วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ซิกมันด์ ฟรอยด์

เกิด : วันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 ที่ Freiberg, Moravia ปัจจุบันอยู่ในสาธารณเชก (Czech Republic)เสียชีวิต : วันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1939 ที่ประเทศอังกฤษ (England)ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ (The Father of Psychoanalysis) เป็นชื่อที่ผู้ศึกษาหรือสนใจทางวิชาจิตวิทยารู้จักดี ทั้งนี้เพราะว่าเขาเป็นคนสำคัญที่บุกเบิกการศึกษาทางจิตเวช และทฤษฎีต่างๆ ที่เขาค้นพบก็ยังคงนำมาใช้บำบัดโรคทางจิตอยู่จนทุกวันนี้Sigismund Schlomo Freud คือชื่อเต็มของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เขาเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 ที่ Freiberg, Moravia ปัจจุบันอยู่ในสาธารณเชก (Czech Republic) บิดาของฟรอยด์เป็นพ่อค้าขนสัตว์ เมื่อเขาอายุได้ 4 ขวบครอบครัวของเขาก็อพยพไปอยู่ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีช่องทางค้าขายดีกว่า ตอนแรก ฟรอยด์คิดถึงบ้านเก่ามาก เพราะเคยได้วิ่งเล่นกลางแจ้ง แต่ต่อมาเมื่อโตขึ้น เขาก็ได้พบสิ่งที่สนุกสนานกว่าการวิ่งเล่น นั่นคือการอ่านหนังสือฟรอยด์ ชอบอ่านหนังสือมาก และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เขาเป็นคนฉลาด ตลอด 8 ปีของการเรียนในโรงเรียน ฟรอยด์สอบได้ที่ 1 ถึง 6 ครั้งด้วยกันเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม และจบจากโรงเรียนแล้ว ฟรอยด์ยังไม่แน่ใจว่าเขาควรจะยึดถืออาชีพอะไรดีในอนาคต อย่างไรก็ตาม ที่สุดเขาก็สอบเข้าศึกษาต่อวิชาแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนา (University of Vienna) ตอนนั้นเขาอายุได้ 17 ปีถึงแม้จะเรียนแพทย์ แต่ฟรอยด์ก็สนใจศึกษาค้นคว้าวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตอื่นๆ และทั้งๆ ที่ฐานะของเขาไม่สู้ดี ฟรอยด์ยังสามารถเรียนมหาวิทยาลัยได้ถึง 8 ปี (1873 - 1881)โดยหาเงินได้จากการแปลและสอนพิเศษ นอกจากนั้น ครูอาจารย์และเพื่อนๆ ที่สนิทสนมแลเห็นความสามารถของเขา ก็ให้ยืมเงินอีกจำนวนหนึ่งด้วยปี 1881 ฟรอยด์ได้รับปริญญา แต่กระนั้นเขาก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นแพทย์ฝึกหัดดีหรือไม่ เขาก็เลยหันไปทำการค้นคว้าต่อทางด้านเซลล์สมอง ในตอนนี้เอง ฟรอยด์ได้หมั้นกับ มาร์ธา เบิร์นเนย์ (Martha Bernays) เขารู้ว่าถ้าเขายังคงทำการค้นคว้าต่อไป ก็คงไม่มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวดังนั้น ฟรอยด์จึงตัดสินใจว่าจะประกอบอาชีพแพทย์ ปี 1886 เขากับมาร์ธาก็แต่งงานกัน และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ทั้งสองมีลูกด้วยกันถึง 6 คน เมื่อตอนก่อนที่ฟรอยด์จะแต่งงาน เขาได้ไปศึกษาเรื่องเชื้อโรคทางสมองและประสาทที่ปารีส กับ ชาร์โคต์ (Jean Charcot) ซึ่งทำการรักษาคนไข้ที่เป็นอัมพาต ฟรอยด์เริ่มเชื่อว่าคนป่วยแบบนี้บางคนมีสาเหตุทางจิตใจ ไม่ใช่ทางกายเมื่อฟรอยด์กลับมาเวียนนา เขาได้ทำงานเป็นแพทย์ทางสมองและประสาท และได้พบคนไข้ประเภทเดียวกับที่พบมาในปารีส คือ เป็นอัมพาตโดยไม่มีสาเหตุทางร่างกายเลย คนไข้เหล่านี้พอใจที่จะมีใครสักคนหนึ่งคอยฟังเขาพูดโดยไม่แสดงความเบื่อหน่าย คนป่วยด้วยสาเหตุทางจิตนี้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวที่ประสบมาในวัยเด็ก ซึ่งเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นความรู้สึกอันนั้นก็ยังคงซ่อนอยู่ จนกระทั่งเมื่อเกิดสภาพการณ์ใดที่คล้ายคลึงกันนั้นขึ้น ก็จะทำให้คนผู้นั้นเกิดอาการเจ็บป่วย เนื่องจากสาเหตุด้านจิตใจดังกล่าวมาแล้ววิธีการของ ฟรอยด์ ก็คือ พยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจสภาพการณ์นั้น และแก้ไขวิธีการแบบนี้เรียกว่า "จิตวิเคราะห์" ปรากฏว่า ผู้ป่วยหลายรายที่ได้รับการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์แล้วก็หายป่วย แต่ถึงกระนั้นบรรดาแพทย์เก่าก็ยังไม่ยอมรับ ฟรอยด์ได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นของเขาในเรื่องนี้ในวารสารวิทยาศาสตร์หลายฉบับ แต่เขาก็ไม่ละความพยายามจนกระทั่งปัจจุบันวงการแพทย์ก็ยอมรับว่าวิธีการของฟรอยด์เป็นวิธีที่ถูกต้องศิษย์ของฟรอยด์หลายคนได้นำวิธีการของเขาไปใช้ในการบำบัดรักษา และได้พัฒนาขึ้น มีการประชุมกันระหว่างแพทย์จากนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในปี 1908 เป็นครั้งแรกราวปี 1930 งานของฟรอยด์ก็เป็นที่ยอมรับและยกย่องกันทั่วไป อย่างไรก็ตาม ปี 1938 เมื่อกองทัพนาซีเยอรมันเข้ายึดเวียนนาและออสเตรียทั้งหมด ฟรอยด์ซึ่งเป็นยิวจึงต้องหลบหนีออกจากออสเตรีย ซึ่งเขาใช้ชีวิตอยู่ถึง 52 ปี มาอยู่อังกฤษและถึงแก่กรรมที่นั่นด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1939ผลงานการตีพิมพ์ที่สำคัญ :
The Interpretation of Dreams, 1900
The Psychopathology of Everyday Life,1901
Three Essays on the Theory of Sexuality, 1905
Totem and Taboo, 1913
On Narcissism, 1914
Beyond the Pleasure Principle, 1920
The Ego and the Id, 1923
The Future of an Illusion, 1927
Civilization and Its Discontents, 1929
Moses and Monotheism, 1939

ไม่มีความคิดเห็น: