ดังนั้นเทคโนโลยีหวือหวาไม่สำคัญเท่าความคิดสร้างสรรค์เก๋ไก๋ที่นักการตลาดรู้แจ้งว่าโทรศัพท์สามารถ “เล่น” กับกิจกรรมชนิดไหนและอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้ อาจดูเรียบง่ายและแสนจะธรรมดาจนนักการตลาดบางคนมองข้าม ทว่ากลับ “โดนใจ” กลุ่มเป้าหมาย ช่วยประกันความสำเร็จของแคมเปญโฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างเหลือเชื่อ
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551
DVD
เขียนโดย อสูรฟ้า
Thursday, 24 January 2008
แผ่น DVD มาตรฐานสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่น CD ธรรมดา ถึง 7 เท่า ในแบบ 1 ชั้น (Layer) คือประมาณ 4.7 กิกะไบต์ และเมื่อกล่าวถึงระบบภาพแล้ว DVD สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบจากสตูดิโอ ซึ่งมากกว่า 500 เส้น ด้วยระบบการบีบอัดสัญญาณ Digital รวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 9.8 Mbps ซึ่งมากกว่า VCD ที่มีอัตราการส่งผ่านเพียง 1.5 Mbps และเมื่อเปรียบเทียบความคมชัด DVD ให้รายละเอียดที่มากกว่า VCD ถึง 4 เท่า และระบบเสียงนั้นสามารถเก็บเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital (AC-3), DTS 5.1 Channel
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับแผ่น DVD กันก่อนนะครับ
DVD-R/RW และ DVD+R/RW คืออะไร
ทำไมถึงต้องมีเครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบ สำหรับดีวีดีทั้งสองประเภทนี้ ในตอนแรกมาตรฐาน DVD R/RW เริ่มต้นกับเครื่องหมายลบก่อน โดยเกิดจากการพัฒนาและวางมาตรฐานของกลุ่ม DVD Forum ซึ่งเรียกว่าเป็นสมาคมสำหรับควบคุมมาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลในรูปแบบของดีวีดีขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้น แต่ด้วยการพัฒนามาตรฐานของ DVD Forum ดูเหมือนว่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานและการพัฒนาต่อไปในอนาคตด้วย ทางสมาชิกกลุ่มหนึ่งจึงร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานดีวีดีที่บันทึกได้ในรูปแบบของ DVD+R/RW ขึ้นมา เป็นกลุ่ม DVD Alliance ทำให้มาตรฐานใหม่นี้ไม่ได้ถูกยอมรับจาก DVD Forum ที่เป็นผู้ดูแลมาตรฐานเดิมอยู่มาตรฐาน DVD+R/RW จึงเป็นมาตรฐานต่างหากที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้กับมาตรฐานเดิม แต่ด้วยการที่กลุ่มสมาชิกที่แยกตัวมาตั้งมาตรฐานใหม่ ต่างก็เป็นผู้นำด้านการผลิต DVD+R/RW จึงได้เริ่มมีการยอมรับและไดร์ฟดีวีดีรุ่นใหม่ๆ ต่างก็สามารถที่จะอ่านข้อมูลและใช้งาน DVD+R/RW มาตรฐานใหม่นี้ได้ด้วย จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่าเมื่อซื้อไดร์ฟประเภทนี้มาแล้วจะไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องเล่นใดๆ ได้ เพียงแต่ไดร์ฟทั้งสองมาตรฐานจะไม่ สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟ เป็นไดร์ฟประเภทไหนก็ต้องใช้ประเภทนั้น เช่น ไดร์ฟ DVD+R/RW จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่น DVD-R/RW ได้ และไดร์ฟ DVD-R/RW ก็ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น DVD+R/RW ได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อเขียนแล้ว แผ่นทั้งสองมาตรฐานต่างก็สามารถนำไปใช้กับไดรฟ์ดีวีดีรอมรุ่นใหม่ๆ ได้ไม่เป็นปัญหาในส่วนของการอ่านแผ่น
ปัญหาความแตกต่างของทั้งสองมาตรฐานเท่าที่เห็นก็จะเป็นลักษณะของการบันทึกข้อมูลมากกว่า โดย DVD+R/RW เนื่องจากพัฒนาออกมาภายหลัง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของ DVD-R/RW จึงมีความสามารถที่เหนือกว่า เช่น สั่งให้หยุดการเขียนและเขียนต่อได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ และใช้เทคโนโลยี Lossless Linking ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกและการอ่านข้อมูล ใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ส่วนการบันทึกรูปแบบของ R และ RW ก็ไม่ได้ต่างไปจากเครื่องบันทึกซีดีปัจจุบันR คือ Recordable หรือบันทึกได้ครั้งเดียว และ RW คือ Re-Writeable ที่สามารถนำกลับมาบันทึกซ้ำใหม่ได้ ซึ่งทั้งสองมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ต่างก็สามารถบันทึกใหม่ได้ประมาณ 10,000 ครั้งประเภทของไดร์ฟ DVD ปัจจุบันไดร์ฟดีวีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการติดตั้งดังนี้1. ไดร์ฟภายใน (Internal Drive) เป็นไดร์ฟที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาถูกลงเรื่อยๆและน่าจะทดแทนไดร์ฟซีดีรอมได้ทั้งหมด2. ไดร์ฟภายนอก (External Drive) ติดตั้งอยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติอื่นๆเทียบเท่ากับไดร์ฟภายใน
รูปแบบของแผ่นดีวีดี แผ่น DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงานเราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น แผ่น DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้งจะเล่นได้กับไดร์ฟ DVD-R/RW บนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW ป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่น ดีวีดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ฟของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์ แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูลจะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้อง Digital
ประเภทของแผ่นดีวีดี ดีวีดีมีให้เลือกใช้งานหลายความจุ ซึ่งแต่ละแบบมีเทคนิคในการเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุดังนี้1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียวและหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 กิกะไบต์ DVD5 จะแบ่งใช้วัสดุ 2 แผ่น ประกบกัน จะใช้งานเพียงแค่ส่วนล่างเพียงแค่แผ่นเดียวในการบันทึกข้อมูลและ บันทึกลงไปเพียงแค่ชั้นเดียว แผ่นรูปแบบนี้ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 จะคล้ายกับ DVD5คือการบันทึก ข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึกข้อมูลไว้ 2 ชั้นกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียวบันทึก ข้อมูลได้ประมาณ 8.5 กิโลไบต์ จึงเรียกว่า DVD9 โดยทั่วไป DVD9 จะใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดมากๆ เช่น ภาพยนตร์ที่ต้องการคุณภาพของภาพสูงๆ เรื่องยาวๆ ซึ่งจะบรรจุข้อมูลเสียงไว้อีกชั้นหนึ่ง3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้า และในแต่ละหน้าก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 1 ชั้น แผ่นแบบนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็น 2 เท่าของ DVD5 คือสามารถบันทึกข้อมูลได้ 9.4 กิกะไบต์4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น ซึ่งแผ่นชนิดนี้สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 กิกะไบต์ นำไปบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความยาวมากๆ
เปรียบเทียบดีวีดีทั้ง 4 ประเภท Format ความจุ เวลาโดยประมาณที่บันทึกได้1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 4.7 GB 2 ชั่วโมง2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 8.5 GB 4 ชั่วโมง3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 9.4 GB 4.5 ชั่วโมง4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 17 GB มากกว่า 8 ชั่วโมง
วิธีสังเกตุดูแผ่น DVD อย่างง่ายๆDVD 5 มักใช้วัสดุสีเงิน ความหนาของแผ่นจะไม่มาก DVD 9 เนื้อแผ่นมักเห็นเป็นสีทอง วงรอบในของแผ่นด้านข้อมูล อาจจะมีตัวหนังสือเล็กๆ เช่น side A, side B หรือ side 1, side 2
เขียนโดย อสูรฟ้า
Thursday, 24 January 2008
แผ่น DVD มาตรฐานสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่น CD ธรรมดา ถึง 7 เท่า ในแบบ 1 ชั้น (Layer) คือประมาณ 4.7 กิกะไบต์ และเมื่อกล่าวถึงระบบภาพแล้ว DVD สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบจากสตูดิโอ ซึ่งมากกว่า 500 เส้น ด้วยระบบการบีบอัดสัญญาณ Digital รวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 9.8 Mbps ซึ่งมากกว่า VCD ที่มีอัตราการส่งผ่านเพียง 1.5 Mbps และเมื่อเปรียบเทียบความคมชัด DVD ให้รายละเอียดที่มากกว่า VCD ถึง 4 เท่า และระบบเสียงนั้นสามารถเก็บเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital (AC-3), DTS 5.1 Channel
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับแผ่น DVD กันก่อนนะครับ
DVD-R/RW และ DVD+R/RW คืออะไร
ทำไมถึงต้องมีเครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบ สำหรับดีวีดีทั้งสองประเภทนี้ ในตอนแรกมาตรฐาน DVD R/RW เริ่มต้นกับเครื่องหมายลบก่อน โดยเกิดจากการพัฒนาและวางมาตรฐานของกลุ่ม DVD Forum ซึ่งเรียกว่าเป็นสมาคมสำหรับควบคุมมาตรฐานสื่อบันทึกข้อมูลในรูปแบบของดีวีดีขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้น แต่ด้วยการพัฒนามาตรฐานของ DVD Forum ดูเหมือนว่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานและการพัฒนาต่อไปในอนาคตด้วย ทางสมาชิกกลุ่มหนึ่งจึงร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานดีวีดีที่บันทึกได้ในรูปแบบของ DVD+R/RW ขึ้นมา เป็นกลุ่ม DVD Alliance ทำให้มาตรฐานใหม่นี้ไม่ได้ถูกยอมรับจาก DVD Forum ที่เป็นผู้ดูแลมาตรฐานเดิมอยู่มาตรฐาน DVD+R/RW จึงเป็นมาตรฐานต่างหากที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้กับมาตรฐานเดิม แต่ด้วยการที่กลุ่มสมาชิกที่แยกตัวมาตั้งมาตรฐานใหม่ ต่างก็เป็นผู้นำด้านการผลิต DVD+R/RW จึงได้เริ่มมีการยอมรับและไดร์ฟดีวีดีรุ่นใหม่ๆ ต่างก็สามารถที่จะอ่านข้อมูลและใช้งาน DVD+R/RW มาตรฐานใหม่นี้ได้ด้วย จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่าเมื่อซื้อไดร์ฟประเภทนี้มาแล้วจะไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องเล่นใดๆ ได้ เพียงแต่ไดร์ฟทั้งสองมาตรฐานจะไม่ สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟ เป็นไดร์ฟประเภทไหนก็ต้องใช้ประเภทนั้น เช่น ไดร์ฟ DVD+R/RW จะไม่สามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่น DVD-R/RW ได้ และไดร์ฟ DVD-R/RW ก็ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น DVD+R/RW ได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อเขียนแล้ว แผ่นทั้งสองมาตรฐานต่างก็สามารถนำไปใช้กับไดรฟ์ดีวีดีรอมรุ่นใหม่ๆ ได้ไม่เป็นปัญหาในส่วนของการอ่านแผ่น
ปัญหาความแตกต่างของทั้งสองมาตรฐานเท่าที่เห็นก็จะเป็นลักษณะของการบันทึกข้อมูลมากกว่า โดย DVD+R/RW เนื่องจากพัฒนาออกมาภายหลัง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของ DVD-R/RW จึงมีความสามารถที่เหนือกว่า เช่น สั่งให้หยุดการเขียนและเขียนต่อได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ และใช้เทคโนโลยี Lossless Linking ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกและการอ่านข้อมูล ใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ส่วนการบันทึกรูปแบบของ R และ RW ก็ไม่ได้ต่างไปจากเครื่องบันทึกซีดีปัจจุบันR คือ Recordable หรือบันทึกได้ครั้งเดียว และ RW คือ Re-Writeable ที่สามารถนำกลับมาบันทึกซ้ำใหม่ได้ ซึ่งทั้งสองมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ต่างก็สามารถบันทึกใหม่ได้ประมาณ 10,000 ครั้งประเภทของไดร์ฟ DVD ปัจจุบันไดร์ฟดีวีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการติดตั้งดังนี้1. ไดร์ฟภายใน (Internal Drive) เป็นไดร์ฟที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ราคาถูกลงเรื่อยๆและน่าจะทดแทนไดร์ฟซีดีรอมได้ทั้งหมด2. ไดร์ฟภายนอก (External Drive) ติดตั้งอยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติอื่นๆเทียบเท่ากับไดร์ฟภายใน
รูปแบบของแผ่นดีวีดี แผ่น DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงานเราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น แผ่น DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้งจะเล่นได้กับไดร์ฟ DVD-R/RW บนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW ป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่น ดีวีดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ไดร์ฟของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์ แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูลจะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้อง Digital
ประเภทของแผ่นดีวีดี ดีวีดีมีให้เลือกใช้งานหลายความจุ ซึ่งแต่ละแบบมีเทคนิคในการเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุดังนี้1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียวและหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 กิกะไบต์ DVD5 จะแบ่งใช้วัสดุ 2 แผ่น ประกบกัน จะใช้งานเพียงแค่ส่วนล่างเพียงแค่แผ่นเดียวในการบันทึกข้อมูลและ บันทึกลงไปเพียงแค่ชั้นเดียว แผ่นรูปแบบนี้ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 จะคล้ายกับ DVD5คือการบันทึก ข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึกข้อมูลไว้ 2 ชั้นกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียวบันทึก ข้อมูลได้ประมาณ 8.5 กิโลไบต์ จึงเรียกว่า DVD9 โดยทั่วไป DVD9 จะใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดมากๆ เช่น ภาพยนตร์ที่ต้องการคุณภาพของภาพสูงๆ เรื่องยาวๆ ซึ่งจะบรรจุข้อมูลเสียงไว้อีกชั้นหนึ่ง3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้า และในแต่ละหน้าก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 1 ชั้น แผ่นแบบนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้เป็น 2 เท่าของ DVD5 คือสามารถบันทึกข้อมูลได้ 9.4 กิกะไบต์4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น ซึ่งแผ่นชนิดนี้สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 กิกะไบต์ นำไปบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความยาวมากๆ
เปรียบเทียบดีวีดีทั้ง 4 ประเภท Format ความจุ เวลาโดยประมาณที่บันทึกได้1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD5 4.7 GB 2 ชั่วโมง2. Single-Side, Dual Layer : หรือ DVD9 8.5 GB 4 ชั่วโมง3. Double-Sided, Single Layer : หรือ DVD10 9.4 GB 4.5 ชั่วโมง4. Double-Sided, Dual Layer : หรือ DVD18 17 GB มากกว่า 8 ชั่วโมง
วิธีสังเกตุดูแผ่น DVD อย่างง่ายๆDVD 5 มักใช้วัสดุสีเงิน ความหนาของแผ่นจะไม่มาก DVD 9 เนื้อแผ่นมักเห็นเป็นสีทอง วงรอบในของแผ่นด้านข้อมูล อาจจะมีตัวหนังสือเล็กๆ เช่น side A, side B หรือ side 1, side 2
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551
GSMA ชี้ไทยทุ่ม 4 พันล.เหรียญ บริการบรอดแบนด์ไร้สายใน 3 ปี
โดย ผู้จัดการออนไลน์
22 ตุลาคม 2551 10:56 น.
สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) วอน กทช.สร้างความมั่นใจในกระบวนการออกใบอนุญาต 3G ได้อย่างเป็นธรรม รวมทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วง 2.1GHz ให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่สาธารณชน โดยไร้ความเสี่ยงจากสัญญาณรบกวน ชี้ผู้ประกอบการไทยพร้อมลงทุนกว่า 4 พันล้านเหรียญ นายริคาร์โด้ ทาวาเรส รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายการวางนโยบายสาธารณะ สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) กล่าวว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทยเดินหน้าลงทุนด้วยงบประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเปิดให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย (HSPA) ภายใน 3 ปีนี้ หลังจากที่รัฐบาลมีมติให้สัมปทานคลื่นความถี่ใหม่ และอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เดิมในการให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ได้ สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) พยายามกระตุ้นรัฐบาลไทยในการดำเนินการออกใบอนุญาต 3G ให้เร็วที่สุดเพื่อที่ว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากบริการ 3G ได้อย่างเต็มที่จากการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย เพราะบริการดังกล่าวจะช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา เปิดโอกาสในการหางาน ด้านเกษตรกรรม และด้านอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย การเปิดให้บริการ 3G ที่พัฒนาด้วยระบบ HSPA จะขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยให้แพร่หลายมากขึ้น เพราะมีเพียง 2.2% ของครัวเรือนทั้งหมด (ข้อมูลจาก GlobalComms) ที่มีการใช้งานบรอดแบนด์ ซึ่งถือว่าล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในด้านนี้
“การออกใบอนุญาตบนคลื่นความถี่ 2.1GHz จะช่วยให้ประเทศไทยลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีระหว่างชุมชนเมืองและชนบท รวมถึงลดช่องว่างระหว่างผู้รับบริการไทยและผู้รับบริการในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ในขณะที่คลื่นความถี่นี้จะตอบสนองความต้องการในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ระหว่างนั้นรัฐบาลไทยควรจะเริ่มวางแผนการใช้คลื่นความถี่ในช่วง 2.5GHz สำหรับบริการบรอดแบนด์ไร้สาย โดยใช้โครงสร้างที่สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายเพื่อแบ่งแยกการใช้งานแบนด์วิดท์ระหว่างผู้ใช้งานได้หลายราย สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) วอนสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ผู้กำกับดูแลในการออกกฎเกณฑ์ระดับชาติ ในการสร้างความแน่ใจในกระบวนการออกใบอนุญาตได้อย่างเป็นธรรม และมั่นใจว่าคลื่นความถี่ในช่วง 2.1GHz ได้ถูกจัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่สาธารณชน โดยไร้ความเสี่ยงจากสัญญาณรบกวน สำหรับสมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) เป็นกลุ่มองค์กรทางการค้าระดับโลกด้านอุตสาหกรรมไร้สาย เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่าย GSM มากกว่า 750 รายใน 218 ประเทศทั่วโลก สมาชิก GSMA เป็นตัวแทน GSM กว่า 3 พันล้านราย และการเชื่อมต่อ 3GSM ซึ่งมากกว่า 86% ของการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือระดับโลก นอกจากนี้ ผู้ผลิตสินค้าและผู้จัดจำหน่ายกว่า 200 รายให้การสนับสนุนแนวความคิดของสมาคม เป้าหมายแรกของ GSMA คือ การสร้างความมั่นใจบริการไร้สายและโทรศัพท์มือถือให้ทำงานเชื่อมต่อได้ทั่วโลก และเข้าถึงได้ง่าย ด้วยการเพิ่มคุณค่าการใช้งานให้แก่กลุ่มผู้ใช้บริการ รวมถึงเศรษฐกิจระดับชาติ ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้ให้บริการ ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายด้วย
http://www.manager.co.th/Telecom/ViewNews.aspx?NewsID=9510000125367
โดย ผู้จัดการออนไลน์
22 ตุลาคม 2551 10:56 น.
สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) วอน กทช.สร้างความมั่นใจในกระบวนการออกใบอนุญาต 3G ได้อย่างเป็นธรรม รวมทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่ในช่วง 2.1GHz ให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่สาธารณชน โดยไร้ความเสี่ยงจากสัญญาณรบกวน ชี้ผู้ประกอบการไทยพร้อมลงทุนกว่า 4 พันล้านเหรียญ นายริคาร์โด้ ทาวาเรส รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายการวางนโยบายสาธารณะ สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) กล่าวว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทยเดินหน้าลงทุนด้วยงบประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเปิดให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย (HSPA) ภายใน 3 ปีนี้ หลังจากที่รัฐบาลมีมติให้สัมปทานคลื่นความถี่ใหม่ และอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เดิมในการให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ได้ สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) พยายามกระตุ้นรัฐบาลไทยในการดำเนินการออกใบอนุญาต 3G ให้เร็วที่สุดเพื่อที่ว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากบริการ 3G ได้อย่างเต็มที่จากการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย เพราะบริการดังกล่าวจะช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา เปิดโอกาสในการหางาน ด้านเกษตรกรรม และด้านอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย การเปิดให้บริการ 3G ที่พัฒนาด้วยระบบ HSPA จะขยายการใช้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยให้แพร่หลายมากขึ้น เพราะมีเพียง 2.2% ของครัวเรือนทั้งหมด (ข้อมูลจาก GlobalComms) ที่มีการใช้งานบรอดแบนด์ ซึ่งถือว่าล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในด้านนี้
“การออกใบอนุญาตบนคลื่นความถี่ 2.1GHz จะช่วยให้ประเทศไทยลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีระหว่างชุมชนเมืองและชนบท รวมถึงลดช่องว่างระหว่างผู้รับบริการไทยและผู้รับบริการในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ในขณะที่คลื่นความถี่นี้จะตอบสนองความต้องการในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ระหว่างนั้นรัฐบาลไทยควรจะเริ่มวางแผนการใช้คลื่นความถี่ในช่วง 2.5GHz สำหรับบริการบรอดแบนด์ไร้สาย โดยใช้โครงสร้างที่สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายเพื่อแบ่งแยกการใช้งานแบนด์วิดท์ระหว่างผู้ใช้งานได้หลายราย สมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) วอนสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ผู้กำกับดูแลในการออกกฎเกณฑ์ระดับชาติ ในการสร้างความแน่ใจในกระบวนการออกใบอนุญาตได้อย่างเป็นธรรม และมั่นใจว่าคลื่นความถี่ในช่วง 2.1GHz ได้ถูกจัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างมีศักยภาพเพียงพอในการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่สาธารณชน โดยไร้ความเสี่ยงจากสัญญาณรบกวน สำหรับสมาคมจีเอสเอ็มเอโลก (GSMA) เป็นกลุ่มองค์กรทางการค้าระดับโลกด้านอุตสาหกรรมไร้สาย เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่าย GSM มากกว่า 750 รายใน 218 ประเทศทั่วโลก สมาชิก GSMA เป็นตัวแทน GSM กว่า 3 พันล้านราย และการเชื่อมต่อ 3GSM ซึ่งมากกว่า 86% ของการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือระดับโลก นอกจากนี้ ผู้ผลิตสินค้าและผู้จัดจำหน่ายกว่า 200 รายให้การสนับสนุนแนวความคิดของสมาคม เป้าหมายแรกของ GSMA คือ การสร้างความมั่นใจบริการไร้สายและโทรศัพท์มือถือให้ทำงานเชื่อมต่อได้ทั่วโลก และเข้าถึงได้ง่าย ด้วยการเพิ่มคุณค่าการใช้งานให้แก่กลุ่มผู้ใช้บริการ รวมถึงเศรษฐกิจระดับชาติ ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้ให้บริการ ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายด้วย
http://www.manager.co.th/Telecom/ViewNews.aspx?NewsID=9510000125367
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551
แผนดีแทค หวัง 3G พลิกเป็นเบอร์ 1
Positioning Magazine กันยายน 2551
3G บนคลื่น 800 MHz เป็นโครงการใหม่ล่าสุดที่ทำให้ดีแทคตื่นเต้น และมีความหวัง มีการพูดประโยคเดียวกันตั้งแต่ซีอีเก่า ซีอีโอใหม่ จนถึงระดับผู้บริหาร และพนักงาน ว่า คือโอกาสสำคัญที่จะพลิกฐานะตัวเองจากการเป็นเบอร์ 2 มาโดยตลอด มาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นครั้งนี้ดีแทคจึงมีแผนจริงจังและเต็มที่มากที่สุดกับ 3G โดยอาจไม่จำเป็นต้องรอคลื่น 2.1 GHz ความหวังของดีแทคไม่ได้มาลอยๆ เพราะทุกอย่างมีการจัดทำแผนอย่างชัดเจน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวซีอีโอ จาก “ซิคเว่ เบรคเก้” มาเป็น “ทอเร่ จอห์นเซ่น” ที่ “ซิคเว่” ซึ่งขึ้นไปเป็นซีอีโอของเทเลนอร์ เอเชีย เลือกด้วยตัวเอง เพราะจุดแข็งของ “ทอเร่” ที่สำคัญคือความเชี่ยวชาญในการวางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะประสบการณ์ 3G ในมาเลเซีย และที่สำคัญ “ทอเร่” ยังเป็นนักประสานที่ดี และเข้ากันได้กับสไตล์ของดีแทค ที่มีการทำงานอย่างมีชีวิตชีวา “ทอเร่” เองก็มั่นใจ ถึงกับพูดอย่างชัดเจนแม้จะเป็นการพบกับสื่อมวลชนไทยครั้งแรกระหว่างการแถลงข่าวเปิดตัวว่า 3G จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ช่วยให้ดีแทคสามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 ชนะเอไอเอสได้ ซึ่ง “ทอเร่” ยังเชื่อมั่นในแผนที่ “ซิคเว่” ได้วางไว้มานานกว่า 1 ปี ก่อนหน้านี้ “ซิคเว่” ใช้เกม Short Cut เลือกเทกโอเวอร์ บริษัทที่สามารถสร้างคอนเทนต์ และ Application เพื่อตอบรับกับ 3G ได้ 3 บริษัทคือ เพย์สบาย ครีเอ้ และแฟตเรดิโอ ซึ่ง “ซิคเว่” บอกชัดเจนว่า นี่คือการทำให้ดีแทคโตด้านคอนเทนต์เร็วที่สุด นอกจากนี้ “ซิคเว่” ยังตั้งทีมงานใหม่ในดีแทค ใช้ชื่อแผนกว่า “Next Dtac” มี “อมฤต ศุขะวณิช” เป็นผู้ดูแลทีมทั้งหมด โดย “อมฤต” เติบโตมาจากสายการเงินในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นความตั้งใจของ “ซิคเว่” ที่เขาบอกว่า “เชื่อว่าคนนอกที่ไม่เคยทำธุรกิจโทรคมนาคม จะสามารถคิดนอกกรอบได้ เพราะ 3G คือธุรกิจในอนาคต” สำหรับดีแทคแล้ว ในฐานะมวยรองมาโดยตลอด “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ก็เชื่อเช่นเดียวกับ “ซิคเว่” และกำลังวิ่งเต็มที่กับ 3G 3 แผนกรุยทางดีแทค “ธนา” บอกว่าเขาเชื่ออย่างยิ่งเมื่อ 3G มาแล้วจะทำให้คนใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 50-60% ซึ่งถือเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญของประเทศได้ เพราะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยพัฒนาหรือไม่ เพราะเมื่ออินเทอร์เน็ตขยายแล้วในระดับนานาประเทศถือว่าเป็นช่องทางที่สามารถสื่อสารความรู้ให้เข้าถึงประชาชนได้ คนก็จะมีความรู้มากขึ้น เมื่อมีโครงข่ายที่ติด Speed แล้ว อุปกรณ์ต่อเชื่อมก็สำคัญและมีแนวโน้มลดลง จึงชัดเจนว่า เมื่อดีแทคเปิดบริการ 3G แล้วจะเป็นคู่แข่งกับทรูออนไลน์ ทีโอที และกลุ่มไอเอสพีในตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งหมายความว่าดีแทคได้ขยายธุรกิจจากเดิมที่มีเพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ขณะนี้ดีแทควางแผนธุรกิจไว้แล้ว 3 ส่วนคือ 1. เตรียมวางเครือข่ายสถานีรับส่งสัญญาณ ในระยะแรก เน้นในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น แหล่งท่องเที่ยว และธุรกิจ แบ่งเป็นในภูเก็ต 59 สถานี ชลบุรี 156 สถานี กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,005 สถานี รวม 1,220 สถานี งบลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท 2. ให้บริษัทลูก 3 บริษัท ที่ดีแทคไปร่วมทุนนำเสนอคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ คือ 1."เพย์สบาย" ดีแทคคือหุ้น 98% พัฒนา Application สำหรับ Payment Solution ลักษณะแบบอีเบย์บริการอยู่ 2."ครีเอ้" ดีแทคถือหุ้น 51% พัฒนาลูกเล่นบริการต่าง ๆ เช่น ล่าสุดมีบริการ Playground ที่ให้ถ่ายรูปและสามารถอัพโหลดขึ้น เว็บ Social Networking อย่าง Hi5 ได้ทันที 3."แฟตเรดิโอ" ดีแทคถือหุ้น 51%มีคอนเทนต์เพลง และศิลปิน Indy ที่เข้ากับกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างดี นอกจากนี้ยังเตรียมพร้อมคอนเทนต์อื่นๆ คือหาพันธมิตรธุรกิจเพื่อดึงคอนเทนต์ที่น่าสนใจมาให้บริการ เช่น การดาวน์โหลดเพลง กับค่ายแกรมมี่ บริการเอทีเอ็ม ซิมกับเคแบงก์ 3. การเตรียมบุคคลากรฝ่ายต่างๆ โดยต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ว่าเรากำลังพูดเรื่องเดียวกัน โดยเฉพาะในฝ่ายการตลาดที่ต้องคิดแผนการตลาด ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงทำความเข้าใจร่วมกันเท่านั้น ยังไม่ได้สรุปเรื่องชื่อแบรนด์ หรือแผนใดๆ แต่สิ่งที่ทำให้ดีแทคต้องคิดหนักคือ จากเดิมที่เคยมีประสบการณ์การเป็นมวยรองมาโดยตลอด เมื่อคิดเป็นผู้นำตลาด จะทำได้หรือไม่ หรือได้มากเพียงใด หวัง “ไอโฟน” กรุยทาง “ดีแทค” ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ “แอปเปิล” โดยหวังเป็นตัวแทนจำหน่าย “ไอโฟน” ที่สเปกเครื่องสามารถใช้กับ 3G ในคลื่น 850 ที่ดีแทคจะพัฒนาเครือข่ายได้ อย่างไรก็ตาม “ธนา” บอกว่าทุกบริษัทในไทยไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส หรือทรู ก็มีโอกาสเหมือนกัน โดยเฉพาะเอไอเอส ที่มีข้อได้เปรียบจาก “สิงเทล” หรือสิงคโปร์เทเลคอม ที่ถือหุ้นในเอไอเอส เพราะ “สิงเทล” ได้สิทธิในการจำหน่ายไอโฟนในหลายประเทศที่สิงเทลไปถือหุ้นอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่สามารถสรุปข้อตกลงได้ แต่ก็มีรายงานข่าวออกมาแล้วว่า ณ เดือนกันยายน “ดีแทค”กำลังเจรจากับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อขออนุญาตนำเครื่องไอโฟนเข้ามา 300 เครื่อง โดยดีแทคหวังใช้กลยุทธ์มาเปิดตัวบริการ 3G ในเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยลูกค้าดีแทคที่เป็นกลุ่มนำร่องใช้บริการ 3G โดยใช้เครื่องไอโฟนทั้ง 300 เครื่อง หากเครื่องมีปัญหา และในไทยยังไม่ตัวแทนจำหน่าย ดีแทคจะเป็นผู้ประสานงานในการรับส่งซ่อมในต่างประเทศให้ทั้งหมด แต่ระหว่างที่ยังไม่สรุปว่า “ดีแทค” จะได้ไอโฟนตามแผนหรือไม่ ณ วันนี้แผนการทำตลาดของดีแทคยังไม่ต่างจากสิ่งที่เอไอเอสทำอยู่มากนัก คือแผนการเสนอแพ็กเกจราคาสำหรับใช้สื่อสารข้อมูล แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคืออาจเจรจากับพันธมิตรเน็ตบุ๊ก เพื่อเสนอโปรโมชั่นพิเศษ แต่สิ่งที่ต่างแน่นอนคือการคิดชื่อแบรนด์ที่ต่างจากหลักการคิดของเอไอเอส เพราะเอไอเอสคิดแบบ Functional ให้เห็นคุณสมบัติของเทคนิคและการใช้งาน แต่ของดีแทคจะเน้น Emotional มากกว่า อย่างที่ผ่านมา Happy และ Feel Good นอกจากนี้ดีแทคยังลงทุนระบบคอลล์เซ็นเตอร์อีกประมาณ 500 ล้านบาท เพื่อรักษาฐานลูกค้าเมื่อมี 3 G เกิดขึ้น นอกจากระบบซอฟท์แวร์ แล้วเตรียมเพิ่มพนักงานในทีมไฮเทค ของคอลล์เซ็นเตอร์ เป็นประมาณ 200 คน จากปัจจุบันมี 30 คน เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องการปรึกษาการใช้งานอุปกรณ์ไอทีที่ เช่น ไอโฟน โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ แบล็กเบอร์รี่ และโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ณ วันนี้ สิ่งที่ “ธนา” เชื่อมั่นคือบุคลากรของดีแทค ที่เต็มไปด้วย Passion พร้อมกับมั่นใจว่าในที่สุดแล้ว 3G จะทำให้ “ดีแทค” เป็น The Most Admire Brand ในใจของลูกค้าได้ Next Dtac สำหรับ 3G “อมฤต ศุขวณิช” ในฐานะหัวหน้าทีมของ Next Dtac บอกว่า มีงานมากมายที่ดีแทคต้องทำ เพราะขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มติดตั้งสถานีรับส่งสัญญาณ แต่เป้าหมายที่ต้องไปถึงคือการเปิดบริการให้ได้ภายในกลางปี 2552 และจะถึงกลุ่มเป้าหมายใหญ่ทั้งหมดภายใน 3 ปี ซึ่งถือเป็นจังหวะที่ดี เพราะโลกของอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปมาก จนทำให้คอนเทนต์ต่างๆ เป็นที่ต้องการ เมื่อคอนเทนต์มีมาก ก็ทำให้ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย แน่นอน “คอนเทนต์” ที่ดีแทคสร้างและพัฒนาเองก็มีความสำคัญ สิ่งที่เขามองเห็นคือ เขาเชื่อว่าโมบายมันนี่จะเกิดขึ้น เพราะ Application สำหรับธุรกรรมทางการเงินจะพัฒนา อีคอมเมิร์ชที่เคยมีจะฟื้นตัว ซึ่งดีแทคได้เตรียมบริษัทลูกคือเพย์สบายรองรับไว้ ด้วยเป้าหมายให้เป็น Payment Gateway ในโลกออนไลน์ หรือเทียบชั้นกับ eBay จากเดิมที่เพย์สบายจะเน้นเฉพาะการใช้โมบายแบงกิ้งเท่านั้น คอนเทนต์ที่สำคัญที่จะทำให้ 3 G ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าคือคอนเทนต์ด้านบันเทิง ซึ่งขณะนี้ดีแทคมีพันธมิตรและบริษัทลูกคือแฟตเรดิโอ รวมไปถึงความบันเทิงจาก Application ต่างๆ อย่างบริการเพลย์กราวด์ สำหรับเว็บ Social Networking ภายใต้บริษัทครีเอ้ นี่คืออีกหนึ่งจังหวะของดีแทค ที่ “อมฤต” บอกว่า 3G สำหรับดีแทคเวลานี้ คือบริการใหม่ที่ถูกที่และถูกเวลา
Positioning Magazine กันยายน 2551
3G บนคลื่น 800 MHz เป็นโครงการใหม่ล่าสุดที่ทำให้ดีแทคตื่นเต้น และมีความหวัง มีการพูดประโยคเดียวกันตั้งแต่ซีอีเก่า ซีอีโอใหม่ จนถึงระดับผู้บริหาร และพนักงาน ว่า คือโอกาสสำคัญที่จะพลิกฐานะตัวเองจากการเป็นเบอร์ 2 มาโดยตลอด มาเป็นเบอร์ 1 ในตลาดโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นครั้งนี้ดีแทคจึงมีแผนจริงจังและเต็มที่มากที่สุดกับ 3G โดยอาจไม่จำเป็นต้องรอคลื่น 2.1 GHz ความหวังของดีแทคไม่ได้มาลอยๆ เพราะทุกอย่างมีการจัดทำแผนอย่างชัดเจน ตั้งแต่การเปลี่ยนตัวซีอีโอ จาก “ซิคเว่ เบรคเก้” มาเป็น “ทอเร่ จอห์นเซ่น” ที่ “ซิคเว่” ซึ่งขึ้นไปเป็นซีอีโอของเทเลนอร์ เอเชีย เลือกด้วยตัวเอง เพราะจุดแข็งของ “ทอเร่” ที่สำคัญคือความเชี่ยวชาญในการวางเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะประสบการณ์ 3G ในมาเลเซีย และที่สำคัญ “ทอเร่” ยังเป็นนักประสานที่ดี และเข้ากันได้กับสไตล์ของดีแทค ที่มีการทำงานอย่างมีชีวิตชีวา “ทอเร่” เองก็มั่นใจ ถึงกับพูดอย่างชัดเจนแม้จะเป็นการพบกับสื่อมวลชนไทยครั้งแรกระหว่างการแถลงข่าวเปิดตัวว่า 3G จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ช่วยให้ดีแทคสามารถขึ้นเป็นอันดับ 1 ชนะเอไอเอสได้ ซึ่ง “ทอเร่” ยังเชื่อมั่นในแผนที่ “ซิคเว่” ได้วางไว้มานานกว่า 1 ปี ก่อนหน้านี้ “ซิคเว่” ใช้เกม Short Cut เลือกเทกโอเวอร์ บริษัทที่สามารถสร้างคอนเทนต์ และ Application เพื่อตอบรับกับ 3G ได้ 3 บริษัทคือ เพย์สบาย ครีเอ้ และแฟตเรดิโอ ซึ่ง “ซิคเว่” บอกชัดเจนว่า นี่คือการทำให้ดีแทคโตด้านคอนเทนต์เร็วที่สุด นอกจากนี้ “ซิคเว่” ยังตั้งทีมงานใหม่ในดีแทค ใช้ชื่อแผนกว่า “Next Dtac” มี “อมฤต ศุขะวณิช” เป็นผู้ดูแลทีมทั้งหมด โดย “อมฤต” เติบโตมาจากสายการเงินในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งเป็นความตั้งใจของ “ซิคเว่” ที่เขาบอกว่า “เชื่อว่าคนนอกที่ไม่เคยทำธุรกิจโทรคมนาคม จะสามารถคิดนอกกรอบได้ เพราะ 3G คือธุรกิจในอนาคต” สำหรับดีแทคแล้ว ในฐานะมวยรองมาโดยตลอด “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ก็เชื่อเช่นเดียวกับ “ซิคเว่” และกำลังวิ่งเต็มที่กับ 3G 3 แผนกรุยทางดีแทค “ธนา” บอกว่าเขาเชื่ออย่างยิ่งเมื่อ 3G มาแล้วจะทำให้คนใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 50-60% ซึ่งถือเป็นดัชนีชี้วัดความเจริญของประเทศได้ เพราะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยพัฒนาหรือไม่ เพราะเมื่ออินเทอร์เน็ตขยายแล้วในระดับนานาประเทศถือว่าเป็นช่องทางที่สามารถสื่อสารความรู้ให้เข้าถึงประชาชนได้ คนก็จะมีความรู้มากขึ้น เมื่อมีโครงข่ายที่ติด Speed แล้ว อุปกรณ์ต่อเชื่อมก็สำคัญและมีแนวโน้มลดลง จึงชัดเจนว่า เมื่อดีแทคเปิดบริการ 3G แล้วจะเป็นคู่แข่งกับทรูออนไลน์ ทีโอที และกลุ่มไอเอสพีในตลาดบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมากกว่า ซึ่งหมายความว่าดีแทคได้ขยายธุรกิจจากเดิมที่มีเพียงโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ขณะนี้ดีแทควางแผนธุรกิจไว้แล้ว 3 ส่วนคือ 1. เตรียมวางเครือข่ายสถานีรับส่งสัญญาณ ในระยะแรก เน้นในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น แหล่งท่องเที่ยว และธุรกิจ แบ่งเป็นในภูเก็ต 59 สถานี ชลบุรี 156 สถานี กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1,005 สถานี รวม 1,220 สถานี งบลงทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท 2. ให้บริษัทลูก 3 บริษัท ที่ดีแทคไปร่วมทุนนำเสนอคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ คือ 1."เพย์สบาย" ดีแทคคือหุ้น 98% พัฒนา Application สำหรับ Payment Solution ลักษณะแบบอีเบย์บริการอยู่ 2."ครีเอ้" ดีแทคถือหุ้น 51% พัฒนาลูกเล่นบริการต่าง ๆ เช่น ล่าสุดมีบริการ Playground ที่ให้ถ่ายรูปและสามารถอัพโหลดขึ้น เว็บ Social Networking อย่าง Hi5 ได้ทันที 3."แฟตเรดิโอ" ดีแทคถือหุ้น 51%มีคอนเทนต์เพลง และศิลปิน Indy ที่เข้ากับกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างดี นอกจากนี้ยังเตรียมพร้อมคอนเทนต์อื่นๆ คือหาพันธมิตรธุรกิจเพื่อดึงคอนเทนต์ที่น่าสนใจมาให้บริการ เช่น การดาวน์โหลดเพลง กับค่ายแกรมมี่ บริการเอทีเอ็ม ซิมกับเคแบงก์ 3. การเตรียมบุคคลากรฝ่ายต่างๆ โดยต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ว่าเรากำลังพูดเรื่องเดียวกัน โดยเฉพาะในฝ่ายการตลาดที่ต้องคิดแผนการตลาด ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงทำความเข้าใจร่วมกันเท่านั้น ยังไม่ได้สรุปเรื่องชื่อแบรนด์ หรือแผนใดๆ แต่สิ่งที่ทำให้ดีแทคต้องคิดหนักคือ จากเดิมที่เคยมีประสบการณ์การเป็นมวยรองมาโดยตลอด เมื่อคิดเป็นผู้นำตลาด จะทำได้หรือไม่ หรือได้มากเพียงใด หวัง “ไอโฟน” กรุยทาง “ดีแทค” ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับ “แอปเปิล” โดยหวังเป็นตัวแทนจำหน่าย “ไอโฟน” ที่สเปกเครื่องสามารถใช้กับ 3G ในคลื่น 850 ที่ดีแทคจะพัฒนาเครือข่ายได้ อย่างไรก็ตาม “ธนา” บอกว่าทุกบริษัทในไทยไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส หรือทรู ก็มีโอกาสเหมือนกัน โดยเฉพาะเอไอเอส ที่มีข้อได้เปรียบจาก “สิงเทล” หรือสิงคโปร์เทเลคอม ที่ถือหุ้นในเอไอเอส เพราะ “สิงเทล” ได้สิทธิในการจำหน่ายไอโฟนในหลายประเทศที่สิงเทลไปถือหุ้นอยู่ อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่สามารถสรุปข้อตกลงได้ แต่ก็มีรายงานข่าวออกมาแล้วว่า ณ เดือนกันยายน “ดีแทค”กำลังเจรจากับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อขออนุญาตนำเครื่องไอโฟนเข้ามา 300 เครื่อง โดยดีแทคหวังใช้กลยุทธ์มาเปิดตัวบริการ 3G ในเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยลูกค้าดีแทคที่เป็นกลุ่มนำร่องใช้บริการ 3G โดยใช้เครื่องไอโฟนทั้ง 300 เครื่อง หากเครื่องมีปัญหา และในไทยยังไม่ตัวแทนจำหน่าย ดีแทคจะเป็นผู้ประสานงานในการรับส่งซ่อมในต่างประเทศให้ทั้งหมด แต่ระหว่างที่ยังไม่สรุปว่า “ดีแทค” จะได้ไอโฟนตามแผนหรือไม่ ณ วันนี้แผนการทำตลาดของดีแทคยังไม่ต่างจากสิ่งที่เอไอเอสทำอยู่มากนัก คือแผนการเสนอแพ็กเกจราคาสำหรับใช้สื่อสารข้อมูล แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคืออาจเจรจากับพันธมิตรเน็ตบุ๊ก เพื่อเสนอโปรโมชั่นพิเศษ แต่สิ่งที่ต่างแน่นอนคือการคิดชื่อแบรนด์ที่ต่างจากหลักการคิดของเอไอเอส เพราะเอไอเอสคิดแบบ Functional ให้เห็นคุณสมบัติของเทคนิคและการใช้งาน แต่ของดีแทคจะเน้น Emotional มากกว่า อย่างที่ผ่านมา Happy และ Feel Good นอกจากนี้ดีแทคยังลงทุนระบบคอลล์เซ็นเตอร์อีกประมาณ 500 ล้านบาท เพื่อรักษาฐานลูกค้าเมื่อมี 3 G เกิดขึ้น นอกจากระบบซอฟท์แวร์ แล้วเตรียมเพิ่มพนักงานในทีมไฮเทค ของคอลล์เซ็นเตอร์ เป็นประมาณ 200 คน จากปัจจุบันมี 30 คน เพื่อให้บริการลูกค้าที่ต้องการปรึกษาการใช้งานอุปกรณ์ไอทีที่ เช่น ไอโฟน โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ แบล็กเบอร์รี่ และโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ณ วันนี้ สิ่งที่ “ธนา” เชื่อมั่นคือบุคลากรของดีแทค ที่เต็มไปด้วย Passion พร้อมกับมั่นใจว่าในที่สุดแล้ว 3G จะทำให้ “ดีแทค” เป็น The Most Admire Brand ในใจของลูกค้าได้ Next Dtac สำหรับ 3G “อมฤต ศุขวณิช” ในฐานะหัวหน้าทีมของ Next Dtac บอกว่า มีงานมากมายที่ดีแทคต้องทำ เพราะขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มติดตั้งสถานีรับส่งสัญญาณ แต่เป้าหมายที่ต้องไปถึงคือการเปิดบริการให้ได้ภายในกลางปี 2552 และจะถึงกลุ่มเป้าหมายใหญ่ทั้งหมดภายใน 3 ปี ซึ่งถือเป็นจังหวะที่ดี เพราะโลกของอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปมาก จนทำให้คอนเทนต์ต่างๆ เป็นที่ต้องการ เมื่อคอนเทนต์มีมาก ก็ทำให้ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย แน่นอน “คอนเทนต์” ที่ดีแทคสร้างและพัฒนาเองก็มีความสำคัญ สิ่งที่เขามองเห็นคือ เขาเชื่อว่าโมบายมันนี่จะเกิดขึ้น เพราะ Application สำหรับธุรกรรมทางการเงินจะพัฒนา อีคอมเมิร์ชที่เคยมีจะฟื้นตัว ซึ่งดีแทคได้เตรียมบริษัทลูกคือเพย์สบายรองรับไว้ ด้วยเป้าหมายให้เป็น Payment Gateway ในโลกออนไลน์ หรือเทียบชั้นกับ eBay จากเดิมที่เพย์สบายจะเน้นเฉพาะการใช้โมบายแบงกิ้งเท่านั้น คอนเทนต์ที่สำคัญที่จะทำให้ 3 G ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าคือคอนเทนต์ด้านบันเทิง ซึ่งขณะนี้ดีแทคมีพันธมิตรและบริษัทลูกคือแฟตเรดิโอ รวมไปถึงความบันเทิงจาก Application ต่างๆ อย่างบริการเพลย์กราวด์ สำหรับเว็บ Social Networking ภายใต้บริษัทครีเอ้ นี่คืออีกหนึ่งจังหวะของดีแทค ที่ “อมฤต” บอกว่า 3G สำหรับดีแทคเวลานี้ คือบริการใหม่ที่ถูกที่และถูกเวลา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)