วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Long Derivatives ในสภาวะตลาดกระทิง

 ในอดีต ตลาดหุ้น Downjones มีสภาวะตลาดกระทิงและตลาดหมีสลับกันไปมาหลายครั้งหลายหน ปัจจัยที่สําคัญที่สุดที่มากําหนดสภาวะตลาดก็คือทิศทางของ Fed Fund Rate โดยถ้า Fed Fund Rate มีทิศทางขาขึ้นรอบใหญ่ ตลาดหุ้น Downjones ก็มักจะอยู่ในสภาวะตลาดกระทิง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้า Fed Fund Rate มีทิศทางขาลงรอบใหญ่ ตลาดหุ้น Downjones ก็มักจะอยู่ในสภาวะหมี สาเหตุหลักเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปมาระหว่างตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน โดยเงินทุนจะเคลื่อนย้ายจากตลาดตราสารหนี้มายังตลาดตราสารทุนเมื่อ Fed Fund Rate มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ ทําให้ตลาดหุ้น Downjones เป็นสภาวะกระทิง ในทางกลับกัน เงินทุนจะเคลื่อนย้ายจากตลาดตราสารทุนมายังตลาดตราสารหนี้ ทําให้ตลาดหุ้น Downjones เป็นสภาวะหมี ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้ คือ :

                1) เดือนมีนาคม ปี ค.ศ 2000 : Fed Fund Rate = 6.50% ในขณะที่ตลาดหุ้น Downjones = 11,732 จุด ซึ่งอยู่ในสภาวะตลาดกระทิง

                2) เดือนตุลาคม ปี ค.ศ 2003 : Fed Fund Rate = 1.00% ในขณะที่ตลาดหุ้น Downjones = 7,117 จุด ซึ่งอยู่ในสภาวะตลาดหมี หรือ ที่รู้จักกันในนาม " ฟองสบู่ Dot Com "

                3) เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ 2006 : Fed Fund Rate = 5.25% ในขณะที่ตลาดหุ้น Downjones = 14,167 จุด ซึ่งอยู่ในสภาวะตลาดกระทิง

                4) เดือนมีนาคม ปี ค.ศ 2009 : Fed Fund Rate = 0.00 - 0.25% ในขณะที่ตลาดหุ้น Downjones = 6,547 จุด ซึ่งอยู่ในสภาวะตลาดหมี หรือ ที่รู้จักกันในนาม " วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ "

                 ตลาดหุ้น Downjones ปิดที่ 23,430 จุดเมื่อวานนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน ปี ค.ศ 2017 ในขณะเดียวกันกับที่ Fed Fund Rate ในปัจจุบันอยู่ที่ 1.00 - 1.25%

                 จากสถิติดังกล่าวข้างต้น ทําให้ผู้โพสต์คาดการณ์ว่า Fed Fund Rate และ ตลาดหุ้น Downjones น่าจะเป็นขาขึ้นหรือตลาดกระทิงอย่างต่อเนือง ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ตามการปรับตัวของ Fed Fund Rate จนกระทั่ง Fed Fund Rate ปรับตัวขึ้นไปอยู่ที่ 3.75 - 4.00% ประมาณปลาย ปี ค.ศ 2020 ตลาดกระทิงรอบนี้ จึงจะเป็นอันยุติลง

                 สําหับทิศทางตลาดหุ้นไทย ( Set Index ) ก็น่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้น Downjones โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ 1,561 จุด เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปี ค.ศ 2017 และปรับตัวขึ้นมาปิดที่ 1,714 จุดเมื่อวานนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน ปี ค.ศ 2017 และ น่าจะเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง ปลาย ปี ค.ศ 2020 สภาวะตลาดกระทิงของไทย จึงน่าจะสิ้นสุดลง ตามทิศทางตลาดหุ้น Downjones และ Fed Fund Rate

                 โปรดติดตามรายละเอียดกลยุทธการ Long Derivatives ในสภาวะตลาดกระทิง ตามหลักการของ George Soros และ Jim Rogers ได้ใน longtunbysak.blogspot.com

                 หมายเหตุ : ผู้โพสต์ไม่สามารถรับประกันความถูกต้องของการคาดการณ์ของผู้โพสต์ตามหลักการข้างต้นได้ แต่ถ้าการคาดการณ์ของผู้โพสต์ถูกต้อง ผู้โพสต์ของยกคุณงามความดีให้กับอาจารย์ใหญ่ 4 ท่านคือ Warren Buffett, George Soros, Jim Rogers และ Peter Lynch ด้ายความเคารพ

Source: http://www.stock2morrow.com/

ศักดิ์
Tue 21 Nov, 2017 06:04

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

FinTech



คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง ที่ในช่วงภาวะสุญญากาศทางการเมืองปัจจุบัน ได้ผันตัวมาทำงานที่ยังเรียกได้ว่า ช่วยเหลือประชาชนเหมือนงานการเมือง แต่เจาะเป้าตรงในเรื่อง “การเงิน” นั่นคือในบทบาทของประธานสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย

ฟินเทคมาจากภาษาอังกฤษ Fin บวกกับTech ย่อจาก FINancial กับคำว่า TECHnology หรือเทคโนโลยีทางการเงินที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการเอื้อ ช่วยเหลือ และบริการทางการเงินแก่ประชาชนในรูปแบบต่างๆ เกินจะจินตนาการได้มากยิ่งขึ้น

ฟินเทคมีอยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว รูปแบบเดิมๆ ง่ายสุดที่ทุกคนรู้จักกันก็เช่น Mobile Banking อย่างกรณีนี้คือ การเอื้อให้ประชาชนใช้บริการธนาคารแบบทั่วๆ ไป ได้สะดวกขึ้น ช่วยเหลือสำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปต่อคิวที่ธนาคาร และให้บริการออนไลน์เพียงแค่ปลายนิ้วกด ส่วนระบบความปลอดภัยก็ไม่ต้องเป็นห่วงครับ มีระบบรหัสหลายชั้นป้องกันอย่างดี

เรามาทำความเข้าใจกับ “ฟินเทค” กันมากยิ่งขึ้นว่า เขาเล็งเป้าจะให้บริการแก่ใครบ้าง ตอนนี้ 60% เป็นกลุ่มที่ใช้บริการธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว 20% เป็นกลุ่มที่ใช้บริการธนาคารรัฐเป็นหลัก และอีก 20% คือกลุ่มที่ยังไม่ได้รับบริการพวกนี้เลย สรุปว่า ฟินเทคตั้งใจจะให้บริการทางการเงินแก่ทุกคนในประเทศไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยสมาคมฟินเทคฯ ก็จะเข้ามาดูแลตรงนี้

แล้วธนาคารล่ะ? รูปแบบของฟินเทค มีทั้งแบบทำงานท้าทายกับธนาคารแบบเก่าๆ แต่ในไทยส่วนนี้ยังไม่มีมากนัก จริงๆเรียกว่ายังไม่เกิดขึ้นเลย อาจชัดกว่า เพราะอย่างอังกฤษคือมี “ธนาคารออนไลน์” ที่ไม่มีสาขา ไม่มีสำนักงานให้คนเดินเข้าเลย แต่มีลูกค้ามากมายคอยใช้บริการและกำลังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นฟินเทคที่ทำงานร่วมกันกับธนาคาร ตัวอย่างเช่น Refinn ที่ช่วยรีไฟแนนซ์บ้าน คอนโดฯ ให้คนเข้าถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้นในการได้แหล่งดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด สรุปโปรโมชั่น
ของทุกธนาคารไว้ในที่เดียว จุดนี้ก็ทำงานร่วมกับแบงก์ เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีธนาคารหรือแผนกในธนาคารหลายรูปแบบที่กำลังกลายเป็นฟินเทคไปเสียเองอย่างเต็มรูปแบบ

โดยสรุปตรงนี้ก็คือว่า ผู้บริโภคหรือประชาชนก็ไม่ต้องไปกังวลอะไรให้มาก เราเพียงแต่รอคอยและติดตามข่าวสารว่า จะได้ใช้บริการอะไรดีๆ ที่กำลังจะออกมาบ้าง

ภาครัฐเริ่มอะไรในจุดนี้บ้าง? ส่วนโดยตรงของรัฐพระเอกของวงการนี้เลยคือ แบงก์ชาติ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยที่บริหารโดยคนรุ่นใหม่ มองไกล ทำงานฉับไวอย่างผู้ว่าฯ แบงก์ชาติดร.วิรไท สันติประภพ ตอนนี้เดินหน้าเต็มสูบกับการทำงานร่วมกันกับฟินเทคในหลายๆ โอกาส เป็น Regulator ที่ทันสมัยมากๆ อยากให้กระทรวงคมนาคมมาดูทัศนคติการทำงานของแบงก์ชาติบ้างจัง (กรณี Uberกับ Taxi ยังจมในวังวนปัญหากันต่อไป)

เป้าหมายหลักของสมาคมฟินเทค มี 4 ข้อด้วยกันก็คือ

1.ประชาชนต้องเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น เชื่อไหมครับว่า จุดนี้เชื่อมโยงกับเรื่องความเท่าเทียมการลดความเหลื่อมล้ำได้เช่นเดียวกัน ปัจจัยสำคัญหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรือปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ตัวหลักก็คือ ทุน! เมื่อประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินหรือทุนหรืออื่นๆ มากขึ้น โอกาสในการทำมาหากินย่อมมากขึ้นแน่นอน

2.ต้นทุนธุรกรรมลดลง พูดง่ายๆ คือ เวลาเราทำมาหากิน หรือทำเรื่องเงินๆทองๆ เราจะโดนเก็บค่าธรรมเนียมแทบทุกอย่าง ซึ่งตรงนี้ ฟินเทคทำให้ถูกลงได้ ตัวอย่างเช่น พร้อมเพย์ที่โอนเงินหากันฟรีที่ 5,000 บาท รีฟินน์ช่วยประหยัดเรื่องดอกเบี้ยบ้าน iTax ช่วยดูเรื่องการวางแผนภาษี ฯลฯ

3.เพิ่มการแข่งขันของเอกชนเพื่อให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการจะถูกลง ใครจะแข่งกันแพงล่ะครับ ให้เอกชนเขาแข่งกันไป เราประชาชนก็จะได้รับบริการที่ดีที่สุด และราคาดีที่สุด แถมยังมีคุณภาพที่สุด ตอบโจทย์อีกด้วย

4.สมาคมฟินเทคฯ จะทำให้ ฟินเทคของไทยก้าวไกลไปแข่งขันกับฟินเทคโลกได้ในอนาคต สถิติที่คำนวณกันโดยบริษัทปรึกษาวิจัยทางการเงินบอกว่า จากโครงสร้างรายได้รวมของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบของไทยนั้น ฟินเทคไทยสามารถแบ่งส่วนแบ่งรายได้ตรงนี้มาได้สูงถึง 35% หรือเป็นหลักแสนล้านเลยทีเดียว

ในเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคบริการทางการเงินนั้น ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นเดียวกัน หากเราสังเกต จะพบว่า สมัยก่อนไปธนาคารที ต้องไปเขียนกระดาษ เข้าแถวรอที่แบงก์ เสียเวลา ต่อมาก็มี ATM บัตรให้กด ให้ฝากกันได้ จากนั้นก็มี Debit-Credit Card ให้รูดซื้อของ และมี internet banking จนกระทั่งมี Mobile Banking หรือทำธุรกรรมเสร็จสิ้นทั้งหมดในมือถือเครื่องเดียว

ส่วนพฤติกรรมของธนาคารก็ต้องปรับไปด้วยตามผู้บริโภคหรือประชาชน นั่นคือ การที่ธนาคารลดสาขามากกว่าเพิ่มเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา เปลี่ยนเวลาเปิดปิดแบบต้องง้อประชาชนเพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารจำเป็นต้องไปเปิดในห้างและปิดดึกกว่าเดิม เพื่อให้ประชาชนมาทำธุรกรรมได้สะดวกมากขึ้น

คุณกรณ์ย้ำไว้ว่า สาเหตุทั้งหมดก็เพราะต้องการตอบโจทย์สิ่งที่เรียกว่า Pain Points ของการบริการทางการเงิน พูดง่ายๆคือ เราเคยเจ็บปวดอะไรบ้างจากบริการทางการเงินในอดีต ได้แก่ ช้ามาก คิวนาน เอกสารเยอะ ไม่อยากไปสาขาเพราะกลัวโดนบังคับซื้อประกัน ฯลฯ ส่วนเงินสด ก็มีความเสี่ยงถือเงินสดเยอะกลัวหาย กลัวโดนปล้น แถมเงินสดเป็นที่น่าสังเกตเรื่องการส่อถึงการทุจริตอีกต่างหากเพราะไร้หลักฐาน

เท่าที่ผมได้นั่งฟังคุณกรณ์สรุปประเด็นใจความรวมให้ฟังทั้งหมด คุณกรณ์ย้ำว่า เอเชียนี่แหละคือโอกาสที่จะเห็นแสงสว่างที่สุดสำหรับฟินเทค โดยสรุปได้ 7 สาเหตุหลักว่า ทำไม Fintech Asia ถึงจะพัฒนาได้เร็วกว่าที่อื่น

1.อัตราส่วนการเข้าถึงอินเตอร์เนตผ่านมือถือของคนเอเชียสูงมากกว่าคนทวีปอื่น โดยเฉพาะ จีนและอาเซียน

2.คนชั้นกลางจะเข้าสู่เทรนด์ Urbanisation เยอะมากๆ โดยปี 2030 จะมีคนชั้นกลางกว่า 60% ของทั้งโลกอยู่ในเอเชีย

3.โครงสร้างตลาดเงินตลาดทุนของเอเชียยังอ่อน ส่งผลให้การเริ่มทำอะไรใหม่ๆ ด้านนี้มีโอกาสมาก

4.คนเอเชียมีวัฒนธรรม รักความสะดวกสบาย และฟินเทคจะตอบโจทย์เรื่องนี้โดยเฉพาะ

5.ปัจจุบันคนเอเชียกว่า 1,200 คน ยังไม่มีบัญชีธนาคาร เป็นโอกาสในการเข้าถึงบริการใหม่

6.กฎกติกาของเอเชียมีน้อย ควบคุมไม่เข้มงวดมาก เป็นช่องให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆได้มาก

7.จีนและอินเดีย ผลิตวิศวกรต่อปีเยอะมาก เป็นโอกาสให้มีนักพัฒนาฟินเทคเกิดขึ้นเยอะได้อีกมากทีเดียว

และในส่วนนี้ก็เป็นผลปรากฏให้เห็นแล้วตอนนี้ ไม่ต้องไปดูไหนไกลครับ ที่จีนแค่ Alibaba ที่มี AliPay หรือ Wechat ก็ครองตลาดออนไลน์แทบทั้งหมดของจีนเอาไว้แล้ว คนจีนมี 1,300 ล้านคน โดยประมาณแต่เข้าถึงตลาดออนไลน์กว่า 750 ล้านคน โดย 95% ก็ใช้งานผ่านมือถือออนไลน์ทั้งสิ้น ที่สำคัญคนจีนมาไทย เยอะมาก ล่าสุด 10 ล้านคน และนักท่องเที่ยวจีนตอนนี้เพียง 5% เท่านั้นที่มีพาสปอร์ต เขาจะถาโถมเข้ามาเหมือนพายุ และแน่นอน เขาจะเข้ามาพร้อมกับความพร้อมกับการเป็นฐานลูกค้าใหญ่ของไทยในอนาคตเช่นเดียวกัน

เป็นเรื่องที่น่าจับตา เป็นเรื่องที่สร้างโอกาสมากมายให้แก่ประเทศไทยของเรา

ต้องขอขอบคุณคุณกรณ์ที่ช่วยกรุณาเล่าสรุปเรื่องทั้งหมดให้ฟังครับ ผมจะมาคอยอัพเดทเรื่องราวของฟินเทคของประเทศไทยเราให้ได้อ่านกันเรื่อยๆ นะครับ

ที่มา http://www.naewna.com/politic/columnist/29023

พ่อค้าความตายแห่งโลก จบแล้ว...อเมริกา


โดย ทับทิม พญาไท

จบแล้ว...อเมริกา!!!
พันเอกลอว์เรนซ์ วิลเคอร์สัน

เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาฯ ที่ผ่านมา อดีตหัวหน้าคณะเสนาธิการประจำรัฐมนตรีกลาโหม “คอลิน พอเวลล์” (Colin Powell) ชื่อว่า “พันเอกลอว์เรนซ์ วิลเคอร์สัน” (Lawrence Wilkerson) ได้ไปให้สัมภาษณ์กับ “พอล เจย์” (Paul Jay) แห่งสำนักข่าว “Real News Network” ถึงแนวโน้มอนาคตของประเทศอภิมหาอำนาจสูงสุดอย่างอเมริกาไว้แบบน่าสนใจเอามากๆ ด้วยข้อสรุปที่ว่า “อเมริกานั้น...ไม่ใช่เป็นเพียงแค่จักรวรรดิที่กำลังเสื่อม แต่เป็นจักรวรรดิที่กำลังอยู่ริมขอบเหวแห่งการล่มสลาย...”

เหตุที่ “พันเอกวิลเคอร์สัน” แกกล้า “ฟันธง” เอาไว้ในรูปนี้ก็คงไม่มีอะไรมาก คือมาจากมุมมองทางด้านการทหารอันเป็นสิ่งที่แกเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมนั่นเอง เพราะถึงแม้ “กองทัพสหรัฐฯ” นั้น จะยิ่งใหญ่เกรียงไกรเพียงใดก็ตาม ดำรงสถานะเป็น “พ่อค้าความตายแห่งโลก” (The Death Merchant of the World) ตามสำนวนที่แกให้คำนิยามเอาไว้ มีกองทัพประจำการถึง 2.1 ล้านคน 200,000 คนอยู่ในฐานทัพ 800 แห่งใน 177 ประเทศทั่วโลก แต่อดีตหัวหน้าคณะเสนาธิการรัฐมนตรีกลาโหมรายนี้กลับเห็นว่า ความแข็งแกร่งทางทหารของสหรัฐฯ นั้น ค่อยๆ กลายมาเป็น “จุดอ่อน” อันเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ นั่นเอง ที่ได้ก่อให้เกิด “ศัตรู” ในหลายๆ แนวรบ จนเกินกว่าที่กองทัพสหรัฐฯ จะสามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้...

บัญชีรายชื่อของ “ศัตรู” ในแต่ละตัว ที่ฝ่ายการเมืองพยายามยัดเยียดให้กับกองทัพ ไม่ว่าไล่มาตั้งแต่จีน รัสเซีย อิหร่าน โยงไปถึงฮิซบอลเลาะห์ (Hezbollah) ในเลบานอน ตามด้วยเกาหลีเหนือ หรือแม้แต่ประเทศเล็กๆ อย่างซีเรีย เวเนซุเอลา ฯลฯ ก็ยังไม่มีข้อยกเว้น ภายใต้ภาวะเช่นนี้...ทำให้ในช่วงปีค.ศ. 2015 หน่วยงานด้านการคิดการประเมินสถานการณ์ของอเมริกา คือหน่วยงาน “Think-Thank Assessment” ถึงกับต้องสรุปเป็นเอกสารรายงานไปถึงคณะรัฐบาลว่า “กองทัพสหรัฐฯ ไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะเปิดศึกพร้อมกันทั้ง 2 แนวรบ” แต่โดยข้อเท็จจริง...เมื่อมาถึง ณ ขณะนี้ กองทัพสหรัฐฯ ต้องแบกรับภารกิจในการเผชิญหน้ากับศัตรูไม่รู้กี่แนวรบต่อแนวรบ ล่าสุด...ก็เพิ่งกาหัวเกาหลีเหนือ ที่มี “บ้องข้าวหลามยักษ์” อยู่ในมือไปอีกจนได้...

ยิ่งในช่วงที่ “นายทรัมป์” ผงาดขึ้นเป็นประธานาธิบดีพร้อมคำขวัญ สโลแกน ว่า “จะทำให้อเมริกากลับคืนมาสู่ความยิ่งใหญ่” อีกครั้ง ก็เริ่มเป็นที่ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้วว่า “ความยิ่งใหญ่” ที่ว่า คงไม่ได้หมายถึงการหมกตัวอยู่ในกำแพงเม็กซิโก เปิดศึกสงครามการค้า พร้อมกับโดดเดี่ยวตัวเองอย่างที่ใครคิดๆกัน เพราะโดยตัวเลขงบประมาณราวๆ 3.65 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ “นายทรัมป์” แกเอามาเพิ่มให้กับกิจการทหารและความมั่นคงแบบขี้แตก ขี้แตน เอาเลยทีเดียว เฉพาะกลาโหมเพิ่มขึ้นไปอีก 9 เปอร์เซ็นต์ หรืออีก 54,000 ล้านดอลลาร์ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิเพิ่มขึ้นไป 7 เปอร์เซ็นต์ โดยหันไปตัดงบสวัสดิการ งบการดูแลรักษาสุขภาพและความมั่นคงในชีวิตของอเมริกันชนกันแทนที่...

พูดง่ายๆ ว่า...ดูจากการจัดสรรตัวเลขงบประมาณ ต้องเรียกว่า...ออกไปทาง “มันเอาเราแน่” คือมุ่งที่จะทำให้ “ความยิ่งใหญ่อีกครั้งของอเมริกา” ก็คือ “ความยิ่งใหญ่ทางทหาร” อีกเช่นเดิมนั่นเอง การขู่จีน ขู่เกาหลีเหนือ ไม่ยอมแสดงท่าทีใดๆ กับรัสเซีย เสริมทัพในซีเรีย ในยุโรปตะวันออก ฯลฯ ชักเป็นท่าทีที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็นั่นแหละ...โอกาสที่จะ “ผ่านงบประมาณ” ตามแนวคิดที่ว่า ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นอกจากต้องรวมเสียงวุฒิสภาฝ่ายพรรครีพับลิกันให้ได้ครบ 52 เสียง ยังต้องไปงอนง้อสมาชิกเดโมแครตอีก 8 เสียงเป็นอย่างน้อย ถึงจะคลอดงบประมาณตามแนวคิดดังกล่าวออกมาได้จริงๆ และถึงคลอดออกมาแล้ว ยังมีปัญหาต่อเนื่องต่อไปอีกว่า “การขาดดุลงบประมาณ” เพื่อบรรลุความเป็น “เครื่องจักรทางทหาร” หรือเป็น “พ่อค้าแห่งความตาย” เช่นนี้ จะทำให้ต้องออกเรี่ยวออกแรงขอ “ขยายเพดานหนี้” ของสหรัฐฯ ที่ทะลุชนเพดานมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง จนกลายเป็นอุปสรรคขวากหนามต่อการบริหาร จัดการของรัฐบาลแต่ละรัฐบาลมาโดยตลอด ดังนั้น...ความพยายามขู่คำราม เปิดศึกไม่รู้กี่ด้านต่อกี่ด้าน ขณะที่ตัวเองกำลัง “บ่อจี๊” หรือกำลังเป็นหนี้ระดับสูงที่สุดในโลก จึงทำให้ข้อสรุปถึง “อนาคตของจักรวรรดิอเมริกา” ในทัศนะของ “พันเอกวิลเคอร์สัน” ถูกสรุปด้วยถ้อยคำแบบสั้นๆ ง่ายๆ แต่ชัดเจนแจ่มแจ๋ว เอามากๆ นั่นคือ...คำว่า “จบแล้ว...อเมริกา” ด้วยประการฉะนี้...

ที่มา http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000029810

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump)


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง












โดนัลด์ จอห์น ทรัมป์ เกิดวันที่ 14 มิถุนายน 1946 ในย่านควีนส์ มหานครนิวยอร์ก เขาเป็นลูกคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 5 คน มีชื่อเล่นว่า The Donald พ่อของเขา เฟรเดริก ทรัมป์ เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่เป็นเจ้าของอาคารที่พักอาศัยสำหรับชนชั้นกลางหลายแห่ง ทั้งในย่านควีนส์ เกาะสแตเทน และบรุกลิน

ในวัย 13 ปี ทรัมป์ถูกส่งเข้าเรียนในโรงเรียนทหาร New York Military Academy เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย ซึ่งระหว่างเรียน เขากลายเป็นดาวเด่นด้านกีฬา ก่อนจะย้ายไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยฟอร์ดแฮม ในปี 1964 ตามด้วย Wharton School of Finance and Commerce ในมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในอีก 2 ปีต่อมา ทรัมป์จบปริญญาตรีในสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1968 และได้รับการยกเว้นการเกณฑ์ทหารในช่วงสงครามเวียดนาม ก่อนที่จะเข้าทำงานในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ของคุณพ่อหลังเรียนจบ

หนึ่งในผลงานการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ครั้งแรกๆ ของทรัมป์คือ อาคารหลุดจำนองชื่อ Swifton Village ในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ ที่เขาใช้เงินลงทุนเพียง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ตัวอาคารที่พักอาศัย 1,200 ยูนิตแห่งนั้นมีมูลค่าประเมินสูงถึง 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะขายต่อในมูลค่า 6.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 1971 ทรัมป์เริ่มมาลงหลักปักฐานที่แมนฮัตตัน และเปลี่ยนชื่อบริษัทของคุณพ่อเป็น The Trump Organization ซึ่งเรียกความสนใจต่อสาธารณชนได้เป็นอย่างดีจากอาคารและสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นที่เขาเป็นเจ้าของ

ในปี 1973 ทรัมป์ประสบความสำเร็จอย่างสูงในฐานะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่น่าจับตามองในวัยเพียง 27 ปี เขาเป็นเจ้าของอาณาจักร The Trump Organization ที่มีอาคารที่พักอาศัยในครอบครองมากกว่า 14,000 ยูนิตทั่วทั้งย่านควีนส์ เกาะสแตเทน และบรุกลิน

ถึงจะประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ทรัมป์ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายทางธุรกิจ เมื่อรัฐบาลได้ตั้งข้อกล่าวหาว่าบริษัทของทรัมป์มีการกีดกันผู้เช่าจากเชื้อชาติของพวกเขา ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะที่ทรัมป์ออกมาปฏิเสธต่อสื่อว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หลังการต่อสู้ทางกฎหมายถึง 2 ปี ที่สุดแล้วทรัมป์พ้นข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมข้อตกลงว่าบริษัทของเขาจะทำการปลูกฝังพนักงานใหม่ เพื่อขจัดการกระทำที่เหยียดเชื้อชาติ

อาณาจักรธุรกิจของเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 1982 ทรัมป์เปิดตัวอาคาร Trump Tower ที่มีมูลค่าสูงกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัยสุดหรู ร้านค้าชื่อดัง และแหล่งรวมคนดัง ซึ่งทำให้เขากลายเป็นจุดสนใจระดับประเทศอีกครั้ง

นอกจากนี้เขายังเริ่มขยายการลงทุนในธุรกิจรีสอร์ต สนามกอล์ฟ คาสิโน รวมถึงธุรกิจย่อยๆ อีกหลายประเภท ทั้งก่อสร้าง สุขภาพและโรงพยาบาล บันเทิง สิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ ดูแลนางแบบ บริการสินเชื่อ อาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจการศึกษา การท่องเที่ยว สายการบิน และการประกวดนางงามด้วย

ความร่ำรวย และมูลค่าทรัพย์สิน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่มีผู้ถกเถียงกันมากที่สุดเกี่ยวกับตัวทรัมป์ ในปี 2005 เขาฟ้องร้อง Timothy O’Brien ผู้เขียนหนังสือ TrumpNation: The Art of Being the Donald ที่ระบุในหนังสือว่า เขามีมูลค่าทรัพย์สินรวม 150-250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เจ้าตัวเปิดเผยต่อศาลขณะขึ้นให้การในปี 2007 ว่า มูลค่าทรัพย์สินรวมของเขามีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับตลาด ทัศนคติ และความรู้สึก แม้กระทั่งความรู้สึกของเขาเอง

ในปี 2015 ฟอร์บส์ได้ประมาณการว่ามูลค่าทรัพย์สินของทรัมป์น่าจะอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดอันดับ 405 ของมหาเศรษฐีระดับโลก ขณะที่ตัวทรัมป์เองระบุว่า ถ้าจะประเมินจริงๆ ต้องรวมมูลค่าแบรนด์ตัวตนของเขาเข้าไปด้วย ซึ่งน่าจะอยู่ที่ราว 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ธุรกิจบันเทิงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของทรัมป์โด่งดังในระดับโลก เริ่มตั้งแต่การเป็นพิธีกรในรายการเรียลลิตี้ The Apprentice ทางช่อง NBC เปิดธุรกิจดูแลนางแบบที่ใช้ชื่อว่า Trump Model Management รวมทั้งยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การประกวดนางงามหลายเวที เช่น Miss Universe, Miss USA และ Miss Teen USA: Beauty Pageant

ด้านชีวิตสมรส ทรัมป์แต่งงานครั้งแรกในปี 1977 กับ Ivana Zelníčková นางแบบและตัวสำรองทีมชาติเช็ก ประเภทกีฬาสกี การแข่งขันโอลิมปิก ซึ่ง Ivana มีส่วนสำคัญในการบริหารธุรกิจ โดยได้รับตำแหน่งรองประธานฝ่ายการออกแบบของบริษัท ก่อนจะหย่าร้างกันในปี 1991 ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 3 คน คือ Donald Trump Jr., Ivanka และ Eric

ในปี 1993 ทรัมป์แต่งงานครั้งที่ 2 กับ Marla Maples นักแสดงสาว ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 1 คนคือ Tiffany ก่อนจะหย่าร้างกันในปี 1999

ล่าสุดในปี 2005 ทรัมป์แต่งงานครั้งที่ 3 กับนางแบบสัญชาติสโลวีเนีย Melania Knauss ซึ่งแขกในงานแต่งงานครั้งนั้นรวมถึง ฮิลลารี คลินตัน และอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ด้วย ทั้งคู่ให้กำเนิดลูกชาย 1 คน คือ Barron ในปี 2006

ทางการเมือง ถึงจะเป็นตัวแทนตัวเต็งจากฝั่งพรรครีพับลิกัน และขึ้นชื่อในเรื่องหัวอนุรักษ์นิยมแบบสุดโต่ง แต่ทรัมป์เคยสังกัดอยู่พรรคเดโมแครตในช่วงปี 2001-2008 ก่อนจะย้ายมาสมัครเข้าพรรครีพับลิกันอย่างเป็นทางการในปี 2009 และผันตัวมาเป็นนักการเมืองอิสระในปี 2011 กระทั่งกลับมาสังกัดพรรคเดิมอีกครั้ง เขาเคยถูกกลุ่มนักอนุรักษ์นิยมตั้งแง่ว่าไม่ใช่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมตัวจริง ก่อนการเริ่มต้นแคมเปญหาเสียงในปี 2016
เขายังเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานด้านการเมืองมาก่อน และไม่ได้รับการยอมรับจากสถาบัน Establishment (กลุ่มอำนาจทางการเมืองที่อยู่ในแวดวงมานาน) จากท่าทีและนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของเขา

ทรัมป์ยังประกาศลงทุนทุ่มงบประมาณหาเสียงเองประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญฯ แม้ว่าภายหลังจะมีสำนักข่าวหลายหัวออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นจริงก็ตาม

ทั้งนี้ ทรัมป์ต้องยกความดีความชอบส่วนหนึ่งให้กับทีมงานหาเสียงของตัวเองที่วางแผนและเดินเกมกันอย่างเข้มข้น อาทิ Steve Bannon หัวหน้าแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง (ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการหาเสียงมาก่อน), Kellyanne Conway ผู้จัดการด้านการหาเสียงเลือกตั้ง (อายุประสบการณ์ทางการเมือง 21 ปี) Hope Hicks ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารสาธารณะ (อายุประสบการณ์ทางการเมือง 4 ปี) Daniel Scavino ผู้อำนวยการฝ่ายโซเชียลมีเดีย และ Roger Stone ที่ปรึกษาอาวุโส (อายุประสบการณ์ทางการเมือง 44 ปี)








ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 โดยชนะฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ด้วยวัย 70 ปี ทรัมป์เป็นบุคคลอายุมากที่สุดและมีทรัพย์สินมากที่สุดที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เป็นบุคคลแรกที่ไม่เคยรับราชการทหารหรือข้าราชการมาก่อน และเป็นบุคคลที่สี่ที่ได้รับเลือกตั้งโดยไม่ได้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งข้างมากทั่วประเทศ

แนวนโยบายของทรัมป์เน้นการเจราความสัมพันธ์สหรัฐ–จีนและความตกลงการค้าเสรีใหม่ เช่น นาฟตาและความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก การบังคับใช้กฎหมายการเข้าเมืองอย่างแข็งขัน การสร้างกำแพงใหม่ตามชายแดนสหรัฐ–เม็กซิโก จุดยืนอื่นของเขาได้แก่การมุ่งอิสระทางพลังงานขณะที่ค้านข้อบังคับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่น เช่น แผนพลังงานสะอาดและความตกลงปารีส ปฏิรูปกิจการทหารผ่านศึก แทนที่รัฐบัญญัติการบริบาลที่เสียได้ (Affordable Care Act) การเลิกมาตรฐานการศึกษาคอมมอนคอร์ (Common Core) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การลดความยุ่งยากของประมวลรัษฎากร (ประมวลกฎหมายภาษี) ขณะที่ลดภาษีแก่ทุกคน และกำหนดภาษีนำเข้าต่อบริษัทที่จ้างงานนอกประเทศ ทรัมป์ส่งเสริมแนวนโยบายต่างประเทศที่ไม่แทรกแซงเสียส่วนใหญ่ ขณะที่เพิ่มรายจ่ายทางทหาร "การตรวจสอบภูมิหลังเต็มที่" ของคนเข้าเมืองมุสลิมเพื่อป้องกันการก่อการร้ายอิสลามในประเทศ และการปฏิบัติทางทหารอย่างก้าวร้าวต่อ ISIS นักวิชาการและนักวิจารณ์อธิบายจุดยืนของทรัมป์ว่าเป็นประชานิยม ลัทธิคุ้มครองและชาตินิยม




ที่มา http://themomentum.co/momentum-follow-up-about-donald-trump
       https://th.wikipedia.org

10 อาชีพที่มีรายได้สูงสุดในญี่ปุ่น กับ มุมมองเรื่อง “งาน” ในสายตาคนญี่ปุ่น

ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
Tokyo University of Foreign Studies

เหลืออีกไม่กี่วัน สังคมญี่ปุ่นก็จะได้ต้อนรับ “ผู้ใหญ่มือใหม่” เมื่อนักเรียนนักศึกษาเรียนจบอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนมีนาคมและเข้าสู่สังคมเต็มตัวตั้งแต่เดือนเมษายน กลายเป็น “ชะไกจิง” (社会人;shakaijin) หรือ “คนทำงาน” ที่จะต้องจ่ายภาษี โดยส่วนใหญ่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์เงินเดือนผู้มีรายรับเฉลี่ยต่อปีประมาณ 4 ล้านเยนเศษ และด้วยบรรยากาศแบบนี้ “ญี่ปุ่นมุมลึก” ขอชี้ชวนมาดูเรื่องราวว่าด้วยการงานของคนญี่ปุ่นกันอีกครั้ง คราวนี้ว่ากันเรื่องเหตุแห่งการหางานให้ได้ก่อนเรียนจบ กับอันดับรายได้ในอาชีพ



ขณะที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่รีบเรียนให้จบและออกไปทำงานประจำ คนส่วนน้อยที่เลือกอาชีพอย่างเช่นทนายความหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย (ในปัจจุบันก็ไม่ใช่ว่าจะเลือกได้ เพราะมีตำแหน่งว่างน้อยมาก) ก็จะต้องยอมเสี่ยงเรียนหนังสือไปเรื่อยๆ ในกรณีของทนายความก็จนกว่าจะสอบผ่าน ได้ใบรับรองคุณสมบัติ หรือในกรณีของอาจารย์ ก็จนกว่าจะจบปริญญาเอก แต่เมื่อจบแล้วก็ยังไม่แน่ว่าจะมีงานทำตามนั้น

ถามว่าระหว่างที่เรียนเพื่อไต่ระดับไปจนบรรลุเป้าหมายนั้น จะเอาอะไรกิน? พ่อแม่ญี่ปุ่นมักจะส่งเสียให้ลูกเรียนจนจบแค่ปริญญาตรีเท่านั้น ดังนั้น เพื่อรับมือกับความไม่มั่นคงในชีวิตช่วงที่สูงกว่าปริญญาตรีแต่ยังไม่มีงานทำ คนเรียนต้องหาเงินเอง อาจจะขอทุน หรือทำงานหารายได้พิเศษเพื่อส่งเสียตัวเอง นั่นหมายถึงความกล้าหาญพอสมควรในการทำอะไรที่แตกต่างจากคนญี่ปุ่นทั่วไป ซึ่งมักจะหวั่นเกรงความไร้หลักประกันและพยายามปิดช่องนั้น

10 อาชีพที่มีรายได้สูงสุดในญี่ปุ่น กับ มุมมองเรื่อง “งาน” ในสายตาคนญี่ปุ่น

คนญี่ปุ่นมีลักษณะอย่างหนึ่ง คือ ไม่สามารถทนต่อความไม่มั่นคงได้นาน รวมทั้งเรื่องงานด้วย งานคือกระจกสะท้อนความกลัวของคนญี่ปุ่นที่มีต่อความไม่มั่นคงในชีวิต ฟังดูอาจจะเหมือนเป็นเรื่องตื้นๆ อย่างที่คนไทยคิดกันทั่วไปว่าไม่มีงานก็ไม่มีเงิน แต่ในความเป็นจริง ลึกกว่านั้น และส่งผลต่อพฤติกรรมแทบทุกช่วงชีวิตของคนญี่ปุ่น (จนในที่สุดก็นำไปสู่วัฒนธรรมกลุ่ม) กล่าวคือ ด้วยความที่ทนความไม่มั่นคงไม่ค่อยได้ คนญี่ปุ่นจึงนำระบบเข้าไปใส่ในแทบจะทุกเรื่องเพื่อให้สิ่งต่างๆ มีขั้นตอนที่เป็นรูปธรรม จะได้ยึดเหนี่ยวได้ง่ายขึ้น

เมื่อเด็กมัธยมปลายเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็จะเคว้งคว้างหวั่นใจว่าจะไม่มีอะไรทำ เกิดความไม่มั่นคงทางใจ จึงต้องเข้าชมรม ซึ่งก็กลายเป็นระบบรุ่นพี่รุ่นน้องในสถาบันการศึกษา นักศึกษาญี่ปุ่นกว่าครึ่งมีกิจกรรมชมรม หากใครไม่ได้ทำกิจกรรม จริงๆ แล้วก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่เจ้าตัวจะรู้สึกไปเองว่าไม่มีพวก ซึ่งต่างกับของไทยโดยสิ้นเชิง เพราะในกรณีนักศึกษาไทย คนที่ทำกิจกรรมชมรมคือคนส่วนน้อย แต่คนญี่ปุ่นคิดว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ตัวเองจะต้องมีสังกัด

เมื่อถึงเวลาที่จะต้องออกไปหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง ความคิดเรื่องการหลีกหนีความไม่มั่นคงก็ส่งผลอีก คนญี่ปุ่นจึงสร้างระบบการหางานให้ได้ก่อนเรียนจบ ซึ่งก็ดีต่อบริษัทด้วย เพราะต่างฝ่ายต่างก็ตัดความกังวลเรื่องความฉุกละหุกออกไปได้ และรู้ล่วงหน้าว่าใครจะเข้ามารับช่วงทำงานต่อไป บริษัททั่วญี่ปุ่นก็พร้อมใจกันสนองจุดนี้ ด้วยการเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ตั้งแต่นักศึกษายังเรียนไม่จบ และสัญญากันว่า ถ้าจบเมื่อไรก็มาทำงานที่บริษัทนี้ได้ ช่วงเวลาการหางานของนักศึกษาญี่ปุ่นคือ เมื่อเรียนจบชั้นปี 3 คาบเกี่ยวไปจนจบเทอมแรกของปี 4



นักศึกษาบางคนที่หางานไม่ได้ก่อนจะจบปี 4 ก็จะยอมเรียนซ้ำชั้นเป็นปีที่ 5 เพื่อจะได้หางานอีกเมื่อถึงฤดูกาล น้อยคนมากที่จะยอมจบโดยไม่มีงานใดๆ รองรับไว้ก่อน ซึ่งก็เป็นจุดที่ต่างจากคนไทย เพราะคนไทยส่วนใหญ่จะรอให้เรียนจบบริบูรณ์แล้วค่อยหางาน และนักศึกษาจบใหม่ของไทยยอมอยู่ว่างๆ หลายเดือน โดยไม่จำเป็นต้องมีสังกัดก็ได้ และไม่รู้สึกว่าจะต้องมีอะไรมารองรับชีวิต

เมื่อเข้าทำงานแล้ว ทัศนคติของคนญี่ปุ่นเรื่องการทุ่มเทให้แก่งานก็อธิบายได้ด้วยความกลัวที่มีต่อความไม่มั่นคง คนญี่ปุ่นคิดเสมอว่าจะต้องมีที่ยึดเหนี่ยว ต้องเข้ากลุ่ม ต้องหาที่เกาะไว้ ต้องมีสังกัด หาไม่แล้วจะขาดความเชื่อมั่น สิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรมกลุ่ม ลองให้คนญี่ปุ่นแนะนำตัวดูเถิด คนคนนั้นจะบอกชื่อของตนและทุกครั้งก็จะพ่วงสังกัดเข้าไปด้วยว่าเป็นใครทำงานอยู่ที่ไหน ด้วยนัยนี้ ‘กลุ่ม’ หรือบริษัทคือสิ่งที่สนองตอบความต้องการของพนักงานไม่ใช่แค่เรื่องค่าจ้างเท่านั้น แต่ยังเติมเต็มความต้องการทางใจให้ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือให้ที่พักพิง ทำให้เกิดความมั่นคงทางใจ ฉะนั้นเมื่อทุ่มเททำงานให้บริษัท ก็หมายความว่ากำลังสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่ตัวเองด้วย

ในทางตรงกันข้าม สำหรับคนไทย บริษัทกับพนักงานไม่ได้หลอมรวมเป็นสิ่งเดียวกัน และคนไทยมักเปลี่ยนงานบ่อยเพื่อไขว่คว้าเงินเดือนที่สูงขึ้น โดยไม่ได้รู้สึกว่าการย้ายที่ทำงานจะทำให้สูญเสียกลุ่มเดิม และการสร้างกลุ่มใหม่ในที่ทำงานใหม่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับคนไทย หรือบางคนยอมออกจากงานโดยที่ยังไม่ได้หางานใหม่เพียงเพราะเบื่อเจ้านาย สิ่งเหล่านี้ก็คงบอกได้ว่า คนไทยกลัวความไม่มั่นคงน้อยกว่าคนญี่ปุ่น ซึ่งจะเรียกว่าเป็น ‘คุณ’ สมบัติของคนไทยก็คงได้

รายได้ในอาชีพ

การเลือกอาชีพนั้นสำคัญต่อความเป็นอยู่แน่นอน และใครๆ ก็อยากทำอาชีพที่มีรายได้ดี แต่บางทีการตัดสินใจเลือกเส้นทางเหล่านั้น นอกจากจะต้องมีสติปัญญาพอสมควรแล้ว ก็จะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานอีกข้อหนึ่งคือ ต้องอดทนต่อความไม่มั่นคงในชีวิตได้นาน เพราะหลักประกันที่จะทำให้ได้มาซึ่งอาชีพบางอาชีพนั้นไม่มี เข้าข่ายอาชีพในฝัน แต่บางทีเป็นแค่ฝันเฟื่อง หรือฝันไว้ไกลแต่ไปไม่ถึง เพราะเงื่อนไขทางสังคมบีบคั้น

10 อาชีพที่มีรายได้สูงสุดในญี่ปุ่น กับ มุมมองเรื่อง “งาน” ในสายตาคนญี่ปุ่น

พอเอ่ยถึงอาชีพ คนก็มักจะนึกถึงรายได้ และเมื่อมองถึงรายได้ ถ้าเป็นสังคมไทยก็มักจะส่งเสริม (เชิงกดดัน) ลูกหลานว่าต้องเรียนโน่นสินี่สิ โดยเฉพาะในยุคที่ไทยเร่งพัฒนาอย่างเต็มที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงเป็นคณะยอดฮิต เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดและได้เงินเดือนมากกว่าหลายๆ สาขา

ในกรณีคนญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นเช่นนั้น การกดดันลูกหลานให้เลือกเรียนสิ่งที่จะนำไปสู่อาชีพที่มีรายได้สูงนั้นคงมีบ้าง แต่ก็น้อย พ่อแม่ญี่ปุ่นจะไม่ค่อยบังคับลูกว่าต้องเรียนอะไร แต่จะออกไปในแนวกดดันเรื่องสถาบันมากกว่า เพราะชื่อสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยคือใบเบิกทางสำคัญในสังคมญี่ปุ่น ส่วนการเรียนสายวิทยาศาสตร์นั้นก็ไม่ได้รับประกันว่าจะทำเงินได้มากกว่าสายสังคมศาสตร์เสมอไป ดังจะเห็นได้จาก 10 อันดับอาชีพที่มีรายได้สูงสุด ซึ่งสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่นเมื่อกลางปี 2558

หากไม่นับอาชีพเฉพาะบุคคลซึ่งมีความจำกัดมากๆ อย่างเช่น นายกรัฐมนตรี (รายได้ปีละ 36.7 ล้านเยน) หรือนักกีฬาดาวเด่น หรือกรรมการผู้จัดการบริษัท หรือนักการเมือง ซึ่งอาจไม่ใช่อาชีพประจำ สิบอันดับอาชีพที่มีรายได้สูงของคนญี่ปุ่น มีดังนี้ (คิดเป็นเงินบาทคร่าวๆ ได้ด้วยการหาร 3 ส่วนตัวเลขในวงเล็บคืออายุเฉลี่ยของคนในอาชีพนั้น)

1) นักบิน 15.3 ล้านเยน (44 ปี)

2) แพทย์ 10.98 ล้านเยน (40 ปี)

3) ทนายความ 10.95 ล้านเยน (35.6 ปี)

4) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย 10.86 ล้านเยน (57.5 ปี)

5) รองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย 8.57 ล้านเยน (47 ปี)

6) นักข่าว 8.23 ล้านเยน (38.8 ปี)

7) อาจารย์มหาวิทยาลัย (ผศ.) 7.39 ล้านเยน (43.7 ปี

8) ผู้ตรวจสอบบัญชี 7.17 ล้านเยน (40.7 ปี)

9) ผู้ตรวจรับรองการเสียภาษี (Certified Public Tax Accountant) 7.17 ล้านเยน (40.7 ปี)

10) ผู้ประเมินอสังหาริมทรัพย์ 7.11 ล้านเยน (46.7 ปี)

จากสิบอันดับแรก จะเห็นได้ว่าอาชีพทางสายสังคมศาสตร์ก็สร้างรายได้สูงเช่นกัน และเอาเข้าจริง การแบ่งสายวิทย์สายศิลป์ก็ไม่ได้มีผลไปเสียหมด เพราะหลายๆ อาชีพเป็นสิ่งที่อิงกับการสอบให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติพิเศษโดยไม่จำกัดความถนัดวิทย์ศิลป์ อย่างเช่น ทนายความ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจรับรองการเสียภาษี ผู้ประเมินอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งล้วนแต่มีรายได้สูง เหตุผลหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นคือ กว่าจะได้มาซึ่งคุณสมบัตินั้นยากมาก และในขณะที่คนอื่นอาจจะเริ่มอาชีพได้ตั้งแต่อายุ 20 ต้นๆ แต่คนที่มุ่งมั่นจะประกอบอาชีพเหล่านี้ กว่าจะเรียนจบและสอบผ่านจนได้เริ่มอาชีพจริงจัง ก็เมื่ออายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ อาชีพที่เกี่ยวกับสถาบันการศึกษามีรายได้อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยทุกตำแหน่ง (ประจำ) จะเรียกว่านี่เป็นแนวโน้มของประเทศพัฒนาแล้วก็คงได้ เพราะในสหรัฐอเมริกาก็มีแนวโน้มคล้ายกัน นอกจากนี้ อาจารย์ระดับมัธยมของญี่ปุ่นก็ไม่ใช่ว่ามีรายได้น้อย ปีหนึ่งๆ ได้ 6.7 ล้านเยน (42.8 ปี) และอยู่ในอันดับที่ 12 ซึ่งสูงกว่าทันตแพทย์ 6.53 ล้านเยน (38.2 ปี) ในอันดับที่ 14

สำหรับประเทศไทย อาชีพอาจารย์เป็นอย่างไร? ก็เป็นที่ถกเถียงกันมานานทั้งในด้านคุณภาพการสอนและคุณภาพชีวิตของคนสอนเอง เราถึงได้มีครูอาจารย์ที่ต้องออกไปหารายได้พิเศษนอกสถาบันการศึกษาหลักจนบางทีรายได้จากข้างนอกสูงกว่ารายได้ประจำ แต่ของญี่ปุ่น เรื่องแบบนี้ไม่เป็นประเด็นขึ้นมา เพราะ 1) งานสอนประจำยุ่งอยู่แล้ว 2) เงินเดือนที่ได้รับสมน้ำสมเนื้อกับงานที่ทำ และ 3) ต้นสังกัดมีกฎห้ามทำงานนอก

ใครจะเลือกเส้นทางอาชีพใดคงขึ้นอยู่กับว่าจะอดทนต่อความไม่มั่นคงในชีวิตในรูปแบบไหน บางคนช่วงแรกยอมหวั่นไหว แต่สบายช่วงหลังเพราะรายได้สูง แต่บางคนเลือกที่จะปิดช่องความหวั่นใจเสียตั้งแต่เนิ่นๆ และดำเนินชีวิตด้วยรายได้กลางๆ ไปตลอด ก็แล้วแต่จริตของแต่ละคน แต่ที่แน่ๆ สำหรับผู้ใหญ่มือใหม่ คือ ในปีแรกที่ทำงานมีเงินเดือนเป็นของตัวเอง จะตื่นเต้นยิ้มร่า รู้สึกว่าเป็นอิสระจากพ่อแม่ และเหลือเงินถึงมือเยอะดี เพราะถูกหักแค่ภาษีเงินได้ แต่พอขึ้นปีถัดไปเท่านั้นแหละ อาจจะหน้าซีดตัวสั่น เพราะนอกจากภาษีเงินได้ ก็ยังต้องจ่ายภาษีท้องที่อีกด้วยซึ่งแพงมาก โดยคำนวณจากรายรับของปีก่อนหน้า และเมื่อนั้น คนหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นก็จะเริ่มรู้ว่าไม่มีชีวิตช่วงไหนสบายเท่าวัยเรียนอีกแล้ว

ที่มา http://manager.co.th/asp-bin/viewgallery.aspx?newsid=9600000028138&imageid=4472789

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Internet of Things (IoT)

แนวคิด Internet of Things

แนวนิด Internet of Things นั้นถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 ซึ่งเขาเริ่มต้นโครงการ Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID ที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับ RFID Sensors ต่างๆที่จะเชื่อมต่อกันได้ ต่อมาในยุคหลังปี 2000 โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ smart device, smart grid, smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่างๆเหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกันโดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart devices ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วยโดย Kevin นิยามมันไว้ตอนนั้นว่าเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสื่อสารพูดคุยกันเองได้ ซึ่งศัพท์คำว่า “Things” ก็แทนอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้นั่นเอง



Kevin Ashton ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นบิดาของ Internet of Things


A wireless sensor network (WSN)
ตัวแปลสำคัญสำหรับ Internet of Things ที่ใช้ในการสื่อสารนั้นไม่เพียงแต่ Internet network เพียงเท่านั้นแต่ยังมีตัวแปลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกนั่นคือ Sensor node ต่างๆจำนวนมากที่ทำให้เกิด wireless sensor network (WSN) ให้กับอุปกรณ์ต่างๆสามารถเชื่อมต่อเข้ามาได้ ซึ่งเจ้า WSNs นี่เองสามารถตรวจจับปรากฏการณ์ต่างๆ (physical phenomena) ในเครือข่ายได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แสง อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อส่งค่าไปยังอุปกรณ์ในระบบให้ทำงานหรือสั่งงานอื่นๆต่อไป





ภาพอธิบาย Wireless Sensor Network โดย purelink.ca


Access Technology

การพัฒนา Internet of Things นั้นนอกจากจะพัฒนาเทคโนโลยีในฝั่ง Hardware ได้แก่ processors, radios และ sensors ซึ่งจะถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า a single chip หรือ system on a chip (SoC) แล้วก็ยังพัฒนา WSN ไปพร้อมๆกันด้วย และเมื่อพูดถึงการเชื่อมต่อปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อสำหรับ Internet of Things หรือ Access technology มีอยู่ 3 ตัวได้แก่

  1. Bluetooth 4.0
  2. IEEE 802.15.4e
  3. WLAN IEEE 802.11™ (Wi-Fi)


โดยในแต่ละ Access technologies นั้นมีการส่งข้อมูลที่แตกต่างกันดังนี้


                                          IEEE 802.15.4e             Bluetooth             WLAN IEEE 802.11

Frequency                   868/915 MHz,2.4 GHz       2.4 GHz                 2.4, 5.8 Ghz

Data rate                           250 Kbps                        723 Kbps             11 – 105 Mbps

Power                                Very low                          Low                        High


Gateway Sensor Nodes

เมื่อมีโครงข่าย Sensor nodes แล้วก็จำเป็นจะต้องมี Gateway Sensor Nodes เพื่อจะเชื่อมต่อไปยังโลกอินเตอร์เน็ตด้วย โดยตัว Gateway นี้จะทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่าย Internet ให้อุปกรณ์ทั้งหมดในโครงข่าย Sensor nodes ทั้งหมดส่งข้อมูลเข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้นั่นเอง และเจ้า Gateway ที่ว่านี้ก็จะอยู่ภายใต้ Local network ซึ่งจะมีการกำหนดกันต่อไปว่า Gateway ภายใต้ Local network ที่ว่านั้นจะให้เชื่อมต่อไปยัง Internet ได้ด้วยหรือไม่ถ้าไม่ได้อุปกรณ์ที่เชื่อมเข้ามาใน Gateway ก็อาจจะสื่อสารกันได้เฉพาะภายใน Local network เองได้เท่านั้น
ภาพแสดง WSN Nodes 


ภาพ Diagram อธิบายการเชื่อมต่อ Gateway หลายๆตัวเข้ากับ local network


แบ่งกลุ่ม Internet of Things

ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่

Industrial IoT คือแบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต

Commercial IoT คือแบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเตอร์เน็ต



ภาพอธิบายแต่ละ Network Layers ของ Internet of Things โดย IBM

IPv6 คือส่วนสำคัญของ Internet of Thingsตัวอุปกรณ์ IoT devices ต่างๆนั้นจะเป็นจะต้องมีหมายเลขระบุเพื่อให้ใช้ในการสื่อสารเปลี่ยนเสมือนที่อยู่บ้านของเรานั่นเอง และการที่จะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก(รวมถึงอนาคตที่จะผลิตกันออกมา) จำเป็นจะต้องใช้ IP Address vesion 6 หรือ IPv6 มากำกับเพื่อให้ได้หมายเลขที่ไม่ซ้ำกันและต้องใช้ได้ทั้ง

  • IoT network ที่เป็น LAN, PAN, และ BAN: Body Area Network หรือการสื่อสารของตัว Sensor กับร่างกายมนุษย์
  • Internet network (protocols) ที่เป็น IP, UDP, TCP, SSL, HTTP, HTTPS, และอื่นๆ


และที่กล่าวมาทั้งหมดคือส่วนสำคัญต่างๆของ Internet of Things ที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้ 

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายคนเข้าใจภาพของ IoT ได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือศัพท์คำนี้จึงไม่ได้หมายถึง Smart device อย่าง นาฬิกาอัจฉริยะ อย่าง Apple Watch หรือสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพเท่านั้น แต่มันยังครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆอีกหลากหลายล้านตัวกว้างไกลไปยังหลากหลายอุตสาหกรรมอีกด้วย โดยในอนาคตคุณจะได้เห็น ไมโครเวฟคุยกับตู้เย็นให้สั่งอาหารมาเติม เครื่องซักผ้าคุยกับทีวีบอกคุณว่าผ้าซักเสร็จแล้ว สายรัดข้อมือจะคุยกับรถพยาบาลแจ้งให้ไปรับตัวผู้ป่วยที่กำลังหัวใจวาย เหล่านี้คืออนาคตของ Internet of Things ที่สิ่งต่างๆกำลังจะคุยกันได้

ที่มา http://www.veedvil.com/news/internet-of-things-iot/

Disruptive Technologies


สมัยก่อนเชื่อกันว่า มีเพียงความเชื่อ ความศรัทธา ค่านิยม และศาสนาเท่านั้น ที่ทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนแปลงได้ เพิ่งมา 200 กว่าปีหลังนี้ที่มนุษย์ตระหนักว่าเทคโนโลยีนี่แหละคือตัวการสำคัญที่ทำให้ชีวิตไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 40 กว่าปีหลังนี้ที่เทคโนโลยีทำให้โลกเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ชนิดสังคมใดที่ตามการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก็มีโอกาสถูกทิ้งไปไม่เห็นฝุ่น

ที่จริงมนุษย์ในโลกตะวันตกเริ่มเห็นแล้วว่าเครื่องมือตีพิมพ์ข้อความได้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1439 โดย Johannes Gutenberg ซึ่งสิ่งนี้มีผลกระทบต่อความเชื่อของคนเป็นอย่างมาก ศาสนาคริสต์สามารถเผยแพร่คำสอนผ่านการพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลทำให้ศาสนาคริสต์กระจายไปทั่วโลกได้ก็เพราะเทคโนโลยีนี่แหละ

มีการกล่าวกันว่า สาเหตุหนึ่งที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย คือ นอร์เวย์ สวีเดน และ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นลูกหลานไวกิ้ง สามารถไล่ทันอังกฤษซึ่งมีอารยธรรมก่อนหน้าได้ก็เพราะการแพร่ของศาสนาคริสต์ไปในบริเวณนี้เมื่อประมาณ ค.ศ. 1100 ซึ่งพระบังคับให้ทุกคนต้องอ่านหนังสือให้ออก หากพระไปตรวจสอบและพบว่าใครอ่านหนังสือไม่ออกก็จะถูกประจาน เอามานั่งกันไว้เป็นพิเศษแถวหน้าในโบสถ์ และทำพิธีให้ไม่ได้ เช่น แต่งงาน ดังนั้นทุกครอบครัวจึงต้องบีบบังคับ ดูแล ให้ลูกหลานอ่านหนังสือออก ซึ่งเป็นหัวใจไปสู่การมีคุณภาพชีวิตระดับโลกในเวลาต่อมา

นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 ในปี 1969 ที่เทคโนโลยี IT เริ่มเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลง วิธีการดำรงชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป วิวัฒนาการของเทคโนโลยีก็ไปไม่หยุด จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในปัจจุบันที่มีการผสมผสานของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยมี IT คอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ เป็นแกนนำ ปัจจุบันมีคำเรียกบรรดาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า disruptive technologies

disrupt หมายถึง ขัด ขวาง กีดขวาง หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงให้เปลี่ยนไปจากสภาวะที่ดำรงอยู่ การเรียกเทคโนโลยีใหม่ๆ ว่า disruptive technologies มิได้ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพียงแต่เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นอยู่ ประการสำคัญก็คือกระทบต่อการทำมาหากิน ธุรกิจ การดำเนินชีวิตของผู้คน ฯลฯ

ในตอนแรกใน ค.ศ. 1995 นิยมเรียกกันว่า disruptive innovation ซึ่งเน้นไปที่นวัตกรรมที่มีลักษณะขัดขวางดังกล่าว ตัวอย่างที่พูดกันก็คือรถยนต์ Ford Model T ออกสู่ตลาดใน ค.ศ. 1908 ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากจนทดแทนรถม้าไปหมดในสหรัฐอเมริกา และต่อมาในยุโรป

ที่จริงรถยนต์เกิดก่อนรถ Ford รุ่นนี้ 30 ปี แต่ไม่เป็น disruptive innovation เพราะราคาแพง มีคนใช้ไม่กี่คัน มีการพัฒนาเป็นลำดับแต่ไม่สามารถทดแทนรถม้าได้ แต่เมื่อ Ford Model T ออกมาในราคาถูกเพราะผลิตเป็นกอบเป็นกำและใช้งานได้ดี รถม้าก็หายไปเพราะนวัตกรรมนี้ มันจึงเป็น disruptive innovation อย่างแท้จริง

การปรากฏตัวของ Wikipedia ในโลกไซเบอร์ก็เป็น disruptive innovation เพราะไปทดแทนเอ็นไซโคลพีเดียชุดที่เป็นหนังสือและที่เป็นดิจิทัลอยู่ในไซเบอร์ซึ่งทั้งหมดต้องซื้อ เพราะ Wikipedia ฟรี และสะดวกต่อการใช้

ในเวลาต่อมา Clayton M. Christensen เจ้าพ่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (ขายหนังสือสุดฮิต Innovator’s Dilemma, 1997) จุดประกายเรื่อง disruptive technologies โดยกล่าวว่า ประการแรกของเทคโนโลยี คือ sustaining technology ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยละน้อยและ disruptive technology ซึ่งเป็นพายุลูกใหม่ ในตอนแรกอาจยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ disruptive technology

ลองมาดูกันว่า disruptive technology ตามที่ McKinsey Global Institute ประมวลไว้ 12 อย่างมีอะไรบ้าง

(1) Mobile internet เครื่องมือใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงทั่วโลกที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น laptop/smartphones ทำอะไรได้มากมาย เช่น สามารถตรวจโรคระยะไกล (เจาะเลือดและให้เครื่องมือติดตั้งกับ smartphones ตรวจน้ำตาลในเลือด) หรือ mobile banking ซึ่งเป็นการทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ฯลฯ

(2) Automation of knowledge work ขณะนี้ IBM ประดิษฐ์เครื่องมือชื่อว่า Watson ซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคจากข้อมูลและอาการ ร่างคำฟ้อง และแนะนำเรื่องกฎหมาย สร้างซอฟต์แวร์ที่ “ฉลาด” คิดวิเคราะห์ได้จากข้อมูลที่ใส่เข้าไป

(3) Internet of Things (IOT) ให้ IP address แก่สารพัดสิ่ง ไม่ว่าตัวสินค้า เม็ดยา ชิ้นวัสดุ โดยฝังเซ็นเซอร์ขนาดเล็กจนถึงเล็กที่สุดเพื่อส่งข้อมูลสื่อสาร ซึ่งสามารถเอาไปใช้งานได้ เช่น คุณภาพของดิน รู้จากเซ็นเซอร์ที่โรยไว้ในดิน ก็จะรู้ว่าควรปลูกอะไร ใส่เซ็นเซอร์ในเม็ดยาเพื่อให้ปล่อยสารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ฯลฯ

(4) Advanced robotics หุ่นยนต์ผ่าตัดเพื่อให้คนไข้ถูกกระทบน้อยที่สุด และผ่าตัดอย่างแม่นยำ (da Vinci เป็นชื่อที่รู้จักกันดี) หรือใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงไฟฟ้าปรมาณู

(5) Cloud technology เทคโนโลยีเก็บข้อมูลและซอฟต์แวร์รวมเพื่อใช้งาน ซึ่งช่วยทำให้ธุรกิจขนาดเล็กแข่งขันกับขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องลงทุนด้านคอมพิวเตอร์สูง

(6) Autonomous vehicles ได้แก่ drones ใช้เป็นอาวุธทำลายล้าง ไว้ถ่ายรูป สำรวจผลผลิตเกษตรหรือป่าหรือแหล่งน้ำ ฯลฯ ตลอดจนรถยนต์ไร้คนขับซึ่งเริ่มมีออกมาใช้บ้างแล้วในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

(7) Next-generation genomics เทคโนโลยีปรับปรุงพัฒนายีนเพื่อรักษาโรค ตลอดจนพัฒนาพันธุ์สัตว์ พืช ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

(8) Next-generation storage เทคโนโลยีเก็บไฟฟ้าและพลังงาน เช่น แบตเตอรี่ ลิเทียม-ไอออน ที่มีประสิทธิภาพสูง สร้าง fuel cells เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์ ตลอดจนนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริด

(9) 3D printing การพิมพ์ระบบ 3 มิติ ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดต่ำลง เช่น การพิมพ์สินค้าออกมาเป็นชิ้นที่จับต้องได้ทำให้เลือกแบบที่ต้องการได้ในราคาถูก นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในด้านทันตกรรมและการแพทย์อีกด้วย

(10) Advanced materials การผลิตวัสดุใหม่ๆ เช่น วัสดุที่ทำความสะอาดตัวเอง กลับสู่สภาพเดิมเสมอ แข็งแรงและเบาเป็นพิเศษ หรือเป็นสารตัวนำไฟฟ้า กำลังก้าวหน้าไปไกลทุกขณะ

(11) Advanced oil and gas exploration and recovery เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นในการบุกเบิกขุดค้นหาน้ำมันและก๊าซ ทำให้ได้น้ำมันและก๊าซเพิ่มมากขึ้น

(12) Renewable electricity เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ ที่ไม่มีวันหมด เช่น ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงแดด ลม คลื่น น้ำพุร้อน ฯลฯ อย่างมีประสิทธิภาพ มีตัวเลขว่าก่อนปี 2050 มีความเป็นไปได้สูงที่แหล่งผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลกจะเป็นดวงอาทิตย์

เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่หยุดนิ่ง มีความก้าวหน้าตลอดเวลา การที่มันจะเป็น disruptive technologies หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้ถูกกระทบปรับตัวได้ดีเพียงไร สิ่งสำคัญที่จะช่วยก็คือการมีทัศนคติที่เป็นบวกว่ามันคือโอกาส ไม่ใช่สิ่งที่จะมาทำลาย และพร้อมที่จะนำมันมาปรับใช้

ที่มา: ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “อาหารสมอง” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่อังคาร 22 พ.ย. 2559

กรุงศรีอยุธยา 1 ในเมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์





งามตระการตา.. มุมหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กรุงเก่ายามราตรี สะท้อนอดีตอันรุ่งโรจน์ยาวนานกว่า 400 ปี ของราชธานีแห่งอาณาจักรสยาม การศึกษาค้นคว้าของนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในช่วง 15-20 ที่ผ่านมาได้พบข้อมูลว่าเมื่อ 3 ศตวรรษก่อน กรุงศรีอยุธยามีประชากรถึง 1 ล้านคน เป็นทั้งอู่ข้าวอู่น้ำ ศูนย์กลางศิลปะวิทยาการและการค้าขายกับแว่นแคว้นต่างๆ การเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตกเริ่มขึ้นในยุคนี้ แต่.. "อูเดีย" ที่ชาวฝรั่งเศสเรียกขานย่อยยับลงในปี พ.ศ.2310 ด้วยมือของอาณาจักรใหม่ที่เข้มแข็งกว่า .. และอยู่ใกล้ๆ กัน. -- ภาพ: Tour.Co.Th



ในช่วงหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์โลก กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นนครใหญ่อันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่มีแห่งอื่นใดสามารถเปรียบเทียบได้ ที่นี่เป็นแหล่งแห่งความเจริญรุ่งเรืองสุดขีด เป็นแหล่งค้าขายระหว่างประเทศ เป็นแหล่งวิวัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมอันหลากหลาย เป็นอู่อารยธรรมอีกแห่งหนึ่งในซีกโลกตะวันออก 

เทอร์เทียส แชนดเลอร์ (Tertius Chandler, 2458-2543) นักประวัติศาสตร์อิสระที่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์โลกแนวก้าวหน้า ได้เคยศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณจากแหล่งต่างๆ เอาไว้ในหนังสือ Four Thousand Years of Urban Growth อันมีชื่อเสียงของเขา หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 2530

ศ.จอร์จ โมเดลสกี (George Modelski) แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้ศึกษาเรื่องนี้มานาน และเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในหนังสือ World City -3000 to 2000 ซึ่งเป็นเรื่องราวการวิวัฒน์ของเมืองต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลา 5,000 ปี คือ จากช่วงก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี จนถึง ปี ค.ศ.2000

แต่ยังไม่เคยมีครั้งไหนที่มีการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งชื่อ “อยุธยา” ได้ปรากฏในทำเนียบ 16 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษย์ และเรื่องนี้ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้

นั่นคือการศึกษาเปรียบเทียบแบบเดียวกันกับมหานครนิวยอร์กในศตวรรษที่ 20 กรุงลอนดอนในทศวรรษที่ 1900 และย้อนหลังไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบุล) เมื่อก่อนคริสต์ศักราช 600 ปี หรือเมืองเจริโค (Jericho) เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล

ทั้งหมดเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยที่นำมนุษย์เข้าสู่อีกยุคหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม หรือการค้า แต่ละเมืองล้วนสิ้นสุดยุคแห่งความยิ่งใหญ่ต่างกันไป บางแห่งถูกเมืองอื่นๆ ร่วมยุคเดียวกันแซงหน้าในด้านความใหญ่โต และจำนวนประชากร และบางแห่งสิ้นสุดลงเพราะถูกทำลาย...

ภายใต้การศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดแบบ “ถึงก้นครัว” ตั้งแต่เรื่องการผลิต และจ่ายแจกอาหารในหมู่ประชากร รวมทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตในอุบัติภัยร้ายแรงต่างๆ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ได้พบว่า กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ด้วยประชากรราว 1,000,000 คน

ช่วง 400 ปีของกรุงศรีอยุธยานั้น นักการทูตชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีด้วยได้เคยบันทึกเอาไว้ว่า เป็นเมืองที่สวยงาม .. แต่น่าเสียดายที่ถูกพม่าโจมตี และเผาทำลายราบในปี ค.ศ.1767 (พ.ศ.2310) และศูนย์กลางของราชอาณาจักรใหม่ได้ย้ายลงไปยังกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน.

ยุคทองแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา




ถึงแม้จะไม่มีปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย แต่นักการทูตตะวันตกที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาได้วาดแผนที่แบบเดียวกันนี้เอาไว้เป็นจำนวนมาก นักประวัติศาสตร์ในสหรัฐฯ ที่ศึกษาคนคว้าในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา พบว่าเมื่อประมาณ 3 ศตวรรษที่แล้วที่นี่มีประชากรถึง 1 ล้านคน และจัดให้เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุคสมัย อยู่ในลำดับที่ 13 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ 5,000 ปีของมวลมนุษย์.





ภาพวาดของชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อ 300 ปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและกิจกรรมในแม่น้ำเจ้าพระยา นักการทูตฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ว่า "อูเดีย" เป็นเมืองที่สวยงาม.. นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่พบว่า เมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามแห่งนี้เคยมีประชากรถึง 1,000,000 คน ใหญ่โตที่สุดในยุคสมัย.




รถม้าสะท้อนความเป็นตะวันตก ขบวนช้างบ่งบอกความเป็นตะวันออก กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นแหล่ง "ปะทะ" ระหว่างอารยธรรมตะวันตกกับตะวันออก หลายอาณาจักรมุ่งไปยังที่นั่นเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและประกอบการค้าขาย ในยุคที่อยุธยาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยจำนวนประชากรถึง 1,000,000 คน.





แผนที่ฝรั่งเศสปีพ.ศ.2229 แสดงอาณาเขตของอาณาจักรสยาม พุกาม เขมร ลาว โคชินจีนกับแคว้นตังเกี๋ย ทั้งหมดเป็นแว่นแคว้นในสายตาของชาวตะวันตกที่เดินทางเข้าสู่ภูมิภาคในยุคนี้ นั่นคือช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันเป็นยุคทองของ "อูเดีย" มีแผนที่แบบเดียวกันนี้อีกจำนวนมาก ที่สะท้อนความรุ่งโรจน์ของกรุงศรีอยุธยาในยุคหนึ่งซึ่งกลายเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งยุค.





ชาวตะวันตกซึ่งเป็นนักวาดเขียนสะท้อนชีวิตความเป็นไปกับความประทับใจเอาไว้มากมาย เมื่อได้ไปเยือนกรุงศรีอยุธยาใน 3-4 ศตวรรษก่อน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่ 2 กลุ่มได้ศึกษาและยกให้อยุธยาเป็นหนึ่งใน 16 เมืองใหญ่ของโลก เป็นแหล่งอารยธรรมตะวันออกที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5,000 ปีของมวลมนุษย์.





ภาพเขียนของชาวฝรั่งเศสเมื่อครั้งเจ้าพระยาโกษาปาน อัญเชิญพระราชสาสน์จากกรุงศรีอยุธยาไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซายส์ในกรุงปารีส เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างสองราชอาณาจักร ในยุคทองของ "อูเดีย" ที่มีประชากรถึง 1,000,000 คน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่ 2 กลุ่มศึกษาและได้ข้อมูลตรงกัน ในยุคสมัยหนึ่งอยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก.






ภาพเขียนของชาวฝรั่งเศส บอกเล่าเหตุการณ์ครั้งเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสนำพระราชสาสน์จากกรุงปารีสไปทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีภาพดีๆ เช่นนี้อีกจำนวนมาก ในขณะที่หลักฐานสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยถูกทำลายหรือสูญหายไปในเหตุการณ์ "เสียกรุง" แต่นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันในยุคใหม่ 2 กลุ่มทำการศึกษาและได้ข้อมูลตรงกันว่า กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุคหนึ่ง.



ภาพจากเว็บไซต์องค์การยูเนสโกที่ขึ้นทะเบียนกรุงเก่าเป็นมรดกโลกหลายปีก่อน เศียรพระพุทธรูปที่จมอยู่ในโคนต้นไทร สะท้อนการล่มสลายอันขมขื่นของกรุงศรีอยุธยาในปี 2310 ที่นี่เคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในยุคหนึ่ง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่แตกดับลงจากการศึก หลายแห่งล่มสลายไปกับภัยธรรมชาติ บางแห่งพังทลายลงเพราะไม่อาจผลิตอาหารให้พอเลี้ยงดูประชากรได้.


ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000008955

16 เมืองใหญ่ในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Jericho

1. เจริโค (Jericho) ใหญ่ที่สุดของโลกในยุค 7,000 ปีก่อนคริสตกาล พลเมือง 2,000 คน ตั้งอยู่ระหว่างทะเลแดงกับภูเขานีโบ (Mt Nebo) เป็นโอเอซิสใหญ่ที่สุด ใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน ในคัมภีร์ไบเบิลเก่าบันทึกเอาไว้ว่า เจริโคเป็น “เมืองแห่งต้นปาล์ม” อยู่กันต่อมาอีกหลายยุค และเสื่อมไปกับกาลเวลา

2. อูรุค (Uruk) ใหญ่ที่สุดในยุค 3,500 ปีก่อนคริสตกาล พลเมือง 4,000 คนเป็นเมืองหลวงของแคว้นกิลกาเมช (Gilgamesh) ในมหากาพย์ และเชื่อกันว่าคือเมืองเอเร็ค (Erech) ทีสร้างโดยกษัตริย์นิมรอด (King Nimrod) ในคัมภีร์ไบเบิล อยู่ใกล้แม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates River) ศูนย์กลางการเกษตรและการค้า สงครามในภูมิภาคที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2000 BC ยืดเยื้อข้ามศตวรรษ ต่อมา เมืองอูรุคถูกทิ้งให้ร้างไปในยุคก่อนที่ฝ่ายอิสลามเข้าครอบครอง

3. มาริ (Mari) เมืองหลวงแคว้นเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ในยุค 2000 BC ประชากร 50,000 ในยุคของกษัตริย์สุเมเรียน (Sumarite) หลายพระองค์ ก่อนเข้าสูยุคอาโมเรียน (Amorite) มีการสร้างพระราชวังขนาด 300 ห้อง ล่มสลายลงใน 1759 BC ถูกยึดรองโดยกษัตริย์ฮัมมูราบี (Hammurabi) แห่งบาบีลอน ในทศวรรษที่ 1930 นักโบราณคดีฝรั่งเศสค้นพบจารึกภาษาสุเมเรียน 25,000 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเมือง และเศรษฐกิจ จารึกนี้ทำให้คนรุ่นปัจจุบันรู้จักสภาพการณ์ในยุคนั้น

4. อูร์ (Ur) เป็นเมืองท่าสำคัญในอ่าวเปอร์เซียในยุค 2100 ก่อนคริสตกาล ประชากร 100,000 คน ค้าขายกับทั่วโลก ราว 500 BC ถูกทิ้งเป็นเมืองร้างเพราะภัยแล้งที่เกิดจากแม่น้ำที่เปลี่ยนทิศทางไหล แต่ยังเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมา การขุดค้นในทศวรรษ 1850 พบซากมนุษย์จำนวนมาก เป็น “เมืองแห่งคนตาย” (City of the Dead) หรือนีโครโพลิส (Necropolis)

5. หยินซู (Yinxu) รุ่งเรืองในช่วง 1300 BC ประชากร 120,000 คน เติบโตจากหมู่บ้านเล็กๆ ในอาณาจักรจีนโบราณ เป็นแหล่งที่ค้นพบจารึกบนกระดูกสัตว์ที่เรียกว่า ออราเคิลโบน (Oracle Bone) จำนวนมาก เขียนด้วยอักษรจีนโบราณ เมืองทรุดโทรมลง และถูกทอดทิ้งในสมัยราชวงศ์โจว (Zhou Dynasty)

6. บาบีลอน (Babylon) รุ่งเรืองสุดขีดในช่วง 700 BC พลเมือง 100,000 เป็นศูนย์กลางความร่ำรวยแห่งยุคสมัย กษัตริย์ทรงอำนาจ และอิทธิพล เป็นแหล่งของสวนลอยบาบีลอน กับหอคอยแห่งบาเบล (Tower of Babel) คัมภีร์ไบเบิลกล่าวเอาไว้ว่า ชาวบาบีลอนเชื่อมั่นในพระเจ้า และพยายามปีนป่ายไปสู่สวรรค์ ราว 538 BC กษัตริย์ไซรัส (Cyrus) แห่เปอร์เซียยาตราทัพทวนแม่น้ำยูเฟรติสเข้าตี ปล้นสะดมบาบีลอนจนแหลกคามือ

7. คาร์เถจ (Carthage) รุ่งเรืองโดดเด่นในปี 300 BC พลเมือง 100,000 ได้ชื่อเป็นเมืองยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ก่อนที่จะถูกกองทัพโรมันที่เหนือกว่าเข้าโจมตี และเผาจนวายวอด และทำลายทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อ 146 ปีก่อนคริสตกาล

8. โรม (Rome) ยิ่งใหญ่ที่สุดในปี ค.ศ.200 ประชากร 1,200,000 คน เลี้ยงดูชาวเมืองด้วยอาหารจากยุโรป และรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในรูปภาษี ชีวิตอันสุขสบายของชาวโรมันสะท้อนได้ดีมากในภาพยนตร์ เช่น แกลดิเอเตอร์ (Gladiator) ที่นำแสดงโดย รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) กับวาวควีน ฟีนิกซ์ (Joaquin Phoenix) แต่ปี ค.ศ.273 โรมเหลือประชากรอยู่ราว 500,000 เริ่มเข้าสู่ยุคมืด (Dark Age)

9. คอนสแตนนิโนเปิล (Constantinople) เจริญสุดขีดในปี ค.ศ.600 ประชากร 600,000 คน เป็นศูนย์กลางการค้าขาย อาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลในยุคของจักรพรรดิฟลาวีอุส เฮราคลีอุส ออกัสตัส (Flavius Heraclius Augustus) สงครามเปอร์เซียปี 618 ทำให้การส่งอาหาร และพืชผลการเกษตรจากอียิปต์หยุดชะงัก พลเมืองเริ่มอดอยาก และเหลือเพียงประมาณ 1 ใน 10 ของจำนวนเมื่อ 18 ปีก่อนหน้านั้น

10. แบกแดด (Bagdad) ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ.900 ประชากร 900,000 คน ได้ชื่อเป็นศูนย์กลางของยุคทองแห่งศาสนาอิสลาม เป็นศูนย์กลางของศิลปะ และวิทยาการหลายแขนงที่โลกอิสลามใช้มาจนถึงยุคปัจจุบัน แบกแดดเฟื่องฟูอยู่ 300 ปีเศษ ก่อนจะถูกกองทัพมองโกลรุกราน และถูกตีย่อยยับลงในปี 1250

11. ไคเฟิง (Kaifeng) เป็นเมืองใหญ่มากใน ค.ศ.1200 ประชากร 1,000,000 คน ตัวเมืองป้องกันแน่นหนาด้วยกำแพงถึง 3 ชั้น แต่ก็ไม่พ้นเงื้อมมือของมองโกลในการศึกที่ยืดเยื้อ 30 ปีเศษ และปี 1234 ไคเฟิงก็แตกพ่าย ราษฎรหลบหนีไปคนละทิศละทาง ที่นี่ยังมีชุมชนชาวยิวโบราณใหญ่โตที่สุดในจีนอีกด้วย

12. ปักกิ่ง โดดเด่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1500 ประชากร 1,00,000 คน ใหญ่โตที่สุดในยุค แต่แพ้ภัยตัวเองเพราะไม่สามารถเลี้ยงดูประชากรที่มากมายได้ ราษฎรบุกถางป่าตัดไม้ทำบ้านเรือนที่อาศัย และเผาถ่านเป็นเชื้อเพลิงจนโล่งเตียน ส่งผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมสะท้านสะเทือนไปทั่วภูมิภาค

13. กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวงอาณาจักรสยามโบราณอยู่กว่า 400 ปี แต่ขึ้นนำหน้าทุกเมืองในโลกในปี ค.ศ.1700 (พ.ศ.2243) ประชากร 1,000,0000 คน เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากสารพัดทิศ รวมทั้งชาวยุโรปด้วย แต่อยุธยาก็สิ้นสุดลงเป็นเถ้าถ่านด้วยน้ำมือของกองทัพพม่า

14. ลอนดอน ใหญ่โตที่สุดในต้นศตวรรษที่ 19 หรือปี ค.ศ.1825 ประชากร 1,335,000 คน ที่อยู่กันแออัดจนเกือบจะทุกย่านของเมืองหลวงมีสภาพเป็นสลัม อาชญากรรมลามเมือง ในปี 1829 รัฐบาลได้ตั้งกองกำลังตำรวจขึ้นอย่างเป็นทางการ ตั้งชื่อตามชื่อของนายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต พีล (Robert Peel) ชาวอังกฤษเรียกตำรวจว่า “บ๊อบบี้ส์” (Bobbies) จนถึงทุกวันนี้

15. นิวยอร์ก ในปี 1925 หรือต้นศตวรรษที่แล้วมีประชากรถึง 7,774,000 คน เป็นมหานครที่มองสู่อนาคตอย่างแท้จริง เป็นแห่งแรกของโลกที่สร้างตึกระฟ้า ถึงแม้ว่าจะเจอสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1929 แต่การก่อสร้างอาคารสูง เช่น ไครสเลอร์ เอ็มไพร์สเตท ลินคอล์น และอาคารวันวอลสตรีท ฯลฯ ก็ยังดำเนินต่อไป

16. โตเกียว ใน 1968 (พ.ศ.2511) เมืองหลวงของญี่ปุ่นมีประชากรถึง 20,500,000 คน ไม่เคยมีที่ไหนประวัติศาสตร์โลก แต่เศรษฐกิจของประเทศรุ่งเรืองสุดขีด ระหว่างปี 1953-1990 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจยุคหลังสงครามโชติช่วงมากที่สุด ญี่ปุ่นสร้างสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่ออกสู่ตลาดโลกมากมายหลายชนิด.


ที่มาhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000008955

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ค้าปลีกในสหรัฐฯ ปิดสาขารับปี 2017 : "ปี 2017 ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล"


ค้าปลีก Sears, Kmart และ Macy ในสหรัฐฯ ปิดสาขารับปี 2017 : "ปี 2017 ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล"

ทุกครั้งที่ผู้เขียนเริ่มเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับการพลิกผัน (Disruption) จะมีความไม่สบายใจ เพราะเพื่อนๆ ผู้เขียนหลายท่าน รวมทั้งผู้ติดตามบทความก็กำลังทำธุรกิจที่มีแนวโน้มขาลงตามกระแสโลก ผู้เขียนเองต้องขออภัยผู้อ่านที่อ่านแล้วอาจจะไม่สบายใจ จึงขอเสนอแนะว่า เราสามารถเลือกอ่านหรือเสพสื่อใดก็ได้ที่ทำให้เราสบายใจ

ดังนั้นเพื่อความสบายใจก็ขอให้ท่านมองผ่านบทความของผู้เขียนไป แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนขอยืนยันว่า ในเนื้อหาทุกบทความของผู้เขียนจะไม่ใส่อคติใดๆ และข้อมูลจะมาจากแหล่ง reference ที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งจะระบุไว้ท้ายบทความเสมอ และผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านที่เปิดใจอดทนอ่านด้วยสติและปัญญาและปราศจากอารมณ์ จะได้รับประโยชน์จากบทความแน่นอน

วันนี้ผู้เขียนได้พูดคุยกับเพื่อนอเมริกันผ่าน whatsapp ในเรื่องวิกฤติของธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐฯ จึงได้ค้นคว้าเพิ่มเติมข่าวสารให้ผู้อ่านได้รับทราบ



Sears ได้ตัดสินใจประกาศในช่วงปีใหม่ โดยปิดสาขากว่า 150 แห่ง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมค้าปลีกของสหรัฐฯ อันสืบเนื่องมาจากการถูกท้าทายโดยร้านค้า online เช่น Amazon ซึ่งในสมัยที่ผู้เขียนเรียนปริญญาโทที่เมือง Atlanta มลรัฐจอร์เจีย ผู้เขียนมักจะหาเวลาพักผ่อนเดินเล่นหาซื้อของในร้านทั้งสองเสมอ โดยในขณะนั้นมี Sears และ Kmart ในมลรัฐจอร์เจียทั่วทุกแห่ง

Sears Holding Corp. (SHLD) ได้ประกาศว่าจะทำการปิดสาขาของ Kamart อีกถึง 109 สาขา และ outlets ของ Sears อีก 41 สาขา รวมไปถึงการยกเลิกแผนที่จะจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์ช่างฝีมือ (Craftman tool) ภายใต้ตราสินค้า Stanley Black & Decker แต่ SHLD ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการจ้างงานของพนักงานแต่อย่างใด โดยการปิดสาขาในปี 2016 ก็ได้มีการปิดไปแล้ว 78 สาขา ส่วนในปี 2015 ปิดไปมากกว่า 200 สาขา

ซึ่งในปลายปี 2014 Eddie Lampert, CEO ของ Sears ได้ให้ข้อมูลว่า Sears อยู่ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation) โดยจะอยู่ในรูปแบบ membership-based และ e-commerce-centric retailer และกำลังสร้าง "Shop Your Way program" ขึ้นมา โดยจะค่อยๆ ลดสาขาที่เป็นกายภาพให้น้อยลงตามลำดับ



Macy ได้ประกาศรับปี 2017 เช่นกัน โดยปิด 68 สาขาและต้องให้พนักงานออกจากงาน 10,000 ตำแหน่ง เหตุการณ์นี้เกิดจากผลของรายได้การประกอบการที่ย่ำแย่ลงมาตลอด อีกทั้ง Macy ยังคาดว่าจะต้องปลดพนักงานอีก 3,900 ตำแหน่งจากแผนการปิดสาขาอีกอย่างต่อเนื่อง และยังต้องปลดพนักงานที่เกิดจากการปรับปรุงกระบวนการภายในองค์กรอีก 6,200 ตำแหน่ง

Macy ได้เปิดเผยด้วยว่า การตัดค่าใช้จ่ายของ Macy ด้วยการปลดพนักงานและปิดสาขาก็เพื่อนำเอางบประมาณของบริษัทไปมุงเน้นลงทุนในธุรกิจดิจิทัล ซึ่งในปรากฏการณ์นี้ Prof. Mark Cohen ศาสตราจารย์ของ Columbia Business School ได้ให้ความเห็นว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของการประกาศปิดสาขาและปลดพนักงานครั้งสุดท้ายของ Macy และยังให้ความเห็นอีกด้วยว่า มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และแน่นอน "more to come"



Prof. Mark Cohen ได้ให้ความเห็นด้วยว่า การที่องค์กรไม่ยินดีที่จะรับรู้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ก็จะได้รับผลนี้ นั่นก็คือการปิดตัวของธุรกิจในที่สุด
--------------


ข้อมูลเพิ่มเติม

1. Hardvard Business Review ได้ลำดับก่อนหลังธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ จะถูก disrupt ดังนี้


(1) Media
(2) Telecom
(3) Financial services
(4) Retail
(5) Insurance
(6) Education
(7) Healthcare



2. ผู้บริหาร ที่มีวิสัยทัศน์จึงสามารถคาดการณ์การพลิกผัน (Disruption) ในอุตสาหกรรมได้ ก็จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถประเมินความสามารถขององค์กรในอนาคตได้ การจ้างบุคลากรที่เหมาะสมจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขององค์กรได้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้เกิดการตัดสินใจจากข้อมูล และมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่องค์กรที่เชี่ยวชาญทางดิจิทัล และเป็นที่แน่นอนว่า องค์กรที่ยังไม่มีการดำเนินการดังกล่าวก็จะต้องกลายเป็นผู้ตาม และอาจถูกทิ้งอยู่ข้างหลังอย่างไม่ต้องสงสัย

Reference
[1] http://money.cnn.com/2017/01/05/investing/sears-kmart-closing-stores/
[2] http://fortune.com/2014/12/15/sears-ceo-lampert/
[3] http://money.cnn.com/2017/01/04/news/companies/macys-job-cuts-stock/index.html
[4] https://hbr.org/2016/03/the-industries-that-are-being-disrupted-the-most-by-digital
----------------
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
www.เศรษฐพงค์.com
8 มกราคม 2560 10:00
-----------------

ที่มา http://www.stock2morrow.com/

8 Jan, 2017

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

สิงคโปร์แชมป์ PISA สุดยอดคุณภาพการศึกษาที่ไร้คู่แข่ง

โดย อแมนด้า ไวส์    
MGR Online  
20 ธันวาคม 2559 
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)

Behind Singapore’s PISA success and why others may not want to compete
By Amanda Wise
18/12/2016

รายได้ครัวเรือนอู้ฟู่และการเรียนพิเศษกับคุณครูระดับปรมาจารย์ คือปัจจัยสำคัญที่หนุนสิงคโปร์ได้ครองอันดับหนึ่งตารางจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของ 70 ชาติ

มิใช่เรื่องน่าประหลาดที่ประเทศปราดเปรื่องอย่างสิงคโปร์สามารถผงาดขึ้นครองจ่าฝูงบนตารางจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก นามว่า “ปิซ่า” กระนั้นก็ตาม น่าพิจารณาเจาะลึกกันสักครา ว่าปัจจัยอันใดกันแน่ ที่ส่งผลให้ยุวชนคนสิงคโปร์มีระดับมาตรฐานการเรียนการสอนเลอเลิศได้ปานนั้น

การจัดอันดับ “ปิซ่า” หรือ PISA อันเป็นคำย่อจาก Programme for International Student Assessment (โครงการเพื่อการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ) ซึ่งประกาศผลกันเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (6 ธ.ค.) ได้จัดวางให้สิงคโปร์เป็นอันดับที่ 1 ของตารางการประเมินผลนักเรียนนานาชาติในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน เหนือชั้นกว่าประเทศอื่นๆ และระบบเศรษฐกิจอื่นๆ มากกว่า 70 แห่งทั่วผืนปฐพี ขณะที่ตารางย่อยสำหรับกลุ่มประเทศโออีซีดีนั้น ประเทศชื่อชั้นหรูๆ อย่างออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และอังกฤษไปปรากฏอยู่ในอันดับท้ายๆ

ความสำเร็จดังกล่าวจุดชนวนให้ต้องถามว่าสิงคโปร์ทำเยี่ยงใด จึงเก่งกาจกันปานนั้น และประเทศอื่นจะอยากเจริญรอยตามล่ะหรือ

เคล็ดลับความสำเร็จที่ต้องเอ่ยถึงก่อนเลยคือ การที่เมืองลอดช่องแห่งนี้ลงทุนหนักมากให้แก่ระบบการศึกษาของตน ผู้ที่จะมาเป็นคุณครูได้ ต้องเก่งที่สุดและยอดเยี่ยมที่สุด พร้อมกันนั้น สิงคโปร์ได้พัฒนาแนวทางครุศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในระดับสูงในกลุ่มแขนงวิชาสายแข็ง นามว่า STEM หรือก็คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ อาทิ แนวทางการศึกษาคณิตศาสตร์แบบรอบรู้เชี่ยวชาญ หรือก็คือแนว Maths Mastery ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่นักเรียนจะศึกษาในแต่ละชั้นจนกระทั่งเก่งกาจเชี่ยวชาญก่อนจะเลื่อนขึ้นสู่ชั้นถัดไป แนวทางนี้ประสบความสำเร็จสุดๆ ในสิงคโปร์และจีน ทำให้อังกฤษนำไปทดลองใช้เมื่อปี 2015 และผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่อยู่ในแนวทางนี้เก่งกว่านักเรียนในแนวทางอื่นๆ

โดยวัฒนธรรมประเพณีแล้ว ชาวลอดช่องนับเป็นชาติที่ปักใจไว้เหนียวแน่นมาก ว่าพวกตนจะต้องประสบความสำเร็จในการเรียนการสอน และประเทศนครรัฐแห่งนี้มีการเน้นย้ำในระดับชาติกันเลยทีเดียวว่าคนสิงคโปร์จะต้องมีความเป็นเลิศด้านการศึกษา

ที่ผ่านมา ความสำเร็จในการจัดอันดับ ปิซ่า ตลอดจนในตารางจัดอันดับสาขาอื่นๆ ของโลก ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแบรนด์“สิงคโปร์”อันลือลั่นสนั่นพิภพ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คริสโตเฟอร์ กี นักวิชาการคนดังของสิงคโปร์เรียกว่า “การแข่งขันสะสมอาวุธทางปัญญา” กล่าวก็คือการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้แข่งขันกันสุดฝีมือ ถือเป็นบรรทัดฐานธรรมดาของสังคม

บทบาทของการกวดวิชาและสอนพิเศษ

ในการอภิปรายหลายๆ กรรม หลายๆ วาระ ภายในออสเตรเลียในหัวข้อประมาณว่า ทำไมชาวออสซี่ไม่สามารถสร้างผลงานได้ดีเท่ากับชาวลอดช่อง ได้มีการมุ่งเน้นไปในจุดที่ว่าโรงเรียนในสิงคโปร์ทำอะไรกันบ้าง

กระนั้นก็ตาม การอภิปรายทั้งหลายทั้งปวงได้ละเลยปัจจัยสำคัญที่สร้างคุณูปการใหญ่หลวงแก่ความสำเร็จของประเทศนครรัฐแห่งนี้ คือ บทบาทของการกวดวิชาและสอนพิเศษ ตลอดจนอิทธิพลที่การกวดวิชาและสอนพิเศษมีต่อความสำเร็จโดยองค์รวมของเหล่านักเรียนเมืองลอดช่อง

ต่อไปนี้เป็นตัวเลขที่น่าตื่นตาตื่นใจ:

• 60% ของนักเรียนวัยมัธยมปลาย และ 80% ของนักเรียนวัยประถม ได้รับการสอนพิเศษ-ได้เข้าเรียนกวดวิชา

• 40% ของนักเรียนชั้นเตรียมประถมมีคุณครูสอนพิเศษให้

• นักเรียนวัยเตรียมประถมได้เรียนพิเศษสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ขณะที่นักเรียนชั้นประถมได้เรียนพิเศษสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

ใช่แล้วค่ะ ในจำนวนเด็กวัยประถม 10 คนในสิงคโปร์ จะมีอยู่ 8 คนที่ได้เรียนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นแบบคุณครูสอนพิเศษ หรือแบบโรงเรียนกวดวิชา

เมื่อปี 1992 ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ ณ ระดับเพียง 30% สำหรับกรณีมัธยมปลาย และ 40% สำหรับระดับประถม โดยจำนวนชั่วโมงที่นักเรียนใช้ไปกับการเรียนพิเศษจะทวีขึ้นเมื่อเรียนถึงชั้นปลายๆ ของระดับประถม ทั้งนี้ เด็กจากครอบครัวชนชั้นกลางได้เข้าเรียนพิเศษนับเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากกว่าเด็กจากครอบครัวที่มีฐานะด้อยกว่านั้น

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งมีอยู่ว่า ภายในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนกวดวิชาเอกชนเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าทวีคูณ โดยที่ว่าในปี 2015 ศูนย์กวดวิชาที่จดทะเบียนมีจำนวน 850 แห่ง พุ่งเพิ่มจากระดับ 700 แห่งในปี 2012

ปัจจัยด้านรายได้ของครอบครัว

ตามผลสำรวจค่าใช้จ่ายครัวเรือนของสิงคโปร์ การสอนพิเศษของประเทศนครรัฐแห่งนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 1,100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (772 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สูงมากสำหรับประเทศที่มีประชากรเพียง 5.6 ล้านราย โดยตัวเลขนี้เทียบได้เป็นสองเท่าของตัวเลขค่าใช้จ่ายครัวเรือนเมื่อปี 2005 ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 650 ล้านดอลลาร์สิงโปร์

ทั้งนี้ 34%ของครัวเรือนที่มีบุตร จัดสรรงบค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนพิเศษแก่ลูกๆ ในระดับ 500 – 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนต่อเด็ก 1 คน ขณะที่ อีก 16% จัดสรรงบค่าใช้จ่ายนี้แก่ลูกๆ ในระดับ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือนต่อคน

ในการนี้ หากแบ่งระดับรายได้ของครัวเรือนเป็น 5 ช่วง ช่วงละ 20% จะพบว่าครอบครัวผู้มีรายได้ระดับ 20% ของก้นตาราง สามารถหาเลี้ยงชีพได้เพียงเดือนละ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จึงอาจกล่าวได้ว่างบค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนพิเศษในระดับดังกล่าว ถือว่าเป็นเงินที่มหาศาล

หากคิดไปถึงข้อเท็จจริงว่าครอบครัวที่มีลูก 2-3 คน เราย่อมเห็นวี่แววของปัญหาความเหลื่อมล้ำเชิงเศรษฐกิจสังคมปรากฏอยู่ในประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีเงื่อนไขสภาพแวดล้อมที่ความสำเร็จทางการศึกษาต้องพึ่งพิงกับการเรียนพิเศษ

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในบรรดาครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 2 ช่วงสุดท้ายของตาราง คือมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จะมีเพียง 20%เท่านั้นที่ให้ลูกได้เรียนพิเศษ

ศูนย์กวดวิชา

ศูนย์การสอนพิเศษและโรงเรียนกวดวิชาทั้งปวงประกอบความหลากหลาย มีตั้งแต่ศูนย์ติววิชาใกล้บ้านสนนราคามิตรภาพ และศูนย์สอนพิเศษประจำชุมชน ไปจนถึงโรงเรียนกวดวิชา “ยี่ห้อดัง” ใหญ่ยักษ์ระดับชาติซึ่งมีสาขากระจายไปตามศูนย์การค้าชั้นนำทั่วเกาะสิงคโปร์

คุณภาพของการกวดวิชาที่นักเรียนได้รับจะเป็นไปตามความสามารถที่นักเรียนจะจ่ายไหว

มันเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาล

ยุทธศาสตร์การตลาดของโรงเรียนกวดวิชามักที่จะเน้นสร้างความวิตกกังวลในใจผู้ปกครองเด็ก ว่าเด็กจะล้มเหลวทางการศึกษา หากผู้ปกครองไม่ยอมควักกระเป๋าช่วยสร้างความได้เปรียบให้แก่เด็กๆ

ผู้ปกครองมากเลยร้องบ่นว่าโรงเรียน “สอนเกินตำรา” ความหมายก็คือ มุมมองว่าคุณครูในชั้นเรียนทึกทักว่าเด็กในห้องได้รับความรู้เพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชามาแล้ว และจึงสอนเกินระดับของหลักสูตร ดังนั้น จึงต้องตรองดูว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กส่วนน้อยที่ไม่มีโอกาสได้รับองค์ความรู้เพิ่มเสริมพิเศษ

ทำไมต้องเริ่มเรียนพิเศษตั้งกะชั้นเตรียมประถมและชั้นประถม

ในสิงคโปร์มีการสอบที่สำคัญต่ออนาคตของนักเรียนอย่างยิ่งยวด คือ การสอบ PSLE หรือการสอบจบจากชั้นประถม ซึ่งเป็นการสอบที่มีส่วนได้เสียดุเดือด เพราะผลการสอบมิใช่แค่การไปกำหนดว่านักเรียนจะได้เข้าโรงเรียนมัธยมแห่งใด หากยังไปกำหนดด้วยว่านักเรียนจะได้เรียนในโรงเรียนที่จะได้ช่องพิเศษเข้ามหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียว

ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่เมืองลอดช่องไม่ได้มีสิทธิอัตโนมัติที่จะฝากเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม “ประจำท้องถิ่น”

โรงเรียนมัธยมทั้งหลายจะเป็นฝ่ายเลือก โดยโรงเรียนมัธยมเกรดเอบวกจะได้เลือกเด็กที่มีผลสอบ PSLE สูงลิ่ว ทั้งนี้ โรงเรียนมัธยมจัดแบ่งได้ 4 เกรด และผลสอบดังกล่าวจะส่งให้นักเรียนได้เข้าเรียนลดหลั่นตามเกรด ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมเกรด A นักเรียนจะได้เข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยม ถ้าเป็นโรงเรียนมัธยมระดับก้นตาราง ก็จะป้อนนักเรียนเข้าสู่สถาบันอาชีวศึกษาบ้าง โพลีเทคนิคบ้าง โดยจะต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน

คุณพ่อคุณแม่ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลางจำนวนมากเชื่อว่า “การแข่งขัน” นั้นเริ่มตั้งแต่ต้นมือ

คุณพ่อคุณแม่จึงถูกคาดหวังให้กวดขันดูแลให้ลูกๆ วัยก่อนประถม ได้อ่านและเขียน อีกทั้งมีทักษะคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานก่อนที่เด็กจะเข้าโรงเรียน เด็กจะมีศักยภาพได้อย่างนั้น ย่อมต้องพึ่งพาบริการของโรงเรียนสอนพิเศษนั่นเอง

ขณะที่ผู้คนพากับชื่นชมมากมายในความสำเร็จของระบบการศึกษาของสิงคโปร์ ก็ยังมีคำถามที่ตรวจสอบบทบาทของบรรดาโรงเรียนกวดวิชาต่อรูปโฉมแนวโน้มของชีวิตวัยเด็ก และต่อการกระตุ้นความกังวลของคุณพ่อคุณแม่

ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญมีอยู่ว่า โรงเรียนจะทึกทักว่าเด็กทุกคนได้เรียนพิเศษกับทั่วหน้าแล้ว และจึงทำการสอนเกินหลักสูตรเพราะถือว่าเด็กที่ได้เรียนพิเศษเป็นประชากรกลุ่มหลักในห้องเรียน

ผู้ปกครองมากรายในสิงคโปร์โอดครวญหนักหนากับสภาพแวดล้อมที่แข่งขันกันสาหัสสากรรจ์ได้ส่งผลเป็นแรงบีบคั้นให้เด็กต้องทุ่มเทเวลาแก่การกวดวิชาดุเดือดเลือดพล่าน พร้อมกับกระทบไปยังมิติต่างๆ ของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้เวลากับสมาชิกในครอบครัว การบั่นทอนโอกาสที่จะใช้ชีวิตวัยเด็ก การพัฒนามิตรภาพ ตลอดจนการได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม ในการนี้ มีจำนวนมากเลยที่รู้สึกว่าต้องยอมแลก เพราะพวกตนไม่มีทางเลือก

คนสิงคโปร์นั้นมีเงาของความวิตกหนักมากในเรื่องว่า กลัวจะต้องล้าหลัง กลัวจะเป็นผู้แพ้ ฝ่ายผู้กำหนดนโยบายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระแวดระวังว่าการได้มาซึ่งความสำเร็จอันฉูดฉาดในด้านการศึกษานั้น ตั้งอยู่บนความเสียหายอันใดบ้าง

นี่มิใช่ว่าจะคัดค้านความสำเร็จของสิงคโปร์ แต่เป็นเรื่องของการตรวจสอบในประเด็นการกวดวิชานอกเวลาเรียน การเรียนการสอนในสิงคโปร์มีความเป็นเลิศในหลากหลายมิติ กระนั้นก็ตาม การเรียนพิเศษไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต หากจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ของการใช้ชีวิตด้วย

อแมนด้า ไวส์ รองศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมคควอรี, ออสเตรเลีย

บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ The Conversation (http://theconversation.com/)

ปี 2560 แรงงานวัยเกษียณยังมีคุณค่า ผุดอาชีพใหม่-รายได้ดี!


โดย MGR Online    
31 ธันวาคม 2559

ปี 2560 ธุรกิจเอกชนเตรียมพร้อมรับมือปัญหาสังคมผู้สูงอายุ และมีแรงงานวัยเกษียณ โดยเฉพาะระดับผู้บริหาร ด้านบริษัทจัดหางานจากต่างประเทศ ถึงขนาดต้องเปิดบริษัทเพื่อเฟ้นหาตัวผู้บริหารวัยเกษียณโดยเฉพาะ ชี้เอกชนต้องวางแผนตั้งรับ เพราะแนวโน้มนี้ส่งผลกระทบ 4 กลุ่มสายงานที่ขาดแคลน คือ “การเงิน-วิศวกรรม-สินค้าบริโภคอุปโภค-ค้าปลีก” ในทุกระดับ ขณะคนที่เกษียณที่มีทักษะพร้อมโดดเข้าสู่อาชีพที่ปรึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้ผลตอบแทนสูง ด้านวงในธุรกิจสื่อสารและคอนซูเมอร์เผย เริ่มมีการปรับตัวรับมือกับวิกฤต

ยุคนี้เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้งด้านสื่อสาร และธุรกิจรีเทล หลายแห่ง ต้องเผชิญปัญหาด้านบุคลากร เพราะผู้บริหารระดับสูงที่ทยอยเกษียณอายุในเวลาใกล้ ๆ กันแบบยกทีมทุกสายงาน ทำให้เกิดวิกฤต เพราะไม่สามารถปั้น Successor (ตัวตายตัวแทน) จากคนรุ่นใหม่ขึ้นมาแทนที่ได้ทันการเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยมีการเกษียณอายุที่ 60 ปี และในปัจจุบันมีผู้สูงอายุทั้งประเทศประมาณ 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ ถือเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์ โดยในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า แรงงานกลุ่มนี้จะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะจะกระจายอยู่ในทุกสายงานขององค์กร





ที่มาภาพ : ศาสตราจารย์ศศิพัฒน์ ยอดเพชร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์





นับว่าการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุนี้ จึงเป็นที่มาของปัญหาที่ทำให้ภาคธุรกิจเอกชน ต้องเผชิญภาวะการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพ ต่อเนื่องมาจากที่วัยเกษียณในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) มีจำนวนมาก และบริษัทเอกชนก็ไม่สามารถหาตัวตายตัวแทน พัฒนาคนใหม่ ทั้งเจนเอ็กซ์ (Gen X) และเจนวาย (Gen Y) ที่มีศักยภาพเข้ามารับไม้ต่อในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงได้ทัน ซึ่งกลุ่มนี้จะกระจายเต็มองค์กรในอีก 5 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ได้ปะทุขึ้นตั้งแต่ประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งในปี 2560 บริษัทเอกชนหลายแห่งได้หาทางออกโดยนำนโยบายการต่ออายุแรงงานเกษียณมาใช้กับองค์กร ขณะเดียวกันยังทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนทรัพยากรบุคคล

อาชีพใหม่ผุดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลง
นางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป บริษัทด้านบริหารจัดการแรงงาน ที่มีสาขากว่า 60 ประเทศทั่วโลก กล่าวว่า ปัญหานี้เกิดจากการตั้งรับไม่ทันของบางองค์กร ถึงแม้ผู้บริหารระดับกลางที่มีอยู่จะมีความสามารถ แต่ยังไม่สามารถดูแลเรื่องการบริหารระดับสูงได้ ทั้งในส่วนการมองทิศทางธุรกิจในภาพรวม และการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพราะยังขาดประสบการณ์

อีกทั้งไม่มีการวางแผน ไม่เคยให้โอกาสในการฝึกฝน อบรมทักษะในการเป็นผู้บริหาร ตราบใดที่ยัง Centralize คืออำนาจยังอยู่ที่ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้น จะทำให้ระดับรองลงมาไม่มีทักษะในการบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ หรือมีน้อยจนทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการขึ้นมาแทนที่ ซึ่งในส่วนองค์กรเองก็จะมองว่าไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี

ขณะที่บางองค์กรให้อิสระ ทำในลักษณะ Decentralize คือให้อำนาจในการตัดสินใจตั้งแต่ระดับผู้จัดการ (Line Manager) เพื่อเป็นการฝึกฝน พัฒนา เพราะมองว่าเมื่อกลุ่มผู้สูงอายุออกจากองค์กรไป ต้องมีกลุ่มเจเนอเรชันใหม่เข้ามาทดแทน มีเรื่องอะไรที่เจนฯใหม่ต้องเรียนรู้ เป็นการดูแล ฝึกฝน และอบรมมาก่อน

จะเห็นได้ว่าตำแหน่งที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการพิเศษ เกิดขึ้นมากในหลายองค์กร เพื่อเป็นการยืดเวลาการทำงานของพนักงานสูงอายุ ตัวอย่างในบางบริษัทที่เห็นได้ชัด ตั้งแต่ระดับฝ่ายขาย เช่นอดีตผู้บริหารท่านหนึ่งระดับผู้อำนวยการฝ่ายขาย (Sales Director) ซึ่งทุกวันนี้ยังเข้าออฟฟิศอยู่เป็นบางวัน โดยมีหน้าที่หลักคือการแก้เคสเมื่อเกิดปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ จะคิดแผนในการแก้ไข และสนับสนุนการขาย

วิธีการนี้กลายเป็นเรื่องปกติ เพราะจะหาใครที่มีความรู้ประสบการณ์ และคอนเนกชันได้ดีเท่ากับ “คนใน”

ดังนั้นผู้บริหารกลุ่มนี้จะได้รับข้อเสนอที่เป็นลักษณะสัญญาระยะสั้น อาจจะเป็นปีต่อปี หรือ 3 ปี
ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ จะได้รับข้อเสนอต่ออายุจากองค์กร แต่ไม่ได้หมายความว่าได้ต่ออายุทุกคน จะต้องเป็นกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ หรือแรงงานเกษียณอายุที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้

เช่นต้องเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยี จึงจะสามารถให้คำปรึกษาได้ ถึงแม้จะเป็นแรงงานสูงอายุ แต่การเรียนรู้จะต้องเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ได้เช่นกัน

เตรียมตัวเป็นไทยแลนด์ 4.0

นางสาวสุธิดา บอกว่า ภาครัฐมีการตื่นตัว และให้ความสำคัญกับแรงงานสูงอายุมากขึ้น เพราะมองเห็นอนาคตใน 10-20 ปีจะมีผู้สูงอายุเกือบเต็มประเทศ

ขณะคนที่อยู่ในวัยแรงงานลดน้อยลง แต่สิ่งที่ทำให้แรงงานเกษียณมีคุณค่าเพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ภาคธุรกิจบริษัทเอกชน จึงต้องเดินตามกรอบและทิศทางของประเทศที่มีความคิดสร้างสรรค์ และนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาบูรณาการตั้งแต่เล็กไปใหญ่ ตั้งแต่ระดับคน ระดับองค์กร ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งการสื่อสาร Internet of thing จะเข้ามาครอบทั้งหมดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และปรับให้ทันกระแสโลก

โดยในปี 2560 องค์กรต่าง ๆ ต้องเพิ่มการวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมถึงฝึกอบรมคนให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ที่ผ่านมาเรื่องนี้ยังเป็นอุปสรรค และประสิทธิภาพการผลิตนั้นยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์อยู่มาก

อีกปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการจ้างงานซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนไป เพราะคนทำงานในวัยผู้สูงอายุ วัยเกษียณ กลับกลายเป็นบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญในองค์กร เนื่องเพราะองค์กรต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ต้องการคนที่มีลักษณะยืดหยุ่น คนที่ใช่และพร้อม

ดังนั้นเมื่อยังหาคนมาทดแทนไม่ได้ แรงงานวัยเกษียณจึงตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะมีความพร้อมทั้งด้าน Knowledge และ Know How







ตั้งบริษัทเฟ้นตัวผู้บริหารป้อนเอกชน

นอกจากนี้ยังมีอีกแนวโน้มที่ชี้ชัดว่า คนวัยใกล้เกษียณเป็นกลุ่มแรงงานที่มีค่ามากในเวลานี้ คือ ในส่วนของแมนพาวเวอร์เอง ก็มีบริษัทลูกซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการสรรหาผู้เชี่ยวชาญพิเศษในกลุ่มคนที่เป็นผู้บริหาร

จากสถิติลูกค้าของแมนพาวเวอร์ ในปี 2559 ความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้มีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 20 ซึ่งถือว่าสูงมากท่ามกลางสภาวะตลาดปัจจุบัน เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และการตื่นตัวเรื่องไทยแลนด์ 4.0 จากภาครัฐ ทุกคนจึงต้องมีแผนในการรองรับ

ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ ที่มีลักษณะการบริหารแบบครอบครัว (Family Business) เพราะต้องเตรียมรับมือกับการเกษียณอายุของคนรุ่นก่อน

ดังนั้น การยกตัวอย่างองค์กรที่เป็นธุรกิจครอบครัว (Family Business) จะค่อนข้างชัดเจนมาก เพราะมาถึงช่วงเวลาเปลี่ยนรุ่น จากคุณพ่อคุณแม่ มาสู่รุ่นลูกหรือรุ่นหลาน ที่อาจจะยังไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เพียงพอ จึงยังต้องจ้างคนเก่าเอาไว้เป็นที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการ เพื่อให้การแนะนำ และโค้ชชิ่งให้กับเจเนอเรชันถัดไป

Family Business ที่ประสบปัญหานี้ ส่วนใหญ่ใช้วิธีจ้างคนที่เกษียณแล้วเป็นที่ปรึกษาต่อ เพราะยังไม่มั่นใจคนในระดับรอง ขณะที่การจ้างคนนอกธุรกิจเข้ามาก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ 6 เดือนถึง 1 ปีซึ่งไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและการแข่งขันในช่วงนี้

การหาคนมาทดแทนผู้บริหารระดับสูงนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องมีความรู้ ความชำนาญ มีทักษะ และประสบการณ์ ถ้าจ้างมาแล้วระดับล่างไม่ยอมรับก็อยู่ไม่ได้ เข้ามาแล้วนอกจากคุมคนได้ ต้องบริหารจัดการได้ และต้องแก้ปัญหาให้ทีมได้ การหาคนที่มีคุณลักษณะนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย




นางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป





ทางออกเมื่อเผชิญวิกฤตขาดแรงงานวัยเกษียณ

นางสาวสุธิดา กล่าวว่า ตัวอย่างของภาคเอกชนที่มีการปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤตแรงงานทดแทนบุคลากรกลุ่มเกษียณอายุ จะมีการวางแผนจำนวนบุคลากรล่วงหน้า 5-10 ปี


อีกทั้งจะใช้แนวทางชะลอการเกษียณของแรงงานสูงอายุให้ช้าลง โดยต่ออายุการทำงานบนเงื่อนไขพิเศษ เช่น การจัดหางานนอกเวลาหรืองานพิเศษให้กับแรงงานสูงอายุ ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการ หรือผู้ชำนาญพิเศษ

“จะใช้วิธีการดึงคนสูงอายุมาเป็นพี่เลี้ยง กลุ่ม Talent ที่มีศักยภาพสูง เพื่อเตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนความรู้ให้กับคนที่จะมารับตำแหน่งในยุคต่อไป”

ขณะเดียวกันองค์กรต้องวางแผนการนำทรัพยากรบุคคลของตัวเองมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หากเปรียบเทียบระหว่างการจ้างงานคนใหม่เข้ามา กับการใช้คนเดิมที่มีความรู้ มีประสบการณ์และทักษะในการทำงานอยู่แล้วถือเป็นต้นทุนที่ต่ำกว่า รวมทั้งคนในกลุ่มนี้ยังมีความสามารถในการบ่มเพาะและฝึกฝนพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่จะมาแทนที่ได้อีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม การส่งบุคลากรคนรุ่นใหม่ไปศึกษาอบรมงานข้างนอกต้องมองว่าประสิทธิภาพ และผลลัพธ์เป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก เพราะลักษณะและวิธีการทำงานจะเทียบกับคนในสายงาน ในองค์กรที่มีประสบการณ์โดยตรงไม่ได้ ดังนั้นการให้บุคลากรที่มีอาวุโสมาเป็นพี่เลี้ยงคนรุ่นใหม่ จะสามารถลดต้นทุนได้ และมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่า ขณะที่ใช้เวลารวดเร็วกว่า

ขาขึ้นของอาชีพใหม่หลังเกษียณ

นางสาวสุธิดา กล่าวถึงสายงานที่มีการขาดแคลน จากการเกษียณของแรงงานผู้สูงอายุนั้น ในกลุ่มใช้แรงงาน จะสามารถใช้แรงงานหลังจากเกษียณได้ต่อในระยะเวลาอันสั้น คือ ประมาณ 1-5 ปี

ส่วนกลุ่มแรงงานทักษะระดับผู้บริหาร ซึ่งจะทำให้เกิดอาชีพใหม่ขึ้น เพราะความต้องการคนที่มีศักยภาพ มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ เข้ามาในส่วนของการจัดตั้งองค์กร หรือบริหารจัดการในด้านกลยุทธ์ขององค์กร เป็นที่มาของอาชีพที่ปรึกษา คณะกรรมการ และอาชีพผู้ชำนาญพิเศษ

ซึ่งอาชีพนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะกิจ ภายใต้โครงการ หรือ Project ต่าง ๆ ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมในองค์กรประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เรียกได้ว่ากลุ่มอาชีพนี้ถือว่าเป็นขาขึ้นมาก

จากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้แต่ละองค์กรต้องการประสิทธิผลมากที่สุด ต้องพิจารณาว่าจะใช้วิธีการใดจากสิ่งที่มีอยู่ การจ้างคนมาใหม่นอกจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว ยังมีข้อจำกัดที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ จึงต้องใช้คนเก่ามาเป็นพี่เลี้ยง

4 กลุ่มสายงานที่ขาดแคลนคนทดแทนวัยเกษียณ

ขณะที่ธุรกิจที่มีผลกระทบมากจากแรงงานเกษียณ ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพสายการเงิน (Finance) ทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ เช่น Tax Adviser ให้คำปรึกษาเรื่องภาษี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบริหารการเงินขององค์กร

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มสายวิศวกรรม (Engineering)

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มสินค้าบริโภคอุปโภค (Consumer Product)

กลุ่มที่สี่คือธุรกิจค้าปลีก (Retail)

โดยทั้งหมดอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนรุ่น และต้องมีการวางแผนเรื่องบุคลากรในอนาคตไว้ล่วงหน้า และส่วนใหญ่ต้องการบุคลากรในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง (Top Management) หรือในส่วนของผู้ชำนาญพิเศษ (Specialist) เช่นในกลุ่มของวิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะทาง ซึ่งคนรุ่นต่อไปยังไม่สามารถเข้าใจทางเทคนิคได้ดีพอ คนรุ่นนี้จึงต้องให้คำแนะนำ เพราะมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดีกว่า รวดเร็วกว่าการเสาะหาข้อมูล อาชีพที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านจึงเป็นที่ต้องการ









ส่วนสายสังคมที่ไม่ต้องใช้ความเป็นผู้ชำนาญการมากนัก ก็ยังมีความต้องการในบางเซกเมนต์ เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจที่ต้องมีการบริหารจัดการต้นทุน แรงงานสูงอายุยังสามารถผันตัวมาเป็นที่ปรึกษาได้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะบุคคลที่ต้องมีความรู้ และประสบการณ์ที่จะนำองค์กรได้ เรียกได้ว่าถ้ามีคุณค่าต่อองค์กรก็ได้ไปต่อ

“เรื่องการเรียนรู้ของพนักงานต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่นด้านไอที ทุกคนต้องปรับไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่เฉพาะแรงงานผู้สูงอายุ แต่ต้องปรับทั้งองคาพยพ เพราะการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีที่ทุกคนต้องใช้”

อัตราผลตอบแทนของแรงงานวัยเกษียณ

นางสาวสุธิดา ย้ำว่าอัตราเงินเดือนกลุ่มวัยเกษียณจะมีลักษณะที่หลากหลาย เพราะแรงงานภาคพิเศษ หรือแรงงานนอกเวลา ไม่จำเป็นต้องเข้าบริษัททุกวัน มีการเข้าทำงานเป็นรายวัน รายชั่วโมง ไปจนถึงให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เป็นรายเคสและเรียกเก็บค่าตอบแทนตามตกลง

“กลุ่มอาชีพที่ปรึกษาจะมีรายได้ตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสน เป็นงานรายจ๊อบหรือระยะสั้น ทำสัญญากับองค์กรประมาณ 1-3 ปี อาชีพนี้ไม่จำกัดแค่ผู้บริหารที่มีชื่อเสียง แต่เป็นคนทำงานทั่วไปที่มีศักยภาพเช่นในธุรกิจรีเทล หรือคอนซูเมอร์โปรดักต์ที่มีเม็ดเงินมหาศาล”

เคสตัวอย่าง (ที่ปรึกษาเอสเอ็มอีเป็นฟรีแลนซ์) ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ คำนวณการให้คำปรึกษาและเรียกเก็บเป็นรายเดือนตามที่ตกลง กรณีมีเคสฉุกเฉินเร่งด่วนที่ต้องเข้าไปหารือในบริษัท ยังสามารถเรียกเก็บเพิ่มเติมไปจนถึงค่าเดินทางได้อีก ในส่วนของที่ปรึกษาภาครัฐหรือบางองค์กรอาจต้องใช้เอกสารรับรองการเป็นที่ปรึกษา คือต้องไปขึ้นทะเบียนที่ปรึกษากับกระทรวงการคลัง

แต่ในธุรกิจเอกชนบางแห่ง จะใช้การแนะนำและบอกต่อโดยดูตามความชำนาญพิเศษในแต่ละด้าน การเป็นที่ปรึกษานั้น ความยากคือการทำตามความคาดหวังของลูกค้า สามารถแก้ปัญหาให้ได้หรือไม่ สามารถทำผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการหรือไม่ หากทำได้ นั่นคือได้เงินตอบแทน และมีการต่อสัญญา ซึ่งไม่ได้เป็นการผูกมัดทั้งสองฝ่าย

“ธุรกิจเอสเอ็มอีวันนี้ น่าจะเน้นมาสู่เรื่องของดิจิตอลมาร์เกตติ้ง เราเดินมาถึงจุดเปลี่ยนของการบริหารจัดการสื่อ สังเกตจากงบประมาณในการใช้สื่อออฟไลน์ลดลงในทุกธุรกิจ เบนมาใช้สื่อออนไลน์มากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ธุรกิจเอสเอ็มอีและเจ้าของกิจการอาจจะยังตามไม่ทัน จึงต้องใช้บริการที่ปรึกษา”

วงในสายสื่อสารและคอนซูเมอร์เริ่มปรับ

สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากบริษัทยักษ์ใหญ่วงการสื่อสาร เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านทรัพยากรบุคคลว่า “ก็ยอมรับว่าบริษัทกำลังเจอปัญหาการเกษียณอายุของผู้บริหารระดับสูง ที่จะทยอยครบวาระตั้งแต่ปี 2559 ไปจนอีก 2 ปีข้างหน้า เรียกว่าแทบทุกสายงานตั้งแต่ไฟแนนซ์ กฎหมาย การตลาด และฝ่ายขาย

ซึ่งบริษัทเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีหลักสูตรการเตรียมความพร้อมหัวหน้างาน ตั้งแต่ระดับล่าง ไปจนถึงระดับสูง ซึ่งก็ปูพื้นให้กับคนที่มีศักยภาพ แต่ประสบการณ์และความเก๋าเกมไม่ได้มีกันง่าย ๆ และก็มีโอกาสสะดุดแน่นอน

ยิ่งผู้บริหารที่อยู่ในแผนกที่ใหญ่มาก คนที่จะมารับตำแหน่งก็ยิ่งหนักใจ ในบางสายงาน เราจึงต้องใช้วิธีผ่างานส่วนนั้นออกเป็นส่วนย่อย 2-3 ส่วน ตั้งคนใหม่ขึ้นมาลองบริหารแต่ละส่วน โดยให้มีการกำกับและฝึกฝนจากคนเดิม

นโยบายตรงนี้จะช่วยผ่อนภาระ และทำให้เห็นคนที่มีแววได้ชัดขึ้น

“ที่บริษัทมีนโยบายต่ออายุเกษียณให้กับผู้บริหารอยู่แล้ว ขึ้นกับความสมัครใจ เพราะบางท่านพร้อมเป็นที่ปรึกษา ชี้แนะผู้บริหารมือใหม่ บางท่านก็อยากไปพักผ่อน หรือให้เวลากับครอบครัว จึงอยู่ที่การเจรจาเป็นราย ๆ ไป”

ด้านแหล่งข่าวผู้บริหารจากธุรกิจอุปโภคบริโภค ที่มีธุรกิจในลักษณะครอบครัว พบว่าการส่งไม้ต่อธุรกิจจากเจเนอเรชันพ่อสู่ลูกในเจเนอเรชันเอ็กซ์และวาย ส่วนใหญ่เผชิญปัญหาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้ามารับบทบาทงานบริหารต่อ ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้กับกำหนดเกษียณของผู้บริหารระดับสูงในบริษัท ที่ร่วมงานมาพร้อม ๆ กับรุ่นบุกเบิกหรือก่อตั้ง

“ตอนที่เข้ามารับช่วงต่อนั้นเครียดและกดดันมาก เพราะเราก็ใหม่ แม้จะฝึกมาระยะหนึ่งแล้ว ก็ไม่ได้รู้งานทะลุปรุโปร่ง โชคดีที่ผู้ใหญ่ทุกท่านพร้อมจะช่วยแนะนำ ทำให้ผ่อนหนักเป็นเบา”

ส่วนตัวเองที่เป็นเด็กก็ต้องรับฟังแนวทางหลายอย่าง แล้วมาปรับใช้เป็นแนวของเราเอง ขณะที่ผู้ใหญ่ก็เมตตา เปิดโอกาสให้ทดลองตามวิธีที่เราคิด มีทำผิดก็หลายครั้ง ก็มาช่วยกันแก้ไข และยังฝากเรากับลูกค้ารายใหญ่ ๆ ทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างไม่สะดุด

ที่มา http://manager.co.th/SpecialScoop/ViewNews.aspx?NewsID=9590000128981

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

JACK WELCH : สุดยอด CEO ระดับโลก


บทความที่นำเสนอมาจากหนังสือเรื่อง Control Your Destiny or Someone Else Will แต่งโดย Noel Tichy และ Stratford Sherman ว่าด้วยเรื่องประวัติความเป็นมาของแจ็ค เวลช์ (Jack Welch) ทั้งชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงานที่ทำให้เขาพลิกผันตนเองจนกลายเป็นผู้บริหารของบริษัทชั้นนำระดับโลก
คือ บริษัท จี อี และกลายเป็นCEO ที่มีค่าตัวสูงที่สุดในโลก ทั้ง ๆ ที่ในสมัยเด็ก แจ๊ค เวลช์ เคยเป็นคนที่พูดติดอ่างเสียด้วยซ้ำ แต่เขาก็ไม่เคยรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเขามีคุณแม่ที่คอยให้กำลังใจตลอดเวลา คุณแม่ของเขาสอนว่า การที่เขาพูดติดอ่างเป็นเพราะว่า เขามีระบบความคิดที่พิเศษกว่าคนปกติและรวดเร็วเกินกว่าที่เขาจะพูดได้ทัน นอกจากจะมีคุณแม่คอยให้กำลังใจและปลูกฝังให้เป็นคนมองโลกในแง่ดีมาตั้งแต่เด็กแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้แจ็ค เวลช์ สามารถก้าวขึ้นมาสู่จุดสูงสุดได้มีดังต่อไปนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ jack welch1. กฎทองคำ 6 ประการที่ทำให้แจ๊ค เวลช์ประสบความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

1) จงกำหนดชะตาชีวิตของท่าน มิฉะนั้นคนอื่นจะเป็นผู้มาบงการชีวิตของคุณ (Control your destiny ,or someone else will)
ควรกำหนดเป้าหมายชีวิตของตนเองให้ชัดเจนและแน่นอน เพราะถ้าตัวเราเองยังไม่รู้ว่าเรากำลังจะเดินไปทิศทางไหนแล้วนั้น จะทำให้เราไขว้เขวไปกับการท้วงติงและการตำหนิเตียนจากคนรอบข้าง หรือในทางกลับกัน ถึงแม้มีโอกาสต่าง ๆ มารออยู่ข้างหน้าเราก็จะไม่เห็นความสำคัญ และปล่อยให้โอกาสเหล่านั้นหลุดลอยไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะเราไม่รู้ว่าเรากำลังทำสิ่งใด เพื่ออะไร และเรากำลังอยู่ตรงจุดไหนของแผนที่ชีวิต นอกจากนั้น เมื่อเรามีเป้าหมายแล้วหากประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ เราจะต้องไม่โทษผู้อื่นเพราะชีวิตนี้เป็นของเรา จะสุขหรือทุกข์เราจะต้องรับผิดชอบเอง สิ่งนี้จึงจะแสดงว่าเราเป็นผู้มีวุฒิภาวะ และสามารถกำหนดชะตาชีวิตของเราได้เองอย่างแท้จริง

2) จงมองความจริงตรงตามความเป็นจริง มิใช่ความเป็นจริงที่มันเคยเป็นมาแล้วในอดีต หรือความเป็นจริงที่คุณอยากให้มันเป็น (Live with the present reality as it is, not the kind of reality that used to be in the past or the reality that you want it to be)
คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงทุกรูปแบบทั้งสมหวังและผิดหวัง และจะต้องอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่ยึดติดกับเรื่องในอดีตหรือเพ้อฝันไปกับสิ่งที่เราคิดเข้าข้างตัวเองและอยากให้มันเป็น เพราะการที่เราอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบันจะทำให้เราเห็นเหตุและปัจจัยใหม่ ๆ ที่เข้ามาและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้เป็นจริง

3) หากจะโน้มน้าวจิตใจคนไม่ควรใช้วิธีการบังคับขืนใจ แต่ควรเสนอมุมมองที่แตกต่างเพื่อกระตุ้นเตือนให้อีกฝ่ายได้คิด ซึ่งมุมมองเหล่านั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลดีหรือผลเสียที่อีกฝ่ายจะได้รับ
ตัวอย่างเช่น อธิบายให้อีกฝ่ายเห็นโทษของการเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากการกินอาหารที่มีรสหวานจัดจนเกินไป แทนที่จะไปบังคับขู่เข็ญหรือว่ากล่าว เป็นต้น

4) จงมีความจริงใจและมีความตรงไปตรงมาต่อตนเองและผู้อื่น (Integrity)
การแสดงความตรงไปตรงมาจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ไม่มุทะลุดุดันหรือพูดจาเป็นขวานผ่าซาก และปากกับใจต้องตรงกัน ถ้าไม่อยากพูดก็ไม่ต้องพูด และถ้าจะพูดหรือแสดงออกจะต้องออกมาจากความรู้สึกไม่ใช่จากความคิด (Speak from your heart, not from your head)

5) อย่าเปลี่ยนจุดยืนของตนเองโดยเด็ดขาดถ้าไม่จำเป็นหลังจากที่เราคิดทบทวนทุกอย่างอย่างรอบคอบแล้ว เราจะต้องมุ่งมั่นทำสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จเป็นรูปธรรมให้จงได้ แต่ในระหว่างที่ดำเนินการ หากมีความคิดใหม่ ๆ เข้ามา เราต้องรับฟังและนำมาขบคิดพิจารณาว่าสิ่งใดที่แตกต่างไปจากที่เราเข้าใจหรือไม่ หรือมุมมองใหม่นั้น มีเหตุมีผลพอที่จะหักล้างในสิ่งที่เราเชื่อหรือไม่ หรือมีสิ่งใดที่จะช่วยส่งเสริมให้เราก้าวไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วมากขึ้นหรือเปล่า

6) จงอย่าสู้หรือแข่งขันในสมรภูมิที่เราเสียเปรียบก่อนอื่นเราต้องศึกษาจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเราหรือสินค้าของเราอย่างถ่องแท้เสียก่อน นอกจากนั้น ในตลอดสามปีที่ผ่านมาบริษัทคู่แข่งของเราผลิตสินค้าหรือดำเนินนโยบายใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหรือบริษัทของเราบ้างหรือไม่ และตัวเราเตรียมรับมือกับคู่แข่งอย่างไร และทำอะไรไปบ้างที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหรือต่อคู่แข่ง และที่สำคัญคือ เราต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ในอีกสามปีคู่แข่งน่าจะทำอะไรบ้าง และเราจะเตรียมทำอะไรสำหรับการแข่งขันในอนาคต เป็นต้น

2.วิธีการบริหารเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร

วิธีการบริหารของแจ็ค เวลช์ เหมาะกับองค์กรใหญ่ ๆ ที่พนักงานไม่มีความกระตือรือร้น ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม มีการเล่นเส้นเล่นสาย และมีการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า เป็นต้น วิธีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กร มีดังนี้

1) สร้างความปริวิตกและหวาดกลัวให้กับพนักงานทุกคน
แจ็ค เวลช์ บอกพนักงานทุกคนว่า หากทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรได้แล้ว คุณอาจจะถูกปลดออกได้ทุกเวลา และที่สำคัญ ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับนโยบายของจีอีแล้ว คุณก็ไม่สมควรที่จะทำงานกับจีอีอีกต่อไป อาจจะดูรุนแรงและโหดร้าย แต่แจ็ค เวลช์ให้เหตุผลว่า เขาทำทุกอย่างเพื่อจีอี และเขามีความยุติธรรมพอ ที่จะให้การเลื่อนขั้นตามความสามารถของพนักงาน และเขามีความเชื่อที่ว่า ในเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะเข้ามาทำงานกับองค์กร รับเงินเดือนจากองค์กร แต่ไม่มีความจงรักภักดีต่อองค์กรหรือตั้งใจทำงานก็ถือได้ว่าไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะทำงานร่วมกันอีกต่อไป และถึงแม้ว่า พนักงานคนนั้นจะมีความสามารถสักเพียงใด แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับนโยบายขององค์กรก็ต้องปลดออก

แจ็ค เวลช์ มีวิธีการกำจัดพนักงานที่หัวแข็งและทำงานมานานแต่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยการจ้างพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความสามารถมาทำงานเพื่อท้าทายความสามารถของพนักงานหน้าเดิม จนพนักงานรุ่นเก่าเหล่านั้นอึดอัดและยอมลาออกไปเอง อาจจะดูไร้ความปรานีแต่ทุกอย่างตั้งอยู่บนความยุติธรรม และบนพื้นฐานของความเป็นจริง คนเก่งมีผลงานย่อมได้รับการเลื่อนขั้นตามความเป็นจริง ไม่มีการเล่นเส้นสายใด ๆ หรือถ้ายังไม่ยอมลาออก แจ็ค เวลช์ จะสั่งให้ย้ายไปทำงานประเภทที่น่าเบื่อ จนต้องยอมลาออกไปเอง แต่ถ้ายังไม่ยอมลาออกอีก หรือมีพวกพ้องมากมายทำให้สั่งย้ายลำบาก แจ็ค เวลช์ ก็จะใช้วิธีตั้งเป้าหมายงานให้สูง ทำได้ยาก จนหมดแรงและลาออกไปเองในที่สุด

2) สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับองค์กร
สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บอกพนักงานทุกคนว่า องค์กรต้องการอะไร และกำลังมุ่งไปสู่จุดไหน เมื่อไหร่ อย่างไร พนักงานทุกคนจะต้องทำงานรวมเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแยกกรมกองหรือแผนกอีกต่อไป ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะต้องได้รับการเสนอจากระดับล่างสู่ระดับบนอย่างไม่มีข้อยกเว้น และหากหัวหน้าคนใดพยายามที่จะสกัดกั้นลูกน้องไม่ให้แสดงออกหรือแย่งผลงานลูกน้องไปเสนอเสียเอง จะต้องถูกปลดออกทันที นอกจากนั้น พนักงานคนใดที่ได้รับมอบหมายงานไปแล้วไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่รับปากได้ จะไม่ได้รับการเลื่อนขั้นหรืออาจจะต้องถูกลดตำแหน่งลงตามความเหมาะสม

3) ยกเลิกการผลิตสินค้าที่จีอีไม่สามารถครองตลาดได้เป็นอันดับหนึ่งหรือสองออกทั้งหมด
เพื่อปรับองค์กรให้เล็กลงและมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สินค้าใดที่ไม่ทำกำไร หรือมีกำไรแนวโน้มที่จะลดลงอีกในอนาคตก็ให้ตัดออกเสีย เมื่อคนในองค์กรมีจำนวนน้อยลง ไม่มีการทำงานซ้ำซ้อน ทุกคนมีงานต้องทำ พนักงานก็จะมีความตื่นตัวและกระตือรือร้น ขยันทำงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สินค้าของ จีอี ติดตลาดมาจนถึงทุกวันนี้ คือ แจ็ค เวลช์ จะเน้นที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ในที่นี้คือการรู้ซึ้งถึงความต้องการของลูกค้าว่าต้องการสินค้าแบบใด เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองตอบต่อความต้องการตรงจุดไหน และสินค้าจะต้องมีความทันสมัยตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

3. ทักษะ 4 ประการที่ แจ็ค เวลช์ ปลูกฝังให้กับพนักงานที่จะก้าวขึ้นมาสู่ระดับผู้บริหาร

1) มีทักษะในการสื่อความ
พูดจาชัดเจน ตรงประเด็น และพูดเพื่อความสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย เน้นผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลักและมีความยุติธรรม

2) ทักษะในการทำงานเป็นทีมสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

3) ทักษะในการบริหารทำงานอย่างรวดเร็ว เรียบง่าย และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้องได้ว่า ตนสามารถนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

4) ทักษะในการฟังฟังมากกว่าพูด และถ้าจะต้องพูดให้ "พูดทีละคำ ฟังทีละเสียง"



************************************************************************************************
เครดิตเว็บ ดร.บุญชัย : โกศลธนากุล