วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อุยกูร์-ซินเจียง : ชนชาวมุสลิมในจีน

อุยกูร์-ซินเจียง : ชนชาวมุสลิมในจีน 

จันทร์จุฑา สุขขี 
ศุภชัย วรรณเลิศสกุล

พัฒนาการการก่อความไม่สงบในซินเจียง

1) ยุคก่อนสาธารณรัฐประชาชนจีน 

ก. จุดเริ่มต้นของปัญหา (สมัยราชวงศ์ชิง)

ซินเจียงเป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ห่างจากกรุงปักกิ่งถึง 4,000 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 1.66 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ทุรกันดารเพราะตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงปาร์มีและทะเลทรายทากลามากัน การที่อยู่ใกล้กับประเทศในเอเชียกลางหลายประเทศ ทำให้ประชากรพื้นเมืองของ ซินเจียงไม่ใช่ชาวจีนแต่เป็นคนเชื้อสายเติร์กที่เรียกตัวเองว่าชาว “อุยกูร์” (Uyghur) หรือในภาษาจีนคือ เหวยอู๋เอ่อ  เป็นชนเผ่าที่นับถือศาสนาอิสลาม ซินเจียง เป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณมาตั้งแต่เมื่อสองพันปีก่อน การที่ซินเจียงเป็นจุดเชื่อมจีน เข้ากับเอเชียกลางและเอเชียใต้ ทำให้ซินเจียงเจริญถึงขีดสุดในยุคที่การค้าบนเส้นทาง สายไหมรุ่งเรือง ศาสนาอิสลามเผยแพร่เข้ามาผ่านพ่อค้ามุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ครั้น ถึงศตวรรษที่ 10 ชาวอุยกูร์ทั้งหลายก็กลายเป็นมุสลิมสำนักคิดซูฟีทั้งสิ้น นครการค้า อย่างนครคาชการ์กลายเป็นเมืองที่มีความเจริญสูงยิ่ง ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเป็น ศูนย์กลางของอารยธรรมอิสลามในแถบนี้ จนถึงช่วงศตวรรษที่ 14 บรรดาสุลต่าน แห่งนครทั้งหลายในแถบนี้ก็เรียกดินแดนของพวกเขาอย่างรวมๆ ว่าเตอร์กิสถาน ตะวันออก ดินแดนแถบนี้ตกเป็นของจีนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

ในเวลานั้นชาวฮั่นและ ชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะมหาจักรพรรดิจีนมีนโยบายที่จะปกครองชาว มุสลิมอย่างผ่อนปรน และให้ชาวมุสลิมปกครองกันเองและให้เสรีภาพเต็มที่ในการ นับถือศาสนา แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 18 จีนและรัสเซียแข่งขันกันแผ่อิทธิพลในเอเชียกลาง จีนจึงมีนโยบายเพิ่มความเข้มข้นในการปกครองซินเจียง ราชสำนักชิงมีนโยบาย ต่อชาวมุสลิมที่ต่อต้านคือการปราบปรามอย่างเฉียบขาด ทำให้ชาวมุสลิมล้มตายไปเป็น จำนวนมาก ความเกลียดชังก็ยิ่งเพิ่ม นโยบายนี้จึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และยิ่งใช้ ก็ยิ่งกระพือปัญหาให้ลุกลามมากขึ้น

ใน ค.ศ. 1755 ราชสำนักชิงได้ส่งกองทหารเข้ามายึดและปกครองดินแดนใน แถบนี้ โดยยึดเมืองคาชการ์ (Kashgar) หรือ คาซือ (喀什) ในภาษาจีนกลาง เมือง การค้าใหญ่ทางตะวันตกสุดของซินเจียงนับแต่อดีตซึ่งเป็นจุดพักและแหล่งการค้าสำคัญ ของเส้นทางสายไหม เมื่ออิทธิพลของอังกฤษแผ่เข้ามาในเอเชียใต้และเอเชียกลางในศตวรรษที่ 19 จีนก็ยิ่งต้องแสดงความเป็นเจ้าของซินเจียงเพื่อทัดทานกับการล่าอาณานิคมของอังกฤษ ดังนั้น เส้นเขตแดนระหว่างประเทศจึงถูกเขียนขึ้นล้อมอาณาจักรจีน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ตัดขาดชาวมุสลิมในซินเจียงกับมุสลิมในเอเชียกลาง อำนาจปกครองก็ถูกรวบไป รวมศูนย์อยู่ที่กรุงปักกิ่ง ซินเจียงกลายเป็นเพียงดินแดนชายขอบของอาณาจักรจีน อันไพศาล อารยธรรมที่เคยรุ่งเรืองก็กลายเป็นสิ่งที่แปลกแยกจากอารยธรรมของจีนซึ่ง เป็นศูนย์กลาง ซินเจียงค่อยๆ หมดความสำคัญในฐานะดินแดนการค้าลง แล้วเศรษฐกิจ ก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ จนเป็นเพียงดินแดนที่ยากจน

นอกจากนี้จีนได้ส่งขุนนางจีนไป ปกครองซินเจียงแทนการให้มุสลิมปกครอง ขุนนางที่ถูกส่งไปมักเป็นขุนนางโฉดที่ ถูกลงโทษให้ไปลำบากในแดนไกล แต่การที่อยู่ไกลเมืองหลวงมากเปิดช่องให้ขุนนาง เหล่านี้กดขี่ประชาชน ขูดรีด ทุจริต และไม่เคารพต่อประเพณีมุสลิม สร้างความ เดือดร้อนให้แก่ชาวมุสลิมอย่างมาก จุดนี้เป็นมูลเหตุที่ทำให้มุสลิมเกลียดชังรัฐบาลจีน และก่อเหตุสู้รบต่อต้านทางการนับครั้งไม่ถ้วน ดังเช่นในช่วง ค.ศ. 1864-1877 ได้เกิดการก่อกบฏโดยมุสลิมในซินเจียง กล่าวคือ เมื่อได้ยินข่าวความพ่ายแพ้ของ มุสลิมในสั่นซี (Shanxi) และกานซู่ใน ค.ศ. 1862 มุสลิมที่อยู่ในดินแดนทาง ตะวันตกเฉียงเหนือถัดไป อันได้แก่ คาชเกเรียกับซงกาเรียทางใต้และทางเหนือของ เทือกเขาเทียนซาน ซึ่งผู้คนพลเมืองส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาอิสลามเชื้อสาย อุยกูร์ทั้งสิ้นก็เริ่มเกิดความรู้สึกหดหู่ ในขณะเดียวกันยังได้ทวีความโกรธแค้นที่สะสม มาจากการกดขี่ที่มีอยู่แต่เดิม ดังนั้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1863 จึงได้เกิดการลุกขึ้นสู้ ที่อีลี่ (Ily) แต่ก็ถูกกองกำลังของรัฐบาลแมนจูปราบปรามได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น ได้มีการลุกขึ้นสู้ต่อต้านรัฐบาลในอีกหลายพื้นที่ของซินเจียงในช่วงปีเดียวกันจนกระทั่งกลาง ค.ศ. 1864 รัฐบาลแมนจูก็ไม่สามารถที่จะควบคุมเหตุการณ์ในซินเจียงได้ เนื่องจากต้องต่อสู้กับกองกำลังถึง 3 กลุ่มในเวลาใกล้เคียงกัน กลุ่มแรกอยู่ทาง ตะวันออกของซินเจียงใกล้กับอุรุมชี (Urumqi) กลุ่มที่สองอยู่ซินเจียงตะวันตกใกล้กับ อีลี่ และกลุ่มที่สามตั้งอยู่ซินเจียงใต้ใกล้กับเมืองคาชการ์

ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1860 ยะกู๊บ เบ๊ก (Yakub Baig) ผู้เป็นอดีต นายพลของกองทัพโคกันด์และได้ตั้งกองกำลังก่อการกบฏขึ้นใน ค.ศ. 1864 ก็สามารถ เชื่อมโยงกองกำลังเคลื่อนไหวทั้ง 3 กลุ่มเข้าด้วยกัน ยะกู๊บ เบ๊ก ซึ่งเป็นแม่ทัพที่มี ความสามารถได้ใช้เวลาในช่วง ค.ศ. 1864-1870 ในการก่อตั้งและสร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่ม หลังจากนั้นก็ยกกำลังเข้ายึดเมืองต่างๆ ทางใต้ของเทือกเขาเทียนซานไว้ได้ หมด จนใน ค.ศ. 1873 มีอำนาจเหนือบริเวณที่แอ่งทาริม (Tarim) ทั้งหมด กองทหารของยะกู๊บ เบ๊ก สามารถเข้ายึดอุรุมชี (เมืองเอกของซินเจียงในปัจจุบัน) ได้ รัฐบาลแมนจูไม่ยอมทิ้งดินแดนแห่งนี้ไป เพราะถือว่าดินแดนดังกล่าวเป็นพรมแดนด้าน ตะวันตกของมองโกเลีย ซึ่งเป็นอันตรายต่ออาณาจักรจีน ขณะเดียวกันความยุ่งยากก็ ยังจะมีต่อไปอีก เพราะมหาอำนาจตะวันตกอย่างอังกฤษและรัสเซียจับจ้องอยู่ มิหนำซ้ำ ยังรับรองรัฐบาลยะกู๊บ เบ๊กด้วย

โดยทางอังกฤษนั้นต้องการให้มีรัฐกันชนสำหรับ อาณาจักรอินเดียซึ่งเป็นเมืองขึ้นอันยิ่งใหญ่ของตน ฝ่ายรัสเซียก็ต้องการแผ่ขยาย อิทธิพลและเขตแดนลงมาเรื่อยๆ จนใน ค.ศ.1871 รัสเซียก็ยึดดินแดนจีนบริเวณอีลี่ และเมืองคุลด์จาของจีนไว้ได้ และเพื่อถ่วงดุลอำนาจของรัสเซีย อังกฤษได้ส่งอาวุธจาก อินเดียไปให้ยะกู๊บ เบ๊กด้วย อย่างไรก็ดี แผนการทั้งหมดของอังกฤษและรัสเซียต้อง ล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง เนื่องจากกองทัพปราบกบฏของจ่อจงถางได้รุกคืบหน้าเข้ามาใน อาณาจักรของยะกู๊บ เบ๊กอย่างไม่หยุดยั้ง โดยภายหลังจากการพิชิตกบฏมุสลิมในสั่นซี และกานซู่ได้แล้ว ก็เข้ายึดครองในบริเวณฮามีอันเป็นแหล่งโอเอซิส แล้วมุ่งหน้าสู่ เตอร์กิสถานตะวันออก แต่ภายหลังจากที่ยะกู๊บ เบ๊กเสียชีวิตลง อาณาจักรของยะกู๊บ เบ๊กก็สลายลงไปด้วยใน ค.ศ. 1878 ส่งผลให้กองทัพจ่อจงถางเข้ายึดครองดินแดน ทั้งหมดในภูมิภาคนี้ ยังผลให้ทางราชสำนักแมนจูได้มีอำนาจปกครองดินแดนบริเวณนี้ โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดราชสำนักแมนจูสมัยพระนางซูสีไทเฮาก็ได้พิจารณาข้อเสนอ ของจ่อจงถางในการสถาปนาเตอร์กิสถานจีน ซึ่งได้แก่ดินแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ของอาณาจักรทั้งหมดนี้เป็นมณฑล โดยใช้ชื่อว่า “ซินเจียง” (ดินแดนใหม่) ใน ค.ศ. 1884

ข. การขยายปัญหา (สมัยสาธารณรัฐ)

ภายหลังจากจีนเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ ระบอบสาธารณรัฐ (ค.ศ. 1911-1949) จีนก็ต้องเผชิญกับความสับสนวุ่นวายอย่าง แสนสาหัส เนื่องจากต้องประสบกับปัญหาการเมืองภายใน เนื่องจาก ดร. ซุนยัตเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีอำนาจปกครองจีนในเวลานั้นไม่สามารถควบคุมขุนศึกตาม หัวเมืองต่างๆ ได้ จึงทำให้เกิดการรบพุ่งแย่งชิงอำนาจกันทั่วทุกหนแห่ง ขณะเดียวกัน ก็เกิดขบวนการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้ขยายอิทธิพลไปทั่วประเทศ เมื่อ ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิตใน ค.ศ. 1925 นายพลเจียงไคเช็คได้ครองอำนาจสืบแทน แม้ว่าเจียงไคเช็คจะสามารถปราบปรามบรรดาขุนศึกได้ แต่ก็ต้องต่อสู้กับพรรค คอมมิวนิสต์ ทำให้การเมืองจีนต้องตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองมาตั้งแต่ ค.ศ. 1927 และภาวะกลียุคดังกล่าวถูกซ้ำเติมให้หนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น เมื่อจีนต้องประสบ กับภัยจากการรุกรานของญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1937 จนถึง ค.ศ. 1945

ดังนั้น ในช่วงสมัยสาธารณรัฐจึงเป็นช่วงที่รัฐบาลที่ปักกิ่งละเลยการปกครอง และควบคุมซินเจียงอย่างมาก จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1940 ชนกลุ่มน้อยมุสลิมใน ซินเจียงรวมตัวกันภายใต้การนำของชาวคาซัคนามว่า “อุสมาน” (Osman) บุคคลผู้นี้ พร้อมทั้งพรรคพวกชาวคาซัค อุยกูร์ และมองโกลได้ก่อการจลาจลขึ้น และสามารถยึด ดินแดนในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของซินเจียงได้สำเร็จ โดยในเดือนมกราคม ค.ศ.1945 ได้มีการตั้ง “สาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก” (Eastern Turkestan Republic) ขึ้น มีเมืองหลวงอยู่ที่นครคาชการ์ และหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้น ทำให้รัฐบาล จีนภายใต้การนำของเจียงไคเช็คไม่พอใจ จึงได้ตอบโต้ด้วยการใช้กำลังทหาร ส่งผลให้ เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง จนในที่สุดได้นำมาซึ่งการทำข้อตกลงสันติภาพระหว่าง กันใน ค.ศ. 1946 ต่อมาพรรคก๊กมินตั๋งก็ได้หันมาผ่อนปรนท่าทีกับมุสลิมในซินเจียง โดยได้พยายามหว่านล้อมชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ให้กลับมารวมอยู่กับจีนอยู่หลายครั้ง เนื่องจากต้องการให้เป็นพันธมิตรร่วมเพื่ออาศัยเป็นฐานกำลัง แต่การหว่านล้อมก็ไม่ ประสบผลสำเร็จ เหตุเพราะในขณะนั้นพรรคก๊กมินตั๋งกำลังติดพันอยู่กับการทำสงคราม กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทำให้ต้องใช้เวลาไปกับการสู้รบมากกว่า

2) ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน

• ทศวรรษที่ 1950 หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง การเมืองจีนยังคงอยู่ในภาวะ อุยกูร์-ซินเจียง : ชนชาวมุสลิมในจีน สงครามกลางเมือง จนกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีชัยเหนือพรรคก๊กมินตั๋งใน ค.ศ. 1949 แล้วสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์ปกครองจีนก็ได้ผนวกดินแดนซินเจียงกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ จีนดังเดิม โดยในช่วงต้นปี 1951 ทางการจีนได้จับตัวนายอุสมานผู้นำของกลุ่มที่ทำ การเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนและประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม การประหารชีวิต นายอุสมานผู้นำของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นอิสระไม่ได้ทำให้ความเคลื่อนไหวใน การแบ่งแยกดินแดนนั้นสิ้นสุดลงแต่อย่างใด รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ในยุคแรกพยายาม แก้ปัญหาโดยใช้นโยบายควบคุมชาวมุสลิมอย่างเข้มงวด พิธีกรรมทางศาสนาถือเป็นสิ่ง งมงายและกลายเป็นสิ่งต้องห้าม มัสยิดถูกทำลายหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ กล่าว กันว่ามีการสังหารมุสลิมที่ต่อต้านรัฐบาลหลายแสนคน1 แต่ผลของนโยบายดังกล่าว กลับไม่ก่อให้เกิดความสงบราบคาบตามที่รัฐคาดหวัง นโยบายต่อต้านศาสนาของจีน คอมมิวนิสต์กลับยิ่งทำให้เกิดขบวนการติดอาวุธกลุ่มใหม่ๆ ขึ้นมากมาย จนรัฐบาลจีน ต้องหาทางลดแรงกดดันด้วยการประกาศให้ซินเจียงเป็น “เขตปกครองตนเองชนชาติ อุยกูร์ซินเจียง” (Xinjiang Uyghur Autonomous Region-XUAR) ใน ค.ศ. 1955 และตั้งนครอุรุมชีเป็นศูนย์กลาง2 แต่ในทางปฏิบัติก็ยังคงใช้ความเด็ดขาดในการ ปกครองและควบคุมมุสลิมอย่างเข้มงวด ปัญหาในซินเจียงจึงไม่หมดไป

 • ทศวรรษที่ 1960-1970 ช่วงเวลานี้การเมืองจีนสับสนวุ่นวายอย่างมาก ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1960 เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก และมีความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ผู้นำของพรรค คอมมิวนิสต์ ต่อมาก็เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมในช่วง ค.ศ. 1966-1976 หลังจากที่ เหมาเจ๋อตงผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงแก่อสัญกรรม และแก๊งสี่คนซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำ คนสำคัญของการปฏิวัติวัฒนธรรมถูกจับกุมคุมขัง การปฏิวัติวัฒนธรรม หมายถึง กลุ่มผู้บูชาเหมาเจ๋อตงที่เรียกตัวเองว่า “ยาม พิทักษ์แดง” (Red Guard) ได้ทำการรณรงค์อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เพื่อให้มีการ ต่อต้านอุดมการณ์แบบศักดินาและนายทุน ทำลายนิสัยเก่า ความคิดเก่า ประเพณีเก่า และวัฒนธรรมเก่า แล้วสร้างสังคมนิยมบริสุทธิ์ขึ้นมาแทน กลุ่ม “ยามพิทักษ์แดง” ได้จับกุมและเข่นฆ่าคนจำนวนมากที่พวกเขากล่าวหาว่าเป็นผู้ต่อต้านการปฏิวัติ และบุกทำลายศาสนสถานต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งบรรดามัสยิดทั้งหลายในซินเจียงก็ ถูกเผาทำลายหรือปิดทิ้งร้างไว้ มีคำสั่งห้ามสอนและเรียนศาสนาอิสลาม หรือภาษา อุยกูร์-ซินเจียง : ชนชาวมุสลิมในจีน อาหรับอย่างเด็ดขาด ส่วนพวกอิหม่ามก็ถูกจับไปประหารนับพันราย ที่ไม่ถูกประหารก็ ต้องอยู่อย่างหลบซ่อน บ้างก็รักษาตัวรอดด้วยการละเว้นการสอนศาสนาและการเป็น ผู้นำในการปฏิบัติศาสนกิจ ในระหว่างที่เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมขึ้นนั้น ชาวมุสลิมจำนวนไม่น้อยตัดสินใจ ละทิ้งถิ่นฐานอพยพไปต่างประเทศทั้งไปสู่เอเชียกลาง ปากีสถาน ส่วนผู้ที่มั่งคั่งหรือ เป็นบุคคลสำคัญของซินเจียงก็เดินทางลี้ภัยยังตุรกีและประเทศต่างๆ ในยุโรป

• ทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลจีนในยุคนี้พบว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมได้สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สิน การปราบปรามกดขี่ทำให้ประชาชนในซินเจียงเห็นรัฐบาลเป็นศัตรูที่ต้อง เข่นฆ่าแทนที่จะเห็นว่าเป็นรัฐบาลที่เขาต้องเคารพเชื่อฟัง ดังนั้นใน ค.ศ. 1983 รัฐบาลจีน จึงหันไปยกเลิกกฎต่างๆ ที่เข้มงวดจัด แล้วหันไปทำนุบำรุงมัสยิดที่ถูกปิดร้าง ส่งเสริม การตั้งสมาคมชาวมุสลิม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของผู้นำศาสนา3 แต่กระนั้นชาวมุสลิม ในซินเจียงก็ยังมองจีนไม่สู้ดี เพราะพวกเขาเห็นว่าผู้นำศาสนาที่จีนส่งเสริมนั้น มีแต่ พวกที่ฝักใฝ่อิทธิพลทางการเมืองกับตำแหน่งในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่ใช่ผู้ที่ชุมชน มุสลิมเคารพนับถือ

สถานการณ์ในปัจจุบัน 

1. ภาพรวมของมุสลิมในจีน

ใน ค.ศ. 2006 จีนมีประชากรที่เป็นมุสลิมหรือที่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ 22.5 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 1,300 ล้านคน ชาวจีนมุสลิม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณต่างๆ ได้แก่ เขตปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ย (Ningxia Hui Autonomous Region-NHAR) เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ ซินเจียง (Xinjiang Uyghur Autonomous Region-XUAR) มณฑลกานซู่ (Gansu) มณฑลเหอหนาน (Henan) มณฑลเหอเป่ย (Hebei) มณฑลชิงไห่ (Qinghai) มณฑลซานตง (Shandong) มณฑลหยุนหนาน (Yunnan) มณฑลอานฮุย (Anhui) มณฑลเหลียวหนิง (Liaoning) มณฑลเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) มณฑลจี๋หลิน (Jilin) มณฑลซานซี (Shanxi) และในมหานคร สำคัญคือ เทียนจิน (Tianjin) รวมทั้งในเมืองหลวงคือกรุงปักกิ่ง (Beijing) มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามอยู่มาก

ทั้งนี้ มุสลิมในจีนไม่เพียงแต่เป็นกลุ่มผู้นับถือศาสนาส่วนน้อย แต่ยังเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยด้วย เพราะมุสลิมในจีนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ชาวจีนฮั่น (Han) ที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยนั้นได้แก่ หุย (Hui) อุยกูร์ (Uyghur) คาซัค (Kazak) คีร์กิซ (Kirgis) ซาลาร์ (Salar) ทาจิก (Tajik) อุซเบค (Osbek) ทาร์ทาร์ (Tartar) โบนาน (Bonan) และตงเซียง (Dongxiang) อนึ่ง ในหลายพื้นที่ของจีนประสบความสำเร็จอย่างดีในการอยู่ร่วมกับมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ย โดยชาวจีนฮั่นและชาวหุยซึ่ง เป็นชาติพันธุ์ส่วนน้อยที่เป็นมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ชาวหุยสามารถ รักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้ และปฏิบัติศาสนกิจตามแนวทางศาสนาอิสลามได้โดย เสรี โดยไม่มีปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาชาติพันธุ์ การก่อความไม่สงบ หรือความ พยายามในการแบ่งแยกดินแดน

2. สถานภาพของซินเจียง

ในปัจจุบันซินเจียงมีฐานะเป็นหนึ่งในบรรดา “เขตปกครองตนเองของชนส่วน น้อย” (Ethnic Autonomous Region) 5 แห่งของจีน4 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ว่า “เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง” (Xinjiang Uyghur Autonomous Region : XUAR) ทั้งนี้เพราะในซินเจียงมีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่มากที่สุด จากการทำสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2000 ปรากฏว่าซินเจียงมีประชากร ทั้งสิ้นประมาณ 19.25 ล้านคน5 ในจำนวนนี้เป็นมุสลิมร้อยละ 54.96 ซึ่งประกอบด้วย ชนกลุ่มน้อยหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวอุยกูร์ร้อยละ 42.21 ชาวคาซัคร้อยละ 6.74 ชาวหุยร้อยละ 4.55 ชาวตงเซียงร้อยละ 0.30 ชาวทาจิกร้อยละ 0.21 ชาวอุซเบค ร้อยละ 0.066 และชาวซาลาร์ร้อยละ 0.026 แม้ว่าประชากรมุสลิมยังเป็นชนส่วนใหญ่ของซินเจียง แต่สัดส่วนประชากร มุสลิมนั้นลดลงมากเมื่อเทียบกับสถิติ ในช่วงทศวรรษที่ 1940-1980 กล่าวคือ ช่วง ค.ศ. 1949 ซึ่งมีมุสลิมอาศัยในซินเจียงร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมด 3.73 ล้านคน และช่วง ค.ศ. 1953 ร้อยละ 84.9 ของประชากรทั้งหมด 4.87 ล้านคน ช่วง ค.ศ. 1964 ร้อยละ 67.1 ของประชากรทั้งหมด 7.44 ล้านคน ช่วง ค.ศ. 1982 ร้อยละ 59.6 ของประชากรทั้งหมด 13.08 ล้านคน7 และช่วง ค.ศ. 1990 ร้อยละ 59.4 ของประชากรทั้งหมด 15.15 ล้านคน8 ตารางแสดงสัดส่วนประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในซินเจียง ค.ศ. 2000 กลุ่มชาติพันธุ์ ร้อยละของประชากรทั้งหมด อุยกูร์ 42.21 ฮั่น 40.58 คาซัค 6.74 หุย 4.55 อื่นๆ 5.92

ก. ลักษณะการปกครองท้องถิ่นของซินเจียง

ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง ตั้งแต่ ค.ศ. 1955 เป็นชาว อุยกูร์ทั้งหมด ผู้ว่าการฯ คนปัจจุบัน คือ นายอิสมาอิล ทิลิวัลดี (Ismail Tiliwaldi) นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกหมุนเวียนของคณะกรรมการกลางของพรรค คอมมิวนิสต์จีน (Alternate member of the CPC Central Committee) ซึ่งเป็น องค์กรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเมืองการปกครองจีน ในด้านการปกครองท้องถิ่น ทางการจีนได้จัดการปกครองท้องถิ่นซินเจียงโดย แบ่งเป็น 14 จังหวัด (Prefecture) ในจำนวนนี้เป็นจังหวัดธรรมดา 7 จังหวัด9 เป็นจังหวัดที่มีฐานะเป็นนคร (Prefect-level city) 2 นคร10 และเป็นจังหวัด ปกครองตนเอง (Autonomous Prefecture หรือ 自治州) 5 แห่ง11 ทั้งซินเจียงแบ่งเป็นอำเภอ (County) 99 อำเภอ หรือแบ่งเป็นตำบล (Township) 1,009 ตำบล จังหวัดที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ ได้แก่

 เทอร์ปัน (Turpan) มีประชากรเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 70 อัคซู (Aksu) ร้อยละ 71.9 คิซิลซู (Kizilsu Kirghiz Autonomous Prefecture) ร้อยละ 93.6 คาชการ์ (Kashgar) ร้อยละ 90.8 อีลี่ (Ili Kazakh Autonomous Prefecture) ร้อยละ 55.6 และโฮทัน (Hotan) ร้อยละ 96.412 ข. บทบาททางการเมืองของมุสลิมในซินเจียง ในส่วนของการเมืองระดับชาติ มุสลิมในซินเจียงซึ่งอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยยัง มีบทบาทในการบริหารระดับชาติน้อยมาก ทั้งนี้จนถึง ค.ศ. 2007 มีผู้แทนมุสลิมจาก ซินเจียงเพียง 1 ราย ที่ได้เป็นสมาชิกของที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress-NPC) ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 2,927 คน นอกจากนี้ มีผู้แทน มุสลิมจากซินเจียงเพียง 4 ราย ที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมสภาที่ปรึกษาการเมือง ประชาชนแห่งชาติจีน (Chinese People’s Political Consultative ConferenceCPPCC) ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 2,289 คน ในส่วนของการเมืองในซินเจียง มีผู้แทนชนกลุ่มน้อยมุสลิม 21 ราย เป็นสมาชิก สภาประชาชนแห่งซินเจียงซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 500 ราย และมีผู้แทนชนกลุ่มน้อย มุสลิม 27 ราย เป็นสมาชิกของที่ประชุมสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนของซินเจียง ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 500 ราย13

3. การก่อความไม่สงบในซินเจียงระหว่าง ค.ศ. 1990-2006

ตั้งแต่ ค.ศ. 1990-2006 สำนักข่าวของทางการจีนระบุว่ามีสถิติเหตุการณ์ ความไม่สงบทั้งสิ้น 260 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 160 คน และผู้บาดเจ็บ 440 คน14 ทั้งนี้ ในระหว่าง ค.ศ. 2003-2006 ปัญหาการก่อความไม่สงบโดยชนกลุ่มน้อยมุสลิมใน ซินเจียงลดลงอย่างน่าพอใจ แม้ว่าการทำลายสิ่งของของทางการยังมีอยู่บ้าง แต่การวาง ระเบิดหรือโจมตีสถานที่ราชการนั้นไม่มีปรากฏ นับว่าสถานการณ์ความไม่สงบในซินเจียงลดน้อยลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับใน อดีต เช่น ในระหว่าง ค.ศ 1967-1968 มีสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในซินเจียงสูงถึง 1,300 ครั้ง15 และทุกครั้งเป็นการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่ และปัญหาการแบ่งแยกดินแดนถือเป็นประเด็นสำคัญในกรณีนี้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นปีที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน จนถึง ทศวรรษที่ 1960 มีขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์หลายขบวนการที่ต่อสู้กับทางการจีนเพื่อฟื้นฟูการก่อตั้งรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก (The East Turkestan Republic) ซึ่งเคยมีการสถาปนาขึ้นในช่วงสั้นๆ ระหว่าง ค.ศ. 1933-1949 โดยมี เมืองหลวงอยู่ที่คาชการ์ ขบวนการเหล่านี้มีฐานที่มั่นอยู่ในต่างประเทศ แล้วเข้าทำการ ก่อความไม่สงบในซินเจียงโดยลักลอบเข้าทางแนวชายแดนระหว่างจีนกับประเทศ เพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการง่ายเนื่องจากซินเจียงมีดินแดนที่ติดต่อกับหลายประเทศ กล่าวคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมองโกเลีย ชายแดนภาคเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกติดกับรัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และอัฟกานิสถาน

เมื่อทางการจีนดำเนินนโยบายปราบปรามอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ 1970 พร้อมไปกับการปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ขบวนการเหล่านั้นก็ยุติ บทบาทลงไปเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์ที่ก่อ ความไม่สงบในซินเจียงระหว่างทศวรรษที่ 1990 และยังคงดำเนินเรื่อยมาถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 ขบวนการ ดังนี้ 1) ขบวนการอิสลามเตอร์กิสถานตะวันออก (The East Turkestan Islamic Movement-ETIM) ก่อตั้งโดย Hasan Mahsum หรือมีฉายาว่า AbuMuhammad al-Turkes tani และ Ashan Sumut ขบวนการนี้มีเครือข่ายทั้งในจีน ตุรกี อัฟกานิสถาน ปากีสถาน ทางการสหรัฐฯ และทางการจีนกล่าวว่ามีเครือข่าย โยงใยกับขบวนการอัลกออิดะฮ์ (Al Qaeda) โดยได้รับการฝึกจากขบวนการ อัลกออิดะฮ์ในอัฟกานิสถาน

ขบวนการนี้ใช้วิธีการรุนแรงในการปฏิบัติการ เช่น การวางระเบิด การโจมตีด้วยอาวุธหนัก และการลอบสังหาร อนึ่ง หลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ทางการสหรัฐฯ ประกาศยึด ทรัพย์สินของขบวนการนี้ที่อยู่ในประเทศสหรัฐฯ และใน ค.ศ. 2002 จีนประสบความ สำเร็จในการเจรจาให้สหรัฐฯ ที่กำลังต้องการปราบการก่อการร้ายทั่วโลก สนับสนุนให้ องค์การสหประชาชาติขึ้นบัญชี ETIM เป็นขบวนการก่อการร้ายสากล16 2) องค์การปลดปล่อยเตอร์กิสถานตะวันออก (East Turkestan Liberation Organization) แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับฐานที่มั่นที่แน่ชัด แต่ขบวนการนี้ก่อตั้งในตุรกี และดำเนินการก่อการร้ายในต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาว จีนในซินเจียง และประเทศต่างๆ ในเอเชียกลาง รวมทั้งปากีสถาน แม้ว่าสหรัฐฯ จะปฏิเสธการขึ้นบัญชี ETLO เป็นขบวนการก่อการร้ายสากลตามคำขอของจีนใน ค.ศ. 2003 แต่คีร์กีซสถาน17 และคาซัคสถาน18 ขึ้นบัญชีว่า ETLO เป็นขบวนการก่อการร้ายและเกี่ยวข้องกับการก่อวินาศกรรมหลายครั้ง 4. ปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหา จีนต้องเผชิญปัญหาความไม่สงบในซินเจียงอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ 1990 ถึง ค.ศ. 2001 ก็เนื่องมาจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ดังต่อไปนี้

ปัจจัยภายนอก : กรณีการได้เอกราชของประเทศในเอเชียกลาง 

ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนชาวมุสลิมในเอเชียกลางกำลังเรียกร้องเพื่อแยก ตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต ซึ่งกำลังประสบกับปัญหาการเมืองภายในอย่างสาหัส และกำลังล่มสลายลง การเรียกร้องของดินแดนเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายใน ค.ศ. 1991 ดินแดนเหล่านั้นก็กลายเป็นรัฐเอกราช ใหม่ ได้แก่ ป ระเทศคาซัคสถ าน คีร์กีซสถ าน ท าจิกิสถ าน อุซเบกิสถ าน อาเซอร์ไบจาน ประเทศเหล่านี้มีความใกล้ชิดทางชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรมกับชนส่วนน้อยมุสลิมในซินเจียงมากกว่าจีน การเป็นเอกราชของ ประเทศเหล่านี้กระตุ้นให้ชาวมุสลิมในซินเจียงต้องการแยกตัวจากจีน19 โดยรื้อฟื้น เหตุผลทางประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก ซึ่งต่อมาทำให้มีการ รวมตัวเป็นกลุ่มติดอาวุธในซินเจียง และทำการต่อสู้กับทางการจีนหนักขึ้น โดยได้รับ การสนับสนุนจากประชาชนชาวมุสลิมในซินเจียง นักวิชาการจีนกล่าวว่าความรู้สึกต้องการเอกราชของมุสลิมในซินเจียงนั้นเป็นไป อย่างเข้มข้นกว่าชาวพุทธในทิเบตอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะศาสนาพุทธมีคำสอน ให้เชื่อว่าสิ่งที่เกิดเป็นผลจากกรรมเก่า ทำให้ยอมรับสิ่งที่เกิดในปัจจุบันได้ง่ายกว่า20

ปัจจัยภายใน : กรณีปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างภาคตะวันออกกับ ภาคตะวันตก และความเกลียดชังที่สะสมมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในค.ศ. 1979 จีนประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการปฏิรูปเศรษฐกิจใน ประเทศ ด้วยการนำเอาระบบตลาดมาใช้และเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ความสำเร็จ ดังกล่าวทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างมณฑลชายฝั่งทะเลตะวันออกที่เติบโตและมี เศรษฐกิจรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว กับมณฑลตอนในของประเทศที่ยังยากจนและล้าหลัง การที่จีนนำเอาเศรษฐกิจแบบตลาดเข้าไปใช้ในประเทศทำให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจเคลื่อน ตัวได้อย่างเสรี ยิ่งทำให้จีนทำการจัดสรรและกระจายปัจจัยทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียม กันได้ยากยิ่งขึ้น ความไม่เท่าเทียมเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นความรู้สึกแปลกแยกเป็นอื่น ให้กับชาติพันธุ์ส่วนน้อย เมื่อรวมกับความไม่พอใจทางการจีนที่สั่งสมมานานในประวัติศาสตร์ก็ยิ่งทำให้ความตึงเครียดมีมากขึ้น21 จนถึงจุดที่ทำให้การก่อความไม่สงบ กลับมารุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้การดำเนินมาตรการรุนแรงและกดดันของทางการจีนใน การแก้ปัญหาระหว่าง ค.ศ. 1990-2001 เป็นเงื่อนไขที่สำคัญยิ่งที่กระตุ้นให้ความ เกลียดชังที่ชนกลุ่มน้อยมุสลิมมีต่อทางการจีนและชาวฮั่นมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว อย่างไรก็ดี หลัง ค.ศ. 2002 เป็นต้นมาจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 สถิติ ปัญหาการก่อการร้ายโดยชนกลุ่มน้อยมุสลิมในซินเจียงลดลงอย่างน่าพอใจ แม้ว่าการ ทำลายสิ่งของของทางการยังมีอยู่บ้าง แต่การวางเพลิงหรือโจมตีสถานที่ราชการนั้นไม่มี ปรากฏ รวมทั้งการสังหารชาวฮั่นหรือชนกลุ่มน้อยมุสลิมที่อยู่ฝ่ายเดียวกับรัฐก็ลดลง อย่างมาก

นโยบายการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลจีน ในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 1990 จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2007) จีนดำเนินนโยบายต่อ ชนกลุ่มน้อยมุสลิมในซินเจียง 2 นโยบาย คือ “นโยบายจู่โจมให้หนัก” กับ “นโยบาย จัดการแบบผสมผสานหลายด้าน” ควบคู่กันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นั่นคือการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติและก้าวหน้าระหว่างกับมุสลิมในซินเจียงกับชาวจีนฮั่น ซึ่งเป็น ชนส่วนใหญ่ของประเทศ 1) ลักษณะของนโยบาย แนวทางปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้น นโยบายที่ใช้แก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในซินเจียงตั้งแต่ ค.ศ. 1990-2007 มีข้อพิจารณาสำคัญอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ รัฐบาลจีนใช้นโยบายสองแบบ คือ “นโยบายจู่โจมให้หนัก” กับ “นโยบายจัดการแบบผสมผสานหลายด้าน” ซึ่งแต่ละ นโยบายมีรายละเอียดดังนี้

• นโยบายจู่โจมให้หนัก (Strike Hard Policy)

เป็นนโยบายเด็ดขาด ที่เน้น การใช้เครื่องมือทางการทหารในการรักษาความสงบเรียบร้อยและสร้างความมั่นคง นโยบายนี้มีการใช้โดยรัฐบาลจีนมาอย่างยาวนานแล้ว ความหมายเดิมของนโยบายนี้ หมายถึงการปราบปรามอาชญากรรมอย่างหนัก โดยกวาดล้างและลงโทษอย่างรุนแรง ต่อมาถูกนำไปใช้ในการปราบปรามชาติพันธุ์ส่วนน้อย จึงหมายถึง “นโยบายการจัดการ กับผู้ก่อความไม่สงบอย่างหนักและเด็ดขาด โดยใช้กำลังตำรวจและกำลังทหารเข้าจัดการควบคุมสถานการณ์” โดยมีหลักตามกฎหมายปราบปรามอาชญากรรมของจีน 3 ประการ22 คือ 1) ใช้กำลังเข้าปราบปราม 2) ลงโทษอย่างรุนแรง 3) โทษสูงสุดคือ การประหาร นโยบายนี้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกกับชนกลุ่มน้อยในทิเบตใน ค.ศ. 1983 ต่อมาทางการจีนได้นำนโยบายนี้มาใช้ในซินเจียงตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ภายหลังมีการเพิ่ม ความเข้มข้นใน ค.ศ. 1997 และต่อมาใน ค.ศ 2001 มีการตีความใหม่ เพื่อให้มี ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหามากขึ้น

• นโยบายจัดการแบบผสมผสานหลายด้าน (Comprehensive Management)

หมายถึง นโยบายที่หวังผลทางการเมืองโดยใช้เครื่องมือและมาตรการในหลายด้าน ร่วมกัน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม เป็นต้น จีนเคยใช้นโยบายนี้ เพื่อหล่อหลอมประชาชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในยุคต้นๆ ของการสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน นโยบายนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “นโยบายปรับทัศนะทาง การเมืองให้ถูกต้องโดยจัดการแบบผสมผสานหลายด้าน” (Comprehensive Political Rectification)23 โดยเป็นนโยบายที่ถูกประกาศใช้ในซินเจียงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา 2) การแบ่งระยะเวลาของนโยบาย แม้ว่านโยบายของทางการจีนในการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในซินเจียง ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 จนถึงปัจจุบัน (เดือนมีนาคม ค.ศ. 2007) จะเป็นนโยบายแบบ ควบคู่กันสองนโยบาย แต่นโยบายที่ใช้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ซึ่งนโยบายใน แต่ละช่วงมีมาตรการในการดำเนินการแตกต่างกันไม่น้อย เพราะจีนใช้วิธีการคิดแบบ ปรัชญามาร์กซิสต์ที่เรียกว่า “วัตถุนิยมวิภาษวิธี” หรือหมายถึงการปรับนโยบายและ ตีความนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นนโยบายในแต่ละช่วงจึงถูกปรับเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุด นโยบาย 3 ช่วงเวลาดังกล่าวสามารถแบ่งได้ดังนี้ ๏ นโยบายแนวเด็ดขาดและบีบคั้นกดดัน (ค.ศ. 1991-1996) ๏ ทางการจีนได้ใช้นโยบายทั้งสอง คือ “นโยบายจู่โจมให้หนัก” กับ “นโยบาย จัดการแบบผสมผสานหลายด้าน” โดยตีความว่าหมายถึงการดำเนินนโยบายด้วย แนวทางเด็ดขาด และบีบคั้นกดดันอย่างรุนแรงในการแก้ปัญหาการก่อการความไม่สงบ โดยชนกลุ่มน้อยมุสลิม

4) ผลของการแก้ไขปัญหา

ผลจากการปรับนโยบายของทางการจีนได้ส่งผลดีต่อสถานการณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของความร่วมมือกับต่างประเทศนั้น ทำให้กลุ่มติดอาวุธที่ก่อความไม่ สงบหรือก่อการร้ายอ่อนแอลงเพราะขาดความสนับสนุนและที่พักพิง ตัวอย่างที่สำคัญ ที่สุดคือ ความร่วมมือระหว่างจีนกับปากีสถานนำไปสู่ผลสำเร็จในการร่วมกันปราบปราม การก่อการร้ายอย่างเป็นรูปธรรมใน ค.ศ. 2003 กล่าวคือ สามารถร่วมกันทำลายฐาน ฝึกปฏิบัติการของ ETIM ในเขตแดนปากีสถานได้สำเร็จ และ Hasan Mahsum ผู้นำของ ETIM ได้ถูกทหารปากีสถานสังหารจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 200387 และหลังจากนั้นยังมีการร่วมกันทลายฐานฝึกปฏิบัติการตามแนวชายแดนได้อีกหลายแห่ง การที่จีนเปลี่ยนเป้าหมายการปราบปรามไปสู่ “สามสิ่งชั่วร้าย” และหลีกเลี่ยง การพาดพิงถึงศาสนา ทำให้จีนได้รับความเห็นใจจากบางประเทศในโลกมุสลิมในการ ปราบปรามกลุ่มติดอาวุธที่ก่อความไม่สงบ/ก่อการร้าย เช่น แอลเบเนียยินยอมส่ง ผู้ก่อการร้าย 5 รายที่สหรัฐฯ ส่งมาลี้ภัยในแอลเบเนียตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ให้กับทางการ จีนใน ค.ศ. 200688 การพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ทำให้การ กระจายเจริญสู่ประชาชนเป็นไปมากขึ้น

โดยใน ค.ศ. 2006 ซินเจียงมีเงินลงทุนจาก ต่างประเทศ 103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีกิจการที่เป็นของต่างชาติ 1,539 กิจการ มูลค่าการค้ากับต่างประเทศ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้เปรียบดุลการค้า 5.17 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างงานให้ประชาชนได้หลายแสนอัตรา89 การที่จีนเห็นว่าอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยมุสลิมในซินเจียงมี พลังและศักยภาพที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศได้ โดยนำไปใช้ในการเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์กับเอเชียกลางและประเทศในโลก มุสลิมอื่นๆ รวมทั้งนำไปใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในซินเจียง โบราณสถาน และมัสยิดเก่าแก่อันงดงาม กลายเป็นสิ่งดึงดูดมุสลิมจากทั่วโลกเข้ามาท่องเที่ยวและ แสวงบุญในซินเจียง เมื่อเป็นเช่นนั้นมุสลิมจึงมีส่วนร่วมในการสร้างและแบ่งปันความ เจริญ อันทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นอย่างมาก90 ที่สำคัญคือการส่งเสริมการใช้ ภาษาถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลข่าวสารข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาถิ่น ทำให้ความรู้ และข้อมูลข่าวสารต่างๆ เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น มีความเห็นที่ควรเป็นมากขึ้น และตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อโดยกลุ่มติดอาวุธที่ก่อความไม่สงบ/ก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน และกลุ่มที่มีแนวคิดตกขอบ (extremist) ได้ยากขึ้น ซึ่งนับ ตั้งแต่ ค.ศ. 2003-2007 ยังไม่มีสถานการณ์ที่รุนแรงหรือการก่อจลาจลโดยมุสลิมใน ซินเจียงที่ปรากฏเป็นข่าวระดับชาติแต่ประการใด

สรุป

จากบทเรียนของการแก้ปัญหาความไม่สงบในซินเจียงของรัฐบาลจีนจะเห็นได้ ว่า นโยบายที่เน้นการปราบปรามและตอบโต้ด้วยความรุนแรงเป็นหลักในช่วง ค.ศ. 1991-1996 นั้น เป็นนโยบายที่ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะยิ่งเป็นการสร้าง ความรู้สึกในทางลบต่อทางการ และนำไปสู่การต่อต้านที่รุนแรงขึ้น แม้ว่าจีนจะมีการ ปรับนโยบายในช่วง ค.ศ. 1997-2001 โดยเน้นการผสมผสานการปราบปรามอย่าง เด็ดขาดและบีบคั้นชาวมุสลิมอย่างหนัก ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การไม่ใส่ใจ ความเป็นอยู่และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน จึงเป็นนโยบายที่ไม่อาจแก้ปัญหา ได้อย่างตรงจุด และยิ่งเพิ่มประเด็นความขัดแย้งให้ขยายจากเรื่องการเมืองไปสู่เรื่อง เศรษฐกิจด้วย สำหรับในช่วง ค.ศ. 2002 จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2007) จีนหันไปใช้นโยบาย ที่เน้นการปราบปรามกลุ่มติดอาวุธแทนการบีบบังคับชาวมุสลิม และส่งเสริมอัตลักษณ์ ของชาวมุสลิม เป็นการแก้ปัญหาที่ส่งผลดีมากกว่านโยบายอื่นๆ ที่ผ่านมาในอดีต เนื่องจากช่วยให้มุสลิมมีความสุขในการเป็นประชาชนของจีนเป็นครั้งแรก และหัน มาร่วมมือกับทางการจีนในการพัฒนาพื้นที่ซินเจียง จีนยังได้รับประโยชน์จากการใช้ อัตลักษณ์ของคนเหล่านี้ผูกสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในเอเชียกลางอีกด้วย อนึ่ง พึงสังเกตว่า การอาศัยความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไข ปัญหานั้น ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้จีนสามารถแก้ไขปัญหาในซินเจียงอย่างได้ผล




ที่มา จุลสารความมั่นคงศึกษา, เมษายน 2553

ไม่มีความคิดเห็น: