วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

ราคาที่ดิน

http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/26/news_298038.php
26 กันยายน พ.ศ. 2551 00:00:00
เปิดราคาที่ดิน 10 ทำเลกรุงเทพฯ "รุ่ง" หรือ "ร่วง"
ราคาที่ดินเกาะแนวรถไฟฟ้าพุ่งกระฉูด AREA เผยตลอด 3 ปีขึ้นมาแล้วเฉลี่ยสูงสุด 60% สวนทางราคาที่ดินชานเมืองร่วงหนักตามการเมือง เศรษฐกิจ
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ AREA (บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอลเตท แอฟแฟร์ส) เปิดเผยว่า AREA ได้ทำการสำรวจการปรับตัวของราคาที่ดินประจำปี 2550 โดยขอนำเสนอราคาที่ดิน 10 ทำเลเด่นในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ถนนแจ้งวัฒนะ (ใกล้บริเวณศูนย์ราชการแห่งใหม่)
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 34,000 - 100,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 120,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 10% - 20%
2. ถนนวิภาวดี - รังสิต (ถนนพหลโยธิน - สี่แยกรัชโยธิน)
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 60,000 - 160,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 200,000 - 250,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 25% - 35%
3. ถนนเกษตร - นวมินทร์ (ถนนประดิษฐ์มนูธรรม - ถนนนวมินทร์)
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 10,000 - 30,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 50,000 - 60,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 70% - 100%
4. ถนนพญาไท
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 210,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 250,000 - 300,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 25% - 35%
5. ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 1 - ซอยสุขุมวิท 21)
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 170,000 - 200,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 200,000 - 300,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 35%
6. ถนนสุขุมวิท 77 (ถนนอ่อนนุช - เขตสวนหลวง)
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 11,000 - 85,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 82,000 - 120,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 10% - 20%
7. ถนนร่มเกล้า
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 10,000 - 21,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 20,000 - 25,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 5% - 10%
8. ถนนพระราม 3 (ถนนนราธิวาสฯ - สี่แยกถนนตก)
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 80,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 100,000 - 150,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 50%
9. ถนนราชพฤกษ์
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 45,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 50,000 - 80,000 บาท
ราคาตลาดสูงกว่าราคาประเมินประมาณ 44%
10. ถนนบางขุนเทียนชายทะเล
ราคาประเมินราชการ ตารางวาละ 15,000 - 34,000 บาท
ราคาตลาด ตารางวาละ 7,500 - 10,000 บาท
ราคาตลาดต่ำกว่าราคาประเมินประมาณ 100%
จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่าทำเลเกาะแนวรถไฟฟ้าต่างปรับตัวสูงขึ้น โดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมาราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าปรับตัวมาแล้วเฉลี่ย 45% - 60% รวมถึง การที่มีกลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกรุงเทพฯ ส่งผลให้ราคาที่ดินกลางเมืองปรับตัวสูงขึ้นสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจ และสวนทางกับภาพรวมการปรับตัวของราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเพราะการเมืองและเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะในย่านชานเมือง ดังจะเห็นได้ว่า ที่ดินบริเวณ ราคาตลาดต่ำกว่าราคาประเมินประมาณ 100% แต่เพราะราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าทั้งตลาด ทำให้ภาพรวมการเติบโตของราคาที่ดินกรุงเทพฯ ในปีนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.5% จากที่ควรจะชะลอตัวลง
"ทำเลทอง" กับราคาที่ดิน
นายวสันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาที่ดินรอบแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส พบว่า ราคาที่ดินโดยรอบเพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น พื้นที่แถวพหลโยธินช่วงต้นที่ปัจจุบันประเมินไว้ ณ ตารางวาละ 300,000 บาท นับว่าเพิ่มขึ้นถึง 76% ในช่วงปี 2541-2551 เป็นต้น
ส่วนบริเวณที่รถไฟฟ้ากำลังจะถึง ก็ปรากฎว่าราคาเพิ่มขึ้นมาก เช่น ถนนกรุงธนบุรี ราคาปัจจุบันตารางวาละ 250,000 บาท เพิ่มจากปี 2541 ถึง 56% หรือพื้นที่แถวแบริ่งก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 50% ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือช่วงบริเวณบางใหญ่ซิตี้ ราคาก็เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 55,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 90% การมีระบบขนส่งมวลชนจึงส่งผลดีต่อราคาที่ดินอย่างเด่นชัด
อาจสรุปได้ว่าทำเลเด่นๆ ที่จะดีในอนาคตเพราะระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ ทิศเหนือ ประกอบด้วย พหลโยธินแถวเสนานิคม บริเวณสะพานใหม่ ทิศตะวันออก ประกอบด้วย สุขุมวิทแถวซอยแบริ่ง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย บางใหญ่ซิตี้ รัตนาธิเบศร์ เตาปูน
ส่วนทำเลภายนอกอื่นๆ ที่เติบโตดีแต่ไม่เกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ ศูนย์คมนาคมคตากสิน และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
ส่วนบริเวณถนนอ่อนนุช-บางนา และศรีนครรินทร์-ซีคอนสแควร์นั้น มีราคาเพิ่มขึ้นมาก ก็เพราะผลพวงจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ย่านนี้เติบโตต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีถนนพระราม 3 ซึ่งมีระบบถนนและทางด่วนที่ดี และอยู่ใกล้สีลม จึงมีโอกาสกลายเป็น "สีลมแห่งที่ 2" ได้อย่างแท้จริงในอนาคต และพื้นที่นี้ยังมีที่ว่างอีกมากมายในการพัฒนา

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551



การล่มสลายของเลแมน บราเดอร์สและเอไอจี
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

22 กันยายน พ.ศ. 2551 00:10:00

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : การล้มละลายของวาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐ เลแมน บราเดอร์ส พร้อมกับการเข้ายึดกิจการของอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) โดยรัฐบาลสหรัฐ และความเสี่ยงที่บริษัทเงินทุนวอชิงตันมิวชวล อาจจะถูกปิดตัวลง ล้วนแต่เป็นการสะท้อนว่า ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นมีความรุนแรงและแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางเกินความคาดหมายของทางการสหรัฐเป็นอย่างมาก ทำให้เชื่อได้ว่าจะยังมีปัญหาในอนาคตอีกมากไปจนถึงกลางปีหน้า และจะเป็นภาระที่ท้าทายประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่อย่างมาก แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ผลกระทบโดยตรงจะไม่มีมากนัก เพราะมีสถาบันการเงินที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินสหรัฐน้อยมาก อาทิเช่น กรณีเลแมนนั้นมีธุรกรรมร่วมกับสถาบันการเงินไทยเพียง 4,000 ล้านบาท และแม้จะมีการลงทุนและปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอีก 50,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นสินทรัพย์ที่น่าจะหาผู้ซื้อมาทดแทนได้โดยง่าย

ในส่วนของเอไอจีสหรัฐกับบริษัทประกันภัยเอไอเอในประเทศไทย ก็เป็นนิติบุคคลที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยเอไอจีถือหุ้นเอไอเอส่วนหนึ่งจึงมีส่วนเพียงการได้รับเงินปันผลจากเอไอเอ และในส่วนของธุรกิจการประกันภัยในประเทศไทยก็เป็นธุรกิจที่มั่นคงและมีเงินทุนเกินกว่าเกณฑ์ของทางการอยู่มาก ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐก็ได้ยอมปล่อยกู้ให้กับเอไอจีแล้ว 85,000 ล้านดอลลาร์ เป็นเวลา 2 ปี และรัฐบาลได้เข้าไปควบคุมกิจการเอไอจี เพื่อขายสินทรัพย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชดใช้หนี้สินและความเสียหาย จึงจะทำให้ธุรกิจหลัก คือ การประกันภัยไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนแต่อย่างใด

แต่ประเทศไทยย่อมจะได้รับผลกระทบในทางอ้อมใน 2 ด้าน คือ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังลามมาที่เศรษฐกิจยุโรป เศรษฐกิจญี่ปุ่นและเศรษฐกิจเอเชียโดยรวม โดย เมอร์ริล ลินช์ เชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวประมาณ 2% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ และไตรมาส 1 ของปีหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นอาจขยายตัวเพียง 1.0-1.5% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สำหรับเอเชียนั้นเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระดับ 7-8% โดยมีจีนเป็นแกนนำ แต่เศรษฐกิจจีนเองก็เสี่ยงที่อาจจะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดเอาไว้เดิมที่ 9-10% (โดยอาจขยายตัว 8-9%) ทำให้ธนาคารกลางของจีนรีบลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงไป 0.27% ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนมิได้คาดการณ์มาก่อน การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกย่อมจะส่งผลต่อการขยายตัวของการส่งออกของไทยตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของไทยน่าจะขยายตัวสูงถึง 23% (เมื่อคำนวณเป็นเงินดอลลาร์) แต่ในปีหน้า คงจะขยายตัวได้เพียง 10-15%

ผลกระทบทางอ้อมอีกด้านหนึ่ง คือ การปรับลดลงของสภาพคล่องทางการเงินของโลก ทั้งนี้ เพราะในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินต่างๆ พัฒนาตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก โดยมิได้ควบคุมความเสี่ยง เพราะเชื่อว่าสถาบันการเงินและนักลงทุนสามารถดูแลและกระจายความเสี่ยงกันเองได้ การเกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ และหลายประเทศในยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ (อาทิเช่น อังกฤษ สเปน อิตาลี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและแอฟริกาใต้) เป็นพื้นฐานให้สถาบันการเงินออกตราสารและอนุพันธ์ประเภทต่างๆ มามากมาย คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านล้านดอลลาร์ แต่เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์เริ่มปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง (ราคาบ้านในสหรัฐลดลง 15%) ก็ทำให้ตราสารและอนุพันธ์ต่างๆ ที่อาศัยอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันและประเมินว่าเป็นตราสารและอนุพันธ์ที่มีคุณภาพสูงระดับเอ 3 ตัว หรือเทียบเท่ากับตราสารหนี้ของรัฐบาลสหรัฐกลายเป็นตราสารและอนุพันธ์ด้อยคุณภาพ ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ เนื่องจากไม่มีผู้ต้องการซื้อ

ดังนั้น สถาบันการเงินต่างๆ ที่ลงทุนในตราสารและอนุพันธ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เลแมนและเอไอจีจึงมีปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ทำให้สถาบันการเงินอื่นๆ ไม่กล้าทำธุรกรรมร่วมหรือปล่อยกู้ให้ จนประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ทุนไม่พอจนบางบริษัทต้องเข้าสู่สภาวะล้มละลาย หรือบางบริษัทก็ต้องหาผู้มาซื้อกิจการ อาทิเช่น เมอร์ริล ลินช์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจชั้นนำเช่นเดียวกับเลแมน ซึ่งไหวตัวทัน รีบเจรจากับแบงก์ออฟอเมริกาให้เข้าควบรวมกิจการของเมอร์ริล ลินช์ ทั้งหมดเมื่อวันที่ 15 กันยายน ซึ่งปัญหาการลดลงของสภาพคล่องดังกล่าว ทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ต้องร่วมกันอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินโลกเกือบ 3 แสนล้านดอลลาร์ ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐนั้นจะยังปะทุขึ้นมาอีกในอนาคต และจะเป็นภาระอย่างใหญ่หลวงกับธนาคารกลางสหรัฐและรัฐบาลสหรัฐ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด คือ การจะต้องเข้าไปเพิ่มทุนให้กับแฟนนี เม และเฟรดดี แมค สถาบันปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ปล่อยกู้และค้ำประกันเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์มากถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ เพราะเมื่อราคาบ้านในสหรัฐปรับลดลง 15% (และอาจปรับลดลงอีก 10%) ก็เชื่อได้ว่าแฟนนีและเฟรดดีจะต้องได้รับความเสียหายจากปัญหาหนี้เสียอีกมาก สมมติว่าทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้งสองเสียหาย 5% ก็หมายความว่ารัฐบาลจะต้องเพิ่มทุนเพื่อชดใช้ความเสียหายกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ เพราะทุนของแฟนนีกับเฟรดดีนั้น ขณะนี้ อาจลดลงเหลือไม่ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์

สรุปได้ว่าปัญหาหลักของสถาบันการเงินที่เผชิญกับวิกฤติทางการเงิน ทำให้ต้องล้มละลายเป็นเพราะสถาบันการเงินดังกล่าว ดำเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยลงทุนอย่างขาดความระมัดระวังและกู้เงินมาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยมีทุนของตนอยู่เพียงเล็กน้อย เพราะมั่นใจเกินไปและอยากได้กำไรสูง จะเห็นได้ว่าบริษัทแบร์สเติร์นส์ เลแมน เอไอจี และเมอร์ริล ลินช์นั้น ล้วนแต่มีสินทรัพย์ต่อทุนประมาณ 20-30 เท่า หรือลงทุน 1 บาท และกู้เงินมา 29 บาท เพื่อใช้ในการลงทุน ทำให้เมื่อมีปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ ทุนก็จะหมดลงได้อย่างรวดเร็ว และเกิดปัญหาสภาพคล่องได้โดยง่าย ยังมีสถาบันการเงินของสหรัฐที่มีลักษณะเช่นนี้อยู่อีก จึงไม่ควรแปลกใจหากมีสถาบันการเงินของสหรัฐล้มละลายอีกหลายแห่งใน 6-12 เดือนข้างหน้า

http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/22/news_296068.php

เลแมน บราเดอร์ เมื่อยักษ์ล้ม 

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีข่าวไหนดังไปกว่าข่าว เลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่อันดับสี่ของโลก ยื่นขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และเอไอจี กลุ่มสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และรัฐบาลของสหรัฐต้องให้เงินกู้ฉุกเฉิน 85,000 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ยประมาณ 11.4% ต่อปี โดยแลกกับการให้รัฐบาลเข้าไปถือหุ้น 79.9%

ทำไม่รัฐบาลสหรัฐ ต้องเข้ามาอุ้มเอไอจี ในขณะที่ไม่อุ้มเลแมน รัฐให้เหตุผลว่า เพราะเอไอจีเกี่ยวพันกับตลาดการเงินมาก นักวิเคราะห์กล่าวว่า ไม่มีธนาคารใหญ่ขนาดใหญ่รายใด ที่ไม่มีธุรกรรมกับเอไอจี

นอกจากนี้ เอไอจียังเป็นบริษัทประกันที่มีขนาดของทรัพย์สินใหญ่ที่สุดในสหรัฐ โดยมีทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ มีพนักงานกว่า 116,000 คนใน 130 ประเทศทั่วโลก สรุปคือเกี่ยวข้องกับทั้งสถาบันการเงิน และประชาชนจำนวนมาก และจะเป็นปัญหาต่อระบบสถาบันการเงินทั่วโลก ในขณะที่เลแมน เกี่ยวกับสถาบันการเงินที่ทำธุรกรรมกัน และประชาชน เฉพาะผู้ที่เป็นผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน

สภาพของระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ไม่แตกต่างอะไรกับเมืองไทยเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ผู้ลงทุนและผู้เอาประกันต่างก็ตื่นตระหนกตกใจ กลัวว่าเงินลงทุนหรือเงินประกันที่อยู่กับสถาบันการเงินเหล่านี้จะสูญไป หากรัฐไม่เข้าไปอุ้ม ผลร้ายต่อเศรษฐกิจโดยรวมก็จะยิ่งขยายวงกว้างขึ้น

ก่อนหน้าที่รัฐบาลสหรัฐจะตัดสินใจเข้าไปอุ้มเอไอจี J.P. Morgan Chase และ Goldman Sachs ได้ตกลงจะหาเงิน 75,000 ล้านดอลลาร์มาให้ เอไอจีแล้ว แต่พอตลาดการเงินเกิดตึงขึ้นมา ทั้งสองบริษัทก็รู้ว่าไม่สามารถจะระดมเงินมาให้เอไอจีได้ทัน รัฐบาลจึงต้องเข้ามาอุ้มเอไอจีแทน

การเข้ามาอุ้มเอไอจีของรัฐบาลสหรัฐ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรว่า นำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยบริษัทเอกชน แต่ประธานาธิบดีบุชก็กล่าวยืนยันในวันพฤหัสบดีว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับระบบสถาบันการเงิน ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

ทรัพย์สินของเอไอจีไม่ได้เลวร้าย ทรัพย์สินดีๆ ยังมีอยู่มากมาย แต่ปัญหาเกิดขึ้นเหมือนที่เกิดในไทยเมื่อ 11 ปีก่อนคือการขาดสภาพคล่อง ทำให้กองทุนฟื้นฟูต้องเข้ามาอัดฉีดสภาพคล่องให้ แลกกับทรัพย์สินจำนวนมาก

ที่เอไอจีขาดสภาพคล่องก็เนื่องจากบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ลดอันดับความน่าเชื่อถือลงเนื่องจากเอไอจีมีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับหนี้ซับไพร์ม และมีการเข้าไปประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ผ่านธุรกรรม Credit Default Swap จึงทำให้ขาดทุน ทำให้เอไอจีต้องหาเงิน 14,500 ล้านดอลลาร์ ในช่วงข้ามคืนเพื่อจ่ายคืนผู้เกี่ยวข้องและเจ้าหนี้ เนื่องจากสัญญากู้ หรือธุรกรรม ที่ทำไว้บางสัญญา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขอันดับความน่าเชื่อถือ เมื่ออันดับตกก็ต้องคืนหนี้หรือยกเลิกธุรกรรมก่อนกำหนด

ว่ากันว่าความร้ายแรงของปัญหานี้คล้ายกับสมัย Great Depression ที่ดิฉันเคยเขียนถึงเมื่อ 2-3 เดือนก่อน หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ที่เคยหวังกันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะฟื้นตัวในปี 2010 ก็อาจจะยากขึ้น

ตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินอันเกี่ยวเนื่องมาจากปัญหาหนี้เกรดสองหรือ ซับไพร์ม แล้ว เหตุการณ์ก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ หลายๆ อย่างเกิดจากธุรกรรมใหม่ๆ ที่วาณิชธนากรคิดขึ้น เช่นกรณีการนำหนี้มากองรวมกันแล้วจัดกลุ่มใหม่ตามความเสี่ยงแล้วนำออกขาย แบบ ซีดีโอ (Collateralized Debt Obligation) ที่มีบางส่วนเป็นสินเชื่อซับไพร์ม และมาครั้งนี้ เกิดจาก Credit Default Swap

Credit Default Swap คือการแลกเปลี่ยนความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ โดยผู้ออกตราสารจะเป็นผู้จ่ายเงินต้นคืนให้กับผู้ซื้อประกันความเสี่ยงนี้ตามหน้าตั๋ว ในกรณีที่ผู้ออกตราสารไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ได้ ประมาณว่าตลาดนี้มีขนาด 62 ล้านล้านดอลลาร์ เริ่มขึ้นประมาณสิบปีเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยธนาคารไม่ให้เสียหายจากหนี้เสีย โดยมีบุคคลที่สามเข้ามาสอดรับความเสี่ยงนี้ เช่น เอไอจีและเลแมน และภายหลังก็มีการซื้อขายสัญญา Credit Default Swap โดยไม่ต้องมีตราสารหนี้หนุนหลัง

ตลาดของ Credit Default Swap เป็นตลาดที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง หรือที่เรียกว่า โอทีซี (Over-The-Counter: OTC) ดังนั้นจึงประมาณยากว่า มีธุรกรรมค้างอยู่จำนวนเท่าใด เท่าที่ทราบจากของเอไอจีที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ เอไอจีมีการขายประกันให้กับผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีมูลค่าประมาณ 441,000 ล้านดอลลาร์ และมีส่วนที่เป็นสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับซับไพร์มประมาณ 57,800 ล้านดอลลาร์ แต่ไม่ใช่ว่าทั้งหมดจะกลายเป็นศูนย์นะคะ

สัปดาห์ที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาของยักษ์ล้มอย่างแท้จริง เพราะการล้มละลายของเลแมนครั้งนี้เป็นการล้มละลายที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เลแมนบราเดอร์ส ซึ่งก่อตั้งมา 158 ปี มีพนักงานทั่วโลกรวม 25,000 คน ต้องทยอยขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชี

http://www.bangkokbiznews.com/2008/09/22/news_27275525.php?news_id=27275525


 เอไอเอสตัดใจรุกขยาย HSPA ต่อ หลังภาพการเมืองแกว่ง-บี้ดีแทค (Telecom Journal)
     วันจันทร์ 22 กันยายน 2008 - 8:32
AIS ระบุการเมืองแกว่ง และคู่แข่งเร่งเครื่อง ทำให้ต้องเร่งพิจารณานำเข้าHSPA มาขยายเพิ่มอีก 430 base station ไปก่อน 
วิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวาน อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า เมื่อปลายสัปดาห์กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาAIS ได้นำกรรมการบางส่วนของกทช. เยี่ยมชมสถานีฐานที่ติดตั้งอุปกรณ์3G ด้วยเทคโนโลยีHSPA ที่เชียงใหม่และเปิดให้บริการไปตั้งแต่ มิถุนายนแล้ว ด้วยศักยภาพของ 25 sites ที่มีอยู่ ในโอกาสที่กทช. จัดสัมมนาประชาพิจารณ์เรื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่และการออกใบอนุญาตบริการ3G ที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการประชาพิจารณ์ครั้งที่สอง 

ทั้งนี้กทช.จะจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย 26 กันยายนนี้ ที่ภูเก็ต และมีแผนจะออกประกาศหลักเกณฑ์สำหรับ 3G ในปลายปีนี้ 

เขา กล่าวว่า AIS ได้รับอนุมัติจากกทช. เมื่อ 14 สิงหาคมให้นำเข้าอุปกรณ์ HSPA อีกจำนวน 430 base station เพื่อนำมาปรับปรุงโครงข่ายทำ3G ในกรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ๆ พร้อมๆกับที่ดีแทคก็ได้รับอนุญาตจำนวน 1200 base station และ ทรู มูฟ จำนวน 650 base station 
เขากล่าวว่าแต่เดิมAIS ไม่ต้องการเร่งรีบนำเข้าและติดตั้งอุปกรณ์HSPA เพิ่มเพื่อเปิดบริการ3G อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นบริการ บนคลื่นความถี่เดิมในสัมปทานของทีโอทีซึ่งต้องมีการโอนทรัพย์สินให้รัฐก่อนเปิดบริการตามเงื่อนไข Build-transfer-operate ซึ่งหากมีการให้ใบอนุญาต 3G จากกทช.ด้วยต้นทุนที่ไม่แพง ก็จะทำให้AIS เสียโอกาสในการทำบริการ3G ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง 

นอกจากนี้ 3G service เป็นบริการใหม่ ที่ยังต้องใช้เวลาพิสูจน์ demand ของลูกค้าให้ชัดเจน เพราะที่เชียงใหม่ที่เปิดให้บริการมา ก็มีลุกค้าเข้าระบบไม่มาก 

อย่างไรก็ตาม สภาวะการเมืองวันนี้ค่อนข้างแกว่งตัวมาก ไม่แน่นอน และคู่แข่งอย่างดีแทคก็มีท่าทีต้องการทำบริการเร็ว บริษัทจึงต้องพยายามนำเข้าอุปกรณ์HSPA เข้ามาให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้กำลังเลือกยี่ห้อจากเวนเดอร์ต่างๆอยู่ จากในรอบที่แล้วที่ใช้ของ หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ทั้งหมด 

AIS จะขยาย 3G HSPA ในรอบที่สองที่กรุงเทพบางส่วน และเพิ่มเติมที่เชียงใหม่ ก่อนที่จะพิจารณาในเมืองใหญ่อื่นๆอย่างชลบุรี โดยจะไม่ขยายแบบไร้ทิศทาง 

“เราติดตามทั้งคู่แข่งและการเมือง ดีแทคคงต้องการทำเร็ว และวันนี้เราไม่มีทางเลือกมากนัก เราจึงต้องทำเร็วตามไปก่อน หากภาพนโยบาย3G license ชัดเจนในอนาคต ค่อยมาปรับตัวอีกครั้ง” 

ก่อนหน้านี้เขาเคยระบุว่า ดีแทคควรดำเนินการขยายHSPA ด้วยความรอบคอบ และไม่ควรรีบหวังว่าจะใช้ 3G HSPA นี้เป็น”หมัดเด็ด”ในการคว่ำAIS เพราะ AIS ก็จะลงทุนประกบในทุกพื้นที่เช่นกัน 

เอไอเอส หวังว่า 3G ในวันนี้เป็นแค่ gimmick เท่านั้น เพราะตลาดยังต้องได้รับการ educate ให้ลุกค้า และรอกทช. ให้ใบอนุญาต3G ในความถี่ย่าน 2000 MHz ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขใหม่ทั้งหมด นอกสัมปทานเดิม 

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าเอไอเอส เสียเปรียบDTAC ในเรื่องความถี่ที่ใช้ในการให้บริการ3G HSPA เพราะเป็น slot เดียวกับที่ให้บริการ2G service อย่างไรก็ตามตั้งแต่ที่ DTAC มีแผนในการขอความถี่ย่าน 850 MHz จากกสท.ทางAIS ก็ประเมินการตั้งรับมาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้มองทางออกไว้หลายทาง 

โดยเฉพาะ AIS กำลังพิจารณาความร่วมมือมากขึ้นกับ ทีโอที ใน Thai Mobile กิจการลุกของทีโอที ที่มีความถี่ในย่าน 1900 MHz 1965 – 1980 MHz และ 2155 – 2170 MHz นอกจากนี้AIS ยังเชื่อว่าDTACไม่สามารถติดตั้ง HSPAในกทม.ได้เร็ว เพราะเป็นย่านที่มีความหนาแน่นของ base station มาก และ W-CDMA equipment ต้องปรับจูน tune coding ซึ่งซับซ้อนและใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งยากกว่าการจูนความถี่หรือ tune frequency ธรรมดา 

แหล่งข่าว กล่าวว่า ดีแทค มุ่งหวังเป็นอย่างมากต่อโครงการนี้ เพราะ 3G เป็นบริการใหม่ที่เริ่มต้นพร้อมๆกัน แม้ทั้งหมดจะอิงตามสัมปทานเดิมที่เหลืออยู่ แต่DTAC จะให้บริการด้วยความถี่ 850 MHz ที่ได้เปรียบเอไอเอส 

DTAC เตรียมที่จะดำเนินการติดตั้งสถานีฐาน ด้วยเม็ดเงินลงทุนในเฟสแรกประมาณ 5000 ล้านบาท เพื่อให้การให้บริการสามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพ ภูเก็ต และชลบุรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ และมีความต้องการด้านการตลาดค่อนข้างสูง จะสามารถดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 1 ปี 

แหล่งข่าว ให้ข้อสังเกตว่า หากมีการนำเข้าอุปกรณ์HSPAเข้ามาอย่างรวดเร็ว นั่นหมายถึงต้องอยู่ในเงื่อนไขในการส่งมอบให้รัฐ ซึ่งกรณีของDTAC ต้องส่งมอบให้กสท.ตามเงื่อนไข BTO และหากติดตั้งจนใกล้เปิดบริการ แต่กทช. มีความชัดเจนจะให้ใบอนุญาต3G ก็จะเกิดความเสียเปล่าหรือเสียหายทันที 

อย่างไรก็ตาม HSPA สามารถปรับใช้ในความถี่ย่านใหม่ 2.1GHz ที่กทช.จะให้ได้ เพียงเปลี่ยน radio frequency หรือ RF card เท่านั้น ก็สามารถใช้งานได้ ดังนั้นจึงน่าจับตาว่า หากเอกชนต้องการประวิงเวลารอดูความชัดเจนใน3G license จากกทช. ซึ่งหากกทช. มีความชัดเจนเร็วก่อนที่เอกชนจะทำบริการ 3G HSPA เต็มรูปแบบ เอกชนก็รอปรับความถี่ และไม่ต้องส่งมอบอุปกรณ์หรือทรัพย์สินตามเงื่อนไข BTO ของสัมปทานเดิม 

ทรู มองต่างมุม ชี้มือถือโตดี สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด กลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ไม่กระทบต่อ อุตสาหกรรมมือถือโดยภาพรวม เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจมือถือหลังจากนี้จะ มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี 3G ทั้งบนคลื่นความถี่เก่า หรือHSPA และ บนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งได้วางแผนไว้ในระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ การเมืองที่วุ่นวาย ยังมีส่วนช่วยให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น คาดว่าทรูมูฟจะ มีลูกค้าใหม่เข้าสู่ระบบได้ 1 ใน 3 ของผู้ใช้มือถือรายใหม่ในปีนี้ ที่คาดว่า จะอยู่ประมาณ 8-9 ล้านราย 

สุภกิจ กล่าวว่า ทรูมูฟพยายามเน้นขยายช่องทางการ เติมเงินเข้าถึงผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ทั้งผ่านพนักงานนำจ่ายไปรษณีย์ โทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์สาธารณะของทรู 7-Eleven โมบาย ท็อปอัพ เครื่องหยอดการ์ดตามห้างสรรพสินค้า เอทีเอ็ม ถือเป็นจุด แข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับทรูมูฟในการแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่อีก 2 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค 

วิเชียร กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ทางธุรกิจในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว การลงทุน และประโยชน์นั้นๆ ก็ไป ตกที่ประเทศเพื่อนบ้านแทน อย่าง เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น

โจทย์ของเบอร์ 3 "ทรูมูฟ" "ทำอย่างไรให้ลูกค้าใช้เราง่ายที่สุด" (ประชาชาติธุรกิจ)
 วันจันทร์ 22 กันยายน 2008 - 8:37
เวลาถามถึงสถานการณ์ตลาด และการแข่งขัน รายไหนรายนั้นเป็นต้องพาดพิงไปถึงน้องเล็ก "ทรูมูฟ" ทุกที เนื่องมาจากผลประกอบการที่เข้าขั้นน่าเป็นห่วง ท่ามกลางสภาพตลาดที่ดูไม่สดใสนักจากสารพัดปัจจัยลบ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และกำลังซื้อ

ไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา แม้ "ทรูมูฟ" จะมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 5.7 แสนราย คิดเป็น 38% เทียบกับไตรมาสแรก มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 17% เป็น 23% แต่หันมาดูรายได้จากบริการ กลับลดลงถึง 9% 

"ทรูมูฟ" หวังว่าในครึ่งหลังของปีจะดีขึ้น และกลับมารุกตลาดมากขึ้น ทั้งโปรโมชั่น กระตุ้นยอดขายใหม่ๆ อาทิ "โทร.ยกก๊วน" การขยายช่องทางการเติมเงินอย่างต่อเนื่อง และลดราคา "ซิม" ให้ ลูกค้าเซเว่น อีเลฟเว่นแลกซื้อได้ในราคาแค่ 2 บาท 

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ "สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์" ผู้อำนวยการด้านการตลาด กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีรายละเอียดดังนี้

- ทำไมต้องทำซิมราคาถูกขนาดนี้ออกมา

ทำออกมาเพื่อให้ลูกค้าได้ลองใช้ง่ายขึ้น ถ้าลองดูแล้วติดใจก็จะใช้ต่อ อัตราการยกเลิกก็จะน้อยลง 

เราเป็นเบอร์ 3 ทำอย่างไรให้ลูกค้าใช้เราง่ายที่สุด ถ้าซิมราคาถูกคนก็อยากใช้ แต่เราไม่ได้แจก ลูกค้าที่อยากได้ก็ต้องทำตามกติกา กรณีเซเว่นอีเลฟเว่นต้องซื้อสินค้าในร้านครบ 40 บาท ถึงมีสิทธิแลกซื้อได้ในราคา 2 บาท 

- churn rate ปัจจุบันเท่าไร

5-6% 

- ราคาถูกขนาดนี้ แพ็กเกจอื่นจะขายได้หรือ

เป็นซิมคนละแบบ อย่างแพ็กเกจซิมราคา 49 บาท จะมีค่าโทร.แถมให้ด้วย 15 บาท แต่ซิมที่แลกซื้อในเซเว่นอีเลฟเว่นจะไม่มีโบนัสค่าโทร.แถมให้ 

ตลาดมือถือในปัจจุบัน ลูกค้าเกิน 20% ถือ 2 ซิม เป็น 2 ซิม ที่แอ็กทีฟทั้งคู่ด้วยนะ ซึ่งเขาก็จะเปลี่ยนไปตามโปรโมชั่น

- ผลตอบรับจากแคมเปญโทร.ฟรียกก๊วน

โทร.ฟรียกก๊วนเน้นทุกกลุ่ม กลุ่มเพื่อน วัยรุ่น วัยทำงาน ถ้าดูจากโฆษณาจะเห็นชัด จุดขายคือค่าโทร.ถูกถ้าโทร.หากันในกลุ่ม ซึ่งก็คือแคมเปญในเน็ตเวิร์กเดียวกันนั่นละ แต่ใส่ลูกเล่นการตลาดเข้าไปเพื่อสร้างสีสัน 

ถือว่าการตอบรับที่ดีมาก เป็นแคมเปญที่แปลก และแหวกแนวกว่าคนอื่นๆ ไม่มีใครทำ ในแง่ของระบบการคิดค่าบริการ คือ เมื่อโทร.ถึง 5 บาทจะได้โทร.ฟรีทั้งวัน ถ้าโทร.ไม่ถึง 5 บาทก็จ่ายตามจริง การคิดอัตราค่าบริการแบบนี้ต้องพัฒนาระบบขึ้นมาเฉพาะ เราถือเป็นเจ้าแรกที่ทำได้

จะแตกต่างจากคอนเซ็ปต์บุฟเฟต์ที่ต้องเหมาเป็นรายเดือน

- 5 บาทโทร.ฟรีทั้งวันไม่กระทบรายได้หรือ

วันละ 5 บาท เดือนหนึ่งก็ได้ 150 บาทแล้วนะ ถือว่าพอใช้ได้ 

- ช่องทางเติมเงินใหม่ๆ ช่วยอะไรบ้าง

ล่าสุดบุรุษไปรษณีย์เติมเงินได้ เป็นช่องทางที่พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดอีซี่ท็อปอัพ คือทำอย่างไรให้ลูกค้าเติมเงินได้ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด ปีที่ผ่านมาเรามีการเติมผ่านช่องทางตู้โทรศัพท์สาธารณะ ปีนี้ขยับมาที่บุรุษไปรษณีย์ เชื่อว่าจะทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้นมาก โดยเฉพาะต่างจังหวัด เพราะบุรุษไปรษณีย์ไปถึงทุกที่ทั่วประเทศ 

ช่องทางการเติมเงินของเรานอกจากจะเพิ่มขึ้นแล้ว จำนวนเงินที่เติมยังเล็กลงด้วย เรียกว่ามีเงินเท่าไรก็เติมเท่านั้นได้เลย

เช่น เติมผ่านตู้โทรศัพท์สาธารณะก็เติมได้ตั้งแต่ครั้งละ 10 บาทขึ้นไป ต่างจากเมื่อก่อนที่เติมผ่านบัตรเติมเงิน ต่ำสุดก็ 50 บาท 

เมื่อก่อนเราเคยเชื่อว่า ถ้าลดราคาบัตรเติมเงิน และอัตราการเติมต่อครั้งให้น้อยลงจะทำให้รายได้ลดลง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลยทำให้คนเติมบ่อยขึ้นต่างหาก

เชื่อว่าในอนาคตการเติมเงินผ่านบัตรเติมเงินจะลดลง

- ปัจจุบันสัดส่วนเป็นอย่างไร

บัตรเติมเงินยังมีมากกว่า 60% ถ้ารวมโมบายท็อปอัพด้วยก็จะประมาณ 80% ได้ ที่เหลือก็เป็นการเติมผ่านช่องทางต่างๆ 

เมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งมีการเติมเงินรูปแบบใหม่ เรียกว่าไดเร็กต์ท็อปอัพ โดยให้เติมผ่านเซเว่นอีเลฟเว่น
"เลแมน" ล่มสลาย ภัยร้ายกำลังมาเยือน

จับกระแส : สุทธิพันธ์ ภู่ระหงษ์  กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

วันพรุ่งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งคงหนีไม่พ้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่จะก้าวขึ้นมารับตำแหน่งนี้ไป แม้จะมีเสียงต้านจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยอ้างว่า เป็นน้องเขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีก็ตาม

แต่หลายๆ คนก็หวังว่า ความรุนแรงทางการเมือง น่าจะลดดีกรีลงมา อานิสงส์จะส่งถึงภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามานานคงจะดีขึ้น ประชาชนมีความมั่นใจต่อการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันมากขึ้น เม็ดเงิน 1 บาท ที่ออกจากกระเป๋ามาใช้จ่าย ตามหลักทวีคูณแล้ว จะหมุนไปได้ 12 รอบ ซึ่งจะช่วยหล่อเลี้ยงให้เศรษฐกิจกลุ่มต่างๆ เดินหน้าต่อไป หลังจากที่สะดุดหยุดพักเครื่องมานาน

มองมาที่ตลาดหุ้นบ้านเรา นอกจากจะขึ้นและลงตามอุณหภูมิทางการเมืองแล้ว ยังขึ้นและลงตามอารมณ์ของนักลงทุนด้วย โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ ที่หากนับตั้งแต่ต้นปี ได้ขายหุ้นไทยออกไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดขายในระยะเวลาอันใกล้

ปัญหาของนักลงทุนต่างชาติ ที่มีผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเรานั้น นอกจากจะเป็นเรื่องของการเมืองภายในแล้ว เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ที่ซวนเซมานานนับปี เพราะพิษสงจากซับไพร์ม ยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ ยังเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้ต่างชาติพากันเทขายหุ้นในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย เพื่อไปอุดตัวเลขสีแดงในบัญชีบ้านเกิดด้วย

กรณีล่าสุด บริษัทเลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของโลก ที่ประสบปัญหาขาดทุนจากการลงทุนในซับไพร์ม ซึ่งถึงวันนี้ ยังหาเจ้าของใหม่ไม่ได้ และต้องล้มละลายในที่สุดนั้น เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า วิกฤติซับไพร์มในตลาดสหรัฐอเมริกา รุนแรงกว่าปัญหาการเมืองในบ้านเราหลายเท่านัก และเป็นสัญญาณเตือนภัยต่อเศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว

ปฏิกิริยาของธนาคารทั่วโลกหลังการล้มละลายของ เลแมน บราเดอร์ส คือ ธนาคาร 10 แห่งทั่วโลก ลงขันรายละ 7,000 ล้านดอลลาร์ รวม 70,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2.4 ล้านล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนกู้ยืมให้แก่สถาบันการเงิน และกองทุนต่างๆ ทั่วโลก ที่อาจจะประสบปัญหาสภาพคล่องฉุกเฉิน จากวิกฤติซับไพร์ม บ่งชี้ให้เห็นว่า องค์กรชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก ยังไม่วางใจต่อปัญหาซับไพร์ม

หากจำกันได้เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ของนายเบน เบอร์นันเก้ ได้ผนึกกับธนาคารกลางพันธมิตรชาติใหญ่ โดยเฉพาะยุโรป ได้อัดฉีดเม็ดเงินใหม่นับแสนล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธนาคารของประเทศตัวเองมาแล้ว แต่ก็ทำได้แค่เพียงบรรเทาปัญหาเท่านั้น

เมื่อตลาดหุ้นถูกปัจจัยลบกดดันรอบด้าน นักวิเคราะห์ประเมินโอกาสดัชนีหุ้นในปีนี้ จะกลับมาวิ่งเล่นเหนือแนวเส้น 700 จุด ค่อนข้างยากเต็มที มีแต่จะเร่งเวลาปีนี้ให้หมดไปเร็วๆ และไปเริ่มใหม่กันปีหน้า

ปัญหาของไทยในตอนนี้ จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการเมืองเท่านั้น เรายังมีปัญหาเศรษฐกิจ ที่จะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่ารออยู่ตรงหน้า และหวังว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ จะเอาจริงเอาจัง หามาตรการรับมือกับภัยทางเศรษฐกิจ ที่กำลังจะมาเยือนได้อย่างทันท่วงที และเท่าทัน แม้หลายกระแสบอกว่า ครม.สมชาย 1 จะเป็นแค่ ครม.เฉพาะกิจ ที่เข้ามาเพื่อปูทางไปสู่การยุบสภาภายใน 3 -6 เดือนข้างหน้าก็ตาม


ธปท.ชี้ภัย "เลแมน" ต่างชาติขนเงินออก

กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

แบงก์ชาติ ชี้ "เลแมน" ล้มละลายส่งผลกระทบเงินทุนไหลออกต่อเนื่องจากต้นปี เหตุนักลงทุนถอนเงินกลับสหรัฐ ช่วยพยุงฐานะสถาบันการเงินสหรัฐ ส่วนผลกระทบแบงก์ไทยมีไม่มาก เหตุแบงก์ไทยทั้งระบบปล่อยสินเชื่อ และลงทุนในสินทรัพย์ของเลแมน แค่ 4,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนน้อยมาก หากเทียบกับสินทรัพย์ของแบงก์ทั้งหมด

ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่บริษัทเลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของสหรัฐ ประสบปัญหาการเงินจนถึงขั้นที่อาจจะต้องยื่นขอความคุ้มครองทรัพย์สิน ตามกฎหมายล้มละลาย ว่าหากความกังวลถึงปัญหาสินทรัพย์ในสหรัฐ ยังมีต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนต่างประเทศ จะผ่องถ่ายเงินลงทุน ที่ลงทุนอยู่ในเอเชียกลับไปสหรัฐ เพื่อนำเงินไปช่วยซื้อสินทรัพย์สหรัฐ ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนย้ายเงินออก จากเอเชีย เกิดขึ้นต่อเนื่องจากต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ไทยต้องติดตามผลกระทบต่อสภาพคล่อง ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ในช่วงที่ตลาดเงินต่างประเทศยังอยู่ในช่วงการปรับตัวซึ่งต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ผลกระทบจากตลาดการเงิน ก็อาจจะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจต่างประเทศ ทำให้กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อด้วย ซึ่งหากรวมผลกระทบทั้งจากการที่นักลงทุนขนเงินกลับไปสหรัฐ และผลกระทบการปล่อยสินเชื่อ อาจจะทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงด้วย

รายงานข่าวระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้นักลงทุนต่างชาติได้ทยอยขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเงินไปชดเชยการขายทุนจากซับไพร์ม ทั้งนี้ในส่วนตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีถึงวานนี้ นักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิไปแล้ว 116,692.29 ล้านบาท

"หากประเมินผลกระทบจากการตัดสินใจเข้าสู่กระบวนการล้มละลายของบริษัทเลแมน บราเดอร์สต่อระบบการเงินสหรัฐนั้นคาดว่าผลกระทบน่าจะอยู่ในขอบเขตที่สามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากตลาดการเงินได้คาดการณ์เกี่ยวกับฐานะธนาคารไว้แล้ว รวมทั้งได้ปรับตัวล่วงหน้า เห็นได้จากการที่ราคาหุ้นปรับลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐ ก็พิจารณาแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่น่าจะมีผลกระทบวงกว้าง โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นก็ไม่ได้มีการเปิดสาขาธนาคารเลแมน บราเดอร์ส ดังนั้นผลต่อระบบการเงินคงมีเฉพาะธุรกรรมที่เกิดในตลาดการเงินเท่านั้น" ดร.บัณฑิต กล่าว

ดร.บัณฑิต กล่าวว่าสถาบันการเงินไทยยังมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับกับปัญหาการเงินที่เกิดในสหรัฐ ได้เนื่องจากสถาบันการเงินไทยลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศไม่มาก โดยธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่งลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมรวมจำนวน 102,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.3% ของสินทรัพย์รวมของธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งหมด และในส่วนของการทำธุรกรรมกับบริษัทเลแมน บราเดอร์สนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทยปล่อยสินเชื่อและลงทุนในตราสารที่ออกโดยบริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส คิดเป็นมูลค่า 4,300 ล้านบาทน้อยกว่าการลงทุนในตราสารซีดีโอ

นอกจากเงินปล่อยสินเชื่อและเงินลงทุนในตราสารที่ออกโดยเลแมน บราเดอร์ส แล้ว ดร.บัณฑิต กล่าวว่าธนาคารพาณิชย์ไทยทำธุรกรรมที่อยู่นอกงบการเงิน เช่น ธุรกรรมอนุพันธ์กับบริษัทเลแมน บราเดอร์ส คิดเป็นมูลค่าตามสัญญา 5,300 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมประเภท สวอปอัตราดอกเบี้ย (cross currency interest rate swap) ทำให้มูลค่าจริงที่จะต้องชำระต่ำกว่าระดับ 5,300 ล้านบาทอย่างมากซึ่งคาดว่าไม่น่าจะถึงหลักร้อยล้านบาท

ทั้งนี้ ธุรกรรมการปล่อยสินเชื่อและลงทุนในตราสารที่ออกโดยเลแมน บราเดอร์ส ของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น เป็นธุรกรรมที่กระจายอยู่ในธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่ง ซึ่ง ธปท.ไม่เปิดเผยจำนวนที่ชัดเจน

นอกจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีสัดส่วนน้อยแล้ว ดร.บัณฑิต กล่าวว่าสาเหตุที่ระบบสถาบันการเงินไทย ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาการเงินของสหรัฐ ยังมาจากการที่สภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ มาจากการระดมเงินฝากภายในประเทศ คิดเป็นสัดส่วนถึง 70% ของสินเชื่อ ไม่ได้กู้เงินมาจากต่างประเทศ ทำให้โอกาสที่จะได้รับผลกระทบ จากปัญหาสภาพคล่องในต่างประเทศมีน้อย

อีกทั้ง การที่ธนาคารพาณิชย์ไทยมีฐานะการเงินที่เข้มแข็งทั้งอัตราการทำกำไร สัดส่วนเอ็นพีแอลที่ลดลงต่อเนื่อง การดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเพียงพอ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทย อยู่ในฐานะที่สามารถรองรับกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า จากการตรวจสอบของธนาคารพบว่า ที่ผ่านมา ธนาคารไม่มีการปล่อยกู้และลงทุนในตราสารของบริษัทดังกล่าว แต่อาจจะมีการลงทุนในส่วนของซีดีโอเล็กน้อย 10-20 ชื่อ ซึ่งผลกระทบอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะมาไม่ถึงการลงทุนของธนาคาร โดยธนาคารกรุงไทย ลงทุนในซีดีโอ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารตั้งสำรองไปแล้วประมาณ 70%ของมูลค่าซีดีโอที่ไปลงทุน

ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยสายบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยธนาคาร เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าขั้นวิกฤติรุนแรงเหนือความคาดหมาย และปัญหาของบริษัทเลแมน สะท้อนว่าในขณะนี้ ยังไม่เห็นจุดต่ำสุดของปัญหา ซึ่งเชื่อว่าจะต้องใช้เวลาถึงครึ่งปีหน้าถึงจะเริ่มฟื้นตัว หรือจะต้องติดตามว่า จะมีสถาบันการเงินรายใหม่ประสบปัญหาอีกหรือไม่ โดยคาดว่าจะเห็นจุดต่ำสุดของปัญหาในสิ้นปีนี้

สำหรับผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ในระยะสั้นจะเป็นเรื่องของการตื่นตระหนกในข่าวที่ออกมา ทำให้ปฏิกิริยาของตลาดเงินทั่วโลกรุนแรงมาก แต่ในระยะยาวเชื่อว่า จะกระทบกับการค้าการลงทุน และการเคลื่อนย้ายของเงินทุนหลังจากนี้ว่าจะไหลไปทางใด ทั้งการไหลกลับเข้าสหรัฐหรือไหลเข้าภูมิภาคใดต่อไป ส่วนผลกระทบต่อสถาบันการเงินไทยเชื่อว่าจะมีไม่มากนัก เพราะหลายสถาบันที่เข้ามาลงทุนก็มีการเพิ่มทุนไปเรียบร้อยแล้ว

"ปัญหาของเลแมน ลือกันมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะหนักมากขนาดนี้ ทำให้คาดว่าปัญหาคงไม่จบง่าย ๆ และเฟดก็คงลดดอกเบี้ย ส่วนปัญหาสภาพคล่องก็อาจจะมีการดึงกลับบ้าง เพราะแม้ทางการจะไม่เข้าไปช่วยเหลือ แต่ก็มีประเด็นว่าจะต้องช่วยเหลือสถาบันการเงินอีก 2 แห่งด้วย โดย ภาพรวมคงกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม และความมั่นใจของนักลงทุน ขณะที่เศรษฐกิจไทยเอง คาดว่าจะกระทบต่อการส่งออกของไทยในไตรมาส 3 เป็นต้นไป"

วิกฤตสหรัฐและแนวทางการแก้ไข
เพราะปัญหาซับไพรม์ ที่พ่นพิษใส่เศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่เดือนก.ค.2550 จนป่านนี้ยังไม่มีวี่แววว่าคลื่นลมจะสงบ โบรกเกอร์และนักลงทุนทั่วโลกคาดการณ์ว่าปัญหานี้จะยืดเยื้อไปอีกนานอย่างน้อย 6 เดือนนับจากวันนี้
               เราต่างก็ได้ยินและติดตามข่าวเศรษฐกิจสหรัฐ ประเทศยักษ์ใหญ่ที่พร้อมจะลากทุกประเทศลงเหวไปด้วยหากเศรษฐกิจของสหรัฐนั้นแย่อย่างที่ทุกคนได้คาดการณ์ไว้

นับตั้งแต่ตลาดหุ้นไทยเปิดซื้อขายมาเมื่อต้นปี 2551 ถึงวันที่ 22 ม.ค. ดัชนีลดลงต่อเนื่องทุกวันรวมแล้วถึง 13%

 

               เป็นการขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศ 30,062.34 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุใหญ่มาจากผลกระทบด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐ

 

               แม้ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะมองว่าตลาดหุ้นไทยมีเสถียรภาพมากกว่าอีกหลายตลาดหุ้น เพราะถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่นับตั้งแต่ต้นปี 2551 ดัชนีหุ้นลดลง 20-24% ของไทยจึงไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษอะไรมาดูแล

 

               แต่หากมองจากสถานการณ์ขณะนี้ ก็ไม่น่าไว้วางใจเสียทีเดียว

 

               เพราะปัญหาซับไพรม์ ที่พ่นพิษใส่เศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่เดือนก.ค.2550 จนป่านนี้ยังไม่มีวี่แววว่าคลื่นลมจะสงบ โบรกเกอร์และนักลงทุนทั่วโลกคาดการณ์ว่าปัญหานี้จะยืดเยื้อไปอีกนานอย่างน้อย เดือนนับจากวันนี้

 

               หรือบางรายคาดว่าจะลากยาวไปถึงปี 2552 !!!

                แม้ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 ม.ค. ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ของสหรัฐประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 145,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการปรับลดภาษีเงินได้ให้ประชาชนด้วย

ล่าสุดวันที่ 22 ม.ค. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงหนเดียว 0.75% จาก 4.25% เหลือ 3.5%

               เป็นการลดดอกเบี้ยครั้งเดียวที่มากที่สุดในรอบ 26 ปี และลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงทันทีเหลือ 4% และยังมีแนวโน้มว่าการประชุมเฟดวันที่ 29-30 ม.ค.นี้ เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง แต่มาตรการและยาแรงเหล่านี้ยังไม่สามารถปลุกความมั่นใจได้ สะท้อนให้เห็นได้จากหุ้นตลาดวอลสตรีทและตลาดหุ้นทั่วโลก ยังพร้อมใจกันร่วงกราวรูดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา

เพราะวิตกว่าจะไม่สามารถหยุดยั้งปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐที่อยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ที่กำลังลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งร้ายแรงที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ ได้

 

               เค้าลางของวิกฤตหนนี้ถูกขนามนามว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ไครซิสเพราะมีต้นตอมาจากสหรัฐ ดินแดนต้นตอของแฮมเบอร์เกอร์

 

               เศรษฐกิจสหรัฐถือเป็นตัวจักรสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัว เพราะมีขนาดถึงหนึ่งในสี่ ของเศรษฐกิจทั้งโลก

                หากเศรษฐกิจสหรัฐเกิดการชะลอตัวก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

นายโดมินิค สเตราสส์-คานห์ กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะน่าวิตกมาก นักลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มขาดความมั่นใจ และไม่เชื่อมั่นในมาตรการของรัฐบาลสหรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้เม็ดเงิน 145,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ และจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำกว่าที่คาดไว้

              

               เมื่อเกิดภาวะถดถอยในสหรัฐจริง เศรษฐกิจทั่วทั้งโลกจะหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะต้องได้รับผลกระทบลุกลามเป็นโดมิโน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง นายสเตราสส์-คานห์ กล่าว

 

               ถ้าเป็นจริงก็หมายความว่าประเทศไทยคงหลีกหนีไม่พ้นเช่นกัน

 

               ปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างเด่นชัด ด้าน คือ ผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เนื่องจากสหรัฐเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย หากการส่งออกไปสหรัฐลดลง อาจทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ประเมินไว้ที่ 4.5-5% ลดลงตาม เพราะปัจจุบันภาคการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด

              

               สำหรับภาวะการค้าระหว่างประเทศระหว่างไทยกับสหรัฐในปี 2550 จากสถิติไทยมีการส่งออกไปยังสหรัฐมีมูลค่ารวม19,216 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง 1.20% เมื่อเทียบกับปี 2549 การนำเข้ามีมูลค่ารวม 9,506 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง0.85% แต่ไทยยังเป็นฝ่ายที่เกินดุลการค้าสหรัฐรวม 9,710 ล้านเหรียญสหรัฐ

                ปัจจุบันสหรัฐกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ ของไทย รองจากอาเซียน และสหภาพยุโรป โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนครองส่วนแบ่งการส่งออกจากไทยสูงสุด 16.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 25,152 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.2% รองลงมา ได้แก่ สมาชิกสหภาพยุโรปครอง ส่วนแบ่งตลาด 12.8% หรือคิดเป็น 19,502 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.6% และสหรัฐครองส่วนแบ่ง 12.6% ตามลำดับ สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐมากเป็นลำดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์มูลค่า 3,387 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 17.36% รองลงมา ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปมูลค่า 1,477 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง9.22% อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 1,044 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง 5.89%

ผลกระทบด้านที่ คือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากตลาดหุ้นในย่านเอเชีย เมื่อนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นในย่านเอเชีย รวมทั้งตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนมหาศาล

                ย้อนกลับไปดูข้อมูลนับจากต้นเดือนพ.ย.2550 ถึงวันที่ 22 ม.ค.2551 พบว่าต่างชาติขายสุทธิมากถึง 83,821.38 ล้านบาท โดยมีนักลงทุนรายย่อยชาวไทยเป็นผู้ซื้อสุทธิ 56,536 ล้านบาท ขณะที่กองทุนรวมและนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ27,285.37 ล้านบาท

นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลท. คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นไทยจะมีความผันผวนจนถึงกลางปี52 ดังนั้น นักลงทุนจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติที่เทขายหุ้นไทยออกไปจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีก เพราะขณะนี้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ต้นปีลดลงถึง 13-14% เป็นราคาที่ต่ำพอสมควร ขณะที่พื้นฐานของหุ้นยังดี จึงมั่นใจว่าต่างชาติจะกลับเข้ามาช้อนซื้อใหม่ นายปกรณ์กล่าว

 

               นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. เห็นว่า ปัญหาซับไพรม์ยังมีความยืดเยื้อ และไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ขณะนี้ต่างชาติเทขายหุ้นทั่วโลกและย้ายเงินทุนออกนอกประเทศ ซึ่งยังไม่รู้จะนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับแนวทางแก้ไขของสหรัฐว่าจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้หรือไม่

 

               ขณะที่นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ มองว่านักลงทุนต่างชาติยังมีโอกาสที่จะขายทำกำไรในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะจากการลงทุนในช่วง ปี (2548-2550) ต่างชาติลงทุน 300,000-400,000 ล้านบาท และขายหุ้นออกมาตั้งแต่เดือนก.ค. ซึ่งเกิดปัญหาซับไพรม์จนถึงปัจจุบัน 110,000 ล้านบาท

 

               และยังจะขายได้อีก

                และหากดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลุดระดับ 710-680 จุด อาจเกิดภาวะสั่นคลอน นี่คือโจทย์เศรษฐกิจสำคัญของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ต้องเร่งเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ และปลุกความเชื่อมั่นของนักลงทุนคืนมา ไม่ว่าหน้าตาของรัฐบาลและทีมเศรษฐกิจจะสวยงามหรือขี้เหร่แค่ไหน ถือเป็นบทพิสูจน์ฝีมือที่มีอนาคตของประเทศไทยเป็นเดิมพันแนวทางการแก้ไข               เศรษฐกิจของสหรัฐนั้น มีสาเหตุหลักอย่างน้อย 2 ประการ               ประการแรก คือปัญหาซับไพร์ม โดยอย่างที่ทราบกันว่าเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่ขาดความรอบคอบ ดังนั้นสหรัฐจึงควรมีมาตรการในการปล่อยกู้สินเชื่อเหล่านี้ที่เข้มงวดและรอบคอบขึ้น ปัญหาใหญ่นี้ทำให้ประธานาธิบดีบุช ต้องออกมาประกาศใช้นโยบายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจกว่าแสนล้าน เพิ่มเงินในมือประชาชน อันเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย โดยหวังว่าเศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นในที่สุด แต่แล้วกลับไม่เป็นผล นอกจากเศรษฐกิจจะไม่กระดิกกระเดี้ยแล้ว ยังโดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ซะอ่วมเลย ประการที่สอง คือ การขาดความเชื่อมั่นของนักลงทุน จากสภาพที่สะบักสะบอมของสหรัฐ ทำไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเสี่ยงเอาเงินไปลงทุนมากนัก ทำให้เศรษฐกิจยิ่งชะลอตัวลงไปอีก ดังนั้นสหรัฐควรออกมาสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่าสหรัฐจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตนี้ออกมาได้ หากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นและลงทุนมากขึ้น ความแข็งแรงของสหรัฐก็จะมีมากขึ้นกว่านี้ และหากมีการลงทุนมากในระดับหนึ่ง จะช่วยกระตุ้นการจ้างงาน อันจะมีผลกระทบกระตุ้นให้ประชาชนมีความสามารถในการชำระหนี้มากขึ้นนอกจากนี้ยังมีทางออกที่สหรัฐใช้ในการแก้วิกฤตครั้งนี้ก็คือ การลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ค่าเงินของสหรัฐอ่อนลง อันเป็นการtrade – off เพื่อให้ดุลบัญชีการค้าหรือดุลบัญชีเดินสะพัดนั้นดีขึ้น ไม่ขาดดุลต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเช่นนี้ และเป็นการทำให้ประชาชนสหรัฐลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลงได้อีกด้วยหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งของสหรัฐจะเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด เพราะนอกจากจะทำให้สหรัฐเองรอดพ้นจากวิกฤตแล้ว ชาติอื่นรวมถึงไทยด้วยก็จะรอดเช่นกัน
วิกฤตสหรัฐทั้ง 3 ครั้ง
เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในแต่ละช่วงเวลามีความซับซ้อนและมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

หากเราลองมองกลับไปถึงศึกษาวัฏจักรของเศรษฐกิจสหรัฐ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จะพบว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย (recession) แล้ว จะต้องใช้เวลานานพอสมควร กว่าที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น ซึ่งในที่นี้หมายถึงมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพีเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นบวกติดต่อกัน 2 ไตรมาส แต่ทั้งนี้ระยะเวลาและรูปแบบของการฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอยในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับต้นตอปัญหาที่กดดันเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา

ตัวอย่างเช่น ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญกับปัญหาฟองสบู่แตกในหุ้นกลุ่มไฮเทค (Dot.Com Bubble) ในช่วงปี พ.. 2543 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5-6 ไตรมาส (โดยเริ่มจากไตรมาส 2/2543จนถึงไตรมาส 3/2544) ก่อนจะฟื้นตัวกลับมามีอัตราการขยายตัวเหนือ 0.00 % ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2544

นอกจากนี้เหตุการณ์ในอดีตยังชี้ว่า ปัญหาฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์เคยเป็นชนวนที่ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในสหรัฐ มาแล้ว 2 ครั้ง คือ ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 โดยทั้ง 2 ครั้งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์สถาบันเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย (Savings and Loan Associations) หรือเป็นที่รู้จักกันดีว่า S&L Crisis

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 นั้น เศรษฐกิจสหรัฐ ต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อในอัตราตัวเลข หลัก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากวิกฤตน้ำมันในช่วงปี ค.. 1979 (.. 2522) ในขณะที่การคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ฐานะทางการเงินของสถาบันเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ที่มักระดมเงินทุนระยะสั้น แล้วไปปล่อยกู้ระยะยาวในสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ซึ่งมักจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่วิกฤต S&L ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวฉุดเศรษฐกิจสหรัฐ ให้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็น ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับมาได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2526

ต่อมาช่วงปลายทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 ผลพวงจากวิกฤต S&L กลับมาสร้างปัญหาให้กับเศรษฐกิจสหรัฐ อีกครั้ง พร้อมๆกับการเกิดสงครามอิรัก ผลกระทบจากทั้งสองเหตุการณ์ฉุดเศรษฐกิจสหรัฐ ให้ชะลอตัวลง ซึ่งเมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดจะเห็นว่า ภาวะถดถอยในรอบนี้ น่าจะจัดเป็นภาวะถดถอยทางเทคนิค คือเป็นช่วงเวลาที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหดตัวลง (ติดลบติดต่อกันอย่างน้อย ไตรมาส อย่างไรก็ตาม ในครั้งนั้นเศรษฐกิจสหรัฐ ใช้เวลาน้อยกว่าการเกิดวิกฤตครั้งแรกในการฟื้นตัวกลับมา

และถ้าหากพิจารณาถึงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ใน 3 ช่วงเวลาที่กล่าวมา โดยเรียงลำดับจากภาวะถดถอยในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ช่วงปลายทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 และภาวะถดถอยช่วงปีค.. 2000-2001 (ยุคฟองสบู่ด็อตคอม)จะพบว่า เฟดตอบรับกับเหตุการณ์ภาวะถดถอยทั้ง ช่วงด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่แตกต่างกัน นั้นคือ ในภาวะถดถอยช่วงต้นทศวรรษ 1980 (วิกฤตน้ำมัน วิกฤต S&L) โดยเฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 4.75 % คือจากระดับ 13.00 % ในเดือนพฤศจิกายน 2524 ลงสู่ระดับ 8.25 % ในเดือนธันวาคม 2527

ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ถึง ต้นทศวรรษ 1990 (สงครามอิรัก วิกฤต S&L) มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวมทั้งสิ้น 6.81 % จากระดับ 9.81 % ในเดือนพฤษภาคม 2532 สู่ระดับ 3.00 % ในเดือนกันยายน 2535 เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนครั้งของการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดในรอบนี้ มากกว่าจำนวนครั้งของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงเศรษฐกิจถดถอยต้นทศวรรษ 1980ราว 2 เท่า

ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจช่วงค..2000-2001 (ฟองสบู่ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีโดยเฟดได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายรวมทั้งสิ้น5.50 % จากระดับ 6.50 % ในเดือนพฤษภาคม 2543 สู่ระดับ 1.00 % ในเดือนมิถุนายน 2546

ส่วนการรับมือกับเศรษฐกิจที่ส่อเค้าถดถอยตรั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลงมากถึง 0.75 % ในการประชุมที่จัดขึ้นอย่างฉุกเฉิน ติดตามมาด้วยการปรับลดอีกครั้ง 0.50 % ในการประชุมตามกำหนดการปกติ(29-30 มกราคมการปรับลดดอกเบี้ยทั้ง 2 ครั้ง รวม 1.25 % ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดปรับลงอย่างรวดเร็วจาก4.25 %หลังการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 มาอยู่ที่ 3.00 % ในขณะนี้ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.00 % ทั้งยังเป็นเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน

และถ้าเรานับรวมการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในช่วงปลายปี 2550 (กันยายน ตุลาคม และธันวาคม 2550)เป็นต้นมาจะพบว่า เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาแล้วทั้งสิ้น 2.25 % ในรอบ 5 เดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2551) แม้กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้นักลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกมั่นใจได้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐ จะสามารถหลีกเลี่ยงหรือหลุดพ้นจากภาวะถดถอยได้ ข้อมูลตัวเลขจีดีพีล่าสุดของสหรัฐฯในไตรมาส 4/2550 ยังสะท้อนให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ขยายตัวเพียง 0.6 % ต่อปี ซึ่งลดลงจากการขยายตัว 4.9 % ในไตรมาสก่อนหน้า นี่อาจส่งสัญญาณถึงอาการเริ่มต้นของภาวะถดถอย

เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในแต่ละช่วงเวลามีความซับซ้อนและมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป โดยภาวะถดถอยที่เกิดจากวิกฤตสถาบันเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย(S&L)ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเวลายาวนานมากที่สุด

แล้วต้นตอของปัญหาเหล่านี้ คืออะไร?

เมื่อเราพิจารณาถึงสาเหตุของวิกฤต S&L ในช่วงต้นและปลายทศวรรษ 1980 มาเปรียบเทียบกับวิกฤตซับไพรม์ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันบางประการ คือต่างมีสาเหตุอยู่ที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ เข้าสู่ภาวะหดตัวอย่างต่อเนื่อง ดังสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนผ่านตัวเลขการหดตัวลงของยอดขายบ้าน โดยในช่วงวิกฤต S&L ต้นทศวรรษ 1980 ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ หดตัวลงถึง 28 เดือนติดต่อกัน (เดือนพฤศจิกายน 2521 –เดือนกุมภาพันธ์ 2524) ขณะที่วิกฤตซับไพรม์รอบนี้ ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐ หดตัวลงแล้ว 25 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 เป็นต้นมา และยังคงมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากตลาดยังคงรอเวลาที่จะผ่านพ้นจุดต่ำสุดต่อไปอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ความคล้ายคลึงของปัญหาวิกฤตซับไพรม์ในรอบนี้กับปัญหาของวิกฤต S&L ในอดีต ยังได้แก่ผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่จากความไม่มีเสถียรภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีต่อการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของการใช้จ่ายของผู้บริโภคภาคเอกชน

แต่ก็จะเห็นว่าในครั้งนี้ ส่งผลกระทบที่ขยายวงกว้างมากกว่า!!!

แต่ก็ยังมีความแตกต่างระหว่างวิกฤตการณ์ทั้ง 2 รอบอยู่ที่ ในวิกฤต S&L นั้น สถาบันการเงินประเภท Savings and Loansเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากที่สุด ซึ่งผลที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นก็คือ สถาบันการเงินประเภทดังกล่าวหลายแห่งต้องทยอยปิดตัวลง

ในขณะที่วิกฤตซับไพรม์รอบปัจจุบัน ความเสียหายทางการเงินไม่เพียงเกิดขึ้นกับบริษัทผู้ปล่อยกู้จำนองในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังขยายวงกระทบไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งหมายความรวมถึงธนาคารชั้นนำ นักลงทุนสถาบัน และกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ถือครองตราสารที่หนุนหลังด้วยสินเชื่อด้อยคุณภาพอีกด้วย

และสถานการณ์อาจจะเลวร้ายลงไปอีกหากตลาดการเงินยังคงขาดเสถียรภาพเนื่องจากความเชื่อมั่นยังไม่กลับคืนมา และทำให้สถาบันการเงินชั้นนำที่กำลังเผชิญปัญหาต้องผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นของตนเองให้กับลูกหนี้พร้อมๆ กับการควบคุมการปล่อยสินเชื่อประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้มีมาตรฐานที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดวิกฤตซับไพรม์รอบนี้ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐ และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเข้าสู่ "ภาวะชะลอตัว/ถดถอยซึ่งก็จะสะท้อนให้เห็นว่า เฟดอาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องไปอีกเช่นกัน ทั้งนี้ สัญญาอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้า (Fed Funds Futures) ล่าสุด ณ วันที่ 30 มกราคม 2551 สะท้อนตัวเลขคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ย Fed Funds อาจลดลงไปสู่ระดับ 2.25 % ภายในกลางปีนี้

เราก็คงต้องจับตาดูตลาดอสังหาฯของสหรัฐต่อไป เนื่องจากว่า สาเหตุของวิกฤตนั้น มาจากปัญหาของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ดังนั้นจึงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ถึงความไม่มีเสถียรภาพของตลาดอสังหาฯในสหรัฐ (ซึ่งได้ลุกลามไปยังตลาดสินเชื่อทั่วโลก และล่าสุดกำลังส่งกระทบต่อไปยังอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันตราสารหนี้) เพราะปัญหาในตลาดอสังหาฯ จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐ

ในขณะที่ความเสียหายทางการเงินที่ทยอยปรากฏออกมาในงบดุลของสถาบันการเงิน ก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดการเงิน และอาจทำให้สถาบันการเงินต้องทำการคุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อเพื่อการบริโภคในรูปแบบอื่นๆ(นอกเหนือไปจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย)

และในที่สุด ความเสี่ยงของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น หากปัญหาดังกล่าวมาทั้งหมดได้ส่งผลกระทบกลับไปยังการบริโภคของภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ และนโยบายการคลังของรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เอนเอียงไปในเชิงที่ผ่อนคลายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว แต่ดูเหมือนว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ต่อไป ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุมตามปกติและแบบฉุกเฉินของธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อเร็วๆ นี้ สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองทางเศรษฐกิจในเชิงลบของธนาคารกลางสหรัฐได้อย่างชัดเจน

ในขณะที่แผนกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งได้รับการสนันสนุนจากประธานาธิบดีบุช ที่ได้รับความเห็นชอบโดยสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมาด้วยคะแนนที่ท่วมท้น อาจต้องเผชิญความล่าช้าในการพิจารณาโดยวุฒิสภาในขั้นตอนถัดไป ซึ่งจะทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวกลายเป็นประเด็นถกเถียงทางการเมืองก่อน แทนที่จะถูกเร่งประกาศออกมาให้เป็นข่าวดีของผู้บริโภคสหรัฐ

นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางการคืนเงินภาษียังถูกวิจารณ์โดยนายพอล ครุกแมนว่า แผนการดังกล่าวอาจไม่มีประสิทธิภาพมากนักในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการคืนเงินภาษีดังกล่าว (ผู้มีรายได้น้อยกว่า 75,000 เหรียญสหรัฐอาจเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้กำลังประสบกับความเดือดร้อนทางการเงิน ฉะนั้นเงินภาษีที่ได้รับคืนไปอาจถูกนำไปเก็บเป็นเงินออม และจ่ายหนี้มากกว่าจะถูกนำมาจับจ่ายใช้สอย

และถ้าหากพิจารณากันให้ดี จะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับตลาดสหรัฐที่ถือได้ว่า มีขนาดเศรษฐกิจเป็น 1 ใน 4 ของโลก อาจเข้าสู่ช่วงตกต่ำยาวนานและอาจส่งผลให้เฟดต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดยังคงดำเนินต่อไป

แม้ว่าหลายฝ่ายจะทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังไม่รู้ถึงขนาดของผลที่จะเกิดขึ้นและที่จะส่งผลต่อสหรัฐและต่อโลกได้ตริงๆซักที

ถึงอย่างไร เราก็ทำได้แค่ต้องติดตามตอนต่อไปจริงๆ อย่างไรก็ตามเราควรที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้ผลนั้นกระทบกับเราให้น้อยที่สุด


http://learners.in.th/blog/nanartip/143743

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

3จี รู้จักกันจริงไหม (กรุงเทพธุรกิจ)
    ผู้บันทึก: Sirich4 on วันอังคาร 16 กันยายน 2008 - 8:31
ในช่วงระยะหลังนี้ เราพูดถึง เทคโนโลยี “3จี” กันอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้ว 3จี มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และประเด็นสำคัญคือ เราพร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวจาก 2จี ไปสู่ 3จี ลองดูบทวิเคราะห์จากกูรูกันหน่อย

ทำไมต้องเป็น 3จี แล้วระบบ 2จี ที่เราใช้กันอยู่ตอนนี้เป็นอย่างไร 

ปัจจุบันนี้ เราใช้เทคโนโลยี 2จี ซึ่งบางคนก็บอกว่า 2.5, 2.7 หรือ 2.8จี การจะก้าวไปสู่ 3จี ที่ดูเหมือนจะอยู่แค่เอื้อม แต่ไปไม่ถึงสักทีนั้น หากถามว่าเราพร้อมแล้วหรือยัง ความพร้อมนี้ไม่สามารถมาจากหน่วยใดหน่วยหนึ่งในระบบ แต่ต้องมาจากทุกส่วนเกี่ยวเนื่องกันหมด ไม่ว่าจะเป็น Network Provider, Operator, Terminal/ Equipment Vendor, Content, Media ที่สำคัญคือ End users ว่ามีความต้องการใช้งานที่มากกว่าความสามารถของ 2จี ในปัจจุบันนี้แล้วหรือยัง 


3จี ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในวงการโทรคมนาคม จุดเริ่มต้นคือเน็ตเวิร์คที่แข็งแกร่ง ด้วยปัจจัยหลายประการ 2จี ที่ใช้ทุกวันนี้ ไม่เพียงพอต่อรูปแบบเนื้อหาที่หลากหลายมากขึ้น สลับซับซ้อนมากขึ้น หรือมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น แม้ว่าผู้ให้บริการคอนเทนท์ทุกวันนี้ ต้องการจะพัฒนาการดูหนังฟังเพลง นำเสนอข่าวสาร กราฟฟิก ฯลฯ ให้เต็มรูปแบบมัลติมีเดียมากเพียงใด แต่ก็ต้องลดคุณสมบัติลง เพราะบางบริการเน็ตเวิร์ครองรับไม่ได้ จึงต้องออกแบบมาให้ไม่ซับซ้อนมากเกินไป และผู้ใช้งานภายใต้ระบบ 2จ สามารถเปิดใช้งานได้ในระดับหนึ่ง 


2จี เพียงพอแล้วหรือไม่สำหรับการใช้งานในปัจจุบัน 

สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป หากใช้งานแค่รับส่งอีเมล ดูภาพที่มีความละเอียดไม่มากนัก 2จี ก็เพียงพอแล้ว แต่เมื่อใดที่ต้องแนบไฟล์วิดีโอคลิป หรือไฟล์งานออกแบบที่มีขนาดใหญ่ ผู้รับก็จะไม่สามารถดาวน์โหลดได้จากโทรศัพท์มือถือ พีดีเอ หรืออุปกรณ์สื่อสารไร้สายอื่นๆ หรือหากทำได้ก็ใช้เวลานาน ดังนั้น เพื่อจะให้รับได้เต็มที่ ก็ต้องใช้ผ่านระบบ พื้นฐานที่มีความเสถียรมากกว่า รับไฟล์ใหญ่ได้ดีกว่า ดูภาพเคลื่อนไหวได้ไม่สะดุด แต่ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบการสื่อสารที่ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ มักจะเดินทาง ทำงาน ท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการเงิน ข่าว ความบันเทิงได้อย่างไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทำให้ต้องการระบบ และอุปกรณ์สื่อสารที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ 3จี เหล่านี้จะผลักดันให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และ 3จี จะส่งเสริมให้ชีวิต ไร้สายนั้น เพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น 


การพัฒนาไปพร้อมๆ กันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เริ่มตั้งแต่การวางระบบเครือข่าย ติดตั้งอุปกรณ์ เนื้อหาข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความร่วมมือเป็นพันธมิตรกันในอุตสาหกรรม รวมไปถึงมีเดียหรืออุปกรณ์สื่ออิเล็คทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น กล้อง เครื่องพิมพ์ โทรทัศน์ จอแสดงผล เป็นต้น ต้องมีความสามารถที่รองรับระบบ 3จี ได้ และที่สำคัญ คือแนวทางการส่งเสริมการตลาด กิจกรรมโปรโมชั่น และการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เหล่านี้จะขับเคลื่อนความต้องการและความเข้าใจ 3จี ในกลุ่มผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เทคโนโลยี 3จี นั้นจะเพิ่มโอกาศทั้งด้านธุรกิจ และการพัฒนา รูปแบบในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งทางภาครัฐ เอกชน และ ประชาชนทั่วไป 


หลักสำคัญของ 3จี คือ ความครอบคลุมของสัญญาณ และประสิทธิภาพเมื่อใช้งานนอกสถานที่ (Coverage + Mobility) โดยเฉพาะการให้บริการบรอดแบรนด์ไร้สาย (Wireless Broadband) คือส่วนผสมที่ช่วยให้ 3จี เกิดขึ้นได้ ผู้ให้บริการโครงข่ายที่ได้เปรียบคือผู้ที่บริการในลักษณะ End to End Solutions ซึ่ง การให้บริการบรอดแบรนด์ไร้สายนี้จะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการให้บริการในช่วง ปลายทางของระบบเครือข่าย (Last mile) ที่ระบบอื่นๆ ให้บริการไม่ทั่วถึง 


3จี ส่งผลอย่างไรต่อผู้ใช้ที่เป็นบุคคลทั่วไป 

ในฐานะของผู้ใช้ “3จี” จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน มากกว่าการใช้งานในระบบ 2จี เช่น การตรวจรักษาอาการทางการแพทย์เบื้องต้นในระบบทางไกล (Remote Medical service), การรับชมภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ต่างๆ ตามความต้องการ (Video on demand), การติดตามเฝ้าระวังภัยในสถานที่ต่างๆ (Online-monitoring), การติดต่อสื่อสารภายในเฉพาะกลุ่ม (Web community online) แม้แต่เกมออนไลน์ หรือการอัพโหลดวิดีโอคลิป สามารถทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สิ่งใดที่ทำได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ก็ย่อมสามารถทำได้บนโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารไร้สายใดๆ ได้เช่นเดียวกัน นี่เป็นแนวโน้มของชีวิตสมัยใหม่ 


สำหรับเนื้อหาข้อมูลข่าวสารสาระและบันเทิง (Content) ในปัจจุบัน มีให้เลือกมากมาย ซึ่งถ้าเชื่อมต่อผ่าน Fix line หรือ ADSL ย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อยู่แล้ว เพียงแต่ 3จี ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อ เข้าถึงข้อมูลได้อิสระมากยิ่งขึ้น (Mobility) ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตาม 3จี จะดีกว่า 2จี หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ Quality of Experience คือเมื่อใช้งานแล้วสามารถเข้าถึงคอนเทนท์ได้อย่างราบรื่นรวดเร็ว ไม่มีติดขัดไม่กระตุก ย่อมสร้างความประทับใจและทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน 3จี 


3จี ส่งผลอย่างไรต่อองค์กร 

ด้วยความโดดเด่นของ 3จี คือสามารถส่งข้อมูล+เสียงไปพร้อมกันได้ดี บริษัทหรือองค์กรต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การประชุมทางไกลที่สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Teleconference, Video Conference), หรือ การทำโมบายล์ ออฟฟิศ และ การติดต่อประสานงานที่กระชับรวดเร็ว หรือ การส่งไฟล์ขนาดใหญ่ ที่สามารถเปิดอ่านได้บนมือถือ จึงทำให้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น 


นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาบริการต่างๆ ขององค์กร ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบการตลาดที่แปลกใหม่ ดึงดูดใจและหลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการโดยร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมกันและกัน เพื่อให้บริการที่แปลกใหม่ และสะดวกยิ่งขึ้นแก่ผู้ใช้ เช่น การดาวน์โหลดเพลง การช้อปปิ้งผ่านมือถือ การติดตามสอดส่องเฝ้าระวังความปลอดภัยภายในบ้าน เรียลไทม์ (Online Monitoring) 


เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3จี คืออะไร 

ถัดจากเทคโนโลยี 3จี ซึ่งขณะนี้ อยู่ในเทคโนโลยีอยู่ในช่วงเอชเอสพีเอ คือเอชเอสพีเอ+ หรือ และถัดไป คือ 4จี ซึ่งแตกต่างกันที่ “Throughput” หรือความสามารถในการส่งข้อมูลที่มากขึ้นต่อช่วงเวลาหนึ่ง ส่งได้เร็วมากขึ้นในระยะเวลาที่สั้นมากขึ้น ขณะนี้ ในโลกปัจจุบันเราอยู่ในยุคของเอชเอสพีเอ ในแง่ของผู้ให้บริการ การจะอัพเกรดไปยังเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ต้องพิจารณาระบบและอุปกรณ์ในเครือข่ายที่มีอยู่ (Existing network) อุปกรณ์เดิมบางอย่างไม่เอื้อต่อการพัฒนาไปสู่ 3จี หรือ 4จี หรือทำได้ก็ไม่ดีพอ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการลงทุนเครือข่ายในอนาคต 


ยังมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า 4จี หรือไม่ แล้วจำเป็นหรือไม่สำหรับบ้านเรา 

4จี หรือแอลทีอี (Long Term Evolution) เน้น Throughput; uplink, downlink เป็น 100 Mbps หากจะดาวน์โหลดภาพยนตร์ในระบบดีวีดีก็ทำได้ในระยะเวลาไม่กี่วินาที อย่างไรก็ตาม ต้องรอให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีก่อนจาก 3จี เพื่อพัฒนารูปแบบการใช่งานของผู้บริโภค ตอนนี้เราไม่สามารถจินตนาการได้ว่าการใช้งานในระบบ 4จี จะต่างจาก 3จี อย่างไร ในแง่ความหลากหลายของบริการ หรือ ความต้องการของตลาดและผู้ใช้งานจริง แน่นอนว่าประสิทธิภาพในด้านความเร็วจะดีกว่ามาก แต่ดีเกินความจำเป็นหรือไม่ ตอนนี้เรายังตอบไม่ได้ ความต้องการการใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคต เมื่อผ่านยุคของ 3จี ถึงตอนนั้นเราอาจจะพอเห็นความต้องการอย่างชัดเจนแล้ว เช่น อาจจะมีคอนเทนท์ที่แปลกใหม่ และเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไป ซึ่งต้องการประสิทธิภาพเครือข่ายในระดับสูงกว่า 3จี ก็เป็นได้ 

ปัจจัยที่จะผลักดันตลาดให้ 3จี เกิดและประสบความสำเร็จ 

1. ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ตลาดทั้งในด้านเทคโนโลยีและบริการ ให้ประชาชนรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Educate market) 

2. พัฒนาระบบเครือข่ายให้มีความพร้อม สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ครอบคลุมและรวดเร็ว (Network Availability) 

3. มีการพัฒนาเนื้อหาข้อมูลทั้งสาระความรู้ ข่าวสาร และบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจ (Content Provider) 

4. การให้บริการจะต้องไม่ซับซ้อน และค่าบริการต้องไม่สูงเกินไป จึงจะผลักดันตลาดได้ 

5. รัฐบาลต้องผลักดัน โดยให้กฎระเบียบเปิดกว้าง เอื้อต่อการลงทุนและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน (Government Support) 

6. ความแพร่หลายและความหลากหลายของ Terminal หรือ อุปกรณ์สื่อสาร (Handset) เช่น มีทุกระดับราคา มีหลายรุ่นให้เลือก คนทั่วไปสามารถซื้อได้ ราคาย่อมเยา (Affordable, Accessible) 


นายพิสิษฐ์ กล่าวในที่สุดว่า 3จี ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นเส้นทางแห่งการพัฒนาเทคโนโลยี ไม่ได้หมายถึง “ดีกว่า” แต่รองรับการใช้งานที่ “ซับซ้อนกว่า” ตามยุคสมัยและความต้องการของสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ (Tele Communication network) เมื่อ 3จี เข้ามา ย่อมกระตุ้นการใช้งานและพัฒนาไปพร้อมๆ กันทั้งระบบของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของผู้ให้บริการระบบเครือข่าย ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการคอนเท้นต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารที่เกี่ยวเนื่อง ซัพพลายเออร์ เวนเดอร์