เอไอเอสตัดใจรุกขยาย HSPA ต่อ หลังภาพการเมืองแกว่ง-บี้ดีแทค (Telecom Journal) | วันจันทร์ 22 กันยายน 2008 - 8:32 |
| | | | AIS ระบุการเมืองแกว่ง และคู่แข่งเร่งเครื่อง ทำให้ต้องเร่งพิจารณานำเข้าHSPA มาขยายเพิ่มอีก 430 base station ไปก่อน วิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวาน อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า เมื่อปลายสัปดาห์กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาAIS ได้นำกรรมการบางส่วนของกทช. เยี่ยมชมสถานีฐานที่ติดตั้งอุปกรณ์3G ด้วยเทคโนโลยีHSPA ที่เชียงใหม่และเปิดให้บริการไปตั้งแต่ มิถุนายนแล้ว ด้วยศักยภาพของ 25 sites ที่มีอยู่ ในโอกาสที่กทช. จัดสัมมนาประชาพิจารณ์เรื่อง การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่และการออกใบอนุญาตบริการ3G ที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการประชาพิจารณ์ครั้งที่สอง
ทั้งนี้กทช.จะจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย 26 กันยายนนี้ ที่ภูเก็ต และมีแผนจะออกประกาศหลักเกณฑ์สำหรับ 3G ในปลายปีนี้
เขา กล่าวว่า AIS ได้รับอนุมัติจากกทช. เมื่อ 14 สิงหาคมให้นำเข้าอุปกรณ์ HSPA อีกจำนวน 430 base station เพื่อนำมาปรับปรุงโครงข่ายทำ3G ในกรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ๆ พร้อมๆกับที่ดีแทคก็ได้รับอนุญาตจำนวน 1200 base station และ ทรู มูฟ จำนวน 650 base station เขากล่าวว่าแต่เดิมAIS ไม่ต้องการเร่งรีบนำเข้าและติดตั้งอุปกรณ์HSPA เพิ่มเพื่อเปิดบริการ3G อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นบริการ บนคลื่นความถี่เดิมในสัมปทานของทีโอทีซึ่งต้องมีการโอนทรัพย์สินให้รัฐก่อนเปิดบริการตามเงื่อนไข Build-transfer-operate ซึ่งหากมีการให้ใบอนุญาต 3G จากกทช.ด้วยต้นทุนที่ไม่แพง ก็จะทำให้AIS เสียโอกาสในการทำบริการ3G ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
นอกจากนี้ 3G service เป็นบริการใหม่ ที่ยังต้องใช้เวลาพิสูจน์ demand ของลูกค้าให้ชัดเจน เพราะที่เชียงใหม่ที่เปิดให้บริการมา ก็มีลุกค้าเข้าระบบไม่มาก
อย่างไรก็ตาม สภาวะการเมืองวันนี้ค่อนข้างแกว่งตัวมาก ไม่แน่นอน และคู่แข่งอย่างดีแทคก็มีท่าทีต้องการทำบริการเร็ว บริษัทจึงต้องพยายามนำเข้าอุปกรณ์HSPA เข้ามาให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้กำลังเลือกยี่ห้อจากเวนเดอร์ต่างๆอยู่ จากในรอบที่แล้วที่ใช้ของ หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ทั้งหมด
AIS จะขยาย 3G HSPA ในรอบที่สองที่กรุงเทพบางส่วน และเพิ่มเติมที่เชียงใหม่ ก่อนที่จะพิจารณาในเมืองใหญ่อื่นๆอย่างชลบุรี โดยจะไม่ขยายแบบไร้ทิศทาง
“เราติดตามทั้งคู่แข่งและการเมือง ดีแทคคงต้องการทำเร็ว และวันนี้เราไม่มีทางเลือกมากนัก เราจึงต้องทำเร็วตามไปก่อน หากภาพนโยบาย3G license ชัดเจนในอนาคต ค่อยมาปรับตัวอีกครั้ง”
ก่อนหน้านี้เขาเคยระบุว่า ดีแทคควรดำเนินการขยายHSPA ด้วยความรอบคอบ และไม่ควรรีบหวังว่าจะใช้ 3G HSPA นี้เป็น”หมัดเด็ด”ในการคว่ำAIS เพราะ AIS ก็จะลงทุนประกบในทุกพื้นที่เช่นกัน
เอไอเอส หวังว่า 3G ในวันนี้เป็นแค่ gimmick เท่านั้น เพราะตลาดยังต้องได้รับการ educate ให้ลุกค้า และรอกทช. ให้ใบอนุญาต3G ในความถี่ย่าน 2000 MHz ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขใหม่ทั้งหมด นอกสัมปทานเดิม
อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าเอไอเอส เสียเปรียบDTAC ในเรื่องความถี่ที่ใช้ในการให้บริการ3G HSPA เพราะเป็น slot เดียวกับที่ให้บริการ2G service อย่างไรก็ตามตั้งแต่ที่ DTAC มีแผนในการขอความถี่ย่าน 850 MHz จากกสท.ทางAIS ก็ประเมินการตั้งรับมาระยะหนึ่งแล้ว ทำให้มองทางออกไว้หลายทาง
โดยเฉพาะ AIS กำลังพิจารณาความร่วมมือมากขึ้นกับ ทีโอที ใน Thai Mobile กิจการลุกของทีโอที ที่มีความถี่ในย่าน 1900 MHz 1965 – 1980 MHz และ 2155 – 2170 MHz นอกจากนี้AIS ยังเชื่อว่าDTACไม่สามารถติดตั้ง HSPAในกทม.ได้เร็ว เพราะเป็นย่านที่มีความหนาแน่นของ base station มาก และ W-CDMA equipment ต้องปรับจูน tune coding ซึ่งซับซ้อนและใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งยากกว่าการจูนความถี่หรือ tune frequency ธรรมดา
แหล่งข่าว กล่าวว่า ดีแทค มุ่งหวังเป็นอย่างมากต่อโครงการนี้ เพราะ 3G เป็นบริการใหม่ที่เริ่มต้นพร้อมๆกัน แม้ทั้งหมดจะอิงตามสัมปทานเดิมที่เหลืออยู่ แต่DTAC จะให้บริการด้วยความถี่ 850 MHz ที่ได้เปรียบเอไอเอส
DTAC เตรียมที่จะดำเนินการติดตั้งสถานีฐาน ด้วยเม็ดเงินลงทุนในเฟสแรกประมาณ 5000 ล้านบาท เพื่อให้การให้บริการสามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพ ภูเก็ต และชลบุรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ และมีความต้องการด้านการตลาดค่อนข้างสูง จะสามารถดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 1 ปี
แหล่งข่าว ให้ข้อสังเกตว่า หากมีการนำเข้าอุปกรณ์HSPAเข้ามาอย่างรวดเร็ว นั่นหมายถึงต้องอยู่ในเงื่อนไขในการส่งมอบให้รัฐ ซึ่งกรณีของDTAC ต้องส่งมอบให้กสท.ตามเงื่อนไข BTO และหากติดตั้งจนใกล้เปิดบริการ แต่กทช. มีความชัดเจนจะให้ใบอนุญาต3G ก็จะเกิดความเสียเปล่าหรือเสียหายทันที
อย่างไรก็ตาม HSPA สามารถปรับใช้ในความถี่ย่านใหม่ 2.1GHz ที่กทช.จะให้ได้ เพียงเปลี่ยน radio frequency หรือ RF card เท่านั้น ก็สามารถใช้งานได้ ดังนั้นจึงน่าจับตาว่า หากเอกชนต้องการประวิงเวลารอดูความชัดเจนใน3G license จากกทช. ซึ่งหากกทช. มีความชัดเจนเร็วก่อนที่เอกชนจะทำบริการ 3G HSPA เต็มรูปแบบ เอกชนก็รอปรับความถี่ และไม่ต้องส่งมอบอุปกรณ์หรือทรัพย์สินตามเงื่อนไข BTO ของสัมปทานเดิม
ทรู มองต่างมุม ชี้มือถือโตดี สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด กลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า สถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ไม่กระทบต่อ อุตสาหกรรมมือถือโดยภาพรวม เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจมือถือหลังจากนี้จะ มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี 3G ทั้งบนคลื่นความถี่เก่า หรือHSPA และ บนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งได้วางแผนไว้ในระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ การเมืองที่วุ่นวาย ยังมีส่วนช่วยให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น คาดว่าทรูมูฟจะ มีลูกค้าใหม่เข้าสู่ระบบได้ 1 ใน 3 ของผู้ใช้มือถือรายใหม่ในปีนี้ ที่คาดว่า จะอยู่ประมาณ 8-9 ล้านราย
สุภกิจ กล่าวว่า ทรูมูฟพยายามเน้นขยายช่องทางการ เติมเงินเข้าถึงผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ทั้งผ่านพนักงานนำจ่ายไปรษณีย์ โทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์สาธารณะของทรู 7-Eleven โมบาย ท็อปอัพ เครื่องหยอดการ์ดตามห้างสรรพสินค้า เอทีเอ็ม ถือเป็นจุด แข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับทรูมูฟในการแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่อีก 2 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค
วิเชียร กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ทางธุรกิจในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว การลงทุน และประโยชน์นั้นๆ ก็ไป ตกที่ประเทศเพื่อนบ้านแทน อย่าง เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น | |
|
|
|
|
|
|
|