กรีซ:กรณีศึกษาวิกฤตหนี้สินและภาวะประชานิยมที่กระทบต่อนิเวศวิทยามนุษย์
กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเทศกรีซนั้น เป็นผลมาจากแนวคิดในเรื่องของนโยบายประชานิยมที่ซึมลึกเข้าไปสู่ทุกอณูของสังคมในอันเป็นผลทำให้ประชาชนในชาติ เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวิถีชีวิตและค่านิยมที่สะท้อนถึงความต้องการนโยบายเหล่านี้มากกว่าที่จะเลือกในแนวทางที่ช่วยพยุงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศจนนำไปสู่การล่มสลายทางเศรษฐกิจในที่สุด สิ่งหนึ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเลวร้ายเช่นนี้ก็คือ นักการเมือง ภายใต้การแข่งขันเอาแพ้-เอาชนะ ของพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ในประเทศกรีซ คือ พรรคที่มีแนวออกไปทางสังคมนิยมที่เรียกว่า PASOK กับพรรคประชาธิปไตยใหม่ ND ต่อเนื่อง ยาวนาน เป็นทศวรรษๆ ทำให้มีการแข่งขันโดยอาศัยนโยบายประชานิยมมาจูงใจให้ประชาชนเลือกฝ่ายตน ดังจะเห็นได้จากในขณะที่ฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะมาจากการให้สัญญาว่า จะเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขึ้นปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ ลดภาษีและยกเว้นภาษีสำหรับใครก็ตามที่คิดจะซื้อรถยนต์คันใหม่ สัญญาที่จะให้เงินก้อนโตแก่ผู้เกษียณก่อนวัย และเพิ่มค่าจ้างขึ้นไปอีก ทั้งๆ ที่ประเทศกำลังขาดดุลงบประมาณมหาศาล ฯลฯ อีกพรรคหนึ่งก็จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้สัญญาว่า จะเพิ่มค่าจ้าง ค่าแรง ตามแบบฉบับของตัวเองเช่นกัน แถมยังจะให้ชาวกรีซได้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่ดีที่สุดในยุโรป ได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงเป็นสองเท่าของงบประมาณที่เคยตั้งเอาไว้...ฯลฯ ส่งผลให้ ประชาชนชาวกรีซ...เสพติดกับการได้ค่าจ้างงานสูงกว่าความเป็นจริง...เสพติดกับการได้สวัสดิการที่ดีๆ จากรัฐ เสพติดกับการกู้ยืมเงินอย่างง่ายๆ แม้ว่าจะไม่มีปัญญาใช้คืน และเสพติดกับความมักง่ายที่เกิดจากนโยบายประชานิยม ซึ่งแต่ละพรรคแข่งกันหยิบยื่นให้มากว่า 30 ปี เรียกว่า ถ้าหากพรรคไหนไม่งัดนโยบายประชานิยม ลด-แลก-แจก-แถม ออกมาโฆษณาให้หนักๆ เข้าไว้ มักจะต้องแพ้เลือกตั้งไปซะทุกที ส่วนประเภทที่พร้อมจะ เกทับ เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทโดยทันที ใครจบปริญญาตรีรับไปเลย 15,000 ใครมีข้าวเปลือกเอามาจำนำเกวียนละ 15,000 แถมมีบัตรเครดิตเอาไว้ให้รูดปรื๊ดๆ ได้อีกด้วย ครัวเรือนไหนที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาทไม่ต้องใช้หนี้ไปอีก 3 ปี ใช้อินเทอร์เน็ตสาธารณะฟรี แถมแจกคอมพิวเตอร์ให้เด็กชั้นประถมทุกคนทั่วประเทศอีกต่างหาก ฯลฯ จุดนี้เองย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในฐานะผู้บริโภคนโยบายโดยรัฐบาลเป็นผู้ผลิตแนวคิดและนโยบายป้อนสู่ประชาชน จึงอาจกล่าวได้ว่าหากผู้บริโภคนโยบายได้เสพติดนโยบายประชานิยมแล้ว ย่อมนำไปสู่ภาวะต่อๆมา ด้วยเหตุที่ประชาชนเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจึงต้องตอบสนองด้วยนโยบายประชานิยมเพื่อสนองตอบ ความโลภ ความอยากได้ ความกระหายวัตถุ ที่ทั้งรัฐบาลและประชาชน ได้ร่วมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันในลักษณะเช่นนี้นี่เอง สุดท้าย อำนาจอธิปไตย ของปวงชนชาวกรีซ ก็จึงถูกเปลี่ยนมือไปสู่เจ้าหนี้เงินกู้ทั้งหลาย ที่หันมาลงแส้เฆี่ยนหลังรัฐบาลและประชาชน อย่างอำมหิต โหดร้าย ชนิดน้ำตาตก เลือดตกยางออก ไปทั่วทั้งแผ่นดิน ด้วยมาตรการภาษี มาตรการรัดเข็มขัด รวมทั้งการนำเอาทรัพย์สินของรัฐ ของประชาชน ออกไปเปิดหลังรถกระบะเร่ขาย ฯลฯ ส่งผลให้ประชาชนชาวกรีซนับหมื่นนับแสน ต้องออกมาก่อการจลาจล เผาบ้าน เผาเมือง หรือเผาประเทศตัวเอง จนเมืองใหญ่ๆ หลายต่อหลายเมืองเป็นอัมพาตไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้น มาดูกันว่าพัฒนาการของสาเหตุของวิกฤตครั้งนี้เป็นอย่างไร
สาเหตุและพัฒนาการของวิกฤต
สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจกรีซนั้น สาเหตุแรกมาจาก การขาดดุลภาครัฐของรัฐบาล โดยในปีพ.ศ. 2552 การขาดดุลการคลังของกรีซอยู่ที่ 12.7% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึงประมาณ 4 เท่าตัว (เพดานของ The Stability and Growth Pact (SGP) โดยกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ระดับไม่เกิน 3% ของ GDP) จากการขาดดุลภาครัฐของรัฐบาลนั้นส่งผลให้หนี้ของภาครัฐของกรีซเพิ่มสูงขึ้นถึง 112.6% ของ GDPในปีพ.ศ.2552 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึงประมาณเกือบ 2 เท่าตัว (เพดานของ The Stability and Growth Pact (SGP) ซึ่งกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ระดับไม่เกิน 60% ของ GDP) หากพิจารณาจากตัวเลขทั้งสองนี้นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม Eurozone (กลุ่มที่ใช้เงินยูโร 16 ประเทศ จากสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ)
ภาพที่ 1. กรีซขาดดุลการคลังและดุลชำระเงินมาอย่างยาวนานทำให้หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง
ที่มา : European Commission (AMECO Database)
ที่มา : European Commission (AMECO Database)
นอกจากนี้กรีซก็ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกที่ต้องแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับที่สูงมาก จากการประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อยู่ที่ประมาณ 14% ของ GDP โดยสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของกรีซมีความเปราะบางมาก ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการส่งออกไม่ได้ และการที่รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว โดยหลังจากที่กรีซใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักของประเทศเมื่อ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นการเปิดประตูเข้าสู่ตลาดการเงินโลก ทำให้กรีซสามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายขึ้น เพราะนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเงินยูโร โดยตั้งแต่กรีซได้เป็นสมาชิกยูโรโซน รัฐบาลกรีซก็ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการสูงๆ มีโครงการต่างๆ มากมาย เพราะหาเงินได้ง่ายๆ ด้วยการก่อหนี้ ค่าใช้จ่ายภาครัฐจึงสูงมาก ในขณะที่ รายได้จากการเก็บภาษีนั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากคนกรีซโดยเฉพาะชนชั้นกลางมักจะหลีกเลี่ยงภาษี แต่เลือกที่จะรับผลประโยชน์จากนโยบายประชานิยมอย่างเต็มที่ ซึ่งหากนโยบายคลังไม่สามารถใช้ในการควบคุมการใช้จ่ายและงบประมาณได้ นโยบายการคลังก็จะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมปริมาณเงินให้เหมาะสมกับภาวะผ่านกลไกต่างๆ ที่สำคัญที่สุดโดยเฉพาะการปรับลดค่าเงินเพื่อกระตุ้นการส่งออก หากแต่ในข้อเท็จจริง เมื่อเกิดเหตุการณ์ค่าเงินยูโรแข็งค่าเกิดขึ้น ทำให้ความสามารถในการส่งออกลดลง แต่กรีซไม่สามารถทำอะไรกับค่าเงินได้ เพราะเป็นเงินสกุลร่วมที่ใช้ร่วมกัน 16 ชาติ อีกทั้งยังทำให้การดำเนินนโยบายการเงินการคลังของกรีซไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จริงๆ แล้ว เมื่อเศรษฐกิจทรุดตัวลง ค่าเงินควรจะอ่อน แต่เมื่อผูกกับยูโรซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ประมาณ 15% ในปี 2552ทำให้ดูเหมือนว่าค่าเงินของประเทศกรีซแข็งค่ากว่าที่ควรจะเป็น ประกอบกับฐานะการคลังของประเทศซึ่งย่ำแย่ตั้งแต่ใช้เงินถึง 9,000 – 12,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกในปี 2547 และมีการขาดดุลงบประมาณ 3.2% ของจีดีพีมาตั้งแต่ปีนั้นยิ่งทำให้เศรษฐกิจกรีซทรุดตัวมากขึ้น ด้วยภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากการนำเงินมาอัดฉีดนโยบายประชานิยมต่างๆ ก็ส่งผลอย่างรุนแรงต่อดุลการชำระหนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ทำให้รัฐบาลมีภาระจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นและเมื่อค่าเงินแข็งขึ้น การนำเข้าสินค้าของกรีซก็เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศมีการแข่งขันอย่างดุเดือดขึ้น อีกทั้งกรีซมีรายได้จากการบริการเดินเรือและการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยมีแรงงานถึง 60% อยู่ในภาคบริการ เมื่อเศรษฐกิจโลกทรุดตัว การค้าโลกลดลงเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรมเดินเรือจึงถูกกระทบ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั่วโลกในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมาก็ถูกกระทบด้วยความหวาดกลัวเรื่องการก่อการร้าย โรคซาร์ส หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ 2009 (หวัดหมู)อีกด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้การชำระหนี้ของกรีซ ก่อจะต้องมีการหารายได้โดยผ่านกลไกของนโยบายการคลังอีกทางหนึ่งคือ การขายพันธบัตรเพื่อระดมทุน หากแต่การเลือกถือครองพันธบัตรของนักลงทุนนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอง โดยการซื้อพันธบัตรที่ออก หรือว่าค้ำประกันโดยทางการของชาติเหล่านี้ โดยมีความกังวลว่า เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลกรีซ อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ เพราะขาดสภาพคล่องและเกิดงบประมาณขาดดุลขึ้นโดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ อีกทั้งกรีซยังมีหนี้ระยะสั้นครบกำหนดที่จะต้องชำระอีกประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2 หมื่นล้านยูโร จนทำให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลัก หรือยูโรโซนซึ่งมีอยู่ 16 ชาติ ต้องหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งจากการขาดความเชื่อมั่นนี้เองส่งผลต่อการปรับระดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับต่างๆโดยที่ ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 สถาบันจัดอันกับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 แห่ง คือ ฟิทช์ เรทติ้งส์ เอสแอนด์พี และมูดี้ส์ ได้ประกาศลดเครดิตหรืออันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง โดยที่ฟิทช์ เรทติ้งส์ และเอสแอนด์พี ปรับลดจาก A- ลงเหลือ BBB+ และมูดี้ส์ปรับลดจาก A1 เป็น A2 และล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เอสแอนด์พี ขู่ว่าอาจปรับลดอันดับเครดิตลงอีก 1 – 2 ขั้นภายในเดือนมีนาคม ในขณะที่มูดี้ส์ ขู่ว่าอาจปรับลดอันดับเครดิตลงอีก 1 – 2 ขั้นภายใน 2 – 3 เดือนข้างหน้า หากกรีซไม่สามารถแก้ปัญหาด้านงบประมาณคลัง และปัญหาหนี้ดังกล่าว ในขณะเดียวกัน หากกรีซสามารถดำเนินการตามแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณได้สำเสร็จ มูดี้ส์ก็อาจพิจารณาปรับเพิ่มอันดับเครดิตของกรีซซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ A2
ภาพที่ 2. อันดับเรตติ้งพันธบัตรรัฐบาล PIIGS ของ S&P
ที่มา : ประมวลโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
การการถูกลดอันดับเครดิตของกรีซนั้นจะส่งผลกระทบในระยะยาวหรือในอนาคตของกรีซ เพราะตามกฎของอียู ประเทศสมาชิกที่อันดับเครดิตต่ำกว่า A จะไม่สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นการค้ำประกันเงินกู้ได้อีกต่อไป กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ของกรีซ จะไม่สามารถใช้พันธบัตรของรัฐบาลที่ถืออยู่มาเป็นเครดิตในการค้ำประกันเงินกู้จากตลาดทุนในยุโรปหรือที่อื่นได้ ทำให้มีค่าไม่ต่างอะไรไปจากเศษกระดาษ
แนวทางแก้ไขที่กรีซถูกควบคุมให้ใช้
ภาพที่ 2. อันดับเรตติ้งพันธบัตรรัฐบาล PIIGS ของ S&P
ที่มา : ประมวลโดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
การการถูกลดอันดับเครดิตของกรีซนั้นจะส่งผลกระทบในระยะยาวหรือในอนาคตของกรีซ เพราะตามกฎของอียู ประเทศสมาชิกที่อันดับเครดิตต่ำกว่า A จะไม่สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นการค้ำประกันเงินกู้ได้อีกต่อไป กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ของกรีซ จะไม่สามารถใช้พันธบัตรของรัฐบาลที่ถืออยู่มาเป็นเครดิตในการค้ำประกันเงินกู้จากตลาดทุนในยุโรปหรือที่อื่นได้ ทำให้มีค่าไม่ต่างอะไรไปจากเศษกระดาษ
แนวทางแก้ไขที่กรีซถูกควบคุมให้ใช้
เมื่อเกิดสภาพหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ หากประเทศต่างๆข้างเคียงมีความปรารถนาดีอย่างจริงจังที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สภาพการณ์ต่างๆอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นไม่ยากนัก แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงๆ มิใช่เช่นนั้น (ความจริงแล้วปัญหาในกรีซปัจจุบันก็ไม่แตกต่างจากปัญหาหนี้สินและการเงินของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเลย) เริ่มด้วยการนำเสนอปัญหา ปัญหาหนี้สินในกรีซถูกนำเสนอในภาพที่เป้นความผิดพลาดของประชาชน ข่าวต่างๆนำเสนอภาพคล้ายกับว่า ความผิดส่วนใหญ่เป็นของประชาชนชาวกรีซ โดยเข้าใจว่า ชาวกรีซเป็นคนเกียจคร้าน คดโกง (คงมีบ้าง เหมือนเช่นในทุกๆประเทศ) แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่รัฐบาลกรีซต่างๆที่ผ่านมา ดำเนินการโดยปราศจากความรับผิดชอบ ที่เหมาะสม รัฐบาลพยายามที่จะยัดเยียดเงินให้กับประชาชน เน้นให้เกิดสังคมการบริโภคสุดโต่ง แทนที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตเหมาะสม (หรือที่ถูกต้องคือ “อย่างพอเพียง”) ไม่ยอมทำงานอย่างจริงจังที่จะเร่งรัดการเก็บภาษี ทั้งยังเป็นฝ่ายที่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย เมื่อภาพแรกออกมาเช่นนั้น ภาพต่อไปก็เป็นเรื่องของความพยายามที่รัฐบาลต่างๆในประเทศยูโรและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะเห็นชัดว่า รัฐบาลประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศเจ้าหนี้ได้เข้ามาเพื่อที่จะต้องการ “กอบโกย” ผลประโยชน์ต่างๆของประเทศ มิใช่เพียง “ต้นทุนพร้อมกำไร” อย่างเหมาะสม
สหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ออกมาตรการให้ความร่วมมือฉุกเฉิน 7.5 แสนล้านยูโร เพื่อสกัดวิกฤตหนี้ไม่ให้ลุกลามออกไป และหนุนเสถียรภาพค่าเงินยูโร ที่สำคัญธนาคารยุโรป (ECB) ได้เข้าซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนจากตลาดเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของตราสารหนี้ของประเทศสมาชิกที่กำลังประสบปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลประเทศเจ้าหนี้ในกลุ่มยูโรและ IMF เสนอแนะสรุปได้ว่าเป็น “shock therapy” ซึ่งวิธีการหลักๆ สรุปได้ดังนี้
ในมาตรการ 7.5 แสนล้านยูโร แบ่งออกได้ 3 ส่วน ส่วนแรก 6 หมื่นล้านยูโร เป็นมาตรการเดิม โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะเป็นผู้ออกตราสารหนี้ค้ำประกันประเทศสมาชิก 27 ประเทศ มาให้ประเทศที่มีปัญหาทางการเงินได้กู้ต่อในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าไปกู้เอง ส่วนที่สอง 4.4 แสนล้านยูโรเพิ่มเติมจากส่วนแรก มาจากการจัดตั้งกองทุนเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ อายุ 3 ปี และค้ำประกันโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ส่วนที่สาม 2.5 แสนล้านยูโร มาจาก IMF ซึ่งนับเป็นการช่วยเหลือที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งจะเห็นได้ว่า IMF ให้ความช่วยเหลือถึง 1 ใน 3 ของเงินช่วยเหลือทั้งหมด ที่สำคัญคือหลังจากการประกาศให้เงินกู้ช่วยวิกฤตแล้ว ธนาคารกลางแห่งยุโรป หรือ EBC ยังได้ออกแถลงการณ์ว่า พร้อมจะเข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ที่ออกในประเทศเขตยูโรโซนเพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและสภาพคล่องให้กลับตลาดเงิน พร้อม ๆ กันนั้น ธนาคารสหรัฐอเมริกา ยังได้ประกาศพร้อมจับมือกับธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างกันเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ธนาคารเหล่านั้นสามารถเข้าถึงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก แม้หลายฝ่ายจะเห็นว่าอาจเป็นผลระยะสั้นเท่านั้น
ในส่วนของในประเทศรัฐบาลกรีซได้จัดร่างงบประมาณประจำปี 2554 ไว้ดังนี้
1.ร่างกฎหมายงบประมาณปี 2554 ได้ถูกจัดทำขึ้นและรัฐบาลกรีซได้วางแผนที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักการบริหารงบประมาณประจาปี โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้
- การกำหนดเพดานสูงสุดของค่าใช้จ่าย
- เพิ่มช่องว่างในการกู้ยืม
- การจัดตั้งทุนสำรองเพื่อความไม่แน่นอน
- การเสนอหลักเกณฑ์เพื่อใช้งบประมาณเพิ่มเติมในกรณีการใช้จ่ายของรัฐสูงกว่าเงินทุนสำรอง
- จัดทำกระบวนการเพื่อควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามพันธะกรณี
- กำหนดหลักเกณฑ์การรายงานการบริหารจัดการงบประมาณเป็นรายเดือน รายไตรมาส และ รายงานประจำทุก 2 ปี
2.การปรับลดงบประมาณแผ่นดินในปี 2554 จะปรับลดลงให้ได้ 2% ของ GDP คือจาก 9.4 %ในปี 2553 เป็น7.4% หรือลดลงประมาณ 5 พันล้านยูโร ซึ่งมีขนาดการปรับลดที่ใหญ่กว่าโปรแกรมนโยบายเศรษฐกิจเดิม และเพื่อสนับสนุนการปรับลดงบประมาณดังกล่าวให้เป็นไปตามเป้าหมาย รัฐบาลจะต้องเพิ่มความพยายามอย่างมากในการออกมาตรการใหม่ๆเพิ่มเติมจากเดิมที่ออกมาใช้เมื่อพฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมาตรการเพิ่มเติมจะรวมถึงการมุ่งเน้นในด้านงบประมาณรัฐวิสาหกิจ การควบคุมการใช้จ่ายด้านสุขภาพและอนามัย วิธีการตรวจสอบประโยชน์ที่ครอบครัวจะได้รับ การลดค่าใช้จ่ายด้านกองทัพ และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการถ่ายโอน รวมทั้งการดำเนินการทั้งในด้านรายจ่ายและด้านรายได้ การต่อสู้การหลบเลี่ยงภาษี และการบริหารทรัพย์สินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มาตรการฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนโครงการนโยบายเศรษฐกิจและงบประมาณปี 2554 ในปี 2554รัฐบาลจะยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เคร่งครัดต่อไป โดยมีเป้าหมายที่จะลดการขาดดุลให้ได้ต่ำกว่า 3% ของ GDP ในปี 2557 และการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีอัตราการเจริญเติบโตเป็นบวกให้ได้ในสิ้นปี 2554 รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมาตรการป้องกันเพื่อให้ภาคการเงินมีความมั่นคงและเสถียรภาพ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลสังคมนิยมภายใต้การนำของ นาย Papandreou ได้จัดทำข้อเสนอ (ภายใต้การชี้นำของกลุ่มประเทศยูโรและ IMF) เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกู้จำนวน 110 พันล้านยูโรหรือประมาณ 146.2 พันล้านดอลล่าสหรัฐฯ (ซึ่งเป็นโครงการเงินกู้เพื่อการปรับปรุงประเทศครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา) ในช่วงเวลาสามปี (2010-2012) โดยเริ่มตั้งแต่ประมาณเดือน พฤษภาคม (May 2010) พร้อมๆกับการขอรับเงินกู้จำนวนมหาศาลนี้ รัฐบาลกรีซยอมที่จะปรับปรุงกิจการต่างๆของประเทศหลายประการตามสัญญารัฐบาลจึงได้ดาเนินการเปลี่ยนแปลงและปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงมาตรการเข้มงวดด้านการคลังต่อไป สรุปได้ดังนี้
3.1 มาตรการด้านรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลจาเป็นจะต้องดาเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงผลประกอบการทางการเงินให้มีสถานะที่ดีขึ้น และการบริหารทางการเงินมีความโปร่งใสและสามารถชี้แจงได้ รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดด้านค่าใช้จ่ายแรงงานของพนักงาน ได้แก่
- ให้กระทรวงการคลังควบคุมการให้คาแนะนาทางการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ SOE (State owned enterprise)
- กำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องยื่นบัญชีการเงินซึ่งตรวจรับรองโดยผู้ได้รับอนุญาตตรวจบัญชีต่อ กระทรวงการคลังเป็นรายไตรมาส
- การตัดลดค่าจ้างลง 10%
- กำหนดเพดานสูงสุดอัตราค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มพิเศษ (10% ของค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างในระดับบริษัท)
3.2 มาตรการด้านภาษี
- เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) จากการขาย จากเดิมเก็บ ๑๑% เป็น ๑๓%
- ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) ให้แก่โรงแรมและที่พักอาศัยในการรับรองแขกจากเดิม ๑๑%เป็น ๖.๕% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคการท่องเที่ยวและเภสัชกรรม
- ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเก็บภาษีสรรพสามิตสาหรับสินค้ายาสูบ
4.ด้านทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาลยังคงนโยบายควบคุมปริมาณ และการเคลื่อนย้ายพนักงานในหน่วยงานภาครัฐ โดย
- กำหนดระเบียบให้มีการจ้างพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน1 คน ต่อพนักงานที่เกษียณอายุจานวน 5คนในหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ทั้งรัฐบาลกลางและท้องถิ่น
- ลดการจ้างงานประเภทที่มีสัญญาจ้างแบบ Fix term contracts ในปี 2554 ลง 15% จากปี2553
5.ด้านธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งกรีซ(Agricultural Bank of Greece- ATE) เพื่อปกป้องความมั่นคงและยั่งยืนของธนาคารซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รัฐบาลกรีซได้ออกมาตรการเข้มงวด ได้แก่ การตัดลดเงินเดือนค่าจ้างพนักงานในทุกระดับลง 10% และยกเลิกการให้เงินพิเศษต่างๆ ยกเลิกแผนการจ้างงานใหม่
ผลกระทบต่อสังคมและนิเวศวิทยามนุษย์
หลังจากการได้รับเงินกู้จำนวนมหาศาลและดำเนินการตามข้อตกลงแล้ว (เงินกู้จาก ECB – European Central Bank หรือที่รู้จักกันในยุโรปในชื่อ Troika ส่งมาค่อนข้างช้ากว่าที่ควรจะเป็น และอัตราดอกเบี้ยก็ยังคงสูงถึง ร้อยละ 5 ต่อปี) รัฐบาลกรีซจึงได้เดินหน้าขบวนการฟื้นฟูประเทศชาติ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏคือ รัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มยูโร นำโดยเยอรมนีและฝรั่งเศส ได้ร่วมมือกันให้ความช่วยเหลือรัฐบาลกรีซ (ซึ่งวิธีการก็คือ การให้คำรับรองว่า รัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มยูโรจะให้ความช่วยเหลือกรีซ ในกรณีที่กรีซไม่สามารถแสวงหาเงินกู้จากตลาดเงินกู้สากลได้ โดยความช่วยเหลือจะจัดสรรตามมูลค่า GDP และจำนวนประชากรของประเทศ) ภาพลักษณ์ต่อไป ก็คือ รัฐบาลกรีซได้รับการยกย่องว่าเป็นรัฐบาลที่ดี มีความสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้ แต่สภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวกรีซกลับเป็นตรงกันข้าม ยกเรื่องการเดินขบวน ก่อหวอดที่สร้างความเสียหายในเมืองต่างๆ (รวบรวมนำเสนอในเว็บhttp://www.boston.com/bigpicture/2011/06/greece_still_in_crisis.html) ประชาชนกลุ่มรากหญ้าถูกจับติดคุกจำนวนมาก เศรษฐีมหาเศรษฐีชาวกรีซหลายคนยังคงสุขสบายเหมือนเดิม (เพราะค่าเงินยูโรยังคงเหมือนเดิม) สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงประมาณหนึ่งปีหลังจากการยอมรับขบวนการฟื้นฟูประเทศสรุปได้ดังนี้
จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 7.7 ของจำนวนแรงงานพร้อมทำงานในประเทศ ที่ปี ค.ศ. 2008 ไปเป็นร้อยละ 9.5 ที่ปี ค.ศ. 2009 และเพิ่มขึ้นไปถึง กว่าร้อยละ 16.2 ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011
เงินเดือนข้าราชการและข้าราชการเกษียณถูกตัดไป 15% ในทุกๆตำแหน่ง
ผลประโยชน์ทั้งหมดในรูปของเงินโบนัส เงินสะสม เงินประกัน ถูกตัดออกทั้งหมด
เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินกู้ส่วนใหญ่ของประเทศกลับไปตกอยู่ที่ธนาคารขนาดใหญ่ต่างๆ เพื่อป้องกันมิให้ธนาคารเหล่านั้นล้ม ช่วยให้ธนาคารเหล่านั้นสามารถชดใช้หนี้สินได้ ขณะเดียวกันก็ปรับลดอัตราเงินกู้ ให้กับภาคเอกชน และขายกิจการต่างๆออกไป ซึ่งช่วยให้รัฐบาลสามารถที่จะรวบรวมเงินจากแหล่งต่างๆมาใช้หนี้สินประเทศต่อไป ขบวนการเช่นนี้ทำให้เห็นชัดว่า เศรษฐี/มหาเศรษฐีชาวกรีซแทบจะไม่เกิดความสูญเสียใดๆ และยังดูเหมือนได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากการล่มสลายทางการเงินครั้งนี้ด้วย
ความยุ่งยากต่างๆไปเกิดกับผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาลในประเทศ ค่าแรงขั้นต่ำที่ประมาณ 590 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 24,000 บาท ที่อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 42 บาทต่อยูโร) คงระดับเดิมนี้มากว่า 3 ปี แต่เนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณ 9.3% ที่ปี 2010 ดังนั้นที่อัตราค่าแรงเดิมนี้ แต่มูลค่าของมันลดลงจากเดิม ถึงประมาณ 10% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปี 2011 ไม่ต่ำกว่า 6% มูลค่าของค่าแรงจำนวนนี้ยิ่งจะลดลงจากเดิมลงไปอีก
สภาพการณ์ทั่วไปในกรีซเริ่มสร้างความกังวลให้กับประเทศต่างๆในกลุ่มยูโรอีกครั้ง เนื่องจากการต่อต้านรัฐบาลที่รุนแรงขึ้น ฉะนั้นในการพบปะกันล่าสุดของกลุ่มประเทศยูโรที่ Brussels ได้มีข้อตกลงที่สำคัญ ได้แก่ การลดวงเงินหนี้ของกรีซต่อกลุ่มประเทศยูโรลงประมาณ 20% นอกจากนี้ยังกังวลถึงผลกระทบด้านการเงินที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต (ซึ่งนอกเหนือขอบเขตของการจัดทำบทความนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากบทความในหนังสือพิมพ์ด้านการเงินต่างๆ)
ฉะนั้นจึงพอจะสรุปได้ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อต่อสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศตามสัญญาเงินกู้ฉบับแรกของรัฐบาลกรีซ ไม่ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังไว้ แต่กลับทำลายเศรษฐกิจของประเทศให้ย่อยยับลงไปอีก และยังทำลายชีวิตของประชาชนชาวกรีซนับล้านๆคน จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกถึง 250,000 คน และธุรกิจ/อุตสาหกรรม SME ต้องปิดไปประมาณ 62,000 แห่ง นอกจากนี้ผลกระทบของการตัดงบประมาณลงอย่างมหาศาล กำลังส่งผลกระทบโดยตรงกับ กิจการบริการทั้งทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของประเทศ เช่น กิจการขนส่งสาธารณะในบางภูมิภาค จะต้องลดการบริการลงกว่า 40% ทั้งๆที่เก็บอัตราค่าโดยสารสูงขึ้นกว่าเดิมมาก ค่าไฟฟ้าและประปาเพิ่มสูงขึ้น กิจการ รัฐวิสาหกิจต่างๆของรัฐต้องขายหุ้นส่วนหนึ่งออกไปให้เอกชนเข้ามาร่วมดูแล (เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ) ระบบการศึกษาของประเทศถูกจำกัดงบประมาณลงอย่างมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาทุกระดับเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลโดยตรงให้คนหนุ่มคนสาวไม่สามารถศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก ผลกระทบต่างๆเหล่านี้ส่อชัดเจนว่า กรีซต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสามารถตั้งหลักได้ และสามารถย้อนกลับมาพัฒนาประเทศตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เดิม
การใช้จ่ายงบประมาณมหาศาลอย่างไม่รู้จักมัธยัสถ์ตั้งแต่เริ่มต้นในขบวนการพัฒนาของประเทศ พร้อมทั้งการที่ไม่เข้าใจขบวนการพัฒนาที่ถูกต้องเหมาะสม การเน้นที่จะเอาใจกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ การแข่งขันกันระหว่างรัฐบาลต่างๆที่จะจัดทำโครงการประชานิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับประเทศชาติในอนาคตที่แท้จริง จะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลกับคนรุ่นต่อไป การใช้จ่ายต่างๆในปัจจุบันที่ต้องกู้เงินมาใช้ เท่ากับใช้จ่ายเงินในอนาคต ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็คือเงินของลูกหลานและของคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้โดยมุ่งหวังว่า คนรุ่นใหม่จะเก่งกว่าคนรุ่นปัจจุบัน สามารถทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า สามารถหารายได้มามากขึ้น เพื่อให้สามารถคืนเงินกู้จำนวนที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่กู้สร้างหนี้เอาไว้ แต่ท่านทั้งหลายมั่นใจแล้วหรือว่า คนรุ่นใหม่จะสามารถทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะหากไม่เป็นเช่นที่คาด ก็เท่ากับ คนรุ่นเราสร้างหนี้สินเพื่อทำลายชาติและประชาชนคนรุ่นใหม่เสียเอง ท้ายที่สุดประชาชนในฐานะผู้บริโภคก็อาจจะต้องยอมที่จะสูญเสียในหลายๆสิ่งซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมและอัตลักษณ์ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี วิถีชีวิตอันดีงามของพวกเขา อาจถูกแทนที่ด้วยทุนนิยมสามานย์ ที่หวังครอบครองประเทศเหล่านี้มากกว่าช่วยเหลือและฟื้นฟูก็เป็นได้ กรีซอาจจะมีอารยธรรมที่สืบทอดมายาวนาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ย้อนเวลาไปสร้างใหม่ไม่ได้ หากแต่ทุนนิยมที่เข้ามากอบโกยอาจจะเปลี่ยนแปลงให้สิ่งเหล่านี้เป็นความทรงจำในพิพิธภัณฑ์ มากกว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันต่อไป และด้วยงบประมาณที่ถูกควบคุมเช่นนี้การศึกษาที่ลดลง และแคบลง ก็จะทำให้แนวคิดของประชาชนกลุ่มใหม่ย่อมแตกต่างและไร้ซึ่งสำนึกในความเป็นชาติด้วยการถูกปลูกฝังอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดทุนนิยมครอบโลกเช่นนี้ คงไม่ต่างอะไรกับการตัดตอนกระบวนการสืบทอดความเป็นชาติของตนเอง ไม่ต่างอะไรกับการ “ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้านเลยทีเดียว” เมื่อพวกเขาเหล่านั้นเติบโตมาโดยไม่ได้เห็นในสิ่งซึ่งเรียกว่า อัตลักษณ์แล้ว พวกเขาจะมีความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของชาติได้อย่างไร สิ่งนี้น่ากลัวยิ่งกว่าสงครามในสนามรบเสียอีก ประชาชนที่เคยเป็นเกษตรกรหรือเหล่าผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในประเทศ ก็จะต้องหันมายอมรับในอำนาจของทุนต่างชาติที่เข้ามาครอบงำและนำบุคคลเหล่านี้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและการเงินที่ผูกขาด ประชากรก็จะละทิ้งถิ่นฐานและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอบสนองการกอบโกยของเหล่าเจ้าหนี้มากขึ้น รวมถึงส่วนหนึ่งตอบสนองนโยบายประชานิยมเพื่อมอมเมาประชาชนต่อไปเช่นกัน สิ่งนี้เองจะยิ่งทำให้ประเทศนี้สูยเสียทั้งในเรื่องอัตลักษณ์ สมดุลธรรมชาติที่เป็นจุดขายของประเทศในกลุ่มเมดิเตอเรเนียน ทั้งในด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกยาวนานในการแก้ไขหรืออาจทำไม่ได้เลยก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
http://www.thaipost.net/news/080711/41398
พลภัทร ดีสวัสดิ์มงคล. รายงานผลวิจัยเรื่อง “วิกฤติเศรษฐกิจกรีซ”. 2 มีนาคม 2553.
พลภัทร ดีสวัสดิ์มงคล. รายงานผลการศึกษาและติดตามสถานการณ์ “วิกฤติเศรษฐกิจสหภาพยุโรป”.
19 พฤษภาคม 2553.
มันทนา เลิศชัยทวี. “บทเรียนจากวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ”. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2553.
พลภัทร ดีสวัสดิ์มงคล. รายงานผลการศึกษาและติดตามสถานการณ์ “วิกฤติเศรษฐกิจสหภาพยุโรป”.
19 พฤษภาคม 2553.
มันทนา เลิศชัยทวี. “บทเรียนจากวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ”. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2553.
Source: http://popularity49.blogspot.com/2011/12/blog-post_22.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น